โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำยม

ดัชนี แม่น้ำยม

แม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ แม่น้ำยม (20px) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ.

28 ความสัมพันธ์: ภาคกลาง (ประเทศไทย)ฤดูกาลฤดูฝนฤดูร้อนฤดูหนาวสาหร่ายหางกระรอกหญ้าคาหญ้าแพรกอำเภอชุมแสงอำเภอปงอำเภอเชียงม่วนจังหวัดพะเยาจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดสุโขทัยจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดแพร่ทิวเขาผีปันน้ำทิวเขาแดนลาวประเทศไทยปลารากกล้วยปลาสร้อยปลาตะเพียนขาวปลาซิวปลาน้ำจืดแม่น้ำแม่น้ำน่านแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูกาล

การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ฤดูกาล (Season) เป็นช่วงเวลาในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากแกนโลกเอียงเป็นมุม 23.5 องศา จึงทำให้ในแต่ละช่วงของปี แต่ละบริเวณจะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ทำให้มีอุณหภูมิต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้น ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและฤดูกาล · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูฝน

พายุฤดูฝนในเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ฤดูฝน (อังกฤษ: Rainy Season) เป็นฤดูกาลที่มีฝนตกตลอดทั้งเดือน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมของ ประเทศไทย และจะเกิดมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฤดูฝนยังทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและยังช่วยขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองภายในอากาศด้วย ฝนนั้นเกิดจากการควบแน่น ของก๊าซและกลายเป็นของเหลวตกลงมาซึ่งฤดูฝนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นอย่างมาก และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นอีกด้วย ฝน หมวดหมู่:ฝน.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและฤดูฝน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูร้อน

ูร้อนในประเทศเบลเยี่ยม ฤดูร้อน (Summer) เป็นฤดูที่มีอากาศร้อนที่สุดในปี ฤดูร้อนในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนืออยู่ระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยทั่วไปคือตั้งแต่ 21 มิถุนายน (วันครีษมายัน) ถึง 21 กันยายน (วันศารทวิษุวัต) ในฤดูร้อนกลางวันจะยาวกว่ากลางคืน โดยความยาวของวันจะเริ่มลดลงเมื่อสิ้นฤดูร้อน ในวันวิษุวัต วันที่เริ่มต้นของฤดูร้อนในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ตามสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม ในทางโหราศาสตร์จีน ฤดูร้อนจะเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณวันที่ 5 พฤษภาคม คือเมื่อ jiéqì (ปฏิทินโหราศาตร์จีน) เข้าสู่สภาวะ lìxià (立夏) และจบลงราววันที่ 6 สิงหาคม.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและฤดูร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาว

ฤดูหนาว (ฝรั่งเศส: hiver; เยอรมัน อังกฤษ: winter; สเปน: invierno; โปรตุเกส: inverno) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส หนาว หมวดหมู่:ฤดูหนาว.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่ายหางกระรอก

หร่ายหางกระรอก เป็นพืชชนิดเดียวในสกุล Hydrilla ลักษณะเป็นพืชใต้น้ำ ต้นเป็นสายเรียวยาว รากยึดติดพื้นดินหรืออาจลอยน้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปแถบแกมหอกหรือรูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ออกรอบข้อ 3-8 ใบ กว้าง 1.5 มิลลิเมตร ยาว 8-40 มิลลิเมตร ดอกมีขนาดเล็กแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกตามซอกใบ มีใบประดับหุ้ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้มี 3 อัน ดอกเพศเมียมีใบประดับหุ้มที่โคนก้าน มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบเช่นเดียวกับดอกเพศผู้ มียอดเกสรเพศเมีย 3 อัน ผลคล้ายรูปทรงกระบอก มีขนาดเล็ก สาหร่ายหางกระรอกกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของซีกโลกตะวันออก ในสหรัฐจัดเป็นพืชรุกรานที่ทำความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม สาหร่ายหางกระรอกนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในตู้ปลา ในทางโภชนาการอุดมไปด้วยวิตามินบี12, เหล็กและแคลเซียม.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและสาหร่ายหางกระรอก · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าคา

หญ้าคา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrica Beauv.) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลหญ้า มีลำต้นสูงประมาณ ๕๐-๑๐๐ เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นทรงกลมเรียวยาวขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นขนกระจุก ขอบใบมีลักษณะคมกริบ ออกดอกเป็นช่อก้านยาวสีขาว คล้ายหางกระรอก มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคไต โรคมะเร็งคอ แก้ลมพิษ ผื่นคัน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์จากหญ้าคาในการมุงหลัง.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและหญ้าคา · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าแพรก

หญ้าแพรก เป็นพืชพื้นเมืองในทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และยุโรปใต้ ส่วนชื่อ หญ้าเบอร์มิวดา มาจากการที่หญ้าแพรกเป็นพืชต่างถิ่นรุกรานในเบอร์มิวดา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นที่นั่น ในประเทศไทย ชาวเหนือ เรียกว่า "หญ้าเป็ด" ส่วนชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า "หน่อเก่เด".

ใหม่!!: แม่น้ำยมและหญ้าแพรก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอชุมแสง

มแสง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากตัวเมืองนครสวรรค์ประมาณ 39 กิโลเมตร ระยะการเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง อำเภอชุมแสงมีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายที่ อากาศค่อนข้างร้อน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำน.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและอำเภอชุมแสง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปง

อำเภอปง (15px) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยาอำเภอปงเป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่มากที่สุดในจังหวั.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและอำเภอปง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเชียงม่วน

อำเภอเชียงม่วน (50px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านม่วง จังหวัดน่าน (อำเภอปง จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการแบ่งพื้นที่ตำบลสระ ตำบลเชียงม่วน ออกจากอำเภอปง จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งประกาศจัดตั้งตำบลบ้านมางอีกหนึ่งตำบล รวมเป็น กิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย ขึ้นตรงกับอำเภอปง ปี..

ใหม่!!: แม่น้ำยมและอำเภอเชียงม่วน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพะเยา

ังหวัดพะเยา (30px พ(ร)ะญาว) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พะยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์องค์แรกคือ พญาจอมธรรม ซึ่งเป็นราชบุตรองค์หนึ่งจากเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของกษัตริย์เมืองพะยาวอีกหลายองค์ เช่น พญาเจือง วีรบุรุษแห่งเผ่าไท-ลาวในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง และพญางำเมืองซึ่งได้กระทำสัตย์สาบานเป็นไมตรีต่อกันกับพญามังรายแห่งนครพิงค์เชียงใหม่ และพญาร่วงรามคำแหงแห่งสุโขทัย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา ในสมัยพญาคำฟู เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใน..

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดพะเยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิจิตร

ังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,531 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดพิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุโขทัย

ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแพร่

ังหวัดแพร่ (25px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและจังหวัดแพร่ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาผีปันน้ำ

แผนที่แสดงอาณาเขตของทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง, วัง, ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิวเขาทั้งทิวครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขา ซึ่งเรียงตัวกันตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน, ดอยผาโจ้, ดอยผีปันน้ำ, ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ ทำให้ต้องเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำยมและทิวเขาผีปันน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาแดนลาว

ทิวเขาแดนลาว เป็นเป็นชื่อไทยของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งวางตัวตามแนวพรมแดนไทย-พม่า ทิวเขาแดนลาวนั้นไม่ได้วางตัวแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างที่เข้าใจ เพราะอันที่จริงแล้ว ทิวเขาแดนลาววางตัวในแนวเฉียงตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ ลึกเข้าไปในเขตรัฐฉาน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉานโยมา เช่นเดียวกับทิวเขาอินทนนท์ และทิวเขาขุนตานด้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและทิวเขาแดนลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลารากกล้วย

ปลารากกล้วย หรือ ปลาซ่อนทราย (horseface loach) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsis ของวงศ์ปลาหมูแท้ (Cobitidae)ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและปลารากกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อย

ปลาสร้อยน้ำเงิน (''C. caudimaculatus'') ปลาสร้อยขาว (''H. siamensis'') ปลาสร้อยนกเขา (''O. vittatus'') ปลาสร้อย หรือ กระสร้อย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่ใช้เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ส่วนใหญ่มีลำตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าบนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามความยาวของลำตัว มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงในลำน้ำใหญ่ในฤดูนํ้า และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินหรือสืบพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลเอ่อหรือท่วมขังในตอนกลางและปลายฤดูน้ำหลาก.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและปลาสร้อย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและปลาตะเพียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิว

ปลาซิวข้างขวานเล็ก (''Trigonostigma espei'') ปลาซิว (Minnow; ในไอร์แลนด์เรียก Pinkeens) เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยที่เรียกปลาน้ำจืดขนาดเล็กหลายชนิด ในหลายสกุล ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) อันดับปลากินพืช เช่น สกุล Rasbora ที่มีลำตัวยาว ตัวใส, สกุล Danio, สกุล Esomus ที่มีหนวดยาวเห็นชัดเจน, สกุล Laubuca ที่มีรูปร่างอ้วนป้อม โดยมากแล้วเป็นปลาที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ขนาดลำตัวไม่เกิน 5 เซนติเมตร หากินบริเวณผิวน้ำ แต่ก็ยังมีหลายสกุล หลายชนิดที่กินเนื้อหรือกินลูกปลาเล็กเป็นอาหาร และมีขนาดลำตัวใหญ่กว่านั้น เช่น ปลาซิวอ้าว (Luciosoma bleekeri) หรือ ปลาสะนาก (Raiamas guttatus) เป็นต้น โดยปลาจำพวกปลาซิวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ ปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ถึง 80 เซนติเมตร นอกจากนี้แล้ว ปลาซิว ยังอาจจะเรียกรวมถึงปลาในวงศ์อื่นหรืออันดับอื่นได้อีกด้วยที่มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายเคียงกัน เช่น ปลาซิวแก้ว (Clupeichthys aesarnensis) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) อันดับปลาหลังเขียว หรือ ปลานีออน (Paracheirodon innesi) ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) อันดับปลาคาราซิน เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว คำว่า ปลาซิวในนัยทางภาษาไทยใช้เปรียบเทียบกับคนขี้ขลาดหรือใจไม่สู้ ว่า "ใจปลาซิว" เพราะปลาซิวโดยมากเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อพ้นจากน้ำ นอกจากนี้แล้วยังมักถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบคู่กับปลาสร้อยว่า "ปลาซิว ปลาสร้อย" หมายถึง สิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีความสำคัญนัก เพราะปลาทั้งสองจำพวกนี้เป็นปลาขนาดเล็ก พบได้ทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับสำนวนในภาษาอังกฤษด้วย โดยคำว่า "Minnow" นั้นก็มีความหมายว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญ หรือสิ่งหรือบุคคลที่ถูกมองข้าม เป็นต้น.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและปลาซิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: แม่น้ำยมและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำน่าน

แม่น้ำน่าน (30px) มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: แม่น้ำยมและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »