โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกราชวงศ์

ดัชนี แยกราชวงศ์

แยกราชวงศ์ (Ratchawong Intersection) ทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดตัดกันของถนนเยาวราชกับถนนราชวงศ์ แยกราชวงศ์ ได้ชื่อมาจากถนนราชวงศ์ ที่มีปลายทางเป็นท่าราชวงศ์ เป็นท่าเรือข้ามฟากไปยังท่าดินแดง ในพื้นที่เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี และให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา ในอดีตเป็นท่าเรือสินค้าและการพาณิชย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อเนื่องจนถึงรัชกาลที่ 6 บริเวณนี้เป็นแหล่งรวมของภัตตาคารร้านอาหารระดับสูงหลายแห่งที่มีชื่อเสียงเพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูง ตลอดจนชนชั้นกลางระดับสูง ใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์หรือรับประทานอาหารมื้อค่ำกัน ในเทศกาลตรุษจีนของปี..

20 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวงเวียนโอเดียนสำนักข่าวไทยถนนราชวงศ์ถนนลำพูนไชยถนนคนเดินถนนเยาวราชตรุษจีนประชาชาติธุรกิจแยกวัดตึกแยกเสือป่าแยกเฉลิมบุรีเรือด่วนเจ้าพระยาเขตสัมพันธวงศ์เขตคลองสานเนชั่นทีวี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนโอเดียน

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และวงเวียนโอเดียน · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวไทย

ตราสัญลักษณ์สำนักข่าวไทย เริ่มใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 สำนักข่าวไทย (Thai News Agency ชื่อย่อ: สขท.; TNA) เป็นหน่วยงานประกอบกิจการข่าวสาร ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ถือเป็นสำนักข่าวแห่งแรกของประเทศไทย มีหน้าที่รับผิดชอบหลัก ในการผลิต รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และรายงานข่าว เพื่อนำเสนอออกอากาศ ทั้งทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต สื่อทางคอมพิวเตอร์ออนไลน์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนนำข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้แลกเปลี่ยน กับกลุ่มความร่วมมือในต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน และนำเสนอข่าวในประเทศไทย ไปสู่นานาประเทศทั่วโลก ทั้งนี้ ยังเปิดศูนย์ข่าวในส่วนภูมิภาคอีก 4 แห่งคือ ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ศูนย์ข่าวขอนแก่น ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ และศูนย์ข่าวระยอง.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และสำนักข่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และถนนราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลำพูนไชย

นนลำพูนไชย ถนนลำพูนไชย เป็นถนนสายสั้น ๆ ในย่านเยาวราช พื้นที่แขวงตลาดน้อยและแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ถนนพระรามที่ 4 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านทางแยกลำพูนไชยที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญกรุง และไปสิ้นสุดที่ถนนเยาวราชบริเวณใกล้กับวงเวียนโอเดียน ถนนลำพูนไชยเป็นที่ตั้งของสถาบันกวดวิชาดาว้องก์ และเมื่อปี..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และถนนลำพูนไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนคนเดิน

นนคนเดิน (Pedestrian mall) เป็นการใช้พื้นที่ถนนสำหรับการจัดกิจกรรม อาจมีการปิดการจราจรชั่วคราว หรือถาวร เพื่อให้คนเดินเท้าสามารถใช้พื้นที่ถนนในการทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น เป็นที่จัดงานทางด้านวัฒนธรรม การแสดง ขายสินค้า ขายอาหาร งานพาเรด ตัวอย่างถนนที่มีการจัดเป็นถนนคนเดินในกรุงเทพฯ เช่น ถนนสีลม, ถนนข้าวสาร, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระจันทร์, ซอยประชานฤมิตร (ตรอกข้าวหลาม), ถนนเยาวราช, ถนนราชดำเนิน, ฯลฯ นอกจากกรุงเทพแล้ว ต่างจังหวัดยังมีถนนคนเดินอีกเป็นจำนวนมาก เช่น.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และถนนคนเดิน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และตรุษจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประชาชาติธุรกิจ

ประชาชาติธุรกิจ เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายสามวันในเครือมติชน โดยจะมีสองฉบับในหนึ่งสัปดาห์ คือฉบับวันจันทร์ (วางแผงวันอาทิตย์) และฉบับวันพฤหัสบดี (วางแผงวันพุธ) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อรวมประชาชาติรายวัน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับแรกๆ ที่ใช้กระดาษปอนด์ขาว และแบ่งเนื้อหาเป็นส่วนต่างๆ ตามรูปแบบของหนังสือพิมพ์ธุรกิจในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และประชาชาติธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

แยกวัดตึก

แยกวัดตึก (Wat Tuek Intersection) เป็นทางแยกแห่งหนึ่ง ในแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกตัดกันระหว่างถนนเยาวราชกับถนนจักรวรรดิ ถือได้ว่าเป็นส่วนปลายของถนนเยาวราช ชื่อ "วัดตึก" ของทางแยกได้มาจากชื่อของวัดชัยชนะสงคราม หรือที่เคยเรียกกันว่า วัดตึก ซึ่งเดิมเคยเป็นบ้านของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งตัวอาคารเดิมนั้นส่วนใหญ่เป็นตึก เมื่อถวายที่ให้สร้างเป็นวัด ผู้คนจึงนิยมเรียกขานกันว่า วัดตึก ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทางแยก ถนนจักรวรรดิจากแยกวัดตึก เป็นการจราจรแบบทางเดียวไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้าที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งธนบุรี และเป็นจุดตัดระหว่างพื้นที่แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กับพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร อีกด้วย ปัจจุบัน บริเวณแยกวัดตึกเป็นที่ตั้งของร้านขายยาสมุนไพรทั้งแผนจีนและแผนไทย ที่มีประวัติเก่าแก่ยาวนานมากกว่า 100 ปี และบริเวณเวิ้งนาครเขษมด้านถนนเยาวราช ที่มุ่งหน้าไปยังสะพานภาณุพันธ์ ยังปรากฏป้ายรถรางป้ายสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร และของประเทศไทยหลงเหลืออยู่ด้ว.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และแยกวัดตึก · ดูเพิ่มเติม »

แยกเสือป่า

แยกเสือป่า (Suea Pa Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกในแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นจุดตัดระหว่างถนนเสือป่า, ถนนเจริญกรุง และถนนราชวงศ์ โดยได้ชื่อ "เสือป่า" มาจากถนนเสือป่าอันเป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานชื่อในปี..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และแยกเสือป่า · ดูเพิ่มเติม »

แยกเฉลิมบุรี

แยกเฉลิมบุรี (Chaloem Buri Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนเยาวราชกับถนนทรงสวัสดิ์ ชื่อ "เฉลิมบุรี" นั้นมาจากในอดีต ที่นี่ทางด้านถนนทรงสวัสดิ์ฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางแยกหมอมี หรือสามแยก เคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี หรือก่อนหน้านั้นคือ โรงภาพยนตร์สิงคโปร์ และได้รื้อถออนออก และสร้างใหม่ในชื่อ เฉลิมบุรี ในวาระฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ในปี..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และแยกเฉลิมบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เรือด่วนเจ้าพระยา

รือด่วนเจ้าพระยา เป็นเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการในเส้นทางอำเภอปากเกร็ด-ท่าน้ำนนทบุรี-สาทร-วัดราชสิงขร-ราษฎร์บูรณะ โดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกั.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และเรือด่วนเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

เนชั่นทีวี

นชั่นทีวี (Nation TV) เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งที่นำเสนอรายการข่าวสาร โดยเอกลักษณ์ของคือ ข่าวเศรษฐกิจ การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และรายการเชิงข่าวเป็นหลัก แห่งแรกของประเทศไทย ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มส่งสัญญาณทางช่อง 8 ของสถานีโทรทัศน์เคเบิลยูบีซี เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน..

ใหม่!!: แยกราชวงศ์และเนชั่นทีวี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกราชวงศ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »