โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แบทแดนซ์

ดัชนี แบทแดนซ์

แบทแดนซ์ (Batdance) เป็นเพลงของพรินซ์ จากอัลบั้มซาวแทร็คในปี ค.ศ. 1989 Batman ประกอยภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปี ค.ศ. 1989 เพลงนี้ได้ขึ้นอันดับที่ 1 ในชาร์ตท็อป 40 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นซิงเกิลที่ 4 ของพรินซ์ที่ขี้นชาร์ตอันดับที่ 1.

9 ความสัมพันธ์: ฟังก์พ.ศ. 2532พรินซ์ร็อกสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกาดนตรีทดลองดนตรีแดนซ์ซีดีซิงเกิลปาร์ตีแมน

ฟังก์

ฟังก์ (Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และฟังก์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

พรินซ์

รินซ์ โรเจอร์ส เนลสัน (Prince Rogers Nelson) (7 มิถุนายน ค.ศ. 1958 - 21 เมษายน ค.ศ. 2016) เป็นนักร้องชาวอเมริกัน นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลงและนักแสดง พรินซ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับผสมผสานผลงาน การแสดงบนเวทีที่มีสีสันและช่วงเสียงร้องที่สูง เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกเสียงร้องแบบ “Minneapolis sound” ผลงานของเขามีความหลากหลายทั้ง ฟังก์ ร็อค อาร์แอนบี โซล ไซคีเดลิค และป็อป ผลงานในช่วงแรกของเขาจะเป็นเพลง อาร์แอนด์บี ดนตรีโซลและฟังก์ ต่อมาเขาผสมผสานแนวเพลงอื่นเข้ามาด้วยไม่ว่าจะเป็น ป็อป, ร็อก, แจ๊ส, นิวเวฟ, ไซเคเดเลีย และฮิปฮอป เขาได้รับอิทธิพลด้านดนตรีจาก สลาย สโตน, ไมล์ส เดวิส, จิมมี เฮนดริกซ์, โจนี มิตเชลล์, เจมส์ บราวน์, พาร์ไลเมนต์-ฟังก์คาเดลิก และคาร์ลอส ซานตานา เอกลักษณ์อันเด่นชัดของผลงานเขาในช่วงต้นถึงกลางทศวรรษ 1980 เช่น การใช้ดรัมแมชชีนเรียบเรียงเพลงแบบเสียงเครื่องจักรโปร่ง ๆ และการใช้ท่อนริฟฟ์เครื่องสังเคราะห์เสียง ในลักษณะดนตรีอาร์แอนด์บี, ฟังก์ และดนตรีโซล ที่เรียกว่า "ดนตรีมินนิเอโพลิส" พรินซ์มียอดขายมากกว่า 100 ล้านชุด ทำให้เขาถือเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล ด้วยผลงานมากมาย มีเพลงกว่า 100 เพลง ทั้งที่เขาร้องเองและของศิลปินอื่น เขาได้รับรางวัลแกรมมี่มาแล้ว 7 ครั้ง, 1 รางวัลลูกโลกทองคำและ 1 รางวัลออสการ์ เขายังมีชื่ออยู่ในร็อกแอนด์โรลฮอลออฟเฟม ในปี 2004 นิตยสารโรลลิงสโตน จัดอันดับพรินซ์อยู่ที่อันดับ 28 ใน 100 อันดับของศิลปินที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล พริ้นเสียชีวิตวันที่ 21 เมษายน.ศ 2016 ที่บ้าน/สตูดิโอ Paisley Park ในรัฐมินนีโซต สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ อายุ 57 ปี.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และพรินซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อก

ร็อก (Rock) แนวเพลงที่ได้รับความนิยม มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรลในสหรัฐอเมริกาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และเริ่มพัฒนาสู่แนวเพลงหลายแขนงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และช่วงหลังจากนั้น โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาW.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และร็อก · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา

มาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (The Recording Industry Association of America หรือ RIAA) เป็นสมาคมที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบกิจการเพลงในสหรัฐ มีสมาชิกจากทั้งค่ายเพลง ตัวแทนจำหน่าย ที่สมาคมกล่าวว่า "เป็นการรวมผู้สร้าง ผู้ผลิต หรือ/และ แจกจ่ายประมาณ ซึ่งมี 90% ของที่ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับเพลง ที่ผลิตและขายในสหรัฐอเมริกา" โดยทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มธุรกิจและศิลปินที่อยู่ใน วงการเพลง สมาคมก่อตั้งในปี 1952 โดยแรกเริ่มเพื่อจัดการ ดูแลด้านเทคนิคของความถี่ในการผลิตแผ่นเสียง ในระหว่างการผลิต จนสมาคมเริ่มพัฒนาเกี่ยวกับมาตรฐานด้านเทคนิค และระบบในอุตสาหกรรมเพลง เช่นเทปแม่เหล็ก (อย่างเทปคาสเซ็ตต์ และเทปดิจิทัล) ซีดี และเทคโนโลยีดิจิทัล.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีทดลอง

Moodswinger, Yuri Landman ดนตรีทดลอง (Experimental music) ในงานเขียนภาษาอังกฤษ มีความหมายถึงรูปแบบการจัดวางดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 20 โดยมากในอเมริกาเหนือที่หมายถึง การประพันธ์ดนตรีในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ได้ผลมาแบบไม่สามารถคาดเดาได้ มีชื่อเสียงอย่างมากและมีผู้สนับสนุนอันมีอิทธิพลอย่าง จอห์น เคจ ส่วนในความหมายหลวม ๆ แล้ว คำว่า "ทดลอง" (experimental) ใช้เป็นตัวเชื่อมกับชื่อแนวเพลงที่อธิบายถึงดนตรีในทางเฉพาะที่ดันขอบเขตหรือนิยามหรืออย่างอื่นซึ่งเป็นสไตล์ลูกผสมที่แตกต่างอย่างมาก หรือแนวรวมแบบนอกคอก หรือส่วนผสมที่โดดเด่นแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ความโดดเด่นของดนตรีทดลองเด่นชัดขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 ที่อธิบายถึงการประพันธ์โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในบางครั้งก็จะใช้เรียกว่า ดนตรีอีเลกโทรนิก และ musique concrète คำว่าดนตรีทดลองนั้น ได้ใช้โดยสื่อมวลชน ที่คำทั่วไปที่หมายถึง การขัดคอกันของดนตรีที่แยกมาจากดนตรีปกติดั้งเดิม.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และดนตรีทดลอง · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีแดนซ์

ดนตรีแดนซ์ (dance music) เป็นดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นโดยเฉพาะเพื่ออำนวยความสะดวกหรือเพื่อคลอไปกับการเต้นรำ ในด้านการแสดง ดนตรีแดนซ์แบ่งประเภทหลักเป็นดนตรีแดนซ์สดกับดนตรีแดนซ์ที่บันทึกไว้ ขณะที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีการเต้นรำพร้อมกับดนตรีตั้งแต่ยุคโบราณ (ตัวอย่างเช่น แจกันสมัยกรีกโบราณแสดงนักเต้นรำร่วมกับนักดนตรี) ดนตรีแดนซ์ฝั่งตะวันตกยุคแรก ๆ คือการเต้นรำยุคกลางที่เหลือรอดมาได้ ในยุคบาโรก รูปแบบการเต้นรำหลัก ๆ คือการเต้นรำในราชสำนักคนชั้นสูง ดนตรีแดนซ์สมัยใหม่ได้เกิดขึ้นจากเพลงลีลาศแบบตะวันตกในปลายศตวรรษที่ 19 ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การเต้นลีลาศได้เพิ่มความนิยมในหมู่ชนชั้นแรงงานที่มักเข้าร่วมงานเต้นรำสาธารณะ ดนตรีแดนซ์กลายเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงยุค 1920 ในยุค 1930 ดนตรีสวิงเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยมในอเมริกา ยุค 1950 ร็อกแอนด์โรลกลายเป็นดนตรีแดนซ์ที่นิยม ในช่วงปลายยุค 1960 มีการเกิดของแนวเพลงโซลและอาร์แอนด์บีและดิสโก้ในยุค 1970 ซึ่งทำให้ดนตรีแดนซ์เป็นที่นิยมมากในผู้คนทั่วไป มาถึงช่วงปลายยุค 1970 ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ได้รับการพัฒนามาเรี่อย ๆ โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบของเพลงสมัยนิยมที่มักจะเปิดในไนต์คลับ สถานีวิทยุ คอนเสิร์ต หมวดหมู่:ดนตรีแดนซ์.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และดนตรีแดนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีดีซิงเกิล

ซิงเกิลซีดี (CD single) คือซิงเกิลเพลงในรูปแบบซีดี ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงซีดีขนาด 3 นิ้ว รูปแบบนี้ได้นำมาใช้กลางคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แต่ไม่ได้นำมาใช้กับการตลาดจนกระทั่งในปีคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซิงเกิลของ Dire Straits ในเพลง "Brothers in Arms" (พ.ศ. 2528) เป็นซิงเกิลรูปแบบซีดีซิงเกิลแรก ซึ่งได้ออกจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ซิงเกิลแผ่น 3 นิ้วหรือ 8 เซนติเมตร เริ่มนำมาใช้ในปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 แต่ประสพความสำเร็จน้อยมากในสหรัฐอเมริกา แต่ประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น เมื่อไม่นานมานี้ยุโรปได้ออกจำหน่ายรูปแบบซีดี 3 นิ้วนี้ โดยใช้ชื่อว่าซีดี "พอกอิท" ("Pock it").

ใหม่!!: แบทแดนซ์และซีดีซิงเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ปาร์ตีแมน

ปาร์ตีแมน (Partyman) เป็นเพลงของพรินซ์ จากอัลบั้มซาวแทร็คในปี ค.ศ. 1989 Batman ประกอยภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปี ค.ศ. 1989 เพลงนี้ได้ขึ้นอันดับที่ 1 ในชาร์ตท็อป 40 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลายเป็นซิงเกิลที่ 4 ของพรินซ์ที่ขี้นชาร์ตอันดับที่ 1 ตามเพลง "แบทแดนซ์" เพลงนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่เพลงในอัลบั้มที่เป็นจุดเด่นสำคัญในภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่มาพร้อมกับฉากที่ตลกและสมุนของเขาทำให้เสียโฉมสำราญในการจัดแสดงในหอศิลป์เมืองก๊อตแธม.

ใหม่!!: แบทแดนซ์และปาร์ตีแมน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Batdance

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »