โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกประตูน้ำ

ดัชนี แยกประตูน้ำ

แยกประตูน้ำ (Pratu Nam Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดระหว่างถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริ และถนนราชปรารภ ตั้งอยู่ในบริเวณย่านการค้าประตูน้ำ และใกล้กับศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) อันเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีการจราจรพลุกพล่านตลอดทั้งวัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นที่ตั้งของท่าประตูน้ำ อันเป็นท่าเรือโดยสารคลองแสนแสบ ที่อยู่ใต้สะพานเฉลิมโลก 55 อันเป็นสะพานข้ามคลองแสนแสบอีกด้วย โดยชื่อ "ประตูน้ำ" มาจากประตูน้ำสระปทุมวัน หรือประตูน้ำวังสระปทุม ที่อยู่ในวังสระปทุมที่อยู่ใกล้เคียง อันเป็นประตูน้ำที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตราธิการสร้างขึ้นเมื่อปี..

24 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)กระเพาะปลากรุงเทพมหานครภัตตาคารมิชลินไกด์รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครวังสระปทุมสะพานเฉลิมโลก 55สะเต๊ะถนนราชดำริถนนราชปรารภถนนเพชรบุรีท่าประตูน้ำข้าวมันไก่คลองแสนแสบตลาดประตูน้ำประตูระบายน้ำแยกราชประสงค์แยกราชเทวีเรือโดยสารคลองแสนแสบเอ็มไทยเขตราชเทวีเซ็นทรัลเวิลด์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Ministry of Agriculture and Cooperatives) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ได้ยุบรวมกระทรวงเกษตรพานิชการเข้ากับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พร้อมกับลดฐานะลงเป็นกรม ๆ หนึ่ง ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการแยกกรมเกษตรพานิชการออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตราธิการ มี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นเสนาบดีคนแรก โดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ทำการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเกษตรพาณิชยการเป็น กระทรวงเศรษฐการ ในวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะปลา

กระเพาะปลา คือชื่อที่นิยมใช้เรียกถุงลมของปลาซึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ ระดับราคาขึ้นอยู่กับชนิดของกระเพาะปลาที่มีหลากหลายชนิดโดยเฉพาะกระเพาะปลาที่ได้มาจากปลาน้ำลึกที่อยู่ในตระกูลของปลากุเลาจะมีราคาแพงมาก กระเพาะปลานอกจากจะอยู่ในรูปแบบกระเพาะปลาแห้งแล้วยังอยู่ในรูปแบบของกระเพาะปลาสดอีกด้วยรูปแบบของอาหารที่นิยมปรุงกันเช่น กระเพาะปลาน้ำแดง กระเพาะปลาผัดแห้ง ฯลฯ ถุงลมของปลาเป็นอวัยวะส่วนที่นุ่มและอร่อย เมื่อนำมาปรุงรส การนำถุงลมมาแปลงโฉมเป็นกระเพาะปลา จะต้องลอกเอาเส้นเลือดและกล้ามเนื้อออกให้หมดแล้ว จึงนำไปทอดให้พองสวยน่ารับประทาน กระเพาะปลามีหลายระดับราคาแล้วแต่ความอร่อย และขนาดของกระเพาะปลา ปกติจะได้จากถุงลมของปลามังกร ปลาจวด ปลากระพง ปลาริวกิว กระเพาะปลาที่มีราคาแพงคือ กระเพาะปลามังกร (เหมี่ยนฮื่อ) ซึ่งช่วยบำรุงและเพิ่มกำลังวังชาได้เป็นอย่างดี ส่วนที่เราได้รับประทานกันบ่อย ๆ นั้นก็คือ กระเพาะปลากระพง เวลาที่ไปซื้อกระเพาะปลาที่ราคาถูกมาทานนั้น มักจะสงสัยกันว่า ใช่กระเพาะปลาจริง ๆ หรือเปล่านั้น หลายร้านใช้หนังหมูแห้งมาทำเป็นกระเพาะปลาแทน ไม่ใช่กระเพาะปลาที่ทำมาจากถุงลมของปลา แต่เป็นกระเพาะปลาเทียม หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:มีนวิทยา.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและกระเพาะปลา · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภัตตาคาร

ัตตาคาร หรือ ร้านอาหาร เป็นร้านที่คอยบริการอาหารตามความต้องการของลูกค้า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและภัตตาคาร · ดูเพิ่มเติม »

มิชลินไกด์

หน้าปกมิชลินไกด์ฉบับปี ค.ศ. 1929 สัญลักษณ์ดาวสามดวง มิชลินไกด์ (Michelin Guide) หรือ กีดมิชแล็ง เป็นหนังสือคู่มือที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง แผนที่ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหารขึ้นชื่อของสถานที่หรือประเทศต่าง ๆ โดยบริษัทมิชลิน บริษัทยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและมิชลินไกด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วังสระปทุม

วังสระปทุม ตั้งอยู่บริเวณถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินให้เป็นที่สร้างวังของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า แต่ยังมิได้มีการสร้างวังขึ้น ณ ขณะนั้น เนื่องจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ได้เสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ หลังจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าได้เสด็จออกมาประทับนอกพระบรมมหาราชวัง ทรงเริ่มสร้างพระตำหนักขึ้น ณ วังสระปทุม และเสด็จประทับเป็นการถาวรตลอดพระชนม์ชีพพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และครอบครัว ปัจจุบัน วังสระปทุมเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ วังสระปทุมยังใช้เป็นสถานที่จัดงานอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี รวมทั้ง ยังเป็นสถานที่จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสระหว่างพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถอีกด้ว.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและวังสระปทุม · ดูเพิ่มเติม »

สะพานเฉลิมโลก 55

นเฉลิมโลก 55 สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานในชุดเฉลิม สะพานที่ 14 สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ที่ถนนราชดำริและถนนเพชรบุรี (บริเวณแยกประตูน้ำในปัจจุบัน) เพื่อเชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ โดยสะพานนี้เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแห่งแรกในประเทศไทย สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 55 โดยมีพระราชดำริว่า สะพานข้ามคลองบางกะปิจะเป็นสะพานสำคัญที่จะเชื่อมพระนครทั้งตอนเหนือและตอนใต้ให้สัญจรไปมาได้โดยสะดวก สะพานเฉลิมโลก 55 เป็นสะพานข้ามคลองใหญ่ เรือค้าขายสัญจรไปมามาก การก่อสร้างแตกต่างจากสะพานเฉลิมแห่งอื่น ๆ ด้วยการก่อสร้างอย่างมั่นคงถาวรโดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก พนักราวสะพานทึบและมีลายประดับแบบเรขาคณิต มีชื่อสะพานทำเป็นอักษรกดลึกติดอยู่กับพนักสะพานด้านใน โดยใช้นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ก่อสร้าง จากรายงานคำกราบบังคมทูลบางส่วนของพระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าพระยายมราช อธิบดีกรมสุขาภิบาลในพิธีเสด็จเปิดสะพาน ระบุถึงเหตุผลในการเลือกที่ตั้งและรายละเอียดบางประการเกี่ยวกับการก่อสร้างสะพานนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า “...ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าสพานข้ามคลองนี้เปนสพานสำคัญที่จะเชื่อมพระนครตอนเหนือแลตอนใต้ให้ใกล้ถึงกัน จึงได้ทรงเลือกสรรให้สร้างเปนสพานเฉลิม...

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและสะพานเฉลิมโลก 55 · ดูเพิ่มเติม »

สะเต๊ะ

ต๊ะไก่ในมาเลเซีย สะเต๊ะ (satay, saté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น" อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (saté) หรือ "ซาไท" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและสะเต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำริ

นนราชดำริ (Thanon Ratchadamri) เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่สี่แยกประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและถนนราชดำริ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชปรารภ

นนราชปรารภ ถนนราชปรารภ (Thanon Ratchaprarop) ถนนสายหนึ่งในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 1.4 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่สามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างถนนราชวิถีกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี มุ่งไปทางทิศใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรางน้ำและถนนศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่แยกประตูน้ำซึ่งเป็นแยกตัดกับถนนเพชรบุรี.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและถนนราชปรารภ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรบุรี

นนเพชรบุรีช่วงแยกประตูน้ำบริเวณหน้าห้างแพลทินัมแฟชันมอลล์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ช่วงหน้าโรงเรียนเซนต์ดอมินิก ถนนเพชรบุรี (Thanon Phetchaburi) เป็นเส้นทางจราจรสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและถนนเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าประตูน้ำ

ท่าประตูน้ำ (Tha Pratunam) เป็นท่าจอดเรือของเรือโดยสารคลองแสนแสบบริเวณเชิงสะพานเฉลิมโลก 55 ด้านทิศตะวันออก ถนนราชดำริ ระหว่างสี่แยกประตูน้ำ (ตัดถนนเพชรบุรีและถนนราชปรารภ) และสี่แยกราชประสงค์ ในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ท่าเรือแห่งนี้เป็นจุดเปลี่ยนเรือระหว่างเรือขนาดใหญ่บรรทุก 150-200 คน (ท่าวัดศรีบุญเรือง-ประตูน้ำ) และเรือขนาดเล็กบรรทุก 80-100 คน (ท่าประตูน้ำ-สะพานผ่านฟ้า) ผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่านี้สามารถเดินทางต่อได้โดยไม่เสียค่าเรือเพิ่ม โดยเปลี่ยนจากเรือลำเดิมเป็นลำใหม่บนฝั่งเดียวกัน และแสดงตั๋วจากเรือลำเดิมกับพนักงานเก็บเงินบนเรือลำใหม.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและท่าประตูน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวมันไก่

้าวมันไก่ ข้าวมันไก่ (ข้าวไก่ไหหลำ หรือ ข้าวไก่ไห่หนาน) เป็นอาหารคาวของไทยและจีน คาดว่าอาหารชนิดนี้ได้รับการเผยแพร่มาจากชาวจีน หรือไหหลำหรือไห่หนาน) มีให้รับประทานกันทั่วทุกภาคในประเทศไทย และนิยมกันมากในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน นอกจากนี้ยังนิยมรับประทานกันมากในมาเลเซียและสิงคโปร์อีกด้วย และยังติดอันดับเป็นหนึ่งใน 15 เมนูอาหารต่างชาติที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบอีกด้วย ร่วมกับอาหารไทยอีกหนึ่งอย่าง คือ ข้าวผัดกะเพรา ร้านข้าวมันไก่พบได้ทั่วไปตามแหล่งชุมชน โดยมักจะมีตู้ใสแขวนไก่ต้มทั้งตัวอยู่หน้าร้านเป็นจุดสังเกต บางร้านนำข้าวมันไก่มาประยุกต์โดยใช้ไก่ย่างหรือไก่ทอดเพื่อเพิ่มความหลากหลาย แม้ว่าข้าวมันไก่จะเป็นอาหารจานด่วนที่เป็นที่นิยมมาก กินง่าย และมีน้ำจิ้มอร่อย แต่ก็เป็นอาหารที่ไม่ควรทานบ่อยๆ เนื่องจากไขมันไก่ที่คลุกเคล้าผสมอยู่ในข้าว ในหนังไก่ ในเนื้อไก่ และไขมันของเครื่องในไก่ ซึ่งถ้ารับประทานมาก ๆ เข้าอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ข้าวมันไก่ได้ถูกอ้างอิงถึงในเพลงแนวป๊อปแดนซ์ ข้าวมันไก่ ในอัลบั้ม Siren Love ของเจมส์–เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2540.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและข้าวมันไก่ · ดูเพิ่มเติม »

คลองแสนแสบ

รือด่วนในคลองแสนแสบ คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน คือ อานามสยามยุทธ คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ในปัจจุบันนั้นมีปัญหามลภาวะทางน้ำ ส่งกลิ่นเหม็นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยการทิ้งขยะลงในแม่น้ำ ทำให้คลองแสนแสบนั้นมีสภาพที่สกปรกไม่น่ามอง.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและคลองแสนแสบ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดประตูน้ำ

ประชาชนที่ซื้อของที่ประตูน้ำ ตลาดประตูน้ำ เป็นหนึ่งในตลาดหลักของกรุงเทพมหานคร และเป็นตลาดขายเสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและตลาดประตูน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ประตูระบายน้ำ

ประตูระบายน้ำ (ปตร.) คือ สิ่งก่อสร้างในบริเวณทางน้ำที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ำ ใน แม่น้ำ คลอง ทะเลสาบ ฝาย อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำจะใช้สำหรับในการปรับปริมาณน้ำที่ต้องการให้ไหลผ่าน ปรับความเร็วของน้ำ หรือใช้ในการกักเก็บน้ำได้ ในขณะเดียวกันประตูระบายน้ำยังช่วยป้องกันในกรณีที่มีพายุ ในกรณีของระบบป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำใช้ในการลดระดับของผิวน้ำสำหรับแม่น้ำหรือคลองเส้นหลัก โดยให้น้ำไหลผ่านคลองลัดน้ำ เมื่อปริมาณระดับน้ำใกล้ล้นตลิ่ง.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและประตูระบายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แยกราชประสงค์

ี่แยกราชประสงค์ (Ratchaprasong Intersection) เป็นสี่แยกใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนเพลินจิตและถนนราชดำริ เป็นย่านศูนย์การค้าที่สำคัญซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานศาลเทพเจ้าต่างๆทั้งสิ้น 6 ศาลจนบางคนถึงกับเรียกสี่แยกนี้ว่า "แยก 6 เทพ" ซึ่งเทพทั้งหกองค์นั้นเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท้าวมหาพรหมเอราวัณ จากคำขวัญของเขตปทุมวันที่ว่า "บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์" ล้วนแล้วแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแยกราชประสงค์นี้อย่างมาก รวมไปถึงการมีจุดเชื่อมโยงรถไฟฟ้าที่สถานีสยาม เพราะสี่แยกราชประสงค์ อยู่ในบริเวณของสามสถานี ตั้งแต่สถานีราชดำริ สถานีสยาม และสถานีชิดลม นอกจากนี้ สี่แยกราชประสงค์ ยังมีสำนักงานราชการที่สำคัญ ตั้งอยู่จำนวนมาก เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การไฟฟ้านครหลวง ราชกรีฑาสโมสร และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ฯลฯ.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและแยกราชประสงค์ · ดูเพิ่มเติม »

แยกราชเทวี

แยกราชเทวี (Ratchathewi Intersection) เป็นสี่แยกในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดของถนนพญาไทและถนนเพชรบุรี แต่ดั้งเดิม ณ สถานที่นี้ เคยเป็นที่ตั้งของสะพานพระราชเทวี หรีอที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า สะพานราชเทวี อันเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามคลองประแจจีน บนฝั่งถนนพญาไทก่อนถึงถนนประแจจีน (ถนนเพชรบุรี) สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา ด้วยการบริจาคพระราชทรัพย์สร้างสะพาน และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามและทรงประกอบพระราชพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและแยกราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เรือโดยสารคลองแสนแสบ

ท่าเรือประตูน้ำ เรือโดยสารคลองแสนแสบ เป็นบริการเรือด่วนในคลองแสนแสบ และคลองมหานาค มีเส้นทางระหว่าง ท่าน้ำวัดศรีบุญเรือง ในเขตบางกะปิ จนถึง ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยมีจุดต่อเรือที่ ท่าประตูน้ำ รวม 28 ท่าเรือ ดำเนินงานโดยกลุ่มเรือหางยาวที่รวมตัวกันในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวขนส่ง เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 จากการชักชวนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยนั้น เส้นทางการเดินเรือมีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร ให้บริการผู้โดยสารวันละกว่า 4 หมื่นคนทางการเดินเรืออกไปอีก 11 กิโลเมตรถึงมีนบุรี.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและเรือโดยสารคลองแสนแสบ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มไทย

อ็มไทย (mthai.com) เป็นเว็บท่าและเว็บบอร์ดของประเทศไทย เริ่มให้บริการประมาณปี..

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและเอ็มไทย · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

เซ็นทรัลเวิลด์

ซ็นทรัลเวิลด์ เดิมชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นโครงการศูนย์การค้า โรงแรม และอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 และถนนเพลินจิต เป็นศูนย์การค้าครบวงจรที่มีพื้นที่รวมใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศไทย รองจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต จังหวัดนนทบุรี และมีพื้นที่ขายมากเป็นอันดับสามของโลก นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ชั้น 1 มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ และหอคอยอบราจ อัล เบท ประเทศซาอุดีอาระเบี.

ใหม่!!: แยกประตูน้ำและเซ็นทรัลเวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สามแยกประตูน้ำสี่แยกประตูน้ำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »