โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561

ดัชนี แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561

ำนักอุตุนิยมวิทยากลางไต้หวัน แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน..

13 ความสัมพันธ์: มาตราริกเตอร์มาตราขนาดโมเมนต์มาตราเมร์กัลลีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวประเทศไต้หวันแผ่นยูเรเชียแผ่นดินไหวตามแผ่นดินไหวนำแผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559ไถหนันไทเปเวลาในประเทศไต้หวันUTC+08:00

มาตราริกเตอร์

มาตราริกเตอร์ (Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 และต่ำกว่า 10 สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และมาตราริกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตราขนาดโมเมนต์

มาตราขนาดโมเมนต์ (moment magnitude scale; MMS, Mw) เป็นหน่วยที่นักวิทยาแผ่นดินไหวใช้เพื่อวัดขนาดของแผ่นดินไหวในแง่ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา แมกนิจูดนั้นขึ้นอยู่กับโมเมนต์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งเท่ากับความคงรูปของโลกคูณกับค่าเฉลี่ยของการเลื่อนบนรอยแยกและขนาดของพื้นที่ที่เลื่อน มาตราดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อใช้แทนมาตราริกเตอร์ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แม้ว่าสูตรในการคำนวณจะต่างกัน แต่มาตราใหม่นี้ยังคงให้ค่าแมกนิจูดที่ใกล้เคียงตามที่จำกัดความไว้โดยมาตราริกเตอร์เดิม มาตราโมเมนต์แมกนิจูดนี้ใช้เพื่อประเมินแมกนิจูดสำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สมัยใหม่ทั้งหมดโดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และมาตราขนาดโมเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตราเมร์กัลลี

มาตราเมร์กัลลี (Mercalli scale) เป็นมาตราสำหรับใช้กำหนดขั้นความรุนแรงของแผ่นดินไหว คิดค้นโดยจูเซปเป เมร์กัลลี (Giuseppe Mercalli) ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชาวอิตาลี เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยแบ่งไว้ 10 อันดับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮร์รี โอ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และมาตราเมร์กัลลี · ดูเพิ่มเติม »

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

'''จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว'''คือตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือจุดโฟกัสของการเกิดแผ่นดินไหว (ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว) จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter, epicentre จาก epicentrum หรือ ἐπίκεντρος) คือจุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หรือจุดโฟกัส (ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางที่เกิดการถ่ายเทพลังงานเมื่อเกิดแผ่นดินไหว) ตามที่ได้นิยามไปข้างต้น จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเป็นจุดบนผิวโลกที่อยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดที่รอยเลื่อนเกิดจากแตกหัก โดยทั่วไปจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวนี้จะเป็นจุดที่เกิดความเสียหายสูงสุดเนื่องจากแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดีสำหรับในแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆ ความยาวของการแตกหักของรอยเลื่อนสามารถกินระยะทางที่ยาวกว่าและก่อให้เกิดความเสียหายตลอดรอยเลื่อน ตัวอย่างเช่นแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ในปี 2545 ที่เดนาลี อะแลสกา ซึ่งมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณตะวันตกของรอยแตก แต่ความเสียหายสูงสุดกลับพบที่ระยะห่างออกไป 330 กิโลเมตรที่จุดสิ้นสุดของบริเวณรอยแตก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นยูเรเชีย

แผ่นยูเรเชียแสดงในสีเขียว แผ่นยูเรเชีย (Euresian Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับพื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปยูเรเชียแต่ไม่ได้รองรับประเทศอินเดีย อนุภูมิภาคอาหรับและพื้นที่ทางตะวันออกของเทือกเขาเชอร์สกีทางตะวันออกของไซบีเรีย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่รองรับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาการ์กเกิลทางตอนเหนือและมีพื้นที่ประมาณ 67,800,000 ตารางกิโลเมตร การปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดในไอซ์แลนด์อย่างเช่นการปะทุของภูเขาไฟแอลเฟจในปี 1973 การปะทุของภูเขาไฟลาไคปี 1783 และการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553ล้วนเกิดจากการแยกตัวออกจากกันของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเชีย ธรณีพลศาสตร์ของเอเชียกลางมักเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นอินเดี.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และแผ่นยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวตาม

แผ่นดินไหวตาม หรือทับศัพท์ว่า อาฟเตอร์ช็อก (aftershock) เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีก่อนหน้า ในพื้นที่เดียวกับพื้นที่ไหวหลัก หากแผ่นดินไหวตามมีความรุนแรงกว่าการไหวหลัก แผ่นดินไหวตามจะได้รับการระบุว่าเป็นการไหวหลัก ส่วนการไหวหลักก่อนหน้านั้นจะได้รับการระบุให้เป็นฟอร์ช็อกแทน ทั้งนี้ แผ่นดินไหวตามเกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นเปลือกโดยรอบได้เคลื่อนย้ายจากรอยเลื่อนเพื่อปรับผลกระทบที่มาจากการไหวหลัก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และแผ่นดินไหวตาม · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวนำ

แผ่นดินไหวนำ หรือทับศัพท์ว่า ฟอร์ช็อก (foreshock) เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (แผ่นดินไหวหลัก) ที่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งในช่วงเวลาและพื้นที่ โดยชื่อเรียกของการเกิดแผ่นดินไหว ทั้งแผ่นดินไหวนำ, แผ่นดินไหวหลัก หรือแผ่นดินไหวตาม จะเกิดขึ้นตามลำดับของเหตุการณ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และแผ่นดินไหวนำ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559

แผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน..

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และแผ่นดินไหวในประเทศไต้หวัน พ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

ไถหนัน

หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และไถหนัน · ดูเพิ่มเติม »

ไทเป

right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ. 2005 จำนวน 2,619,022 คน (ไม่รวมประชากรในเขตนครซินเป่ย์ซึ่งนครซินเป่ย์มีประชากรมากกว่า) นครไทเปเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไต้หวัน เป็นที่ตั้งรัฐบาล และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง จักรยานยนต์ และยังเป็นอู่ต่อเรือด้วย นครไทเปเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและพัทยาของประเทศไทย นครไทเปอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของนครซินเป่ย์ ไทเป.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และไทเป · ดูเพิ่มเติม »

เวลาในประเทศไต้หวัน

วลามาตรฐานไต้หวัน () เป็นเขตเวลาในประเทศไต้หวัน โดยเร็วกว่าออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัด ไป 8 ชั่วโมง (+08:00) โดยมักรู้กันในชื่อ เวลามาตราฐานจงหยวน () หรือ เวลาไทเป ().

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และเวลาในประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

UTC+08:00

UTC+8 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 8 ชั่วโมง มีการประเมินว่า ประชากรโลกกว่า 1,708 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเวลานี้ ซึ่งคิดเป็น 24% ของประชากรโลกทั้งหมด เขตเวลานี้ เป็นเวลามาตรฐานของ;เอเชียเหนือ.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวที่ฮวาเหลียน พ.ศ. 2561และUTC+08:00 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แผ่นดินไหวฮวาเหลียน พ.ศ. 2561

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »