โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โบโกฮะรอม

ดัชนี โบโกฮะรอม

กฮะรอม (Boko Haram, "การศึกษาตะวันตกถูกห้าม") เป็นขบวนการอิสลามก่อการร้ายมีฐานในทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไนจีเรีย นอกจากนี้ยังปฏิบัติการในประเทศชาด ไนเจอร์และทางเหนือของแคเมอรูน มีสมาชิกประเมินอยู่ระหว่าง 4,000-20,000 คน ในปี 2558 โบโกฮะรอมประกาศสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) หลังจากนั้นกลุ่มกลายเป็น "จังหวัด" หนึ่งของรัฐอิสลาม เรียกว่า Wilayat Gharb Afriqiya (จังหวัดแอฟริกาตะวันตก) ISIL แต่งตั้งอะบู มูซาบ อัลบาร์นาวีขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ทำให้กลุ่มเกิดการแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายคือฝ่ายที่สนับสนุนบาร์นาวีกับฝ่ายที่สนับสนุนอะบูบะการ์ เชเกา ผู้นำคนก่อน โบโกฮะรอมฆ่าพลเรือนกว่า 5,000 คนระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 รวมอย่างน้อย 2,000 คนในช่วงครึ่งแรกของปี 2557 ในการโจมตีซึ่งส่วนใหญ่เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ-กลางและกลางของไนจีเรีย การฉ้อราษฎร์บังหลวงในราชการความมั่นคงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ราชการก่อบั่นทอนความพยายามรับมือกับความไม่สงบดังกล่าว นับแต่ปี 2552 โบโกฮะรอมลักพาตัวชาย หญิงและเด็กกว่า 500 คน รวมการลักพาตัวเด็กนักเรียนหญิง 278 คนจากชิบอค (Chibok) ในเดือนเมษายน 2557 ประชาชน 650,000 คนหนีจากพื้นที่ขัดแย้งจนถึงเดือนสิงหาคม 2557 เพิ่มขึ้น 200,000 คนนับจากเดือนพฤษภาคมปีนั้น เมื่อสิ้นปี มีประชาชนหนีแล้ว 1.5 ล้านคน.

7 ความสัมพันธ์: การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮะรอมรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์วะฮาบีย์ประเทศชาดประเทศแคเมอรูนประเทศไนจีเรียประเทศไนเจอร์

การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮะรอม

การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮะรอม เริ่มขึ้นในปี 2009 เมื่อกลุ่มญิฮาดโบโกฮะรอม เริ่มก่อกบฏติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลไนจีเรี.

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและการก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮะรอม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

วะฮาบีย์

วะฮาบีย์หรือซะละฟีย์ เป็นขบวนการทางศาสนาหรือแขนงหนึ่งของศาสนาอิสลามนิกายซุนนี นักวิชาการและผู้สนับสนุนเรียกอย่างกว้างขวางว่า "อนุรักษนิยมเกิน" (ultraconservative), "เคร่ง" (austere), "ตีความตามอักษร" (fundamentalist), "พิวริทัน" (puritan) และเป็น "ขบวนการปฏิรูป" อิสลามเพื่อฟื้นฟู "การบูชาเอกเทวนิยมบริสุทธิ์" (เตาฮิด) และผู้คัดค้านอธิบายว่าเป็น "ขบวนการซุนนีเทียมสุดโต่ง" ผู้ศรัทธามักมองคำว่า วะฮาบีย์ เป็นคำเสื่อมเสีย และนิยมเรียก ซะละฟีย์หรือมุวาฮิด มากกว่า หมวดหมู่:นิกายในศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:มุสลิมนิกายซุนนี.

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและวะฮาบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศชาด

(Tchad; تشاد, Tshād) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตทางเหนือจดประเทศลิเบีย ทางตะวันออกจดประเทศซูดาน ทางใต้จดสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทางตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศแคเมอรูนและประเทศไนจีเรีย และทางตะวันตกจดประเทศไนเจอร์ เนื่องจากมีระยะไกลจากทะเลและมีภูมิอากาศเป็นแบบทะเลทรายเป็นส่วนใหญ่ ประเทศจึงได้ชื่อว่าเป็น "หัวใจตายของแอฟริกา" (dead heart of Africa) ทางเหนือมีทิวเขาทิเบสตี (Tibesti Mountains) ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ใหญ่ที่สุดในทะเลทรายสะฮารา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเฟรนช์อิเควทอเรียลแอฟริกา (Federation of French Equatorial Africa) มีชื่อตามทะเลสาบชาด (Lake Chad).

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและประเทศชาด · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคเมอรูน

แคเมอรูน (Cameroon; Cameroun) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแคเมอรูน (Republic of Cameroon; République du Cameroun) เป็นสาธารณรัฐในแอฟริกากลาง มีอาณาเขตจรดไนจีเรีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง สาธารณรัฐคองโก กาบอง อิเควทอเรียลกินี.

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและประเทศแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนจีเรีย

นจีเรีย (Nigeria) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในแอฟริกา ไนจีเรียได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อพ.ศ. 2542 หลังจากที่มีการปกครองโดยเผด็จการทหารหลายคนที่โหดร้ายและคดโกง มานาน 16 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2542 ไนจีเรียปกครองโดยเผด็จการทหารที่ชิงอำนาจด้วยการรัฐประหาร (ยกเว้นสาธารณรัฐที่ 2 ในช่วง..

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไนเจอร์

นเจอร์ (อังกฤษและNiger) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐไนเจอร์ (Republic of Niger; République du Niger) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่อยู่ทางใต้ของทะเลทรายสะฮาราในแอฟริกาตะวันตก ตั้งชื่อตามแม่น้ำไนเจอร์ มีอาณาเขตทางใต้จดประเทศไนจีเรียและประเทศเบนิน ตะวันตกจดประเทศมาลี เหนือจดประเทศแอลจีเรียและประเทศลิเบีย ตะวันออกจดประเทศชาด ไนเจอร์มีพื้นที่เกือบ 1,270,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งร้อยละ 80 ถูกปกคลุมด้วยทะเลทรายสะฮารา มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณตอนใต้และตะวันตกของประเทศ เมืองหลวงชื่อนีอาเม (Niamey).

ใหม่!!: โบโกฮะรอมและประเทศไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Boko Haramโบโก ฮารอมโบโกฮะรัมโบโกฮาราม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »