โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล

ดัชนี เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ล

อ็ดมุนด์ กุสทัฟ อัลเบร็คท์ ฮุสเซิร์ล (Edmund Gustav Albrecht Husserl) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันเชื้อสายออสเตรีย เขาเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปรากฏการณ์วิทยา ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยาที่ฮุสเซิร์ลคิดขึ้นมาถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอย่างยิ่งใหญ่ที่แยกออกจากปฏิฐานนิยม (positivism), ธรรมชาตินิยม (naturalism) และวัตถุนิยม (materialism) อย่างสิ้นเชิง ฮุสเซิร์ลเห็นว่าแทนที่มนุษย์จะอธิบายบรรดาเหตุการณ์ต่างๆที่อุบัติขึ้นในโลกแห่งชีวิตของเราโดยอาศัยกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ทั่วไป มนุษย์ควรจะพยายามทำความเข้าใจโครงสร้างความหมายของโลกแห่งชีวิตว่ามันประกอบขึ้นได้อย่างไร โดยทฤษฎีปรากฎการวิทยาของฮุสเซิร์ลนี้ การค้นหาความจริงที่ปรากฏอยู่โดยไม่มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ผู้ศึกษาเป็นอิสระจากกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี โดยให้บุคคลอธิบายเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆที่ตนเองประสบพบเจอโดยตัดอคติและตัดความเอนเอียงในเรื่องที่ศึกษา รวมทั้งขจัดความคิดเห็นของตนออกจากสิ่งที่ตนเองกําลังศึกษา (bracketing) เน้นที่จุดมุ่งหมาย (intentionality) และสาระสําคัญ (essences) ที่บุคคลนั้นรับรู้ม.

19 ความสัมพันธ์: ญาณวิทยาภววิทยามหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยไฟรบวร์คมหาวิทยาลัยไลพ์ซิชมหาวิทยาลัยเกิททิงเงินวัตถุนิยมอิมมานูเอล คานต์ฌ็อง-ปอล ซาทร์จักรวรรดิออสเตรียคาร์ล ไวแยร์สตราสส์คูร์ท เกอเดิลปรอสเตียยอฟปรากฏการณ์วิทยานาซีเยอรมนีไฟรบวร์คอิมไบรส์เกาเพลโตเรอเน เดการ์ตเดวิด ฮูม

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและญาณวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ภววิทยา

ววิทยา (ontology) เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ศึกษาเรื่องสภาวะแห่งความเป็นอยู่ หรือสัตตะ (being) การแปรสภาพ (becoming) การดำรงอยู่ (existence) และรวมทั้งการจัดปทารถะ หรือประเภทของสัตตะภาวะ (categories of being) ว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร ภววิทยามุ่งสนใจกับคำถามถึงการมีอยู่ (exist) ของสัตภาพ (entity) ต่างๆ หรือการมีอยู่ของสัตภาพนั้นมีอยู่อย่างไร ดำรงอยู่อย่างไร สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ การดำรงอยู่ต่างๆ อย่างไร ซึ่งการศึกษาภววิทยาจะมีมุมมองแตกต่างตามแต่ละสำนึกคิด เช่น ในหนทางแบบอภิปรัชญาของปรัชญาวิเคราะห์ซึ่งมองว่าธรรมชาติของความเป็นจริง (reality) นั้นต้องพูดถึงการเป็นอยู่ขั้นปาทรถะ (category) ของความเป็นจริง ซึ่งทำให้นักปรัชญาเหล่านี้มองว่า ธรรมชาติของความเป็นจริงมีเบื้องหลังที่เป็นสิ่งพื้นฐาน (basic) และมีสิ่งที่เป็นอนุพันธ์ (derivatives) ตามออกมาจากสิ่งพื้นฐานเหล่านั้น อาทิ เชื่อว่ามีบางอย่างเป็นเหตุกำเนิดของสิ่งต่างๆ เช่น พระเจ้าเป็นสิ่งพื้นฐานแรกที่อยู่เบื้องหลัง และให้กำเนิดแก่สิ่งต่างๆ ตามมา ภววิทยา ถือว่าเป็นปรัชญาแขนงหนึ่งของอภิปรัชญา (metaphysics) อันเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความจริงของสรรพสิ่ง ความเป็นจริงของสิ่งนั้นประกอบด้วยอะไร อะไรอยู่ในฐานะที่เรียกได้ว่า จริง หรือ มีอยู่จริง และความจริงสูงสุด (Ultimate Reality) ที่อยู่เบื้องหลังสิ่งที่ปรากฏนั้นคืออะไร อะไรคือความจริงสูงสุดอันนั้น ความจริงสูงสุดนั้นเป็นยังไง เช่น ความดีคืออะไร ความยุติธรรมคืออะไร พระเจ้าคืออะไร จิตเป็นความจริงมูลฐาน หรือวัตถุเป็นความจริงมูลฐาน เป็นต้น แต่ในส่วนภววิทยา (Ontology) จะศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความจริงเหล่านั้น การดำรงอยู่ของสิ่งเหล่านั้น หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไร โดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของสัตตะ (being) ความเป็นจริงที่มีอยู่ของสรรพสิ่ง เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอภิปรัชญากับภววิทยานั้น มีความแตกต่างตรงที่ อภิปรัชญาสนใจคำถามว่า: what is "x" แต่ภววิทยาสนใจคำถามว่า: what "is" x.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและภววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค

มหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค (University of Freiburg; Albert-Ludwigs-Universität Freiburg) หรือชื่อเต็มว่า มหาวิทยาลัยอัลเบิร์ตลุดวิกแห่งไฟรบวร์ค (Albert Ludwig University of Freiburg) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในเมืองไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ประเทศเยอรมนี..

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและมหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช (Universität Leipzig; University of Leipzig) ตั้งอยู่ที่เมืองไลพ์ซิช รัฐซัคเซิน ประเทศเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยประจำเมืองไลพ์ซิช มีการเรียนการสอน 14 คณ.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน

มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (University of Göttingen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาวิทยาลัยเกออร์ก-เอากุสต์แห่งเกิททิงเงิน (Georg-August-Universität Göttingen) เป็นมหาวิทยาลัยในเมืองเกิททิงเงิน รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน · ดูเพิ่มเติม »

วัตถุนิยม

วัตถุนิยม หรือ สสารนิยม เป็นแนวคิดทางปรัชญา ที่ถือว่ามีเพียงสสาร และปรากฏการณ์ของสสารที่เป็นจริง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ เกิดจากผลผลิตของสสาร วัตถุนิยมหรือสสารนิยม จัดเป็นปรัชญาแบบเอกนิยม คำอธิบายของวัตถุนิยมนั้นขัดแย้งกับปรัชญาจิตนิยม วัตถุนิยมยอมรับแนวคิดทฤษฎีอะตอมและการลดทอน.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและวัตถุนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและอิมมานูเอล คานต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ปอล ซาทร์

็อง-ปอล ซาทร์ ฌ็อง-ปอล ซาทร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส, ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย, นักบทละคร, นักปรัชญา และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดอัตถิภาวนิยมหรือทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน (Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและฌ็อง-ปอล ซาทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย

ักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire; Kaisertum Österreich) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งจากอาณาบริเวณที่เหลือจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ที่ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน รุ่งเรืองในช่วง..

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและจักรวรรดิออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ไวแยร์สตราสส์

ร์ล ธีโอดอร์ วิลเฮล์ม ไวแยร์สตราสส์ (Karl Theodor Wilhelm Weierstraß หรือ Weierstrass) (31 ตุลาคม ค.ศ. 1815 - 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1897) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ซึ่งมักถูกกล่าวถึงในฐานะว่าเป็น บิดาแห่งการวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ยุคใหม่ นอกจากนี้ชื่อของไวแยร์สตราสส์ ยังได้รับเกียรติในการตั้งชื่อหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ (Weierstrass crater) ไวแยร์สตราสส์ เกิดที่เมืองออสเทนเฟลด์ (Ostenfelde) รัฐบาวาเรีย ราชอาณาจักรปรัสเซี.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและคาร์ล ไวแยร์สตราสส์ · ดูเพิ่มเติม »

คูร์ท เกอเดิล

ูร์ท ฟรีดริช เกอเดิล (Kurt Friedrich Gödel, 28 เมษายน ค.ศ. 1906 – 14 มกราคม ค.ศ. 1978) เป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาชาวออสเตรีย และต่อมาชาวอเมริกัน ถือว่าเป็นนักตรรกศาสตร์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ร่วมกับอาริสโตเติลและกอทท์ล็อบ ฟรีเกอ เกอเดิลสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อการคิดวิทยาศาสตร์และปรัชญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งขณะนั้น เมื่อผู้อื่นอย่างเบอร์แทรนด์ รัสเซล, เอ.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและคูร์ท เกอเดิล · ดูเพิ่มเติม »

ปรอสเตียยอฟ

ปรอสเตียยอฟ (Prostějov) หรือ พร็อสส์นิทซ์ (Proßnitz) เป็นเมืองในเขตออลอโมตซ์ของประเทศเช็กเกีย ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของประเทศ ปัจจุบันเป็นเมืองมีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น และมีกองทัพพิเศษทางทหารตั้งอยู่ ศูนย์กลางของเมืองได้รับประกาศว่าเป็นเขตอนุรักษ์ของเมือง หมวดหมู่:เมืองในประเทศเช็กเกีย.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและปรอสเตียยอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์วิทยา

ปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology; φαινόμενον (phainómenon) "สิ่งที่ปรากฏ" กับ λόγος (lógos) "การพูด, การศึกษา") เป็นวิธีการทางปรัชญาที่มีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเชิงอุตระของสำนึก และสาระของสัต โดยการย้อนกลับไปที่ข้อมูลที่มีอยู่ในสำนึก ปรากฏการณ์วิทยาพยายามค้นหาความจริง แต่ความจริงที่ปรากฏการณ์วิทยาแสวงหานั้นอยู่ใน “โลกที่ปรากฏต่อหน้า” (immanence) หาใช่การมุ่งก้าวพ้นผ่านประสบการณ์ ไปสู่โลกของแบบ หรือแม้แต่พระเจ้า อันเป็นความจริงสูงสุดที่รองรับยืนยันโลกปรากฏแต่อย่างใดไม่ ดังชื่อของปรัชญาของสำนักนี้ได้ระบุไว้ว่า จุดยืนในการหาความจริงวางอยู่บนฐานที่เรียกว่า “ประสบการณ์” ในความหมายที่กว้างที่สุด ในแง่นี้ ปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) คือสำนักทางปรัชญาที่เน้นการหาความจริงในปรากฏการณ์ (phenomena) การให้คำนิยามที่ชัดเจนกับคำว่า ปรากฏการณ์วิทยา เป็นเรื่องยาก เพราะปรากฏการณ์วิทยาเป็นแนวคิด หรือ คอนเซปต์ที่แตกออกไปได้หลากหลายแขนง และนักปรัชญาในสายความคิดนี้มีวิธีการมองและวิธีการเข้าหาปัญหาแตกต่างกัน แต่เราสามารถเข้าใจจุดร่วมที่นักปรัชญาแต่ละท่านมีร่วมกันได้ จุดร่วมนี้คือการมองว่าปรากฏการณ์วิทยาคือ การศึกษาสำนึกจากแง่มุมของมนุษย์ในฐานะประธานบุรุษที่หนึ่ง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ปรากฏการณ์วิทยาปฏิเสธการค้นคว้าในเชิงภาวะวิสัย (objective research) เหมือนอย่างการศึกษาทางจิตวิทยา ซึ่งเน้นการศึกษาธรรมชาติของจิตที่เป็นสากล และเป็นกลาง ดังนั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของสำนักความคิดนี้ จึงหลีกเลี่ยงการศึกษาสำนึกอย่างเป็นเอกเทศ หรืออย่างเดี่ยวๆ แต่เน้นว่าเราต้องศึกษาสำนึกในฐานะที่สำนึกต้องพุ่งไปสู่อะไรบางอย่าง ดังที่ฮุสเซิร์ลกล่าวไว้ว่า การสำนึกคือการสำนึกถึงอะไรบางอย่าง เราเรียกกระบวนการที่สำนึกพุ่งไปสู่อะไรบางอย่างนี้ว่า “การพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentionality) และเรียกวัตถุหรือสิ่งที่เราสำนึกว่า “วัตถุของการพุ่งไปของเจตสำนึก” (intentional object).

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและปรากฏการณ์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา

ฟรบวร์คอิมไบรส์เกา (Freiburg im Breisgau) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ประเทศเยอรมนี มีประชากรราว 230,000 คน เป็นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ระหว่างแม่น้ำไดรซัม ที่เชิงเขาด้านตะวันตกสุดของแบล็กฟอเรสต์ มีมหาวิหารยุคกลาง และมีมหาวิทยาลัยไฟรบวร์คที่เก่าแก่และมีชื่อเสียง เมืองตั้งอยู่ใจกลางของศูนย์กลางการทำไวน์ เป็นเมืองที่มีแดดและอบอุ่นที่สุดในเยอรมนี มีสถิติอุณหภูมิสูงสุดที่ 40.2 °C (104.4 °F).

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและไฟรบวร์คอิมไบรส์เกา · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เรอเน เดการ์ต

รอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและเรอเน เดการ์ต · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ฮูม

วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.

ใหม่!!: เอ็ดมุนด์ ฮุสเซิร์ลและเดวิด ฮูม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Edmund Husserl

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »