โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

ดัชนี แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

แนวรบด้านตะวันตก (Western Front) คือเขตสงครามหลักในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งตั้งแต่เดือนสิงหาคม..

33 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2457พ.ศ. 2461กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมันการสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918ฝ่ายมหาอำนาจกลางฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยุทธการที่แม่น้ำซอมยุทธการที่แวร์เดิงราชอาณาจักรอิตาลีรถถังลักเซมเบิร์กสยามสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสนธิสัญญาแวร์ซายสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์จักรวรรดิบริติชจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสจักรวรรดิเยอรมันทะเลเหนือประเทศฝรั่งเศสประเทศสวิตเซอร์แลนด์ประเทศออสเตรเลียประเทศแคนาดาประเทศเบลเยียมแคว้นลอแรนแคว้นอาลซัสแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)เครื่องบินเซาเทิร์นโรดีเชีย11 พฤศจิกายน4 สิงหาคม

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และพ.ศ. 2461 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน

กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Heer) เป็นกองทัพบกของจักรวรรดิเยอรมัน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และกองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

การสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ังกล่าวถ่ายขึ้นหลังจากบรรลุข้อตกลงในการสงบศึกซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในภาพ รถไฟโดยสารคันดังกล่าวเป็นของเฟอร์ดินานด์ ฟอค และตำแหน่งอยู่ในป่าคองเปียญ ฟอคเป็นชายคนที่สองนับจากขวามือ การสงบศึกระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับเยอรมนีได้มีการลงนามในรถไฟโดยสารในป่ากงเปียญ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และการสงบศึก 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง

ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจและเป็นพันธมิตรทางการทหารกลุ่มหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งร่วมมือกันต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และจักรวรรดิออตโตมัน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และฝ่ายมหาอำนาจกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

แผนที่โลกแสดงฝ่ายต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สีเขียวคือฝ่ายสัมพันธมิตร สีส้มคือฝ่ายมหาอำนาจกลาง และสีเทาคือประเทศที่เป็นกลาง พันธมิตรทางทหารในทวีปยุโรปก่อนเกิดสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (Forces de l'Entente / Alliés; Alleati; Союзники, Soyuzniki) เป็นประเทศที่ทำสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สมาชิกของข้อตกลงไตรภาคีได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ และจักรวรรดิรัสเซีย ต่อมา อิตาลีเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายไตรภาคีในปี 1915 ส่วนญี่ปุ่น เบลเยียม เซอร์เบีย กรีซ มอนเตเนโกร โรมาเนีย และ ลีเจียนเชกโกสโลวาเกีย เป็นสมาชิกรองของข้อตกลง.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แม่น้ำซอม

ทธการที่แม่น้ำซอม หรือที่รู้จักในชื่อ การรุกซอม เป็นหนึ่งในสมรภูมิสำคัญของแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อกองทัพของเครือจักรภพอังกฤษและฝรั่งเศสปะทะกับกองทัพจักรวรรดิเยอรมันที่บริเวณแม่น้ำซอมโดยในระยะเวลาเพียง 5 เดือนของยุทธการนี้ ยุทธการที่แม่น้ำซอมจัตเป็นหนึ่งในสมรภูมิที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเนื่องจากในยุทธการนี้ทหารจากทั้งสองฝ่ายกว่าหนึ่งล้านนายเสียชีวิต.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และยุทธการที่แม่น้ำซอม · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แวร์เดิง

ทธการที่แวร์เดิง สู้รบกันตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ถึง 18 ธันวาคม 1916 เป็นยุทธการที่มีขนาดใหญ่และยืดเยื้อที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งบนแนวรบด้านตะวันตกระหว่างกองทัพเยอรมันและฝรั่งเศส ยุทธการเกิดขึ้นบนเขาทางเหนือของแวร์เดิง-ซูร์-เมิซในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส กองทัพที่ 5 ของเยอรมันโจมตีการป้องกันของ Région Fortifiée de Verdun (RFV) และกองทัพที่ 2 ของฝรั่งเศสบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ ฝ่ายเยอรมันได้รับบันดาลใจจากประสบการณ์แห่งยุทธการที่ช็องปาญครั้งที่สองเมื่อปีก่อน วางแผนยึดที่สูงเมิซอย่างรวดเร็ว ทำให้มีที่ตั้งป้องกันที่ยอดเยี่ยมซึ่งจะยังให้พวกเขาระดมยิงปืนใหญ่ใส่แวร์เดิงโดยการยิงปืนใหญ่แบบสังเกตได้ ฝ่ายเยอรมันหวังว่าฝรั่งเศสจะทุ่มกำลังสำรองยุทธศาสตร์เพื่อยึดตำแหน่งดังกล่าวคืนและประสบความสูญเสียมหาศาลในการยุทธ์แห่งการบั่นทอนกำลัง เนื่องจากเยอรมันจะมีข้อได้เปรียบทางยุทธวิธี ลมฟ้าอากาศที่เลวทำให้เยอรมนีเลื่อนการเริ่มเข้าตีเป็นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ แต่เยอรมันประสบความสำเร็จในขั้นต้น โดยยึดค่ายดูโอมง (Fort Douaumont) ได้ภายในสามวันแรกของการบุก จากนั้นการรุกของเยอรมนีช้าลงแม้ฝรั่งเศสเสียรี้พลไปมากมาย เมื่อถึงวันที่ 6 มีนาคม ทหารฝรั่งเศส 20 1/2 กองพลอยู่ใน RFV และมีการก่อสร้างการตั้งรับทางลึกอย่างกว้างขวาง เปแตงสั่งว่าห้ามถอย (On ne passe pas) และให้ตีโต้ตอบ แม้ว่าทหารราบฝรั่งเศสจะเปิดโล่งต่อการยิงจากปืนใหญ่เยอรมัน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปืนใหญ่ฝรั่งเศศบนฝั่งตะวันตกเริ่มการระดมยิงอย่างต่อเนื่องใส่ที่ตั้งของเยอรมันบนฝั่งตะวันออก ทำให้ทหารราบเยอรมันเสียชีวิตไปเป็นอันมาก ในเดือนมีนาคม การรุกของเยอรมันขยายไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเมิซ เพื่อให้ได้สังเกตพื้นที่ซึ่งปืนใหญ่ฝรั่งเศสยิงข้ามแม่น้ำใส่ที่สูงเมิซ ฝ่ายเยอรมันสามารถรุกได้ทีแรก แต่กำลังหนุนฝรั่งเศสจำกัดการเข้าตีโดยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ต้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีและทำการโจมตีท้องถิ่นและตีโต้ตอบ ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสมีโอกาสโจมตีต่อค่ายดูโอมง ค่ายบางส่วนถูกยึดจนการตีโต้ตอบของเยอรมันยึดค่ายคืนและจับเชลยศึกได้เป็นจำนวนมาก ฝ่ายเยอรมันเปลี่ยนยุทธวิธีอีกครั้ง โดยสลับการเข้าตีบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเมิซและในเดือนมิถุนายนยึดค่ายโว (Fort Vaux) ได้ ฝ่ายเยอรมันบุกต่อเลยโวมุ่งสู่วัตถุประสงค์ภูมิศาสตร์สุดท้ายของแผนเดิม คือ ที่เฟลอรี-เดอว็อง-ดูโอมง (Fleury-devant-Douaumont) และค่ายโซวีย์ (Fort Souville) ฝ่ายเยอรมันขับการยื่นเด่นเข้าสู่การป้องกันของฝรั่งเศส ยึดเฟลอรีและเข้าใกล้ระยะ 4 กิโลเมตรจากป้อมแวร์เดิง ในเดือนกรกฎาคม 1916 การบุกของเยอรมันลดลงเหลือการจัดส่งกำลังหนุนปืนใหญ่และทหารราบแก่แนวรบซอมและระหว่างปฏอบะติการท้องถิ่น หมู่บ้านเฟลอรีเปลี่ยนมือ 16 ครั้งตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายนถึง 17 สิงหาคม ความพยายามยึดค่ายโซวีย์ในต้นเดือนกรกฎาคมถูกปืนใหญ่และการยิงอาวุธเบาไล่กลับไป เพื่อจัดส่งกำลังหนุนแก่แนวรบซอม การบุกของเยอรมันยิ่งลดลงอีกและมีความพยายามตบตาฝรั่งเศสให้คาดหมายการโจมตีเพิ่มอีกเพื่อให้กำลังหนุนของฝรั่งเศสอยู่ห่างจากซอม ในเดือนสิงหาคมและธันวาคม การตีโต้ตอบของฝรั่งเศสยึดแผ่นดินที่เสียไปบนฝั่งตะวันออกคืนได้มากและยึดค่ายดูโอมงและโวได้ ยุทธการที่แวร์เดิงกินเวลา 303 วันและเป็นยุทธการที่ยืดเยื้อที่สุดและมียอดผู้เสียชีวิตสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ การประเมินในปี 2000 พบว่ามีกำลังพลสูญเสียรวม 714,231 นาย เป็นฝรั่งเศส 377,231 นายและเยอรมัน 337,000 นาย เฉลี่ย 70,000 นายต่อเดือน การประเมินล่ากว่าเพิ่มจำนวนกำลังพลสูญเสียเป็น 976,000 นายระหว่างยุทธการ และมีกำลังพลสูญเสีย 1,250,000 นายที่แวร์เดิงระหว่างสงคราม.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และยุทธการที่แวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอิตาลี

ราชอาณาจักรอิตาลี (Regno d'Italia) เป็นราชอาณาจักรบนคาบสมุทรอิตาลี ซึ่งได้มีการสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลาย ๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรซาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี ค.ศ. 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ อิตาลีได้ประกาศสงครามต่อออสเตรียในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และราชอาณาจักรอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สยาม

งชาติสยาม พ.ศ. 2398-พ.ศ. 2459 สยาม (อักษรละติน: Siam, อักษรเทวนาครี: श्याम) เคยเป็นชื่อเรียกประเทศไทยในอดีต แต่มิใช่ชื่อที่คนไทยเรียกตนเอง ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า สยามเป็นชื่อเรียกดินแดนและกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยโบราณ สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และสยาม · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (Troisième République Française บางครั้งเขียนย่อว่า La IIIe République) (พ.ศ. 2413 -10 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) เป็นชื่อของระบอบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างยุคจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 กับรัฐบาลฝรั่งเศสวิชี เกิดขึ้นหลังจากการพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสต่อจักรวรรดิเยอรมัน ในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2413 ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสสูญเสียอาลซัส-ลอแรน และดำรงอยู่มาจนล่มสลายใน พ.ศ. 2483 จากการรุกรานของนาซีเยอรมัน ทำให้ฝรั่งเศสถูกยึดครอง ยุคนี้เป็นยุคของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่อายุยืนที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 เป็นต้นมา หมวดหมู่:การเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์ซาย

''The Signing of the Peace Treaty of Versailles'' สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และสนธิสัญญาแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์

นธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่ลงนามเมื่อวันที่ 3 มีนาคม..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเหนือ

ภาพถ่ายทะเลเหนือและประเทศรอบ ๆ จากอวกาศ ทะเลเหนือ (North Sea) เป็นทะเลที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ทางตะวันตกของนอร์เวย์และเดนมาร์ก ทางตะวันออกของเกาะบริเตนใหญ่ และทางตอนเหนือของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก และติดกับทะเลบอลติกทางด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 222,000 ตารางไมล์ หรือ 570,000 ตารางกิโลเมตร เหนือ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป เหนือ หมวดหมู่:ทะเลเหนือ.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และทะเลเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นลอแรน

ลอแรน (Lorraine) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และแคว้นลอแรน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นอาลซัส

อาลซัส (Alsace) หรือ แอลซ็อส (อัลเซเชียน: Elsàss) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกร็องแต็สต์) ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางทิศตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส และทางทิศตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ติดกับประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ มีเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเมืองสทราซบูร์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาประเทศฝรั่งเศสกับเยอรมนีผลัดกันครอบครองแคว้นอาลซัสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 20 เดิมอาลซัสเคยเป็นของเยอรมนี แต่หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝรั่งเศสแย่งแคว้นอาลซัสและลอแรนไปจากเยอรมนีทำให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนไม่พอใจฝรั่งเศส จึงเกิดสงครามฝรั่งเศส-อาลซัสและสงครามฝรั่งเศส-ลอแรน โดยฝรั่งเศสต้องสู้กับชาวอาลซัสและชาวลอแรน แต่ในที่สุดฝรั่งเศสก็สามารถปราบชาวอาลซัสและลอแรนลงได้ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 แคว้นอาลซัสค่อย ๆ ถูกปรับปรุงในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และกลายเป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส บ่อยครั้งที่แคว้นอาลซัสได้ถูกกล่าวรวมกับแคว้นลอแรน เนื่องจากการครอบครองดินแดนของแคว้นทั้งสอง (อาลซัส-ลอแรน) เป็นที่เลื่องชื่อในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 จนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมนีรวมกับปรัสเซียและไซลีเซียเข้าโจมตีฝรั่งเศสและสามารถยึดอาลซัสและลอแรนคืนมาได้ระยะหนึ่ง พอเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฝรั่งเศสซึ่งชนะสงครามจึงเอาอาลซัสและลอแรนคืนมา หลังจากนั้นในสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมันได้เข้ายึดปารีสและขู่ให้ฝรั่งเศสยกอาลซัสและลอแรนคืนให้เยอรมนี อาลซัสและลอแรนจึงกลับเป็นของเยอรมนีอีกครั้ง เมื่อเยอรมนีนาซีแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีก็คืนอาลซัส-ลอแรนแก่ฝรั่งเศส ในช่วงสงครามเย็นชาวเยอรมันในอาลซัสและลอแรนก็ประท้วงกันอีกครั้ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องคอยปราบปรามเลยยอมให้ชาวอาลซัสและชาวลอแรนใช้ภาษาเยอรมันได้ในที่สุด แต่ชาวเยอรมันบางกลุ่มไม่พอใจยังก่อการร้ายในอาลซัสอยู่เรื่อยมาจนเป็นปัญหาถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันอาลซัสเป็นของฝรั่งเศสอย่างสมบรูณ์ แม้ว่าแคว้นอาลซัสจะเป็นแคว้นที่มีคนพูดภาษาเยอรมันอยู่มากทางประวัติศาสตร์ แต่ปัจจุบันชาวอาลซัสก็สามารถพูดภาษาฝรั่งเศสประมาณร้อยละ 25 ของประชากรพื้นเมืองสามารถพูดภาษาอัลเซเชียน (Alsatian) โดยเป็นภาษาแม่หรือภาษาเยอรมัน (เป็นภาษาที่ 2).

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และแคว้นอาลซัส · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)

แนวรบด้านตะวันออก เคยเป็นเขตสงครามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก คำดังกล่าวขัดกับแนวรบด้านตะวันตก แม้จะแยกกันทางภูมิศาสตร์ เหตุการณ์ในเขตสงครามทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันอย่างมาก ในแหล่งข้อมูลรัสเซีย บางครั้งเรียกสงครามนี้ว่า สงครามปุติภูมิครั้งที่สอง.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบิน

รื่องบินโบอิง 767 ของ สายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เครื่องบิน หรือ (airplane or aeroplane) คือ พาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถบินไปในอากาศได้ (อากาศยาน) โดยเครื่องบินเป็นอากาศยานที่หนักกว่าอากาศ เครื่องบินสามารถบินได้โดยอาศัยแรงยกจากปีกตามหลักการของอากาศพลศาสตร์และถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยแรงผลักจากเครื่องยนต์ไอพ่นหรือใบพัด (อากาศยานที่เบากว่าอากาศถูกเรียกว่า "เรือเหาะ") เครื่องบินมีหลายขนาด, หลายรูปทรง, และปีกหลายแบบ ลักษณะการใช้งานจะเป็นการใช้เพื่อการพักผ่อน, การขนส่งสินค้าและการโดยสาร, ใช้ในการเกษตร, การทหาร, และการวิจั.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และเครื่องบิน · ดูเพิ่มเติม »

เซาเทิร์นโรดีเชีย

ซาเทิร์นโรดีเชีย (Southern Rhodesia) เป็นชื่อของอาณานิคมปกครองตนเองของอังกฤษ ตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำลิมโปโปกับสหภาพแอฟริกาใต้ พื้นที่ซึ่งเซาเทิร์นโรดีเชียครอบครองอยู่ถูกเรียกว่า "ซิมบับเว" มาตั้งแต..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และเซาเทิร์นโรดีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

11 พฤศจิกายน

วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 315 ของปี (วันที่ 316 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 50 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และ11 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

4 สิงหาคม

วันที่ 4 สิงหาคม เป็นวันที่ 216 ของปี (วันที่ 217 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 149 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)และ4 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Western Front (World War I)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »