โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โลลิตา

ดัชนี โลลิตา

ลลิตา (Lolita) เป็นนวนิยายที่เขียนโดยวลาดีมีร์ นาโบคอฟที่เขียนครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษ และได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 ในกรุงปารีส และต่อมาในปี ค.ศ. 1958 ในนครนิวยอร์ก “โลลิตา” ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทันทีที่พิมพ์เพราะความแปลกใหม่ของลักษณะการเขียน และมีชื่อเสียงเพราะมีเนื้อหาที่เป็นที่ขัดแย้งอย่างรุนแรงในสังคม เพราะ ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ต ชายวัยกลางคน ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องและเป็นผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable narrator) ตกหลุมรักอย่างหัวปักหัวปำซึ่ง และมีความสัมพันธ์ทางเพศกับ เดอลอร์ส เฮซ เด็กสาวอายุ 12 ปี บุตรบุญธรรมของตน หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว “โลลิตา” ก็ถือว่าเป็นงานคลาสสิกและกลายมาเป็นงานชิ้นที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดและมีปัญหาที่สุดของวรรณกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า “โลลิตา” กลายมาเป็นคำที่ปรากฏใน วัฒนธรรมสมัยนิยมที่หมายถึงเด็กสาวผู้มีความเจริญทางด้านเพศสัมพันธ์เกินวัยที่มีอายุระหว่างเก้าถึงสิบสี่ปี “โลลิตา” เป็นงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่โมเดิร์นไลบรารีจัดให้เป็นลำดับที่สี่ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) ในบรรดานวนิยายที่ถือว่าดีเด่นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 “โลลิตา” ได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 กำกับโดย สแตนลีย์ คูบริก และนาโบคอฟก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ในสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมด้วย หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1997 เรื่อง “โลลิตา” ได้ถูกนำกลับมาทำซ้ำในชื่อเดียวกัน.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2498พ.ศ. 2501พ.ศ. 2505พ.ศ. 2540วลาดีมีร์ นาโบคอฟวัฒนธรรมประชานิยมสแตนลีย์ คูบริกหนังสือปกอ่อนผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือนวนิยายโศกนาฏกรรม

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โลลิตาและพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โลลิตาและพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: โลลิตาและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โลลิตาและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ นาโบคอฟ

วลาดีมีร์ นาโบคอฟ (Владимир Владимирович Набоков, Vladimir Vladimirovich Nabokov) (22 เมษายน ค.ศ. 1899 – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1977) วลาดีมีร์ นาโบคอฟเป็นนักประพันธ์ชาวรัสเซีย เป็นนักเขียนนวนิยายและนักเขียนเรื่องสั้นชาวรัสเซีย “โลลิตา” (ค.ศ. 1955) ถือกันว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของนาโบคอฟที่แสดงความสามารถในการเล่นคำและรายละเอียดที่เป็นลักษณะการเขียนที่มีชื่อเสียงของนาโบคอฟ Modern Library ลำดับโลลิตาเป็นอันดับสี่ของนวนิยายดีที่สุดร้อยเรื่องโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library 100 Best Novels) และบันทึกความทรงจำชื่อ “Speak, Memory” อยู่ในอันดับที่แปดของประเภทงานเขียนทั่วไปโดยโมเดิร์นไลบรารี (Modern Library nonfiction list).

ใหม่!!: โลลิตาและวลาดีมีร์ นาโบคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมประชานิยม

วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม วัฒนธรรมประชานิยมมักมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมประชานิยมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคมในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลัก ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม เช่น เพลงป็อปหรือเพลงสมัยนิยมที่จะเน้นในลักษณะตามความชอบของคนในสมัยนั้น เพลงป็อปในญี่ปุ่นจะเรียกว่า เจ-ป็อป.

ใหม่!!: โลลิตาและวัฒนธรรมประชานิยม · ดูเพิ่มเติม »

สแตนลีย์ คูบริก

สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) (26 กรกฎาคม ค.ศ. 1928 – 7 มีนาคม ค.ศ. 1999) เป็นผู้สร้างภาพยนตร์ทรงอิทธิพลชาวอเมริกัน-อังกฤษ นักเขียนบท ผู้สร้าง และนักถ่ายภาพ เขามีผลงานกำกับที่มักมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ขัดแย้งอยู่หลายเรื่อง การทำงานของเขามีความละเอียดละออใส่ใจในการเลือกคัดสรร การทำงานที่เชื่องช้า และมีความหลากหลายในประเภทของภาพยนตร์ที่เขาทำ เขานิยมใช้ชีวิตอย่างสันโดษในชีวิตส่วนตัว หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ หมวดหมู่:ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว หมวดหมู่:บุคคลจากแมนแฮตตัน หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หมวดหมู่:ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน หมวดหมู่:นักเขียนบทชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: โลลิตาและสแตนลีย์ คูบริก · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือปกอ่อน

หนังสือปกอ่อน (paperback) เป็นรูปแบบหนังสือที่มีเอกลักษณ์ ดูได้จากกระดาษที่หนาหรือปกที่ทำจากกระดาษการ์ด และมักติดเข้ากับหน้าหนังสือด้วยกาวมากกว่าการเย็บหรือลวดเย็บติดกระดาษ ในทางตรงข้าม หนังสือปกแข็งจะหุ้มปกด้วยกระดาษแข็งและมีการหุ้มด้วยสิ่งทอ หน้ากระดาษภายในหนังสือทำด้วยกระดาษ หนังสือราคาไม่แพงหุ้มด้วยกระดาษมีมาตั้งแต่อย่างน้อยศตวรรษที่ 19 ในรูปแบบของจุลสาร, นวนิยายสิบสตางค์เป็นต้น หนังสือปกอ่อนสมัยใหม่มีขนาดที่หลากหลายในสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดหนังสือปกอ่อนขนาดใหญ่และที่ใหญ่ไปกว่านั้น และมีมายาวนานกว่า คือ หนังสือปกอ่อนฉบับ trade paper edition ส่วนในสหราชอาณาจักร มีขนาด เอ, บี, และใหญ่สุดคือ ซี หนังสือฉบับปกอ่อนมักตีพิมพ์เพราะสำนักพิมพ์เห็นว่าเป็นหนังสือทุนต่ำ ทั้งถูกกว่าคุณภาพกระดาษต่ำกว่า รวมถึงการใช้กาวติดมีหนังสือปกแข็งจำนวนไม่มากที่มีต้นทุนต่ำหนังสือปกอ่อนอาจเป็นตัววัดว่าหนังสือเหล่านั้นไม่ได้คาดหวังด้านยอดขายจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นวนิยายจำนวนมากและการตีพิมพ์ครั้งใหม่หรือการพิมพ์ซ้ำของหนังสือเก่า เมื่อหนังสือปกอ่อนมีแนวโต้มช่องว่างทำกำไรกว้างกว่าสำนักพิมพ์หลายแห่งมักหาสมดุลของกำไร โดยขายหนังสือปกแข็งจำนวนน้อยกว่าเพื่อให้มียอดขายมากกว่าหนังสือปกแข็งที่มียอดกำไรต่อหน่วนน้อยกว่าหนังสือยุคใหม่ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเฉพาะประเภทนวนิยายมักพิมพ์เป็นหนังสือปกอ่อนส่วนหนังสือขายดีที่ต้องการรักษายอดขายมักพิมพ์ปกแข็ง.

ใหม่!!: โลลิตาและหนังสือปกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ

ประกอบโดยกุสตาฟว์ ดอเรของบารอนมึนช์เฮาเซน ผู้บรรยายเรื่องที่เกินเลยจากความจริงที่ถือว่าเป็น “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable narrator) ในนวนิยาย (ที่ใช้ในวรรณกรรม, การละคร, ภาพยนตร์ และอื่น ๆ) “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” (คำที่คิดขึ้นโดยเวย์น ซี. บูธในหนังสือ “The Rhetoric of Fiction” ที่เขียนในปี ค.ศ. 1961) หมายถึงผู้บรรยายเรื่องที่ขาดความน่าเชื่อถือโดยผู้อ่านอย่างเห็นได้ชัด"How to Write a Damn Good Novel, II", by James N. Frey (1994) ISBN 0312104782, หรือเป็นผู้ขาดความเป็นกลางด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง การใช้ผู้บรรยายเรื่องประเภทที่เรียกว่า “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” อาจจะมาจากเหตุผลหลายประการของผู้ประพันธ์ แต่โดยทั่วไปก็เพื่อสร้างความเคลือบแคลงของเนื้อหาให้แก่ผู้อ่าน โดยการสร้างภาพพจน์ของผู้บรรยายเรื่องในทางที่เป็นผู้ไม่น่าไว้วางใจ ความไม่น่าเชื่อถืออาจจะมามีสาเหตุจากความเจ็บป่วยทางจิตของผู้บรรยายเรื่อง, ความลำเอียงของผู้บรรยายเรื่อง, ความขาดความรู้ของผู้บรรยายเรื่อง หรืออาจจะมาจากความจงใจของผู้ประพันธ์ที่จะหลอกผู้อ่านหรือผู้ดู “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” มักจะเป็นผู้บรรยายเรื่องบุคคลที่หนึ่ง แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นบุคคลที่สามก็ได้ บางครั้งผู้อ่านก็อาจจะทราบทันทีว่าผู้บรรยายเรื่องเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ เช่นเมื่อเรื่องเปิดขึ้นโดยคำบรรยายที่ผิดอย่างชัดแจ้ง หรือ การอ้างอันขาดเหตุผล หรือ การยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญหาทางจิต หรือบางครั้งโครงร่างของเรื่องก็อาจจะมีตัวละครตัวหนึ่งในเรื่อง ที่มีนัยยะว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ แต่การใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ที่เป็นนาฏกรรมที่สุดคือการประวิงเวลาในการเปิดเผยว่าผู้บรรยายเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือจนเมื่อเรื่องเกือบจะลงเอย การจบเรื่องที่ผิดจากที่ผู้อ่านคาดทำให้ผู้อ่านต้องกลับไปพิจารณาทัศนคติและประสบการณ์ของตนเองที่มีต่อเนื้อเรื่องที่อ่านมา ในบางกรณีความไม่น่าเชื่อถือของผู้บรรยายเรื่องอาจจะไม่ได้รับการเปิดเผยแต่เพียงบอกเป็นนัยยะ ที่สร้างความพิศวงให้แก่ผู้อ่านว่าจะเชื่อปากคำของผู้บรรยายเรื่องได้มากน้อยเท่าใด หรือ ควรจะตีความหมายของเรื่องอย่างใด นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, นวนิยายคาดการณ์ (speculative fiction) และการบรรยายเรื่องฝัน ไม่ถือว่าเป็นการใช้การบรรยายเรื่องโดยผู้ไม่น่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นการบรรยายเหตุการณ์ที่มิได้เกิดขึ้น หรือไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการใช้ “ผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ” ก็ได้แก่ฮัมเบิร์ต ฮัมเบิร์ตตัวละครเอกในเรื่อง “โลลิตา” โดยวลาดิเมียร์ นาโบคอฟ ผู้หลงรักลูกเลี้ยงสาวอายุ 12 ปี ที่มักจะบรรยายเรื่องที่เป็นการสนับสนุนการกระทำของตนเองว่าไม่เป็นการผิดจริยธรรมในการเป็นโรคใคร่เด็ก (pedophilia) ซึ่งเป็นการบรรยายเรื่องอย่างลำเอียงเข้าข้างตนเอง.

ใหม่!!: โลลิตาและผู้บรรยายเรื่องผู้ไม่น่าเชื่อถือ · ดูเพิ่มเติม »

นวนิยาย

นวนิยาย เป็นรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมลายลักษณ์ แต่งในรูปของร้อยแก้ว มีลักษณะแตกต่างจากเรื่องแต่งงงแบบเดิม ที่เรียกว่า นิยาย หรือนิทาน ที่เรียกว่า "นวนิยาย" ก็เพราะถือเป็นนิยายแบบใหม่ (novel) ตามแบบตะวันตก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาพูดโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "นิยาย" ซึ่งกะทัดรัดกว่า โดยคำว่า "นิยาย" เป็นคำมาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า "นิเยย" (និយាយ) หมายถึง "พูด" นวนิยายนั้น เป็นเรื่องราวที่มีลักษณะสมจริงมากกว่านิทานหรือนิยายแบบเดิม บางครั้งอาศัยฉากหรือเหตุการณ์จริง หรืออิงความเป็นจริง มีบทสนทนา และบรรยายเหตุการณ์อย่างปุถุชนทั่วไป.

ใหม่!!: โลลิตาและนวนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: โลลิตาและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lolitaโลลิต้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »