โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แถวลำดับพลวัต

ดัชนี แถวลำดับพลวัต

แถวลำดับพลวัต (dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array), แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array), ตารางพลวัต (dynamic table), รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไปสมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4 แถวลำดับพลวัตไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจากแถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตมีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาจาว.

26 ความสัมพันธ์: การก้าวหน้าเรขาคณิตการวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ยการจัดการหน่วยความจำการทำให้เกิดผลการเข้าถึงโดยสุ่มภาษารูบีภาษาสมอลล์ทอล์กภาษาอ็อบเจกต์ปาสกาลภาษาจาวาภาษาซีภาษาซีพลัสพลัสภาษาไพทอนภาษาเพิร์ลภาษาเอดารหัสเทียมรายการ (โครงสร้างข้อมูล)รายการโยงวีลิสต์สัญกรณ์โอใหญ่ข้ามแพลตฟอร์มดอตเน็ตเฟรมเวิร์กต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่มีโครงสร้างปรับสมดุลเองได้แถวลำดับแถวคอยสองหน้าแคชเฟรมเวิร์ก

การก้าวหน้าเรขาคณิต

ในทางคณิตศาสตร์ การก้าวหน้าเรขาคณิต (geometric progression) หรือ ลำดับเรขาคณิต (geometric sequence) คือลำดับของจำนวนซึ่งอัตราส่วนของสมาชิกสองตัวที่อยู่ติดกันในลำดับเป็นค่าคงตัวที่ไม่เป็นศูนย์ ซึ่งอัตราส่วนนั้นเรียกว่า อัตราส่วนทั่วไป (common ratio) ตัวอย่างเช่น ลำดับ 2, 6, 18, 54,...

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและการก้าวหน้าเรขาคณิต · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ย

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ยเป็นการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีที่พิจารณาการดำเนินการทั้งหมดของขั้นตอนวิธี แล้วเฉลี่ยเวลามาที่การดำเนินการในแต่ละครั้ง การที่ต้องวิเคราะห์เช่นนี้เนื่องจากอาจจะมีการดำเนินการบางรูปแบบที่เพียงบางครั้งใช้เวลามาก ในขณะที่การดำเนินการส่วนใหญ่กลับใช้เวลาน้อยมาก ดังนั้นหากจะวิเคราะห์การดำเนินการนี้ตามปกติซึ่งก็คือวิเคราะห์ในกรณีเลวร้ายสุดทุกครั้ง อาจทำให้เวลารวมของขั้นตอนวิธีใช้เวลามาก ในขณะที่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะฉะนั้น การวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ยจึงสะท้อนถึงเวลาในขั้นตอนวิธีที่แท้จริงสมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและการวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ย · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการหน่วยความจำ

การจัดการหน่วยความจำ เป็นกระบวนการในการจัดการหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ นั่นคือการที่สามารถจองหน่วยความจำ เมื่อมีการร้องขอ และคืนหน่วยความจำไปเมื่อไม่มีการใช้งาน วิธีการจัดการหน่วยความจำได้พัฒนาเรื่อยมาเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการจัดการหน่วยความจำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการใช้หน่วยความจำเสมือน ซึ่งเป็นวิธีการที่นำพื้นที่ของหน่วยความจำรองมาทำหน้าที่ในลักษณะเดียวกับหน่วยความจำหลัก ทำให้ปริมาณหน่วยความจำมีมากขึ้น ดังนั้นประสิทธิภาพของตัวจัดการหน่วยความจำเสมือนจึงมีผลต่อประสิทธิภาพระบบเป็นอย่างมาก.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและการจัดการหน่วยความจำ · ดูเพิ่มเติม »

การทำให้เกิดผล

การทำให้เกิดผล (implementation) คือขั้นตอนต่อจากกระบวนการคิด,​ การวางแผน,​ การสร้างแบบจำลอง หรือการคิดขั้นตอนวิธี โดยประยุกต์สิ่งเหลานี้เพื่อการใช้งานจริง.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและการทำให้เกิดผล · ดูเพิ่มเติม »

การเข้าถึงโดยสุ่ม

การเข้าถึงโดยสุ่ม เปรียบเทียบกับการเข้าถึงเชิงเส้น ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงโดยสุ่ม (random access) หรือ การเข้าถึงโดยตรง (direct access) คือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในลำดับภายในเวลาที่เท่าๆกันสำหรับข้อมูลตัวใด ๆ ก็ตาม เวลาในการเข้าถึงข้อมูลนี้ไม่ขึ้นกับกับขนาดของลำดับด้วย ตัวอย่างของการเข้าถึงโดยสุ่มคือการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี ซึ่งสามารถอ่านข้อมูลตำแหน่งใดๆได้ทันที การเข้าถึงข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับการเข้าถึงโดยสุ่มคือการเข้าถึงเชิงเส้น ซึ่งข้อมูลที่อยู่ไกลกว่าจะเสียเวลาในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า ตัวอย่างเช่นการอ่านข้อมูลจากตลับเทป ซึ่งต้องมีกรอเทปไปยังตำแหน่งที่ต้องการอ่านข้อมูล สำหรับโครงสร้างข้อมูล ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มคือความสามารถในการเข้าถึงรายการได้ภายในเวลาคงที่ หรือ O(1) ซึ่งโครงสร้างข้อมูลที่เรียบง่ายที่สุดที่มีความสามารถนี้ก็คือแถวลำดับ โครงสร้างข้อมูลที่เหลือที่มีความสามารถนี้ โดยมากแล้วก็จะมาจากการดัดแปลงแถวลำดับ เช่น แถวลำดับพลวัต อย่างไรก็ตาม การมีความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มก็ความหมายอีกนัยหนึ่งว่าที่อยู่ของหน่วยความจำต้องเรียงกันแบบมีแบบแผน ดังนั้นจึงทำให้โครงสร้างข้อมูลทั้งหลายที่มีความสามารถนี้ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลกลางรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางโครงสร้างข้อมูลเช่นรายการโยงแลกความสามารถในการเข้าถึงแบบสุ่มด้วยความสามารถในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางรายการแทน ความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มมีความสำคัญมาก มีขั้นตอนวิธีมากมายที่ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างข้อมูลที่มีการเข้าถึงข้อมูลโดยสุ่ม เช่น การค้นหาแบบทวิภาค ขั้นตอนวิธีการเรียงลำดับ ตะแกรงเอราทอสเทนีส เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและการเข้าถึงโดยสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารูบี

ษารูบี (Ruby) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ ที่ได้รับอิทธิพลของโครงสร้างภาษามาจาก ภาษาเพิร์ลกับภาษาเอดา มีความสามารถในเชิงวัตถุแบบเดียวกับภาษาสมอลทอล์ค และมีความสามารถหลายอย่างจากภาษาไพทอน, ภาษาลิสป์, ภาษา Dylan และภาษา CLU ตัวแปลภาษารูบีตัวหลักเป็นซอฟต์แวร์เสรี และเป็นตัวแปลแบบอินเตอร์พรีเตอร.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษารูบี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสมอลล์ทอล์ก

ษาสมอลล์ทอล์ก (Smalltalk) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุที่ได้ออกแบบในปี..

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาสมอลล์ทอล์ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอ็อบเจกต์ปาสกาล

ษาอ็อบเจกต์ปาสกาล (Object Pascal) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุพัฒนามาจากภาษาปาสกาล ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ภาษาเดลไฟล์ (Delphi programming language) โดยบอร์แลนด์ (Borland).

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาอ็อบเจกต์ปาสกาล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาจาวา

ลโก้ของภาษาจาวา ภาษาจาวา (Java programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาจาวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีพลัสพลัส

ษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2014 (รู้จักกันในชื่อ C++14).

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาซีพลัสพลัส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไพทอน

ษาไพทอน (Python programming language) เป็นภาษาระดับสูง.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาไพทอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเพิร์ล

right ภาษาเพิร์ล (Perl) (ย่อมาจาก Practical Extraction and Report Language) เป็นภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก พัฒนาโดยนายแลร์รี วอลล์ (Larry Wall) ในปี ค.ศ. 1987 เพื่อใช้งานกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ภาษาเพิร์ล นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย โครงสร้างของภาษาจึงไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับภาษาซี นอกจากนี้เพิร์ลยังได้แนวคิดบางอย่างมาจากเชลล์สคริปต์, ภาษา AWK, sed และ Lisp ปัจจุบันเวอร์ชันล่าสุดคือ 5.18.0.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาเพิร์ล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเอดา

ษาเอดา (Ada) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เรียกว่า procedural programming language ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ชื่อของโปรแกรมตั้งตามชื่อของผู้บุกเบิกเรื่องคอมพิวเตอร์ คือ ออกกุสตา เอดา ไบรอน เคาน์เตสแห่งเลิฟเลซ (Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace).

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและภาษาเอดา · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเทียม

รหัสเทียม (pseudocode) ใช้เป็นภาษากลางในการอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมและขั้นตอนวิธี การเขียนรหัสเทียมไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว สำคัญเพียงแต่เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยปกติแล้วจะประยุกต์รูปแบบการเขียนและโครงสร้างมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนรหัสเทียมจะเป็นลักษณะการเขียนคำอธิบายมากกว่าการเขียนเป็นคำสั่งต่างๆ และการเขียนรหัสเทียมนั้นมักจะไม่ใส่ใจในรายละเอียดการเขียนมากนัก เช่น อาจไม่มีขั้นตอนการประกาศตัวแปร เป้าหมายสำคัญของการเขียนรหัสเทียมคือทำลายกำแพงของภาษาลงไป การเขียนรหัสเทียมจึงไม่ใส่ใจในการเขียนไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักภาษา แต่จะเป็นไปตามใจของผู้เขียนมากกว่า รหัสเทียมในอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ผังงาน (flowchart) ซึ่งนำเสนอการทำงานของโปรแกรม และขั้นตอนวิธีในรูปแบบของแผนภาพ หมวดหมู่:รหัสต้นฉบับ.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและรหัสเทียม · ดูเพิ่มเติม »

รายการ (โครงสร้างข้อมูล)

รายการ เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะการเรียงแบบต่อเนื่องไปเป็นลำดับ ข้อมูลจะมีลำดับก่อนหลังกันคล้ายเวกเตอร์ ตัวอย่างของรายการเช่น การเรียงลำดับตัวอักษร A,B,C,...

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและรายการ (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

รายการโยง

รายการโยง เป็นรายการประเภทหนึ่ง ซึ่งจะใช้ประเภทข้อมูลประเภทโครงสร้าง วัตถุ หรือตัวชี้ (Pointer) เพื่อชี้สมาชิกตัวถัดไปที่เก็บไปเรื่อยๆ รายการโยงมีจุดเด่นทางด้านการเพิ่มหรือลดข้อมูลหรือชุดข้อมูลได้ง่าย จึงนำมาดัดแปลงในการสร้างโครงสร้างข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น กองซ้อน คิว ฯลฯ จึงนับว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ใช้บ่อยมากประเภทหนึ่ง.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและรายการโยง · ดูเพิ่มเติม »

วีลิสต์

วีลิสต์ เป็นโครงสร้างข้อมูลในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ออกแบบโดย ฟิล แบคเวลล์ (Phil Bagwell) ซึ่งวีลิซท์เกิดจากการดัดแปลงรายการโยง (linked list) แบบโยงทางเดียว (singly-linked) โดยการนำความสามารถของแถวลำดับ (array) มาใช้ เพื่อให้การเข้าสู่ข้อมูลที่ตำแหน่งใดๆ ในเวลา O(log n)ในขนาดที่การเพิ่มหรือลดข้อมูลที่ตำแหน่งหน้าสุด (ตำแหน่งสุดท้ายในรายการ) ใช้เวลา O(1) วีลิสต์มีประโยชน์อย่างมากในการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน (functional programming languages) และนำไปใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบ persistent data structure.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและวีลิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัญกรณ์โอใหญ่

ตัวอย่างของสัญกรณ์โอใหญ่ โดย ''f''(''x'') ∈ O(''g''(''x'')) ซึ่งหมายความว่ามี ''c'' > 0 (เช่น ''c''.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและสัญกรณ์โอใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ามแพลตฟอร์ม

้ามแพลตฟอร์ม หรือ หลายแพลตฟอร์ม (Cross-platform) หมายถึงการที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่น ๆ สามารถทำงานได้ในหลายแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้บนไมโครซอฟท์วินโดวส์ สำหรับสถาปัตยกรรม x86 และ Mac OS X บน PowerPC สวัสดี.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและข้ามแพลตฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก

ปัตยกรรมของดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.0 ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก (.NET Framework) คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างขึ้นโดยไมโครซอฟท์ โดยรองรับภาษาดอตเน็ตมากกว่า 40 ภาษา ซึ่งมีไลบรารีเป็นจำนวนมากสำหรับการเขียนโปรแกรม รวมถึงบริหารการดำเนินการของโปรแกรมบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดยไลบรารีนั้นได้รวมถึงส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ การเชื่อมต่อฐานข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับ ขั้นตอนวิธี การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน โปรแกรมที่เขียนบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก จะทำงานบนสภาพแวดล้อมที่บริหารโดย Common Language Runtime (CLR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก โดย CLR นั้นเตรียมสภาพแวดล้อมเสมือน ทำให้ผู้พัฒนาไม่ต้องคำนึงถึงความสามารถที่แตกต่างระหว่างหน่วยประมวลผลต่างๆ และ CLR ยังให้บริการด้านกลไกระบบความปลอดภัย การบริหารหน่วยความจำ และException handling ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นออกแบบมาเพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม ดอตเน็ตเฟรมเวิร์กนั้นยังได้เป็นส่วนประกอบในระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 และวินโดวส์วิสตา ซึ่งรุ่นแรกได้ออกในปีพ.ศ. 2545 รุ่นที่สองได้ออกในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นสองนั้นได้รองรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เกือบทุกรุ่น และรุ่นที่สาม ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันได้ออกวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยได้รองรับวินโดวส์เอกซ์พี SP2 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP1 และวินโดวส์วิสต.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่มีโครงสร้างปรับสมดุลเองได้

ตัวอย่างของต้นไม้ที่'''ไม่สมดุล''' ภาพต้นไม้เดียวกับภาพด้านบนแต่ปรับสมดุลแล้ว ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่มีโครงสร้างปรับสมดุลเองได้ (self-balancing binary search tree) คือต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่สามารถรักษาความสูง (จำนวนชั้นที่อยู่ต่ำกว่าราก) ของตนให้เตี้ยอยู่ตลอดเวลาDonald Knuth.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาคที่มีโครงสร้างปรับสมดุลเองได้ · ดูเพิ่มเติม »

แถวลำดับ

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แถวลำดับ (array) คือโครงสร้างข้อมูลที่เป็นรายการอย่างหนึ่ง ข้อมูล (value) จะถูกเก็บบนหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ แบบอยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ การเข้าถึงข้อมูลสามารถกระทำได้ผ่านดัชนี (index) หรืออาจเรียกว่า คีย์ โดยดัชนีจะเป็นจำนวนเต็มซึ่งบอกถึงลำดับที่ของข้อมูลในแถวลำดับ นอกจากนี้ ค่าของดัชนียังไปจับคู่กับที่อยู่หน่วยความจำ ผ่านสูตรคณิตศาสตร์ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่นแถวลำดับที่มีข้อมูล 10 ตัว โดยมีดัชนีตั้งแต่ 0 ถึง 9 สมมุติให้ข้อมูลแต่ละตัวใช้หน่วยความจำ 4 ไบต์ และแถวลำดับนี้มีที่อยู่ในหน่วยความจำคือ 2000 จะได้ว่าที่อยู่หน่วยความจำของข้อมูลตัวที่ i คือ 2000 + 4i แถวลำดับยังสามารถขยายมิติไปเป็นสองมิติหรือมากกว่านั้นได้ เนื่องจากรูปแบบของแถวลำดับสองมิติมีรูปร่างเป็นตาราง คล้ายกับเมตริกซ์ บางทีจึงอาจเรียกแถวลำดับสองมิติว่าเมตริกซ์หรือตาราง (สำหรับตารางโดยส่วนมากแล้วจะหมายความถึงตาราง lookup) เช่นเดียวกับแถวลำดับมิติเดียวที่บางครั้งก็อาจเรียกว่าเวกเตอร์หรือทูเพิล แถวลำดับถือได้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลที่ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเขียนโปรแกรม และสำคัญมากในการเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกัน และแทบจะไม่มีโปรแกรมใดเลยที่ไม่ใช้แถวลำดับ โดยแถวลำดับนี้ยังนำไปอิมพลีเมนต์โครงสร้างข้อมูลอื่นอีกมากมายเช่นรายการหรือสายอักขระ แม้แต่หน่วยเก็บข้อมูลที่มีที่อยู่หน่วยความจำก็อาจจะมองหน่วยเก็บข้อมูลเป็นแถวลำดับขนาดยักษ์ก็ได้.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและแถวลำดับ · ดูเพิ่มเติม »

แถวคอยสองหน้า

แถวคอยสองหน้า เป็นแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่เราสามารถนำข้อมูลแรกสุดหรือหลังสุดที่เราเพิ่มเข้าหรือออกก็ได้ เปรียบเสมือนเป็นแถวคอยที่มีหัวเปิดสองด้านให้เข้า-ออกได้ นั้นเอง แถวคอยสองหน้า สามารถประยุกต์ใช้ในแนวคิด กึ่งแถวคอยกึ่งกองซ้อนได้ ทำให้จัดการกับการเข้าออกของข้อมูลได้ทุกรูปแ.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและแถวคอยสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

แคช

แคช (cache) คือส่วนของข้อมูลที่ถูกเก็บซ้ำไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการใช้งานครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งอีกครั้ง นิยมใช้เมื่อเรียกข้อมูลจากต้นแหล่งได้ยาก เมื่อแคชถูกสร้างขึ้น การเรียกใช้ข้อมูลในครั้งต่อไปจะถูกอ่านข้อมูลจากแคช แทนที่จะอ่านข้อมูลจากต้นฉบับหรือต้นแหล่งเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการเรียกใช้งาน แคชนิยมใช้เมื่อรูปแบบการใช้ข้อมูลมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันและมีการใช้ซ้ำบ่อย เนื่องจากแคชมีจุดประสงค์เพียงแค่ต้องการจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ใช่ใช้เก็บข้อมูลจริงๆ ข้อมูลในแคชจึงมีโอกาสหายไปได้ตลอดเวลา ในกรณีที่มีคำสั่งเรียกข้อมูลและข้อมูลยังไม่หายไปจากแคช จะเรียกว่า cache hit นั่นคือสามารถอ่านข้อมูลจากแคชได้ อย่างไรก็ตามหากข้อมูลไม่อยู่ในแคชแล้ว จะเรียกว่า cache miss ซึ่งทำให้ต้องไปอ่านข้อมูลจากต้นแหล่งซึ่งเสียเวลามากกว่า แคชมีหลายประเภท เช่น แคชหน่วยความจำ แคชจานข้อมูล แคชเว็บ เป็นต้น.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและแคช · ดูเพิ่มเติม »

เฟรมเวิร์ก

กรอบงาน หรือ เฟรมเวิร์ก (framework) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แถวลำดับพลวัตและเฟรมเวิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Array listDynamic arrayรายการแถวลำดับเวกเตอร์ (โครงสร้างข้อมูล)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »