โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โหมโรง (ภาพยนตร์)

ดัชนี โหมโรง (ภาพยนตร์)

หมโรง (The Overture) เป็นภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2547 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีไทย เนื้อเรื่องได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้รับรางวัลมากมายในประเทศ และยังได้รับเลือกในฐานะ Official Selection จากประเทศไทย ในการเข้าชิงสาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลอะแคเดมีอีกด้วย กำกับโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ และอำนวยการผลิตโดย นนทรีย์ นิมิบุตร และ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ภาพยนตร์ทำรายได้ 52.72 ล้านบาท นำแสดงโดย อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, อาระตี ตันมหาพราน, สุเมธ องอาจ, ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง และอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า จากวงบอยไทย รับบทเป็น ขุนอิน ภายหลังดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อ พ.ศ. 2555 และเป็นละครเวทีมิวสิคัลโดยเวิร์คพอยท์-โต๊ะกลมโทรทัศน์ แสดงที่โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ เมื่อ พ.ศ. 2558.

59 ความสัมพันธ์: ชวนชื่นชุมพร เทพพิทักษ์พ.ศ. 2429พ.ศ. 2536พ.ศ. 2547พ.ศ. 2555พ.ศ. 2558พร้อมมิตร โปรดักชั่นพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจงกรุงเทพมหานครภาพยนตร์ไทยระนาดเอกรายชื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรายชื่อผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรายชื่อผู้ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรายชื่อนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทยรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี พ.ศ. 2547รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13รางวัลออสการ์ลูกบ้าเที่ยวล่าสุดวันอังคารวันจันทร์วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณวงกอไผ่สมชาย ศักดิกุลสมภพ เบญจาธิกุลสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนลสามโทนสุเมธแอนด์เดอะปั๋งสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)อรชุมา ยุทธวงศ์อรรถพร ธีมากรอำเภออัมพวาอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์อดุลย์ ดุลยรัตน์อนุชิต สพันธุ์พงษ์ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติดวงกมล ลิ่มเจริญดนตรีไทยปานเลขา ว่านม่วงปิติศักดิ์ เยาวนานนท์นพพล โกมารชุนนนทรีย์ นิมิบุตรโหมโรง (ละครโทรทัศน์)โหมโรง (เพลง)...เพชร มาร์เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์เกรียงไกร อุณหะนันทน์เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์เคแบงก์สยามพิฆเนศ15 ค่ำ เดือน 116 กุมภาพันธ์9 มกราคม ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

ชวนชื่น

วนชื่น เป็นกลุ่มคณะตลก ก่อตั้งมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2525 โดยมีพื้นฐาน จากการเป็นคณะลิเกมาก่อน ปัจจุบันผลิตรายการ รายการชวนชื่นเธียเตอร์ ไทยรัฐทีวีเคยทำรายการ ชวนชื่นคาเฟ่ ผลิตรายการ ชวนชื่นคาเฟ่ ทางทางไอทีวีและทีไอทีวี ตามลำดับ จนได้รับความนิยมมาก.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และชวนชื่น · ดูเพิ่มเติม »

ชุมพร เทพพิทักษ์

มพร เทพพิทักษ์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 − 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น เดียร์ นักแสดงชาวไทยและอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ มีชื่อจริงว่า คมสันต์ เทพพิทักษ์ เกิดที่จังหวัดชุมพรเมื่อปี พ.ศ. 2482 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดขันเงินและโรงเรียนศรียาภัย เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง แต่ขณะที่เรียนเมื่ออายุได้ 17 ปี ต้องโทษจำคุกในคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน และรับสารภาพ จึงถูกลดโทษเหลือ 25 ปี จากนั้นได้รับการลดหย่อนโทษเรื่อยมา จนได้รับอิสรภาพในที่สุด ในระหว่างต้องโทษ อยู่ห้องขังเดียวกับ แคล้ว ธนิกุล เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกด้วยการเป็นนักแสดงบทร้ายแทน ประจวบ ฤกษ์ยามดี นักแสดงบทตัวร้ายที่ไม่สบาย ด้วยความที่หน้าตาตล้ายกัน จากการชักชวนของ ปริญญา ทัศนียกุล และ ลือชัย นฤนาท ในเรื่อง คมแสนคม ในปี พ.ศ. 2507 ตามด้วยบทตัวร้ายมาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2511 มีผลงานละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม, ช่อง 5 และช่อง 7 ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ถุยชีวิต (พ.ศ. 2521), นักสู้ภูธร ในปีเดียวกัน, ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (พ.ศ. 2522) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543),โหมโรง(พ.ศ. 2547), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2550), รักสยามเท่าฟ้า (พ.ศ. 2551), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (พ.ศ. 2552) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ สุสานคนเป็น (พ.ศ. 2545) ธิดาวานร 2 (พ.ศ. 2552) และ เงาพราย (พ.ศ. 2554) ผลงานละครเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนกระทิง และผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนพันธ์ (พ.ศ. 2559) ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ มยุรี เทพพิทักษ์ (นามสกุลเดิม-ศรีสินธุ์อุไร) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ศรราม เทพพิทักษ์ ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และชุมพร เทพพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2429

ทธศักราช 2429 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1886 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพ.ศ. 2429 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

พร้อมมิตร โปรดักชั่น

ริษัท พร้อมมิตร โปรดักชั่น จำกัด (อังกฤษ: Prommitr Production Co., Ltd.) เดิมชื่อ พร้อมมิตรภาพยนตร์ เป็นบริษัทจำกัด สร้างภาพยนตร์ไทยและผลิตสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ ก่อตั้งโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย ชื่อบริษัทมาจากชื่อซอยที่ตั้งของ วังละโว้และโรงถ่าย ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ปัจจุบัน มีสำนักงาน ณ เลขที่ 52/25 หมู่ 13 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงและเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร และมีโรงถ่ายทำภาพยนตร์ขนาดใหญ่ (พร้อมมิตร สตูดิโอ) ที่ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยและละครโทรทัศน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 จนถึงปัจจุบัน ผลงานเรื่องเด่น ๆ ได้แก่ สุริโยไท ในปี พ.ศ. 2544 และภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ระหว่างปี พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายการ์ดเกมที่มีเนื้อหาจากภาพยนตร์และภาพยนตร์การ์ตูนต่าง ๆ อีกด้วย เช่น ยูกิโอ เป็นต้น.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพร้อมมิตร โปรดักชั่น · ดูเพิ่มเติม »

พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

งษ์พัฒน์ วชิรบรรจง (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น อ๊อฟ เป็นนักร้อง นักแสดง และผู้กำกับชาวไทย ทางด้านธุรกิจเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอค อาร์ต เจเนอเรชั่น จำกัด อ๊อฟจบปริญญาตรี พลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโร.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์ไทย

นตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย"" เว็บไซต์ rimpingfunds.com พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดเอก

ระนาดเอก ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน ระนาดเอกใช้ในงานมงคล เป็นเครื่องดนตรีเป็นมงคลในบ้าน บรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และระนาดเอก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อภาพยนตร์ ที่ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง รายละเอียดในแต่ละปี ประกอบด้วย ผู้ชนะในปีนั้น เน้นด้วย ตัวหนา ตามด้วยผู้เข้าชิงในแต่ละปี รายละเอียดในแต่ละรายการประกอบด้วย.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรายชื่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อผู้กำกับภาพยนตร์ ที่ได้รับรางวัลผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง รายละเอียดในแต่ละปี ประกอบด้วย ผู้ชนะในปีนั้น เน้นด้วย ตัวหนา ตามด้วยผู้เข้าชิงในแต่ละปี.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรายชื่อผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อบทภาพยนตร์ ที่ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม การประกวดภาพยนตร์ไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรายชื่อผู้ได้รับรางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย

รายชื่อนักแสดง ที่ได้รับรางวัลนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม รางวัลตุ๊กตาทอง รายละเอียดในแต่ละปี ประกอบด้วย ผู้ชนะในปีนั้น เน้นด้วย ตัวหนา ตามด้วยผู้เข้าชิงในแต่ละปี.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรายชื่อนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี พ.ศ. 2547

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี พ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14

ีมอบรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13

รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13 ประจำปี 2547 ใน 11 สาขารางวัล จัดโดยชมรมวิจารณ์บันเทิง.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด

ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด เป็น ภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2536 กำกับภาพยนตร์โดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ อำนวยการสร้างโดยบริษัท ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ภาพยนตร์นำเสนอด้วยแนวทางตลก เนื้อหาพูดถึงความกล้าในการทำสิ่งที่ถูกต้อง การใช้เวลาในชีวิตอย่างมีค่า และสะท้อนภาพสังคมที่ผู้คนมักจำยอมกับความเลวร้ายที่คุ้นเคย ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ลำดับภาพยอดเยี่ยม จาก ชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี 2536 นำแสดงโดย สัญญา คุณากร, อังคณา ทิมดี, ชไมพร สิทธิวรนันท์, กลศ อัทธเสรี, อรุณ ภาวิไล.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และลูกบ้าเที่ยวล่าสุด · ดูเพิ่มเติม »

วันอังคาร

วันอังคาร เป็นวันลำดับที่ 3 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันจันทร์กับวันพุธ แต่ตามมาตรฐานสากล ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 2 ของสัปดาห.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และวันอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

วันจันทร์

วันจันทร์ เป็นวันลำดับที่ 2 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันอาทิตย์กับวันอังคาร แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 1 ของสัปดาห.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และวันจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ

วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ หรือ เต็ม เป็นนักร้อง นักแวดงชายชาวไทย เป็นที่รู้จักจากการเป็นหนึ่งในสมาชิกวงยูเอชที ก่อนจะผันตัวมาออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นของตัวเอง ภายใต้สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงได้แก่เพลง ก็พอ, บอกได้ไหม, รัก และเพลง ขอไม่เป็นเพื่อนเธอ เป็นต้น.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และวุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

วงกอไผ่

วงกอไผ่ เป็นวงดนตรีไทยร่วมสมัยที่มีอายุยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ เริ่มต้นโดยอานันท์ นาคคง ได้รวบรวมเพื่อนๆนักเรียนต่างสถาบันการศึกษาที่เป็นนักดนตรีสมัครเล่นที่มีความสามารถมาร่วมงานตั้งแต่ครั้งวาระครบรอบ 100 ปีเกิดของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ใน..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และวงกอไผ่ · ดูเพิ่มเติม »

สมชาย ศักดิกุล

มชาย ศักดิกุล (ชื่อเล่น: เล็ก เกิด พ.ศ. 2496) ศิลปิน นักแสดง และนักพากย์ เป็นศิลปินรุ่นก่อตั้งของ "วงเฉลียง" ร่วมกับ นิติพงษ์ ห่อนาค วัชระ ปานเอี่ยม และ ประภาส ชลศรานนท์ สมชาย จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นนักดนตรีอาชีพ เคยเล่นดนตรีร่วมกับ ศรายุทธ สุปัญโญ อัญชลี จงคดีกิจ เคยออกเทปกับวง "เดอะบ๊องค์" วงดนตรีที่นำเอาทำนองเพลงฝรั่งมาใส่เนื้อไทยแบบกวนๆ เมื่อ พ.ศ. 2526 ก่อนจะมาร่วมวงเฉลียง โดยการแนะนำของ เรวัต พุทธินันทน์ สมชาย แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง มนต์รักทรานซิสเตอร์ ต่อมามีผลงานแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มากมาย โดยมักจะได้รับบทตัวประกอบ ที่มีบุคลิกตลกหน้าตาย ได้ชื่อว่าเป็นนักขโมยซีนอันดับหนึ่ง เช่นเดียวกับ อภิชาติ ชูสกุล และมีผลงานแสดงมากที่สุดคนหนึ่งในระยะหลัง นอกเหนือจากผลงานแสดง สมชาย ศักดิกุล ยังเป็นผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาเทนนิส ทางเคเบิลทีวี ยูบีซี และรับหน้าที่เป็นพิธีกรในรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต อีกด้ว.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสมชาย ศักดิกุล · ดูเพิ่มเติม »

สมภพ เบญจาธิกุล

มภพ เบญจาทิกุล นักแสดงชายอาวุโส เกิดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2488 จบการศึกษาระดับปว.จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ สาขาช่างไฟฟ้ากำลัง จบระดับปว.สาขาช่างไฟฟ้าจากสถาบันเทคโนโลยีช่างกลปทุมวัน มีชื่อเสียงมาจากการรับบทเกย์ในภาพยนตร์เรื่อง นางแบบมหาภัย จากการกำกับของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งนับว่าเป็นบทชายรักชายครั้งแรกในวงการภาพยนตร์ไทยเลยก็ได้ว่า และทำให้คนไทยได้รู้จักกับคำว่า "เกย์" เป็นครั้งแรก จากนั้นก็ได้แสดงในหลายต่อหลายเรื่องตามมา โดยมากจะเป็นบทร้าย แต่บางครั้งก็รับบทเป็นพระเอก เช่น ชายกลาง ใน บ้านทรายทอง ละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 ในปี พ.ศ. 2520 คู่กับ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ปัจจุบัน สมภพ เบญจาทิกุล มีบทบาทการแสดงเป็นตัวประกอบบ้างและบทของพ่อบ้าง ผลงานในระยะหลังได้รับการการกล่าวขานว่าแสดงได้สมบทบาท จนมีชื่อเข้าชิงรางวัลนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยมหลายครั้ง จากหลายเรื่อง เช่น คืนบาปพรหมพิราม ในปี พ.ศ. 2546, โหมโรง ในปี พ.ศ. 2547 และบทของ พระเจ้าบุเรงนอง จาก ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2550.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสมภพ เบญจาธิกุล · ดูเพิ่มเติม »

สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ

มศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หรือ เสี่ยเจียง ผู้ก่อตั้งบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี พ.ศ. 2545) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ สุริโยไท และ องค์บาก.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล

ริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทธุรกิจผู้สร้างและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยรายใหญ่ นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ อาทิ ภาพยนตร์ฮ่องกง, ภาพยนตร์ฮอลลีวูด ก่อตั้งและบริหารงานโดย สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ตั้งแต..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล · ดูเพิ่มเติม »

สามโทน

มโทน เป็นศิลปินวงชายล้วนวงแรกของค่ายคีตา เรคคอร์ดส (Kita Records) ซึ่งสมาชิกมีทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วยสุธีรัชย์ ชาญนุกูล (บุ๋มบิ๋ม สามโทน), ธงชัย ประสงค์สันติ (ธง สามโทน) และ วิทยา เจตะภัย (ถนอม สามโทน) มีผลงานเพลงกับค่ายคีตาทั้งหมด 4 ชุด ก่อนย้ายไปมีผลงานกับค่ายต่างๆ และมีการทำงานด้านอื่น ๆ ในวงการบันเทิง เช่น แสดงภาพยนตร์, แสดงละคร, พิธีกร, กำกับการแสดง, เบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์ ละคร และงานดนตรี ต่อมาสมาชิกทั้ง 3 วงสามโทนได้ออกอัลบั้มภายใต้สังกัดค่ายแกรมมี่โกลด์ หลังจากนั้นทำอัลบั้มพิเศษชุด "เทศกาลสามโทน" กับค่ายเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสามโทน · ดูเพิ่มเติม »

สุเมธแอนด์เดอะปั๋ง

มธ แอนด์ เดอะปั๋ง เป็นการรวมตัวกันของสุเมธ องอาจและประกาศิต โบสุวรรณ สังกัด genie records ในเครือ GMM Grammy เพลงที่เป็นที่รู้จักของผู้ฟังได้แก่ แจกัน ไม่เสียใจที่รักเธอ กาลครั้งหนึ่งความรัก วันนี้ฉันมีเธอ นอกจากนี้ สุเมธ แอนด์ เดอะปั๋ง ยังมีการนำเพลงเก่าๆ มาคัฟเวอร์ใหม่ในสไตล์ของตัวเองในแต่อัลบั้ม เช่น พรานล่อเนื้อ หัวหินสิ้นมนต์รัก ชั่วฟ้าดินสลาย รักเอาบุญ ขอให้เหมือนเดิม เป็นต้น.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสุเมธแอนด์เดอะปั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

นีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดำเนินการโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ออกอากาศแทนสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ในวันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ก่อนแพร่ภาพอย่างเป็นทางการในอีก 1 เดือนต่อม.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส · ดูเพิ่มเติม »

สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3

ตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 (Star Entertainment Awards 2004) หรือรางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยม ประจำปี 2547 คืองานจัดประกาศผลรางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยม ประจำปีพุทธศักราช 2547 จัดขึ้นที่ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส 2004 ครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485) เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ กับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา และเป็นเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับที่ 24 ในลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล · ดูเพิ่มเติม »

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

รองเสวกเอก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2497) นักดนตรีชาวไทย ผู้มีชื่อเสียงจากการเล่นเครื่องดนตรีไทย และประพันธ์เพลงไทยเดิม.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) · ดูเพิ่มเติม »

อรชุมา ยุทธวงศ์

รองศาสตราจารย์ อรชุมา ยุทธวงศ์ (นามเดิม อรชุมา สูตะบุตร) อดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บุกเบิกการละครสำหรับเด็กในประเทศไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอรชุมา ยุทธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

อรรถพร ธีมากร

อรรถพร ธีมากร (หนุ่ม) เกิดวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2516 เป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี พิธีกร และผู้กำกับละคร บุตรของนายพูลสวัสดิ์ ธีมากร นักแสดงอาวุโส เข้าสู่วงการบันเทิงหลังไปออกรายการ จันทร์กะพริบ กับคุณพ่อ โดยเล่นละครเรื่อง "รุ่นหนึ่งตึกห้าหน้าเดิน" เป็นเรื่องแรก ต่อมามีผลงานแสดงละครและภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง โดยผลงานภาพยนตร์สร้างชื่อ คือ 2499 อันธพาลครองเมือง และยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง เดอะ เลตเตอร์ จดหมายรัก ในการประกาศรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี 2547 มีเพื่อนสนิทในวงการ คือ "กัปตัน" ภูธเนศ หงษ์มานพ และ "ติ๊ก" เจษฎาภรณ์ ผลดี ด้านการศึกษาและชีวิตส่วนตัว จบบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น สมรสกับ อริญรดา ปิติมารัชต์ มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ อันดาและอดัม.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอรรถพร ธีมากร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภออัมพวา

อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอำเภออัมพวา · ดูเพิ่มเติม »

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์

อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เกิดวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 จบการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และระดับปริญญาตรีจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติการทำงานของคุณอิทธิสุนทรได้สร้างสรรค์ผลงานบันเทิงหลายชิ้นและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมทั่วไปมาโดยตลอด เริ่มต้นจากการเป็นผู้เขียนบทและร่วมแสดงในรายการเพชฌฆาตความเครียด เป็นโปรดิวเซอร์และผู้กำกับ ที่บริษัทเจเอสแอล ทำรายการพลิกล็อก, วิก 07, รายการละคร และมินิซีรี่ย์หลายเรื่อง เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุด”เพียงความทรงจำเอาไว้เลย” และเขียนเพลงให้กับหลายศิลปิน อาทิ ระวิวรรณ จินดา, แอนนา โรจน์รุ่งฤกษ์, อังศนา ช้างเศวต, ไฮร๊อค, โคโคแจ๊ส ฯลฯ รวมทั้งเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ และเพลงโฆษณา เป็นผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา และภาพยนตร์ไทย ที่บริษัทกิมมิคไดเรคชั่น และบริษัทกิมมิคฟิล์ม โดยมีผลงานเขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่อง “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด” ละครโทรทัศน์เรื่อง “ปู่ครับ ผมรักพ่อ”, “พระจันทร์ลายกระต่าย” และประสบความสำเร็จอย่างสูงจากภาพยนตร์เรื่อง “โหมโรง” ด้วยผลงานภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง และเป็นอีกผู้หนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้วงการภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทำให้คุณอิทธิสุนทรได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม เขียนบทยอดเยี่ยม ชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2536 จาก “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด”, รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมเยาวชน ปี 2536 จาก “ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด”, รางวัลเมขลา ละครสร้างสรรค์ดีเด่น ปี 2542 จาก “พระจันทร์ลายกระต่าย”, รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม จากงานภาพยนตร์แห่งชาติ(สุพรรณหงส์) และชมรมวิจารณ์บันเทิง ปี 2547 จาก “โหมโรง”, รางวัลAudience Awards จาก Miami International Film Festival (2005) และ MAINE International Film Festival (2005) จาก “โหมโรง”.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อดุลย์ ดุลยรัตน์

อดุลย์ ดุลยรัตน์ (5 เมษายน พ.ศ. 2475 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักแสดง ผู้กำกับชาวไทย มีตำแหน่งเป็น คณะกรรมการของสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอดุลย์ ดุลยรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุชิต สพันธุ์พงษ์

อนุชิต สพันธุ์พงษ์ เป็นนักเต้น นักร้อง และนักแสดงชาวไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และอนุชิต สพันธุ์พงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ

| bgcolour.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงกมล ลิ่มเจริญ

วงกมล ลิ่มเจริญ (24 สิงหาคม พ.ศ. 2507 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546) อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เป็นผู้บุกเบิกการสร้างภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดต่างประเทศ ดวงกมล ลิ่มเจริญ เป็นพี่สาวของพรพิมล ลิ่มเจริญ นักวิจารณ์ภาพยนตร์และนักเขียนประจำหนังสือพิมพ์มติชน ดวงกมลจบการศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาศิลปการละคร เมื่อ..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และดวงกมล ลิ่มเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีไทย

วงมโหรีโบราณเครื่องหก ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย, จีน, อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และดนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปานเลขา ว่านม่วง

ปานเลขา ว่านม่วง หรือชื่อจริงในปัจจุบัน รัฐธยาน์ ธิติสุรนันท์ เป็นมิสไทยแลนด์เวิลด์คนแรก ในปี พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และปานเลขา ว่านม่วง · ดูเพิ่มเติม »

ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์

ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ (เต้) นักแสดง เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2525 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกัลยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำเร็จการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา มีผลงานสร้างชื่อในวงการบันเทิง คือ ภาพยนตร์เรื่อง ไอ้ฟัก โดยแสดงคู่กับ บงกช คงมาลัย ปัจจุบันสมรสแล้วกับแฟนสาวนอกวงการหลังคบหาดูใจกันมา 5 ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

นพพล โกมารชุน

นพพล โกมารชุน (ชื่อเล่น: ตู่) เป็นบุตรชายของนักแสดงอาวุโส เสนอ โกมารชุน (พี่ชายของ เสน่ห์ โกมารชุน) และ จุรี โอศิริ มีพี่ชายหนึ่งคนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) แสดงภาพยนตร์โดยเป็นตัวเอกในหลายเรื่อง แต่ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแท้จริงด้วยกันสามบทบาท คือ การรับบท อินทร ชายหนุ่มผู้เย็นชาทนงตัวแต่แฝงด้วยความอบอุ่นอ่อนโยนและแอบรัก ละเวง มัณฑนากรสาวนางเอกของเรื่อง ในละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง ทางช่อง 3 (พ.ศ. 2527) ประกบคู่กับ มยุรา เศวตศิลา ซูหลิน หนุ่มจีนแผ่นดินใหญ่ผู้แสนดีและมีอุดมการณ์ ในละคร กนกลายโบตั๋น ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2533) คู่กับ ปรียานุช ปานประดับ และเกิดเป็นความรักจนกลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็สร้างความประทับใจให้ผู้ชมอีกครั้งกับบท อาเหลียง ในละครโทรทัศน์เรื่อง ลอดลายมังกร ในปี พ.ศ. 2535 ทางช่อง 7 ประกบคู่กับปรียานุช ปานประดับ และ อภิรดี ภวภูตานนท์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ต่อมา นพพลจึงเปลี่ยนบทบาทไปรับบทรองในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง เช่น มือปืน 2 สาละวิน ในปี พ.ศ. 2536 เป็นต้น และในยุคอดีตนั้น ช่วงปลายปี พ.ศ. 2532 ถึงปลายปี พ.ศ. 2536 นพพลเคยเป็นพิธีกรรายการ จุดเดือด ของ เจเอสแอล คู่กับ กาญจนาพร ปลอดภัย และ จรียา ทิพยะวัฒน์ และเคยเป็นพิธีกรรายการ เจาะโลกมหัศจรรย์ ด้วย ช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้แล้ว นพพล ยังผันตัวเองไปทำงานเบื้องหลัง โดยเฉพาะในฐานะผู้กำกับละคร ป้อนงานผลิตให้ช่อง 3 กับบริษัท ยูม่า จำกัด เช่น กตัญญูประกาศิต (พ.ศ. 2533), น้ำตาหยดสุดท้าย (พ.ศ. 2536), โสมส่องแสง (พ.ศ. 2537) เป็นต้น โดยมีนักแสดงคู่ใจอย่าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบทเป็นพระเอกให้แทบทั้งหมด ชีวิตส่วนตัว นพพล สมรสกับ ปรียานุช ปานประดับ ภรรยานักแสดงที่พบรักกันจากการร่วมแสดงในเรื่องกนกลายโบตั๋น แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน เนื่องจากปรียานุชร่างกายไม่แข็งแรง ปัจจุบัน ได้ผันตัวเองเป็นผู้กำกับละครและผู้จัดละคร โดยเปิดกิจการของตนเอง ชื่อ บริษัท เป่าจินจง เมื่อปี 2541.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และนพพล โกมารชุน · ดูเพิ่มเติม »

นนทรีย์ นิมิบุตร

นนทรีย์ นิมิบุตร ชื่อเล่นชื่อ อุ๋ย (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ที่จังหวัดนนทบุรี) เป็นทั้งผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ และนักเขียนบทภาพยนตร์ นับได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกวงการภาพยนตร์ยุคใหม่ของไทย ตั้งแต่ที่ได้กำกับเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ออกฉายเมื่อ..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และนนทรีย์ นิมิบุตร · ดูเพิ่มเติม »

โหมโรง (ละครโทรทัศน์)

หมโรง เป็นละครซีรีส์ทางโทรทัศน์ของ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งดัดแปลงจากบทภาพยนตร์เรื่อง โหมโรง ของ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 นำแสดงโดย ธนาวุฒิ ศรีวัฒนะ และ นพพล โกมารชุน รับบท ศร ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ รับบท ขุนอิน ร่วมด้วย เกรียงไกร อุณหะนันท์, อรรถพร ธีมากร, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์, วิทยา เจตะภัย, วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ, ปริศนา กล่ำพินิจ, ปานเลขา ว่านม่วง, ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ, นันทรัตน์ เชาวราษฎร์, จุฬา ศรีคำมา, สุกุลตา มิตรศรัทธา ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันอังคาร เวลา 20.25 - 21.15 น. เริ่มออกฉายวันแรกทางไทยพีบีเอส วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 บทโทรทัศน์โดย ภูเขา และกำกับการแสดงโดย วินัย ปฐมบูรณ.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และโหมโรง (ละครโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

โหมโรง (เพลง)

ลงโหมโรงหมายถึงเพลงที่ใช้เบิกโรง เพื่อเป็นการประกาศให้ผู้คนทราบว่าที่นี่มีงานอะไร และเพื่ออัญเชิญเหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงให้มาชุมนุมในงานเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานนั้นอีกด้วย เพลงโหมโรงแบ่งได้ดังนี้.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และโหมโรง (เพลง) · ดูเพิ่มเติม »

เพชร มาร์

ร มาร์ มีชื่อจริงว่า พิทรี่ วิคเตอร์ เอดวาร์ด มาร์ เป็นโปรดิวเซอร์และนักดนตรีชาวไทยและคอมเมนเตเตอร์ประจำรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ลูกครึ่งไทย-สก๊อตแลนด์ เป็นบุตรของสจ๊วต และวี มาร์ บิดาเป็นผู้ก่อตั้งวงปี่สก๊อตโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และมารดาเป็นผู้มีชื่อเสียงแวดวงไฮโซ เพชรเริ่มทำงานวงการดนตรี โดยร่วมงานกับกลุ่มดนตรีบัตเตอร์ฟลาย ต่อมาได้เป็นโปรดิวเซอร์ ให้กับศิลปินนักร้องค่ายแกรมมี่ ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ธงไชย แมคอินไตย์, อัสนี-วสันต์, คูณสามซูเปอร์แก๊งค์ เป็นต้น จนเมื่อถกลเกียรติ วีรวรรณ ทำรายการ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เพชรจึงได้รับการชักชวนให้เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสินผู้เข้าประกวดร้องเพลง หรือคอมเมนเตเตอร์ของรายการ ด้วยบุคลิกที่เรียบเฉย บวกกับคำพูดตรงไปตรงมา วิจารณ์อย่างไม่เกรงใจใคร ทำให้ชื่อของเพชรเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีงานแสดงเบื้องหน้าให้เห็นเรื่อยๆ เพชรยังเคยรับหน้าที่เป็นพิธีกรภาคสนามของรายการเกมเนรมิต ทางช่อง 5 ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับแอร์โฮสเตสสาวคนหนึ่ง มีบุตรชาย 1 คน คือ ตาธาร มาร์ (ชื่อเล่น ตาตั้น).

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเพชร มาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์ (? — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556) เป็นทั้งอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักแสดงชาวไท.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรียงไกร อุณหะนันทน์

กรียงไกร อุณหะนันทน์ เป็นนักแสดงชาวไทย มีชื่อเสียงจากบทบาท "ท่านชายพจน์" ในภาพยนตร์เรื่อง ปริศนา เมื่อปี พ.ศ. 2525.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเกรียงไกร อุณหะนันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์

กียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ (30 มกราคม พ.ศ. 2506 -) เป็นหนึ่งในสมาชิกวงดนตรีเฉลียง ซึ่งได้เคยแสดงคอนเสิร์ตถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในการกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกองทุนเฉลียง เพื่อมอบทุนสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาสำหรับเด็ก.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผลิตสื่อบันเทิงแห่งหนึ่งของไทย มีปัญญา นิรันดร์กุลเป็นประธานบริษัท ประภาส ชลศรานนท์เป็นรองประธานบริษัท ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ ใช้ชื่อว่า ช่องเวิร์คพอยท์ (หมายเลข 23) โดยในวันที่ 26 ธันวาคม..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เคแบงก์สยามพิฆเนศ

รงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ (KBank Siam Pic-Ganesha) เป็นโรงละครสำหรับแสดงละครเวทีและจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งอยู่บริเวณชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ความจุ 1,069 ที่นั่ง นับว่าเป็นโรงละครเอกชนที่มีจำนวนที่นั่งมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยรองจาก เมืองไทยรัชดาลัย เธียเตอร์ และ โรงละครกาดสวนแก้ว.

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และเคแบงก์สยามพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

15 ค่ำ เดือน 11

15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์ไทย ที่ออกฉายเมื่อ11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นผลงานกำกับเรื่องแรกของ จิระ มะลิกุล เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นภาพยนตร์อื้อฉาวแห่งปี..

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และ15 ค่ำ เดือน 11 · ดูเพิ่มเติม »

6 กุมภาพันธ์

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 37 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 328 วันในปีนั้น (329 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และ6 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

9 มกราคม

วันที่ 9 มกราคม เป็นวันที่ 9 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 356 วันในปีนั้น (357 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: โหมโรง (ภาพยนตร์)และ9 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »