โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำบีคลี่

ดัชนี แม่น้ำบีคลี่

แม่น้ำบีคลี่ เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไหลไปรวมกันกับแม่น้ำอีกสองสาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำรันตี ณ จุดที่เรียกว่า "สามสบ" หรือ "สามประสบ" ที่อำเภอสังขละบุรี บริเวณสะพานมอญ และวัดวังก์วิเวการาม แม่น้ำบีคลี่เป็นแม่น้ำที่ท่วมไหลลึกเข้าไปถึงต้นน้ำ เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์น้ำอันเป็นทรัพยากรที่สำคัญจำนวนมาก เป็นแหล่งอาศัยและแพร่กระจายพันธุ์ของพันธุ์ปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาเค้าดำ, ปลายี่สก, ปลากา, ปลาตะเพียน และปลาเวียน เป็นต้น โดยปลาเหล่านี้จะมีพฤติกรรมการวางไข่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม อันเป็นช่วงฤดูฝน ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำจำนวนมาก อีกทั้งยังไหลผ่านชุมชนและหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงอีกหลายแห่ง ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกับแม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำรันตี.

13 ความสัมพันธ์: ฤดูฝนวัดวังก์วิเวการามสะพานอุตตมานุสรณ์อำเภอสังขละบุรีอนุสาร อ.ส.ท.ต้นน้ำปลากาปลายี่สกปลาค้าวดำปลาตะเพียนขาวปลาเวียนแม่น้ำรันตีแม่น้ำซองกาเลีย

ฤดูฝน

พายุฤดูฝนในเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ฤดูฝน (อังกฤษ: Rainy Season) เป็นฤดูกาลที่มีฝนตกตลอดทั้งเดือน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคมของ ประเทศไทย และจะเกิดมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฤดูฝนยังทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและยังช่วยขจัดสิ่งสกปรกและฝุ่นละอองภายในอากาศด้วย ฝนนั้นเกิดจากการควบแน่น ของก๊าซและกลายเป็นของเหลวตกลงมาซึ่งฤดูฝนมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นอย่างมาก และยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้มากขึ้นอีกด้วย ฝน หมวดหมู่:ฝน.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และฤดูฝน · ดูเพิ่มเติม »

วัดวังก์วิเวการาม

วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และวัดวังก์วิเวการาม · ดูเพิ่มเติม »

สะพานอุตตมานุสรณ์

นอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญ สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 850 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเรีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมานุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสู่แม่น้ำซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำให้เกิดขาดกลาง และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ในเที่ยงของวันต่อมา หลังจากผ่านไป 1 ปี การซ่อมแซมสะพานแห่งนี้ก็ยังไม่เสร็จ และเกินสัญญาว่าจ้าง 120 วัน เนื่องจากมีปัญหาด้านบริษัทผู้รับเหมาที่มีปัญหาไม่สามารถนำไม้ที่ต้องขนส่งมาจากภาคอีสานมาซ่อมแซมได้ เนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย ในที่สุดสะพานอุตตมานุสรณ์ก็ได้รับการซ่อมแซม จากทหารช่างจากกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ค่ายสุรสีห์ ร่วมกับชาวบ้านอำเภอสังขละบุรี ใช้เวลาเพียงแค่ 29 วัน และมีพิธีเปิดใช้อีกครั้งอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันครบรอบชาตกาล 104 ปี ของหลวงพ่ออุตตมะ โดยมีการแสดงแสงสีเสียงด้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และสะพานอุตตมานุสรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสังขละบุรี

ังขละบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และอำเภอสังขละบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาร อ.ส.ท.

อนุสาร อ..ท.เป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นพร้อมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และอนุสาร อ.ส.ท. · ดูเพิ่มเติม »

ต้นน้ำ

น้ำพุรูเมอ ต้นน้ำของแม่น้ำรูเมอในประเทศเยอรมนี ต้นน้ำ (source หรือ headwater) ของแม่น้ำหรือลำธารเป็นจุดไกลสุดของแม่น้ำหรือลำธารนั้นจากชะวากทะเลหรือที่ที่ไหลบรรจบกับแม่น้ำอื่น เมื่อวัดตามระยะของแม่น้ำ หมวดหมู่:ธารน้ำ หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานธารน้ำ หมวดหมู่:นิเวศวิทยาน้ำจืด หมวดหมู่:สัณฐานวิทยาแม่น้ำ.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และต้นน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากา

ปลาการาชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และปลากา · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สก

ปลายี่สก หรือ ปลายี่สกทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Probarbus jullieni อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae).

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และปลายี่สก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวดำ

ปลาค้าวดำ หรือ ปลาเค้าดำ เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ปลาค้าวดำมีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาค้าวขาว (Wallago attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่จัดอยู่ในคนละสกุล มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยอาจยาวได้ถึงกว่า 2 เมตร น้ำหนัก 80 กิโลกรัม สถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคอีสานรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย เป็นต้น ปลาค้าวดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2534 โดยได้มีการปล่อยลูกปลาที่เพาะได้กลับคืนถิ่นธรรมชาติ ปลาค้าวดำเป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่นที่อยู่อาศัยมาก กินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร จึงมักเลี้ยงตัวเดียวเดี่ยว ๆ นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำเป็นปลาที่สามารถฮุบกลืนกินเหยื่อหรืออาหารขนาดใหญ่ได้ โดยในอดีตที่บ้านปากกิเลน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เคยมีเหตุการณ์ปลาค้าวดำกินคนมาแล้ว โดยเกิดเหตุที่โป๊ะท่าน้ำ เมื่อทารกคนหนึ่งอุจจาระเลอะเปรอะเปื้อนทั้งตัว ผู้เป็นแม่จึงนำไปแกว่งล้างในแม่น้ำ ทันใดนั้นก็ได้มีปลาค้าวดำตัวใหญ่โผล่ขึ้นมาจากน้ำฮุบกินเด็กเข้าไปทั้งตัว เหตุการณ์นี้เป็นที่แตกตื่นตกใจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น นอกจากนี้แล้ว ปลาค้าวดำมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาอีทุก" หรือ "ปลาทุก" ในภาษาอีสาน โดยเรียกตามสีลำตัวที่มีสีดำสนิทเหมือนกับคนสวมชุดไว้ทุก.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และปลาค้าวดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนขาว

ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน (Java barb, Silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก" ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย) พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2-3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็ม หรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และปลาตะเพียนขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเวียน

ปลาเวียน (Thai mahseer, Greater brook carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งจำพวกมาห์เซียร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor tambroides อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะคล้ายปลาพลวงหิน (Neolissochilus stracheyi) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน เว้นแต่ริมฝีปากบนมีแผ่นหนังยื่นออกมาทำให้ดูคล้ายจะงอยปากงุ้มลง และรูปร่างลำตัวที่เพรียวกว่า ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปประมาณ 60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ 1 เมตร ส่วนหัว อาศัยตามแหล่งน้ำสะอาดตามต้นน้ำลำธาร มีพฤติกรรมในอพยพย้ายถิ่นลงมาทางปากน้ำในฤดูฝน ตามรายงานพบว่า ปลาที่อาศัยในแม่น้ำแม่กลอง เมื่อถึงฤดูฝนจะว่ายตามกระแสน้ำลงไปจนถึงปากนี้ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาเหล แม่น้ำ" นานประมาณ 4–8 สัปดาห์ จากนั้นจะหวนกลับไปยังต้นน้ำ แสวงหาสถานที่อันเหมาะสมเพื่อผสมพันธุ์ จะวางไข่ในช่วงเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม เคยเป็นปลาที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี และถือเป็นปลาประจำจังหวัด เพราะมีเนื้อนุ่มละเอียด มีไขมันสะสมในเนื้อเยอะ ซึ่งปัจจุบันพบได้น้อย จนแทบกล่าวได้ว่าหมดไปแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย ปัจจุบัน กรมประมงสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ด้วยการรวบรวมพ่อแม่ปลาจากธรรมชาติ โดยมีวิธีการขยายพันธุ์ 2 วิธี คือ การเพาะพันธุ์แบบกึ่งธรรมชาติ ด้วยการเลี้ยงในระบบที่เลียนแบบธรรมชาติ ความสมบูรณ์ของพ่อแม่ปลาจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ ปลาแม่ที่พร้อมจะวางไข่จะมีการสลัดไข่ จึงนำมารีดผสมกับน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลาประมาณ 72–96 ชั่วโมง และการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมน.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และปลาเวียน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำรันตี

แม่น้ำรันตี เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไหลไปรวมกันกับแม่น้ำอีกสองสาย คือ แม่น้ำซองกาเรีย และแม่น้ำบีคลี่ ณ จุดที่เรียกว่า "สามสบ" หรือ "สามประสบ" ที่อำเภอสังขละบุรี บริเวณสะพานมอญ และวัดวังก์วิเวการาม แม่น้ำรันตีมีต้นกำเนิดที่พื้นที่ทางตอนใต้ของทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งตะวันตก เกิดจากลำห้วยน้อยใหญ่หลายสายไหลมารวมกัน ทำให้เกิดมีน้ำตกน้อยใหญ่หลายแห่ง เช่น น้ำตกป่งป๊ง ที่เกิดจากลำห้วยสาขาของแม่น้ำรันตีฝั่งซ้าย ปัจจุบัน แม่น้ำรันตีเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงผจญภัยและชื่นชมธรรมชาติแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรีร่วมกับแม่น้ำสองสายข้างต้น เช่น ล่องแก่ง, พายเรือคายัก หรือพักผ่อนบนเรือนแ.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และแม่น้ำรันตี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำซองกาเลีย

แม่น้ำซองกาเลียและสะพานมอญ หรือสะพานอุตตมานุสรณ์ แม่น้ำซองกาเลีย เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไหลไปรวมกันกับแม่น้ำอีกสองสาย คือ แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี ณ จุดที่เรียกว่า "สามสบ" หรือ "สามประสบ" ที่อำเภอสังขละบุรี บริเวณสะพานมอญ และวัดวังก์วิเวการาม โดยคำว่า "ซองกาเลีย" เป็นภาษามอญ แปลว่า "ฝั่งโน้น" เป็นแม่น้ำที่แบ่งตัวอำเภอสังขละบุรีออกเป็นสองฝั่ง มีจุดกำเนิดจากลำห้วยโรคี่ในผืนป่าของทุ่งใหญ่นเรศวรฝั่งทิศตะวันตก ไหลผ่านคดเคี้ยวผ่านชุมชนและหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงหลายแห่ง ปัจจุบันนิยมใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบผจญภัยด้วยการล่องเรือคายักจากสะพานซองกาเลียไปยังสะพานมอญ.

ใหม่!!: แม่น้ำบีคลี่และแม่น้ำซองกาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »