โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคเมนิแยร์

ดัชนี โรคเมนิแยร์

รคเมนิแยร์ (Ménière's disease) เป็นโรคอย่างหนึ่งของหูชั้นใน ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะหมุนเป็นระยะๆ ได้ยินเสียงผิดปกติในหู สูญเสียการได้ยิน และหูอื้อได้ ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงข้างเดียวในระยะแรก อาการครั้งหนึ่งมักคงอยู่ประมาณ 20 นาที ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมง โดยแต่ละครั้งอาจเป็นนานไม่เท่ากันได้ อาการสูญเสียการได้ยินและอาการได้ยินเสียงผิดปกติในหูอาจเป็นมากขึ้น จนเป็นถาวรได้ สาเหตุของโรคเมนิแยร์ยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าสัมพันธ์กับสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมประกอบกัน บางทฤษฎีเชื่อว่าสาเหตุของโรคสัมพันธ์กับการเกิดหลอดเลือดตีบ การติดเชื้อไวรัส และปฏิกิริยาแพ้ภูมิตนเอง ผู้ป่วย 10% มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย อาการของโรคเชื่อว่าเกิดจากการที่มีสารน้ำคั่งกว่าปกติในโพรงเลบิรินท์ของหูชั้นใน การวินิจฉัยทำได้โดยการสัมภาษณ์อาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจการได้ยิน โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันได้แก่อาการเวียนศีรษะจากไมเกรนและภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาใดที่สามารถรักษาโรคเมนิแยร์ให้หายขาดได้ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการในแต่ละครั้งที่มีอาการกำเริบ ซึ่งทำได้ด้วยการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะ อาการคลื่นไส้ และความกังวล วิธีที่แนะนำไว้ในการป้องกันการเกิดอาการกำเริบมีหลายวิธี แต่ละวิธียังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล ผู้ป่วยอาจใช้การลดปริมาณเกลือในอาการ การใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาสเตียรอยด์ได้ภายใต้การแนะนำของแพทย์ การทำกายภาพบำบัดอาจช่วยบรรเทาปัญหาการทรงตัวได้ และการรับคำปรึกษาอาจช่วยลดความกังวลได้ บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการฉีดยาเข้าหูชั้นใน หรือการผ่าตัด หากรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วยังไม่ได้ผล แต่วิธีการรักษาเช่นนี้ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การวางท่อที่แก้วหูเป็นวิธีรักษาหนึ่งที่ทำกันมาก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าได้ผล โรคเมนิแยร์ค้นพบครั้งแรกเมื่อช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1800 โดย Prosper Ménière มีความชุก 0.3-1.9 ต่อ 1000 ประชากร ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงอายุ 40-60 เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หลังเริ่มมีอาการไปประมาณ 5-15 ปี อาการเวียนศีรษะหมุนมักลดลงจนไม่เป็นอีก คงเหลือเฉพาะอาการทรงตัวลำบากเล็กน้อย สูญเสียการได้ยินปานกลาง และมีเสียงผิดปกติในหู.

7 ความสัมพันธ์: กายภาพบำบัดการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรมภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวยาขับปัสสาวะหูชั้นในหูหนวกอาการรู้สึกหมุน

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด (physical therapy หรือ physiotherapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์, แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการให้การบำบัด ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์, และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 ปัจจุบันในประเทศไทย นักกายภาพบำบัดสามารถใช้คำนำหน้านามว่า ก. นำหน้าชื่อสกุลได้.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และกายภาพบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม

การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ตัวย่อ CBT) เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งดั้งเดิมออกแบบเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่ปัจจุบันใช้รักษาความผิดปกติทางจิตอย่างอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมีประสิทธิผลโดยแก้ปัญหาปัจจุบันและเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่ไร้ประโยชน์ ชื่อของวิธีบำบัดอ้างอิงถึงการบำบัดชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบำบัดพฤติกรรม (behavior therapy) การบำบัดความคิด (cognitive therapy) และการบำบัดที่รวมหลักต่าง ๆ ในการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาประชาน ผู้บำบัดคนไข้ที่มีปัญหาเรื่องโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า จะใช้วิธีที่รวมการบัดบัดทั้งทางพฤติกรรมและทางความคิด เป็นเทคนิคที่ยอมรับความจริงว่า อาจมีพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้โดยความคิดที่สมเหตุผล เพราะเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการปรับสภาวะ (conditioning) ในอดีตต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งเร้าทั้งภายในภายนอก เป็นเทคนิคที่เพ่งความสนใจไปที่ปัญหาโดยเฉพาะ ๆ และช่วยคนไข้ให้เลือกกลยุทธ์ในการรับมือปัญหาเหล่านั้น ซึ่งต่างจากวิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ ที่ผู้รักษาจะสืบหาความหมายใต้สำนึกของพฤติกรรมของคนไข้เพื่อจะวินิจฉัยปัญหา คือ ในการบำบัดแบบพฤติกรรม ผู้รักษาเชื่อว่า ความผิดปกติที่มี เช่นความซึมเศร้า เกิดเนื่องมาจากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่กลัวกับการตอบสนองแบบหลีกเลี่ยง ซึ่งมีผลเป็นความกลัวที่มีเงื่อนไข เหมือนดังในการปรับสภาวะแบบดั้งเดิม (Classical Conditioning) และในการบำบัดความคิด ผู้รักษาเชื่อว่า ตัวความคิดเอง จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การบำบัดสองอย่างหลังนี้จึงรวมกันเป็น CBT CBT มีประสิทธิผลต่อความผิดปกติหลายอย่างรวมทั้งความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) โรควิตกกังวล ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ความผิดปกติของการรับประทาน (Eating disorder) การติดสิ่งต่าง ๆ (addiction) การใช้สารเสพติด (substance dependence) ความผิดปกติที่มีอาการกล้ามเนื้อกระตุก (Tic disorder) และ psychotic disorder (รวมทั้งโรคจิตเภทและโรคหลงผิด) โปรแกรมการบำบัดแบบ CBT ได้รับประเมินสัมพันธ์กับการวินิจฉัยอาการ และปรากฏว่า มีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ เช่น การบำบัดแบบ psychodynamic แต่ว่าก็มีนักวิจัยที่ตั้งความสงสัยในความสมเหตุสมผลของข้ออ้างว่ามีผลดีกว่าวิธีการอื่น ๆ การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ยุคที่เน้นการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ถือเป็นบิดาแห่งการบำบัดในรูปแบบที่เข้าใจและนิยมใช้ที่สุดในปัจจุบันคือ.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

วะสมองขาดเลือดชั่วคราว เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดในบริเวณหนึ่งๆ ของสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องของระบบประสาทไม่เกิน 24 ชั่วโมง หากเกินกว่านี้ถือว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมอง.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นใน

หูชั้นใน หูชั้นใน (inner ear, internal ear, auris interna) เป็นหูชั้นในสุดของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ตรวจจับเสียงและการทรงตัว ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มันจะประกอบด้วยกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) ซึ่งเป็นช่อง ๆ หนึ่งในกระดูกขมับของกะโหลกศีรษะ เป็นระบบท่อที่มีส่วนสำคัญสองส่วน คือ.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

หูหนวก

ัญลักษณ์สากลของผู้หูหนวก หูหนวก เป็นความพิการอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการได้ยิน หมายถึงผู้ที่สูญเสียความสามารถในการได้ยินบางส่วนหรือทั้งหมดไป ผู้ที่หูหนวกส่วนมากจะสื่อสารโดยการอ่านริมฝีปากหรือโดยการใช้ภาษามือ สาเหตุเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง สารเคมี หรือเป็นผลจากการได้รับบาดเจ็.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และหูหนวก · ดูเพิ่มเติม »

อาการรู้สึกหมุน

อาการรู้สึกหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวทั้งที่จริงๆ แล้วไม่มีการเคลื่อนไหว อาการนี้เป็นผลจากความผิดปกติของระบบควบคุมการทรงตัวในหูชั้นใน อาจพบร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน ยืนหรือเดินลำบากได้ อาการรู้สึกหมุนนี้อาจแบ่งได้เป็นสามแบบ คือ แบบที่ 1 objective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าวัตถุต่างๆ หมุนรอบตัวเอง แบบที่ 2 subjective คือผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการเคลื่อนไหว และแบบที่ 3 pseudovertigo (อาการรู้สึกหมุนเทียม) คือรู้สึกว่ามีการหมุนอยู่ข้างในศีรษะ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการรู้สึกหมุนคืออาการหมุนเป็นระยะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าชนิดไม่ร้าย การกระทบกระเทือนที่ศีรษะ และไมเกรนของระบบควบคุมการทรงตัว สาเหตุอื่นๆ ที่พบไม่บ่อยเท่าเช่นโรคเมนิแยร์ และเส้นประสาทควบคุมการทรงตัวอักเสบ เป็นต้น การดื่มสุราก็สามารถทำให้มีอาการรู้สึกหมุนได้ การหมุนตัวหลายๆ รอบ เช่นการละเล่นของเด็ก ก็สามารถทำให้เกิดอาการรู้สึกหมุนชั่วคราวได้จากการที่ของเหลวในหูชั้นในยังคงมีการเคลื่อนไหว ("กระฉอก") จากแรงเฉื่อยจากการหมุนได้.

ใหม่!!: โรคเมนิแยร์และอาการรู้สึกหมุน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Meniere's DiseaseMénière's diseaseโรคมีเนียโรคมีเนียร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »