โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โซล

ดัชนี โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

84 ความสัมพันธ์: ชะวากทะเลชาวเกาหลีชิลลาฟุตบอลโลก 2002พ.ศ. 2560พัก ว็อน-ซุนกรุงเทพมหานครการไปกลับเป็นประจำภาษาเกาหลีภูมิภาคมหาวิทยาลัยจุงอังมหาวิทยาลัยทงกุกมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลมหานครราชวงศ์โชซ็อนราชวงศ์โครยอรถไฟความเร็วสูงรถไฟใต้ดินโซลลัทธิขงจื๊อศาสนาพุทธศาสนาคริสต์สหรัฐสามราชอาณาจักรเกาหลีสถานีรถไฟโซลสงครามเกาหลีหอศิลป์อักษรฮันกึลอักษรฮันจาอักษรจีนอังการาอาณาจักรแพ็กเจอินช็อนองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจจักรวรรดิเกาหลีจังหวัดคย็องกีจีนโพ้นทะเลทะเลเหลืองท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงท่าอากาศยานนานาชาติคันไซท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวความหนาแน่นประชากรคิมโพตารางกิโลเมตรซัมซุงซานฟรานซิสโกประเทศบราซิลประเทศตุรกี...ประเทศโคลอมเบียประเทศไทยประเทศไต้หวันประเทศเกาหลีใต้ปารีสนกกางเขนนัมแดมุนนครนิวยอร์กแม่น้ำฮัน (ประเทศเกาหลี)แอลจี อีเลคทรอนิคส์แขวงมย็องแปะก๊วยโบโกตาโรมโอลิมปิกฤดูร้อน 1988โฮโนลูลูโซลไทเปเชมันเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นเมืองหลวงเอเชียนเกมส์ 1986เขตชุง (โซล)เขตชุงนังเขตชงโนเขตยังช็อนเขตทงจักเขตควังจินเขตคังบุกเขตคังนัมเขตคึมช็อนเขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติ (เกาหลีใต้)เขตโทบงเซาเปาลู ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชะวากทะเล

ริเวณปากชะวากทะเล ชะวากทะเลบริเวณปากน้ำรีโอเดลาปลาตา (Río de la Plata) อเมริกาใต้ ชะวากทะเลบริเวณปากแม่น้ำนิท (Nith River) สกอตแลนด์ ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน ชะวากทะเล (Estuary) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดระนอง, ปากแม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี และปากแม่น้ำชุมพร จังหวัดชุมพร โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์ ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้ ชะวากทะเลที่พบในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นชะวากทะเลที่เกิดขึ้นในช่วงยุคโฮโลซีน (Holocene) โดยการไหลท่วมของแม่น้ำหรือการกัดเซาะจากธารน้ำแข็งในช่วงที่มีก่รเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในช่วงประมาณ 10,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมา และการจำแนกลักษณะของชะวากทะเลนั้นจะอาศัยลักษณะทางธรณีสัณฐานหรือรูปแบบการไหลของน้ำในการจำแนก ซึ่งหมายถึงการจำแนกเป็นอ่าว (Bay) หรือลากูน (Lagoon) เป็นต้น ชะวากทะเลเป็นพื้นที่มีประชากรมาอาศัยอยู่จำนวนมาก คือประมาณร้อยละ 60 จากประชากรทั้งหมดของโลกที่ชอบอาศัยตามแนวชายฝั่งทะเลและชะวากทะเล เป็นผลให้พื้นที่ชะวากทะเลนี้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆได้แก่ การตกตะกอนของตะกอนจากการพังทลายของหน้าดินเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณสารเคมีในระบบนิเวศจากสิ่งปฏิกูลและมูลสัตว์ (Eutrophication) มลพิษจากโลหะหนัก, สารพีซีบีเอส (PCBs), ธาตุกัมมันตรังสีและสารประกอบไฮโดรคาร์บอนจากสิ่งปฏิกูล และแนวกั้นน้ำหรือเขื่อนที่ใช้ในการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ.

ใหม่!!: โซลและชะวากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเกาหลี

วเกาหลี เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งซึ่งพูดภาษาเดียวกัน ผลการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ และมานุษยวิทยา และแหล่งตำนานต่างๆ แสดงให้เห็นว่า เกาหลีแตกต่างจากจีน หรือญี่ปุ่น ลักษณะเด่นทางร่างกายที่เหมือนกันทำให้เชื่อว่าเกาหลีสืบเชื้อสายมาจากชาวมองโกลหลายเผ่าที่อพยพจากเอเชียกลางเข้ามายังคาบสมุทรเกาหลีในปัจจุบัน ชาวเกาหลีรวมกันเป็นชนชาติเดียวกันตั้งแต่ตอนต้นคริสต์ศักราช ในคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด ชาวเกาหลีรวมกันเป็นชาติเดียวรวมอยู่ใต้การปกครองเดียวกันเป็นครั้งแรกในสมัยอาณาจักรชิลลา (57 ปีก่อนคริสต์ศักราช-คริสต์ศักราช 935) ยังส่งผลให้เกิดความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวง ชาวเกาหลีต่อสู้มาอย่างสัมฤทธิ์ผลเป็นเวลาหลายพันปี เพื่อดำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการเมืองของตน แม้จะเผชิญกันเพื่อนบ้านอย่างจีน และความโน้มเอียงที่จะรุกรานของญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ก็ตาม ชาวเกาหลีเป็นชนชาติที่ภาคภูมิใจ ด้วยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานที่สุดชาติหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: โซลและชาวเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ชิลลา

อาณาจักรชิลลา (신라; ฮันจา: 新羅, 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช — ค.ศ. 935) เป็นหนึ่งในอาณาจักรยุคสามก๊กแห่งเกาหลีสถาปนาโดยพระเจ้าฮย็อกกอเซเมื่อ 57 ปีก่อนคริสตกาล (พ.ศ. 486) ซึ่งอาณาจักรชิลลาเกิดจากการรวมตัวกันของอาณาจักรจินฮันกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้อาณาจักรเติบโตขึ้นแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรชิลลา อาณาจักรชิลลาต้องทำสงครามกับอีก 3 อาณาจักรใหญ่คืออาณาจักรโคกูรยอ อาณาจักรแพ็กเจ และอาณาจักรคายา อยู่นานกว่า 500—600 ปีก่อนที่พระเจ้ามุนมูกษัตริย์องค์ที่ 30 แห่งอาณาจักรชิลลาซึ่งครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: โซลและชิลลา · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลโลก 2002

ฟุตบอลโลก 2002 (2002 FIFA World Cup Korea/Japan) จัดขึ้นในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ในวันที่ 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เป็นการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 17 และเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพ 2 ประเทศ ซึ่งทำให้ทีมชาติเกาหลีใต้และทีมชาติญี่ปุ่นเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกับทีมชาติฝรั่งเศสที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998 และนับเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย ในการแข่งขันนี้ทีมชาติบราซิลชนะเยอรมนี 2-0 ในนัดชิงชนะเล.

ใหม่!!: โซลและฟุตบอลโลก 2002 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2560

ทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: โซลและพ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

พัก ว็อน-ซุน

ัก ว็อน-ซุน (เกิด 26 มีนาคม 2499) เป็นนักกฎหมายชาวเกาหลีใต้ เขาได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีโซล, เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 ได้รับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ ด้วยการสนับสนุนของพรรคประชาธิปไตยและพรรคแรงงานประชาธิปไตย ชัยชนะของพักพิจารณาได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพรรคเซนูรีและบุคคลที่คาดหมายว่าจะได้รับการเสนอเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี พัก กึนฮเย, ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนา คยองวอน คู่แข่งของพัก โดยพักได้รับการสนับสนุนจาก อัน ชอลซู จนทำให้ได้รับชัยชนะในฐานะผู้สมัครอิสร.

ใหม่!!: โซลและพัก ว็อน-ซุน · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การไปกลับเป็นประจำ

ชั่วโมงเร่งด่วนบนสถานีรถไฟฟ้าของญี่ปุ่น การไปกลับเป็นประจำ คือ การเดินทางจากที่อยู่อาศัยไปยังที่ทำงานหรือสถานศึกษาเป็นกิจวัตร โดยอาศัยยานพาหนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้า รถเมล์ จักรยานยนต์ และจักรยาน เป็นต้น เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในเมืองใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ระบบขนส่งมวลชนมีประสิทธิภาพสูงกว่าในอดีต หมวดหมู่:การขนส่ง.

ใหม่!!: โซลและการไปกลับเป็นประจำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเกาหลี

ษาเกาหลี (한국어 หรือ 조선말, ดูในส่วนชื่อ) เป็นภาษาที่ส่วนใหญ่พูดใน ประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ และมีคนชนเผ่าเกาหลีที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนพูดโดยทั่วไป(ในจังหวัดปกครองตนเองชนชาติเกาหลีเหยียนเปียน มณฑลจี๋หลิน ซึ่งมีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ) ทั่วโลกมีคนพูดภาษาเกาหลี 78 ล้านคน รวมถึงกลุ่มคนในอดีตสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิล ญี่ปุ่น และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีผู้พูดใน ฟิลิปปินส์ ด้วย การจัดตระกูลของภาษาเกาหลีไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่คนส่วนมากมักจะถือเป็นภาษาเอกเทศ นักภาษาศาสตร์บางคนได้จัดกลุ่มให้อยู่ใน ตระกูลภาษาอัลไตอิกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากภาษาเกาหลีมีวจีวิภาคแบบภาษาคำติดต่อ ส่วนวากยสัมพันธ์หรือโครงสร้างประโยคนั้น เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา (SOV) อักษรเกาหลี เรียกว่าอักษรฮันกึล ใช้แทนเสียงของแต่ละพยางค์ นอกจากนี้ใช้ยังตัวอักขระแบบจีนเรียกว่าอักษรฮันจา ในการเขียนด้วย ในขณะที่คำศัพท์ที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นคำภาษาเกาหลีแท้ โดยที่มีคำศัพท์มากกว่า 50% มาจากภาษาจีนทั้งทางตรงและทางอ้อม.

ใหม่!!: โซลและภาษาเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาค

ูมิภาค (region) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่างตามแต่สาขาวิชาภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วภูมิภาคหมายถึงบริเวณของบริเวณบนบกหรือในน้ำที่เล็กกว่าบริเวณทั้งหมดที่กล่าวถึง (เช่นภูมิภาคของโลก ภูมิภาคของชาติ ภูมิภาคของลุ่มแม่น้ำ ภูมิภาคของเทือกเขา และอื่นๆ) แต่ใหญ่กว่าจุดใดจุดหนึ่ง บริเวณอาจจะเป็นกลุ่มของหน่วยที่เล็กกว่า (เช่นรัฐในนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา) หรือ ส่วนหนึ่งของส่วนที่ใหญ่กว่า (เช่นบริเวณนิวอิงแลนด์ของสหรัฐอเมริกา).

ใหม่!!: โซลและภูมิภาค · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจุงอัง

มหาวิทยาลัยจุงอัง (중앙대학교; Chung-Ang University; อักษรย่อ: CAU) เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งมีที่ตั้งมากกว่าสองวิทยาเขต ทั้งในโซล และนครอันซ็อง สถาบันแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นภายหลังจากการปลดปล่อยจากการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความก้าวหน้าทางอารยธรรม ด้วยปรัชญาการศึกษาด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ภายใต้การดูแลของ ดร.

ใหม่!!: โซลและมหาวิทยาลัยจุงอัง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยทงกุก

มหาวิทยาลัยทงกุก (동국대학교; Dongguk University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนสหศึกษาในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งดำเนินการเรียนการสอนอยู่ ณ วิทยาเขตโซล ในมหานครคย็องจู จังหวัดคย็องซังเหนือ และในลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานด้านโรงพยาบาลในเครือทั้งสองแห่ง แบบแพทย์แผนตะวันตก กับแบบแพทย์แผนตะวันออกอีกสี่แห่ง ซึ่งรวมถึงการศึกษาแพทย์เกาหลีแผนโบราณ.

ใหม่!!: โซลและมหาวิทยาลัยทงกุก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

อาคารพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งใหม่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University, SNU; 서울대학교, ซออุลแทฮักกโย หรือ ซออุลแท) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ มีวิทยาเขตหลักตั้งอยู่ในเขตควันอัก (Gwanak-gu) ทางตอนใต้ของกรุงโซล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลเป็นผู้นำทางด้านการศึกษาและการวิจัยของเกาหลีใต้ โดยเป็น 1 ใน 3 มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในเกาหลีใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกาหลีและมหาวิทยาลัยย็อนเซ.

ใหม่!!: โซลและมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล · ดูเพิ่มเติม »

มหานคร

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย จัดเป็นมหานครเมืองหนึ่งของโลก มหานคร เป็นนครขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีประชากรมากกว่าห้าแสนคนในเขตนครและอย่างน้อยหนึ่งล้านคนในเขตปริมณฑล (urban agglomeration) เมืองใหญ่ที่อยู่ในเขต urban agglomeration แต่ไม่ได้เป็นแกนกลางของเขตนั้น โดยทั่วไปจะไม่นับว่าเป็นมหานคร แต่เป็นส่วนหนึ่งของมัน มหานครนั้นโดยปกติจะเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ของประเทศหรือภูมิภาค และเป็นศูนย์คมนาคมเชื่อมต่อสำคัญระดับภูมิภาคหรือนานาชาต.

ใหม่!!: โซลและมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โซลและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โครยอ

ราชวงศ์โครยอ (ค.ศ. 918 - ค.ศ. 1392) ก่อตั้งใน ค.ศ. 918 และรวบรวมสามแคว้นหลังได้ใน ค.ศ. 936 จนคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งหลังสมัยชิลลา จนถูกโค่นล้มโดยลีซองเกใน ค.ศ. 1392 สมัยโครยอเป็นสมัยที่ลัทธิขงจื้อเข้ามาในเกาหลีอย่างเต็มตัว เป็นสมัยที่ทหารปกครองบ้านเมือง และการยึดครองของมองโกลก็ทำให้วัฒนธรรมมองโกลหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลี สมัยโครยอเป็นสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในเกาหลี มีการพิมพ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลีเป็นฉบับแรก คือ ไตรปิฏก โคเรียนะ เก็บไว้ที่วัดแฮอินซา Map of Goryeo คำว่า "โครยอ" มาจาก "โคกูรยอ" หนึ่งในสามอาณาจักรโบราณของคาบสมุทรเกาหลี และเป็นที่มาของคำว่า "โคเรีย" ในภาษาอังกฤษ (โดยเรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "โกเร" ที่หมายถึงอาณาจักรแห่งนี้ในความหมายของชาวอาหรับ) และ "เกาหลี" ในภาษาจีนกลางและภาษาไท.

ใหม่!!: โซลและราชวงศ์โครยอ · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟความเร็วสูง

รถไฟชิงกันเซ็ง รุ่น E5 TGV 2N2 ของ SNCF ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงที่พัฒนาให้มีห้องโดยสาร 2 ชั้น ขณะอยู่ที่เมืองแฟรงเฟิร์ตของเยอรมนี รถไฟความเร็วสูง หรือ ระบบรางความเร็วสูง (High-Speed Rail (HSR)) เป็นระบบการขนส่งทางรางที่วิ่งด้วยความเร็วสูงกว่าระบบขนส่งทางรางทั่วไปอย่างมาก โดยการใช้ระบบล้อเลื่อน (rolling stock) พิเศษรวมกับระบบรางที่ออกแบบมาให้ใช้โดยเฉ.

ใหม่!!: โซลและรถไฟความเร็วสูง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟใต้ดินโซล

รถไฟใต้ดินโซล เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีจำนวนสถานีมากเป็นอันดับที่สอง รองจากรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์ก และมีจำนวนผู้โดยสารหนาแน่นมากที่สุด ปัจจุบันมี 19 เส้นทาง ได้รับการโหวตจาก Jalopnik ให้เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ดีที่สุดในโลก โดยตั้งฉายาว่า "super highway" เนื่องจากมีความสะอาด และง่ายต่อการโดยสาร เป็นระบบแรกที่มีกการใช้บัตร contactless smart ที่เรียกว่า Upass แลใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ อีก เช่น 4G LTE, WiFi, DMB และ WiBro รถไฟทุกขบวนจะติดตั้งจอโทรทัศน์และเครื่องปรับอากาศไว้ด้วย ในปี ค.ศ. 2009 ได้มีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลา กับสถานีรถไฟฟ้า 92 สถานี.

ใหม่!!: โซลและรถไฟใต้ดินโซล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: โซลและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: โซลและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: โซลและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: โซลและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สามราชอาณาจักรเกาหลี

ราชอาณาจักรทั้งสาม ในประวัติศาสตร์เกาหลี หมายถึงจักรวรรดิโคกูรยอ, แพ็กเจ และชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลี และบางส่วนของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร คือ โคกูรยอ แพ็กเจ และชิลลา นับเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจสูงสุดในแถบนั้น เป็นที่รู้จักกันว่า ยุคแห่งสามอาณาจักรใหญ่ ระหว่าง 57 ปีก่อนคริสตกาล ถึงปี..

ใหม่!!: โซลและสามราชอาณาจักรเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟโซล

นีรถไฟโซล เป็นสถานีรถไฟหลักที่สำคัญในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ให้บริการในเส้นทางสายคย็องบูและสายคย็องก.

ใหม่!!: โซลและสถานีรถไฟโซล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: โซลและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์

ในบริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หอศิลป์ในกรุงเทพมหานคร หอศิลป์ หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เป็นบริเวณหรืออาคารที่ใช้ในการแสดงนิทรรศการศิลปะ หอศิลป์มีทั้งแบบที่เปิดให้เข้าชมในลักษณะสาธารณะ หรือหอศิลป์ส่วนตัวที่เปิดให้ชมเฉพาะบุคคลขึ้นอยู่กับการบริหารของเจ้าของอาคาร โดยส่วนมากหอศิลป์จะแสดงภาพเขียน โดยนอกเหนือจากนี้หอศิลป์ยังมีการแสดง ประติมากรรม เฟอร์นิเจอร์ ลายผ้า ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย อีกด้วย ในปัจจุบันหอศิลป์ยังคงถูกเริ่มนิยมใช้เป็นสถานที่จัดงานสังสรรค์ ไม่ว่าการประชุม หรือการสัมมน.

ใหม่!!: โซลและหอศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันกึล

"ฮันกึล" จะเห็นว่าใน 1 คำ ประกอบด้วยพยัญชนะและสระ ภาพส่วนหนึ่งของเอกสาร "ฮูมิน จองอึม" ฮันกึล (한글, Hangeul, Hangul) เป็นชื่อเรียกตัวอักษรของเกาหลีที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นใช้แทนตัวอักษรฮันจา ฮันจานั้นหมายถึงตัวอักษรจีนที่ใช้ในภาษาเกาหลีก่อนที่จะมีการประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้แทนโดยพระเจ้าเซจงมหาราช (세종대왕).

ใหม่!!: โซลและอักษรฮันกึล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮันจา

ำว่า ฮันจา ในภาษาเกาหลี ตัวสีแดงเขียนด้วยตัวอักษรฮันจา และตัวสีน้ำเงินเขียนด้วยฮันกึล ฮันจา (ฮันจา: 漢字, ฮันกึล: 한자) หรือ ฮันมุน บางครั้งเรียกว่า อักษรจีน-เกาหลี หมายถึงอักษรจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาเกาหลี และออกเสียงเป็นภาษาจีนแต่ในสำเนียงของภาษาเกาหลี ตัวอักษรฮันจาไม่เหมือนตัวอักษรคันจิ ในภาษาญี่ปุ่นที่ถูกปรับปรุงและย่อแบบญี่ปุ่นไปหลายตัว ในขณะที่อักษรฮันจาใช้ตัวอักษรจีนตัวเต็ม มีเพียงส่วนน้อยที่ย่อและใช้เหมือนตัวอักษรคัน.

ใหม่!!: โซลและอักษรฮันจา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีน

รูปอักษรจีนของคำว่า "ฮั่นจื้อ"-คันจิ-ฮันจา-ฮั้นถื่อ (漢字 / 汉字 หมายถึง "อักษรจีน") สีแดงเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีน คืออักษรภาพ (logogram) ที่โดยหลัก ๆ ในปัจจุบันใช้สำหรับเขียนภาษาจีน (เรียกว่า ฮั่นจื้อ) และภาษาญี่ปุ่น (เรียกว่า คันจิ) นอกจากนี้ก็ยังใช้เขียนระบบเลขของภาษาอื่นด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเช่นภาษาเกาหลี (เรียกว่า ฮันจา) และภาษาเวียดนาม (เรียกว่า จื๋อโนม) และยังคงหลงเหลืออยู่ในภาษาเหล่านี้ในบางระดับ อักษรจีนเป็นระบบการเขียนที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่องอันเก่าแก่ที่สุดในโลก นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า การเขียนในจีนที่เก่าสุดเริ่มเมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ไม่มีหลักฐานแสดงความเกี่ยวข้องกับการเขียนในบริเวณอื่น ตัวอย่างการเขียนภาษาจีนที่เก่าสุดมีอายุราว 957 – 407 ปี ก่อนพุทธศักราช (ราชวงศ์ซาง) ซึ่งเป็นจารึกบนกระดูกวัวและกระดองเต..

ใหม่!!: โซลและอักษรจีน · ดูเพิ่มเติม »

อังการา

อังการา (Ankara) เป็นเมืองหลวงของประเทศตุรกีและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดอังการา อังการาเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากอิสตันบูล ตั้งอยู่ในจังหวัดอังการาอยู่ที่ระดับความสูงเฉลี่ย 938 เมตร มีประชากรประมาณ 3.9 ล้านคน อังการาตั้งอยู่บริเวณกลางคาบสมุทรอานาโตเลีย จึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทั้งทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลตุรกี และเป็นที่ตั้งของสถานทูตประเทศต่าง ๆ อังการายังเป็นศูนย์กลางของทางหลวงและเส้นทางรถไฟทำให้เป็นศูนย์กลางของการค้าขาย สินค้าที่มีชื่อเสียงของเมืองคือผลิตภัณฑ์จากขนโมแฮร์ที่ได้จากแพะอังโกรา ขนอังโกราที่ได้จากกระต่ายอังโกรา แมวอังโกรา ลูกแพร์ น้ำผึ้ง และองุ่นท้องถิ่น ตัวเมืองประกอบด้วยส่วนที่เรียกว่า อูลุส ซึ่งเป็นเมืองเก่าที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคจักรวรรดิออตโตมัน และ เยนีเชฮีร์ ซึ่งเป็นเมืองใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นตามแผนการสร้างเมืองของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี แต่การพัฒนาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มีผู้คนจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาปักหลักบริเวณพื้นที่รอบนอกเมืองและเกิดบ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นอย่างไม่มีระเบียบเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: โซลและอังการา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแพ็กเจ

อาณาจักรแพ็กเจ (เกาหลี:백제, ฮันจา: 百濟; 18 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 660) สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอนจอพระราชโอรสองค์เล็กในจักรพรรดิดงเมียงยองในพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อจักรวรรดิโคกูรยอพยายามจะกลืนอำนาจของอาณาจักรพูยอ พระเจ้าอนจอได้นำกำลังคนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกมาจากจักรวรรดิโคกูรยอลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลอำนาจของอาณาจักรมาฮัน โดยข้ามแม่น้ำฮันมา เลือกชัยภูมิอยู่ใกล้ๆกับที่เป็นโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน เพื่อตั้งเมืองใหม่ชื่อ วิเรซอง แล้วสถาปนาเป็นอาณาจักรซิปเจหลังสิ้นรัชกาลของพระองค์มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายพระองค์ จนถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 31 ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายคือพระเจ้าอึยจา ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกองทัพชิลลาและกองทัพถังของจีนในปี ค.ศ. 660 (พ.ศ. 1203) ทำให้อาณาจักรแพ็กเจที่ปกครองมานานถึง 678 ปีก็ถึงกาลอวสาน.

ใหม่!!: โซลและอาณาจักรแพ็กเจ · ดูเพิ่มเติม »

อินช็อน

อินช็อน (인천, Incheon) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศเกาหลีใต้ รองจากโซลและปูซาน อินช็อนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของเกาหลีใต้ในศตวรรษที่ 21 ท่าเรือเมืองอินช็อนเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในชายฝั่งตะวันตกของเกาหลีใต้ ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อินช็อนได้รับการพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางธุรกิจนานาชาติและอุตสาหกรรมไฮเท็ค โดยเฉพาะเมืองนานาชาติซงโด อินช็อนได้รับคัดเลือกเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 17 ในปี 2014 (พ.ศ. 2557) ในระหว่างวันที่ 19 กันยายน - 4 ตุลาคม..

ใหม่!!: โซลและอินช็อน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: โซลและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเกาหลี

ักรวรรดิโชซ็อน (The Greater Korean Empire หรือ ประเทศโชซ็อน คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: โซลและจักรวรรดิเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดคย็องกี

ังหวัดคย็องกี เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในเกาหลีใต้ โดยมีซูว็อนเป็นเมืองเอกของจังหวัด กรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศตั้งอยู่ใจกลางของจังหวัดนี้ แต่มีการปกครองแยกไปจากจังหวัดคย็องกี โดยมีฐานะเป็นการปกครองระดับจังหวัดในชื่อ นครพิเศษ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โซลและจังหวัดคย็องกี · ดูเพิ่มเติม »

จีนโพ้นทะเล

วจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese; จีน: 華僑 huáqiáo หัวเฉียว, 華胞 huábāo หัวเปา, 僑胞 qiáobāo เฉียวเปา, 華裔 huáyì หัวอี้) คือ กลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึง จีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งดินแดนภายใต้การปกครองของรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่า ไต้หวัน เป็นเพียงมณฑลหนึ่งของตน และปัจจุบัน สหประชาชาติ มิได้รับรองฐานะไต้หวันให้เป็นสาธารณรัฐจีนแต่อย่างใ.

ใหม่!!: โซลและจีนโพ้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเหลือง

ภาพแสดงประเทศที่ล้อมรอบทะเลเหลือง ทะเลเหลือง (黄海; 황해 หรือ 서해; Yellow Sea) เป็นบริเวณทะเลทางเหนือของทะเลจีนตะวันออก ซึ่งคล้ายทะเลปิด แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ทะเลเหลืองตั้งอยู่ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับคาบสมุทรเกาหลี ชื่อว่าทะเลเหลืองนี้มาจากละอองทรายซึ่งมาจากแม่น้ำเหลืองและทำให้สีของน้ำทะเลเป็นสีเหลือง ทะเลเหลือง หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์จีน หมวดหมู่:ประเทศเกาหลี.

ใหม่!!: โซลและทะเลเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน (ฮังกึล: 인천국제공항, ฮันจา: 仁川國際空港) ตั้งอยู่ที่เกาะยางจอง เมืองอินช็อน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโซล โดยรองรับการเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ และสายการบินแห่งชาติอย่างโคเรียนแอร์ รวมทั้งเอเชียน่าแอร์ไลน์ และคาร์โก360 แทนที่ท่าอากาศยานกิมโป (เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติกิโป) นับตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (จีน: 香港國際機場, จีนกลาง: Xiānggǎng Guójì Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: hoeng1 gong2 gwok3 zai3 gei1 coeng4) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กล้าบก็อก (จีน: 赤鱲角機場, จีนกลาง: Chìlièjiǎo Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: cek3 laap6 gok3 gei1 coeng4) เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี..

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ

ทางอากาศ หอควบคุมการบิน ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ตั้งอยู่เกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในอ่าวโอซะกะ นอกชายฝั่งเมืองเซ็นนังและเมืองอิซุมิซะโนะ จังหวัดโอซะกะ ญี่ปุ่น ออกแบบโดยสถาปนิก Renzo Piano เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2537 โดย ในระหว่างปีงบประมาณ 2015 (พ.ศ. 2558) ท่าอากาศยานแห่งนี้มีเที่ยวบินเข้าและออก 163,506 เที่ยว ในจำนวนนี้มี 72,251 เที่ยวเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ และอีก 40,328 เที่ยวเป็นเที่ยวบินภายในประเทศ มีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งหมด 23,214,756 คน โดยเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 16,250,323 คน และผู้โดยสารภายในประเทศ 5,289,063 คน.

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ (김포국제공항) หรือรู้จักกันในชื่อ ท่าอากาศยานคิมโพ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของโซล ห่างจากย่านใจกลางประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ ก่อนถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนในปี ค.ศ. 2001 สถิติปี ค.ศ. 2014 มีผู้โดยสาร 21,566,946 คน นับว่ามากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากอินช็อนและเชจู.

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง

อาคารเทียบเครื่องบิน 3 ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นสนามบินระหว่างประเทศสนามบินหลักของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากใจกลางเมืองประมาณ ในเขตฉาวหยาง และบางส่วนของ เขตซุ่นอี้ บริหารงานโดย บริษัทท่าอากาศยานปักกิ่งแคปิตอล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking) ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ยึดสนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง เพิ่มอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในปี..

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว

อาคาร 1 อาคาร 2 อาคารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานฮะเนะดะ ตั้งอยู่ที่เมืองโอตะ กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น รองรับการบริการกรุงโตเกียว ในปี..

ใหม่!!: โซลและท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่นประชากร

วามหนาแน่นประชากร เป็นการวัดปริมาณประชากรในหน่วยพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยขึ้นอยู่กับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกนำมาสำรวจ เช่น ความหนาแน่นของประชากรในประเทศ หรือความหนาแน่นประชากรในเขตที่อยู่อาศัย และในบางครั้งจะเป็นการยากในการวัดที่ได้ค่าความหนาแน่นที่แน่นอน หน่วยที่ใช้ในการวัดความหนาแน่น ได้แก่ จำนวนประชากรต่อตารางกิโลเมตร หรือ จำนวนบ้านต่อพื้นที่ตารางกิโลเมตร หรือในบางกรณีพิเศษ จะใช้เป็นจำนวนประชากรต่อหน่วยความยาว เช่น จำนวนประชากรต่อบริเวณความยาวชายหาด ความหนาแน่นของประชากรของประเทศไทยทั่วทั้งประเทศ (ต่อตร.กม) ปี พ.ศ. 2545 เท่ากับ 123 คนต่อ ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและความหนาแน่นประชากร · ดูเพิ่มเติม »

คิมโพ

มโพ (김포) เป็นเมืองในจังหวัดคย็องกี ประเทศเกาหลีใต้ อยู่ติดกับเมืองอินช็อน เมืองคิมโพตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำฮันโดยมีเกาหลีเหนืออยู่ฝั่งตรงข้าม โดยเมืองนี้มีประชากรมากกว่า 300,000 คน หรือมากกว่า 71,000 ครัวเรือน ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพเคยตั้งอยู่ในเขตเมืองนี้ แต่ปัจจุบันอยู่ในเขตโซล เมืองคิมโพมีสถาบันการศึกษาเช่นวิทยาลัยคิมโพและมหาวิทยาลัยจุงอังซึงกา มีโรงเรียนระดับประถามศึกษา 27 แห่ง, โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 12 แห่งและโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 8 แห่ง.

ใหม่!!: โซลและคิมโพ · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ซัมซุง

ซัมซุง (อังกฤษ: Samsung; เกาหลี: 삼성, ฮันจา: 三星, MC: Samseong, MR: Samsŏng, ภาษาเกาหลีอ่านว่า ซัม-ซอง) เป็นชื่อกลุ่มบริษัทแห่งหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โซล, ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประกอบด้วยบริษัทย่อยจำนวนมาก และธุรกิจที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อยู่ภายใต้แบรนด์ซัมซุง และเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ซัมซุงได้ก่อตั้งโดย ลี เบียงชอล ในปีพ.ศ. 2493 ในช่วงแรกของการทำธุรกิจนั้นได้เน้น ไปที่การส่งออกสินค้า, แปรรูปอาหาร, สิ่งทอ ซัมซุงเริ่มเข้ามาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปลายปี พ.ศ. 2503 หลังจากการจากไปของประธานผู้ก่อตั้ง ลี เบียงชอล ทำให้ซัมซุงได้แยกกลุ่มธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Samsung Group, Shinsegae Group, CJ Group และ Hansol Group และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มา ซัมซุงได้เป็นที่รู้จักเป็นสากลมากขึ้นจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัทในปัจจุบัน ปัจจุบันธุรกิจของซัมซุง แบ่งออกเป็น 4 หน่วยใหญ่ ๆ คือ เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้สำนักงาน โทรศัพท์มือถือ และส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ดิจิตอลที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกในศตวรรษ 21 มีฐานการผลิต 25 แห่ง,บริษัทสาขาตลาด 36 แห่ง, สำนักงานย่อย 23 แห่ง ที่ประจำอยู่ใน 46 ประเทศทั่วโลก และกระจายอยู่ทั้ง 7 ทวีป คือ อเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง จีน CIS และละตินอเมริก.

ใหม่!!: โซลและซัมซุง · ดูเพิ่มเติม »

ซานฟรานซิสโก

ซานฟรานซิสโก หรือ แซนแฟรนซิสโก (San Francisco) คือเมืองในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีประชากร ประมาณ 808,976 คน ซึ่งเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นประชากรเป็นอันดับสองของประเทศ เมืองซานฟรานซิสโกตั้งอยู่บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาตั้งรกรากในซานฟรานซิสโกคือชาวสเปน โดยในปี ค.ศ. 1776 เมืองมีชื่อว่า เซนต์ฟรานซิส (St. Francis) ในภายหลังจากช่วงยุคตื่นทองในปี ค.ศ. 1848 ทำให้ประชากรในซานฟรานซิสโกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเมืองเติบโตอย่างมาก ถึงแม้ว่าซานฟรานซิสโกจะประสบปัญหา แผ่นดินไหวและไฟไหม้ขนาดใหญ่ในช่วงปี..

ใหม่!!: โซลและซานฟรานซิสโก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบราซิล

ราซิล (Brazil; Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (Federal Republic of Brazil; República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และ มหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาม และแคว้นเฟรนช์เกียนาของฝรั่งเศส (ติดกับทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี) ชื่อ "บราซิล" มาจากต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บราซิลวูด (Pau-Brasil ในภาษาโปรตุเกส) ซึ่งนำไปใช้ย้อมผ้าด้วยสีแดงจากเปลือกไม้ของมัน บราซิลเป็นดินแดนแห่งเกษตรกรรมและป่าเขตร้อน การที่บราซิลมีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายและมีแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ (สูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก) และเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคในปัจจุบัน บราซิลใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการ.

ใหม่!!: โซลและประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: โซลและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโคลอมเบีย

ลอมเบีย (โกลมเบีย) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโคลอมเบีย เป็นประเทศในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดต่อกับเวเนซุเอลาและบราซิล ทางทิศใต้ติดต่อกับเอกวาดอร์และเปรู ทางทิศเหนือจรดทะเลแคริบเบียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดต่อกับปานามาและมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: โซลและประเทศโคลอมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: โซลและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: โซลและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: โซลและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โซลและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขน

นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (Oriental magpie robin) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำเงา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางและข้างหางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาวทั้งปีก ตัวผู้สีจะชัดกว่าตัวเมีย ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ ปากและขาสีดำ มักจะพบเป็นตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟองและตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่ และจะฟักไข่นานประมาณ 8-14 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน ในประเทศไทยพบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกกางเขนเป็นนกเกาะคอน (อันดับ Passeriformes) ที่เคยจัดเป็นวงศ์นกเดินดง (Turdidae) แต่ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) เป็นนกสีดำขาวที่เด่น มองเห็นได้ง่าย มีหางยาวที่จะกระดกขึ้นลงเมื่อหาอาหารที่พื้นหรือจับบนต้นไม้ เป็นนกที่มีอยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่สามัญทั้งตามสวนในเมืองและในป่า เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะร้องเสียงเพราะ และเคยเป็นนกเลี้ยงที่นิยม นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเรียกนกว่า "Doyel" ชื่ออังกฤษของนกคือ Oriental Magpie Robin อาจจะเป็นเพราะนกดูคล้ายนกสาลิกาปากดำ (Common Magpie).

ใหม่!!: โซลและนกกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

นัมแดมุน

นัมแดมุน (ประตูใหญ่ทางทิศใต้) คือประตูโบราณที่ตั้งอยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีชื่อทางการว่า ซุงเยมุน (숭례문, Sungnyemun ประตูแห่งความเคารพอันเหมาะสม) ประตูแห่งนี้เคยเป็นสิ่งก่อสร้างสร้างด้วยไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโซล การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1938 (ค.ศ. 1395) ในรัชกาลของพระเจ้าแทโจ และแล้วเสร็จในอีก 3 ปีต่อมา ประตูบานนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา โดยมีขึ้นในรัชกาลพระเจ้าเซจงมหาราชเมื่อปี พ.ศ. 1990 (ค.ศ. 1447) และ รัชกาลพระเจ้าซองจงปี พ.ศ. 2022 (ค.ศ. 1479) การซ่อมแซมใหญ่ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ซึ่งต่อมาหลังจากการบูรณะแล้วเสร็จ รัฐบาลเกาหลีใต้ได้จัดให้เป็น สมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ หมายเลขหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ปีเดียวกัน เมื่อเช้าตรู่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เกิดเหตุลอบวางเพลิง สร้างความเสียหายอย่างหนักทั้งหลัง สะเทือนใจชาวเกาหลีและชาวต่างประเทศ การบูรณะนัมแดมุนขึ้นใหม่ใช้ระยะเวลา 5 ปีจึงเสร็จสิ้น ใช้งบประมาณกว่า 27 พันล้านวอน (ประมาณ 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 696 ล้านบาท) เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2556 รัฐบาลเกาหลีใต้จัดพิธีเปิดนัมแดมุนอย่างเป็นทางการและเปิดให้ประชาชนเข้าชมตามปกติอีกครั้ง.

ใหม่!!: โซลและนัมแดมุน · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำฮัน (ประเทศเกาหลี)

แม่น้ำฮัน (Han River; ฮันกึล: 한강;ฮันจา: 漢江) เป็นแม่น้ำบนคาบสมุทรเกาหลี, ประเทศเกาหลีใต้ น้ำแม่มีความยาวทั้งสิ้น 497.5 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาแทแบ็ก และไหลลงสู่ทะเลเหลือง.

ใหม่!!: โซลและแม่น้ำฮัน (ประเทศเกาหลี) · ดูเพิ่มเติม »

แอลจี อีเลคทรอนิคส์

ริษัทแอลจี อิเล็คทรอนิกส์ (LG Electronics) หรือที่เรียกกันทั่วไปสั้น ๆ ว่า แอลจี (LG) เป็นบริษัทประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามชาติ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในเกาหลีใต้ รองจากซัมซุง, ฮุนได และ กลุ่มเอ.

ใหม่!!: โซลและแอลจี อีเลคทรอนิคส์ · ดูเพิ่มเติม »

แขวงมย็อง

แขวงมย็อง (แปล 'อุโมงค์แห่งความสว่างไสว') เป็น แขวงหนึ่งอยู่ในเขตจุง โซล ประเทศเกาหลีใต้ หรือชื่อที่คนไทยรู้จักว่า เมียงดง อยู่ระหว่างถนนชุงมู ถนนอึลจิ และถนนนัมแดมุน มีพื้นที่ 0.99 กม² มีประชากรประมาณ 3,320 คน ส่วนใหญ่เป็นย่านการค้า เป็นหนึ่งในย่านธุรกิจและการท่องเที่ยวหลักของโซลJung-gu Office, Retrieved 2010-05-26 (Korean) ในปี..

ใหม่!!: โซลและแขวงมย็อง · ดูเพิ่มเติม »

แปะก๊วย

''Ginkgo biloba'' แปะก๊วย (;) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราว..

ใหม่!!: โซลและแปะก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

โบโกตา

กตา (Bogotá) ชื่อทางการคือ โบโกตาดิสตรีโตกาปีตัล (Bogotá Distrito Capital) (หมายถึง "เขตเมืองหลวงโบโกตา") และยังมีชื่อเรียกว่า ซานตาเฟเดโบโกตา (Santa Fe de Bogotá) เป็นเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของประเทศ คือ 7,321,831 คน (จากการสำรวจปี พ.ศ. 2548) ส่วนเขตนครหลวง (metropolitan area) ซึ่งรวมเขตเทศบาลโซอาชา (Soacha) ไว้ด้วยนั้นมีประชากรประมาณ 7,881,156 คน.

ใหม่!!: โซลและโบโกตา · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: โซลและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โอลิมปิกฤดูร้อน 1988

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 21 ประจำปี..

ใหม่!!: โซลและโอลิมปิกฤดูร้อน 1988 · ดูเพิ่มเติม »

โฮโนลูลู

นลูลู (Honolulu) เป็นเมืองหลวงรัฐและเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา แม้ว่า โฮโนลูลู จะหมายถึงเมืองที่ทอดตัวยาวไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะ แต่โดยทั่วไปแล้วชื่อนี้มักเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงเกาะโอวาฮูทั้งเกาะ โฮโนลูลูมีความหมายในภาษาฮาวายว่า "อ่าวแห่งความสงบ" หรือ "สถานที่แห่งความสงบ" โดย "สงบ" ในที่นี้หมายถึง ความสงบจากเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ในชีวิตของผู้คนชาวเมือง เมืองโฮโนลูลูทอดยาวไปตามชายฝั่งด้านทิศใต้ของเกาะโอวาฮู การสำมะโนประชากรปี..

ใหม่!!: โซลและโฮโนลูลู · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: โซลและโซล · ดูเพิ่มเติม »

ไทเป

right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ. 2005 จำนวน 2,619,022 คน (ไม่รวมประชากรในเขตนครซินเป่ย์ซึ่งนครซินเป่ย์มีประชากรมากกว่า) นครไทเปเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไต้หวัน เป็นที่ตั้งรัฐบาล และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง จักรยานยนต์ และยังเป็นอู่ต่อเรือด้วย นครไทเปเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและพัทยาของประเทศไทย นครไทเปอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของนครซินเป่ย์ ไทเป.

ใหม่!!: โซลและไทเป · ดูเพิ่มเติม »

เชมัน

มัน แชมัน หรือ เชมัน (shaman) เป็นชื่อเรียกของกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่ามีความสามารถในทางวิญญาณ มีความสามารถในการรักษาโรคด้วยวิญญาณ ในบางวัฒนธรรมจะเชื่อว่าสามารถควบคุมสภาพอากาศ สามารถเดินทางไประหว่างโลกมนุษย์ โลกวิญญาณ นรก และสวรรค์ พบได้มากในทางเหนือของทวีปเอเชียและตอนกลางของทวีปเอเชีย เชมัน แบ่งออกได้หลากหลายประเภท หลัก ๆ ก็คือ คนทรง (medium) ผู้เผยพระวจนะ (prophet) ผู้เห็นสิ่งต่าง ๆ (seer) และ ผู้ร่ายคาถา (sorcerer) เชมันมีชื่อเรียกแตกต่างไปตามแต่ภาษา วัฒนธรรม และลักษณะของความสามารถ เช่น คนทรง มิโกะ องเมียว บ้างเรียก พ่อมด หรือ แม่มด ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ก็มีผู้ใช้คาถาสาปแช่งเรียกชื่อว่า พระนางฮิมิโกะ ถือเป็นส่วนหนึ่งของเชมันเช่นกัน.

ใหม่!!: โซลและเชมัน · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

กาหลีภายใต้การปกครองของมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น หรือ เกาหลีของญี่ปุ่น หมายถึงช่วงเวลาที่แผ่นดินเกาหลีที่มีสถานะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่นภายหลังการลงนามในสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี ในปี..

ใหม่!!: โซลและเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวง

มืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใดๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเหมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวั.

ใหม่!!: โซลและเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนเกมส์ 1986

อเชียนเกมส์ 1986 การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 10 จัดขึ้นที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 20 กันยายน - 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: โซลและเอเชียนเกมส์ 1986 · ดูเพิ่มเติม »

เขตชุง (โซล)

ตชุง (Jung District) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฮัน เขตนี้มีเนื้อที่ 9.96 ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและเขตชุง (โซล) · ดูเพิ่มเติม »

เขตชุงนัง

ตชุงนัง (Jungnang District; ฮันกึล: 중랑구; ฮันจา: 中浪區) เป็นหนึ่งใน 20 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำฮัน นายกเทศมนตรีของเขตนี้คือ มุน บย็อง-คว็อน (문병권) นับตั้งแต่การเลือกตั้งของเขาในเดือนกรกฎาคมปี..

ใหม่!!: โซลและเขตชุงนัง · ดูเพิ่มเติม »

เขตชงโน

ตชงโน (Jongno District) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำฮัน เขตนี้มีเนื้อที่ 23.92 ตร.กม.

ใหม่!!: โซลและเขตชงโน · ดูเพิ่มเติม »

เขตยังช็อน

ตยังช็อน (Yangcheon District; ฮันกึล: 양천구; ฮันจา: 陽川區) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของแม่น้ำฮัน เขตนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 17.4 กม.

ใหม่!!: โซลและเขตยังช็อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตทงจัก

มหาวิทยาลัยซุงชิล สุสานแห่งชาติกรุงโซล เขตทงจัก (Dongjak District; ฮันกึล: 동작구; ฮันจา: 銅雀區) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำฮัน เป็นเขตที่ 17 ของในโซล หลังจากที่แยกออกจากเขตควันอักเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: โซลและเขตทงจัก · ดูเพิ่มเติม »

เขตควังจิน

ตควังจิน (Gwangjin District; ฮันกึล: 광진구; ฮันจา: 廣津區) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของแม่น้ำฮัน เขตนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 23.92 กม.

ใหม่!!: โซลและเขตควังจิน · ดูเพิ่มเติม »

เขตคังบุก

ตคังบุก (Gangbuk District; ฮันกึล: 강북구; ฮันจา: 江北區) เป็นหนึ่งใน 20 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแม่น้ำฮัน เขตนี้ถูกแยกออกจากเขตโทบง ในปี..

ใหม่!!: โซลและเขตคังบุก · ดูเพิ่มเติม »

เขตคังนัม

นคังนัม เขตคังนัม หรือ กังนัม (Hangul: 강남구; hanja: 江南區; RR: Gangnam-gu) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในกรุงโซล ความหมายของ ย่านนี้นั้น มีความหมายว่า "ฝั่งใต้ของแม่น้ำ" ในปี 2553 เขตคังนัมมีผู้คนอาศัยอยู่ปรมาณ 527,641 ซึ่งมากเป็น 1ใน 5 ย่านที่คนอาศัยมากที่สุดในกรุงโซล เขตคังนัมนั้นมีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 3 ในโซล มีพื้นที่ประมาณ 39.5ตารางกิโลเมตร คังนัมเป็นหนึ่งในสามเขตของโซลซึ่งได้แก่ เขตซอโช เขต ซงพาซึ่งเมื่อทั้ง 3 เขตมารวมกันแล้วจะมีพื้นที่อยู่ประมาณ 120 กิโลเมตร และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,567,881ของปี 2554 คิดเป็น20% ของพื้นที่และ 15% ของประชากรของโซล โดยในย่านคังนัมนั้นโดยส่วนมากจะเป็น โรงเรียน สถานศึกษาที่อยู่บริเวณย่านนี้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ที่ดินย่านนี้แพงก็เพราะว่า เป็นย่านใจกลางเมืองของโซลที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีเช่น มีโรงเรียนที่มีชื่อเสียง รวมถึงยังมีสำนักงานของบริษัทมากมายมาตั้งอยู่ย่านนี้ ในปี 2550 เคยมีการจัดอันดับดับที่ดินในเขตคังนัมแพงเป็นอันดับ 10 ของโลก หากจะเปรียบเทียบกับกรุงเทพมหานคร ย่านนี้ก็อาจเปรียบได้กับย่านสีลม-สาทร.

ใหม่!!: โซลและเขตคังนัม · ดูเพิ่มเติม »

เขตคึมช็อน

ตคึมช็อน (Geumcheon District; ฮันกึล: 금천구; ฮันจา: 衿川區) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของแม่น้ำฮัน นายกเทศมนตรีของเขตนี้คือ ชา ซ็อง-ซู (차성수) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: โซลและเขตคึมช็อน · ดูเพิ่มเติม »

เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติ (เกาหลีใต้)

ตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติโซล (เอสเอ็นซีเอ) เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเรียกภูมิภาคนี้เป็นภาษาเกาหลีว่า ซูโดกว็อน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่รวมเขตการปกครองระดับจังหวัดไว้ 3 เขต คือ โซล, อินช็อน และจังหวัดคย็องกี นับตั้งแต่มีการขยายรถไฟไต้ดินเขตโซลสู่เมืองอาซันของจังหวัดชุงช็องใต้ และเมืองชุนช็อนของจังหวัดคังว็อน ทำให้บางครั้งเมืองชอนัน, อาซัน และชุนช็อนได้รับการจัดให้อยู่ภายในเขตนี้ด้วย แต่ก็ไม่ถูกต้องนัก เขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติโซลมีประชากรประมาณ 24.5 ล้านคน (ปี 2550) ซึ่งถือว่าเป็นเขตปริมณฑลที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ภูมิภาคนี้ถือว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม การค้า การเงิน อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยของเกาหลีใต้ ซึ่งเฉพาะโซลมีประชากรประมาณ 10.2 ล้านคน ตามมาด้วยอินช็อนมีประชากรประมาณ 2.6 ล้านคน.

ใหม่!!: โซลและเขตปริมณฑลและเมืองหลวงแห่งชาติ (เกาหลีใต้) · ดูเพิ่มเติม »

เขตโทบง

ตโทบง (Dobong District; ฮันกึล: 도봉구; ฮันจา: 道峰區) เป็นหนึ่งใน 25 เขตที่อยู่ในโซล ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของแม่น้ำฮัน.

ใหม่!!: โซลและเขตโทบง · ดูเพิ่มเติม »

เซาเปาลู

นตัวเมืองเซาเปาลู right right right เซาเปาลู (São Paulo) เป็นเมืองหลวงของรัฐเซาเปาลู ประเทศบราซิล เมืองนี้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกตามจำนวนประชากร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีความมั่งคั่งที่สุดในประเทศ ชื่อเซาเปาลูเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า "นักบุญพอล" เซาเปาลูมีเนื้อที่ 1,523 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 10,886,518 คน ซึ่งทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ และซีกโลกใต้ (เขตมหานคร: ประมาณ 19 ล้านคน) เซาเปาลูเดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1554 โดยคณะมิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกส ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โปรตุเกสก็เริ่มเข้ามาขยายอำนาจในอเมริกาใต้ (ภายในเขตที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาตอร์เดซียัส) โดยส่งคณะนักสำรวจเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้และค้นหาทองคำ เพชร และทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งมีส่วนทำให้เซาเปาลูขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดก็ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1711 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คลื่นผู้อพยพจากประเทศอิตาลี โปรตุเกส สเปน เยอรมนี และประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามาในเซาเปาลูเพื่อทำงานในไร่กาแฟภายในรัฐ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การค้ากาแฟตกต่ำลง ผู้ประกอบการจึงเริ่มหันไปลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในเมือง โดยในครึ่งแรกของศตวรรษ นอกจากชาวยุโรปแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวอาหรับก็อพยพเข้ามาด้วย และตลอดศตวรรษเดียวกันนี้ เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของเซาเปาลูก็เป็นตัวดึงดูดให้ประชากรจากรัฐอื่น ๆ ที่ยากจนในบราซิลเข้ามาทำงานในเมืองนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: โซลและเซาเปาลู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Seoulกรุงโซลฮันยังฮันยางฮันซองฮันซ็องนครพิเศษโซลโซล/ซออุล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »