โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018

ดัชนี ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 หรือ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018 ตามชื่อของผู้สนับสนุน เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนครั้งที่ 12 จัดโดย สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ซึ่งเป็นสหพันธ์ฟุตบอลของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันใหม่ คือ มีทีมที่เข้าเล่นในรอบแบ่งกลุ่ม 10 ทีม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม แข่งขันกันแบบพบกันหมด เหย้า – เยือน โดยมีทีมที่จะไปรออยู่ในรอบแบ่งกลุ่มแล้ว 9 ทีม และมีทีมที่มีอันดับโลกฟีฟ่าเป็นอันดับสุดท้ายอยู่ 2 ทีมมาแข่งกันก่อนในรอบเพลย์ออฟ เหย้า – เยือน เพื่อหาผู้ชนะเข้าไปแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มต่อไป ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018 จะเริ่มแข่งขันรอบเพลย์ออฟในวันที่ 3 – 11 กันยายน และเริ่มการแข่งขันอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม..

12 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016การแข่งขันแบบพบกันหมดสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียนสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์อันดับโลกฟีฟ่าเอ็มไทยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้UTC+06:30UTC+07:00UTC+08:00UTC+09:00

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน (ASEAN Football Championship - ชื่อเดิม ไทเกอร์คัพ) หรือ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ (AFF Suzuki Cup) หรือเรียกย่อกันว่า อาเซียนคัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในเขตอาเซียน จัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี จัดโดย สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน หรือ เอเอฟเอฟ (ASEAN Football Federation - AFF) จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ภายใต้ชื่อไทเกอร์คัพ เนื่องจากมีผู้สนับสนุนหลักคือเบียร์ไทเกอร์ เบียร์จากสิงคโปร์ ภายหลังเมื่อเบียร์ไทเกอร์ได้ยกเลิกการสนับสนุน จึงเปลี่ยนชื่อจากไทเกอร์คัพเป็นอาเซียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ แต่เปลี่ยนชื่อได้แค่ปีเดียวก็มีซูซูกิเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ สืบมาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 หรือในชื่อ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016 ตามชื่อของผู้สนับสนุน ซึ่งในปีนี้เป็นการแข่งขันครั้งที่ 11 ของ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน ซึ่งเป็นสหพันธ์ฟุตบอลของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีนี้รอบแบ่งกลุ่มจะจัดการแข่งขันที่ประเทศเมียนมาและฟิลิปปินส์ (ตั้งแต่รอบรองชนะเลิศเป็นต้นไปจะจัดแข่งขันที่ประเทศของชาติที่ผ่านเข้ารอบเท่านั้น).

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 · ดูเพิ่มเติม »

การแข่งขันแบบพบกันหมด

การแข่งขันแบบพบกันหมด (round-robin tournament) เป็นรูปแบบการแข่งขันประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องแข่งขันกับผู้แข่งขันคนอื่นทุกคนเป็นจำนวนครั้งเท่ากัน ซึ่งมักจะเป็นแบบเหย้า-เยือน ถ้าผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนแข่งขันกับผู้แข่งขันคนอื่นทุกคน คนละ 1 ครั้ง จะเรียกว่า การแข่งขันแบบพบกันหมดครั้งเดียว (single round-robin tournament) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันที่มีเจ้าภาพประเทศเดียว.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และการแข่งขันแบบพบกันหมด · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน

หพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (ASEAN Football Federation) หรือ เอเอฟเอฟ (AFF) เป็นองค์กรย่อยของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย สำหรับจัดการแข่งขันฟุตบอลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเอฟเอฟก่อตั้งในปี พ.ศ. 2537 โดยมี 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในปัจจุบันเป็นสมาชิกก่อตั้ง และในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน และ พ.ศ. 2545 มีการจัดการแข่งขัน อาเซียนคลับแชมเปียนชิพ และ พ.ศ. 2559 จัดการแข่งขัน อาเซียนซูเปอร์ลีก ปัจจุบันเอเอฟเอฟได้มีสมาชิกใหม่คือติมอร์-เลสเต เพิ่มเข้ามาในปี พ.ศ. 2547 และออสเตรเลีย ที่เข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์

นามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ (Singapore National Stadium,Stadium Nasional Singapura) ตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของ อุทยานกีฬาสิงคโปร์ เมืองกัลลัง สิงคโปร์ สร้างทดแทนสนามกีฬาแห่งชาติเดิมที่เปิดใช้มาตั้งแต..

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และสนามกีฬาแห่งชาติสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับโลกฟีฟ่า

อันดับโลกฟีฟ่า (FIFA World Rankings) เป็นระบบการจัดอันดับทีมฟุตบอลทีมชาติที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่า อันดับจะถูกคำนวณจากแต้มความสำเร็จของแต่ละทีมจากผลแพ้ชนะในในแต่ละทีมจากผลแพ้ชนะ ทีมที่ชนะหรือเสมอจะได้แต้มจากการแข่งขันซึ่งคำนวณจากปัจจัยต่างๆ โดยแต้มทั้งหมดจะถูกสะสมจากการแข่งขันในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งระบบใหม่ที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ได้ถูกนำมาใช้ภายหลังจากการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2006 ที่ผ่านมา โดยใช้ครั้งแรก วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยใช้ทดแทนระบบเก่าที่การคำนวณซับซ้อนและการคำนวณแต้มสะสมย้อนหลังแปดปี ที่ไม่แสดงถึงความสามารถของทีมในปัจจุบัน อันดับโลกฟีฟ่าเริ่มถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ภายใต้ชื่อ "โคคาโคล่าเวิลด์แรงกิง" สนับสนุนโดยโคคาโคล่า และใช้กันอย่างต่อเนื่องโดยมีการจัดอันดับในทุกเดือน จนกระทั่งไป ในปี 2542 ได้มีการปรับปรุงระบบการคำนวณครั้งหนึ่งและในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการปรับปรุงระบบอีกครั้งเหมือนตามที่ใช้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามทีมที่จะถูกจัดอันดับนั้นจำเป็นต้องแข่งขันอย่างน้อย 5 นัดภายในปีนั้น ส่วนทีมชาติหญิงนั้นจะใช้การจัดอันดับในรูปแบบอื่น การคำนวณอันดับนี้จะมีผลเฉพาะการแข่งขันฟุตบอลของทีมปกติซึ่งจะไม่นับผลการแข่งขันของทีมเยาวชน รวมไปถึงมหกรรมกีฬาที่บรรจุการแข่งขันฟุตบอลรวมอยู่ด้วย เช่น เอเชียนเกมส์ โอลิมปิก หรือซีเกม.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และอันดับโลกฟีฟ่า · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มไทย

อ็มไทย (mthai.com) เป็นเว็บท่าและเว็บบอร์ดของประเทศไทย เริ่มให้บริการประมาณปี..

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และเอ็มไทย · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

UTC+06:30

UTC+06:30 เป็นเขตเวลาใช้ใน: UTC+06:30: สีน้ำเงิน (เดือนธันวาคม), สีส้ม (มิถุนายน), สีเหลือง (ตลอดทั้งปี), สีน้ำเงินอ่อน - พื้นที่ทางทะเล.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และUTC+06:30 · ดูเพิ่มเติม »

UTC+07:00

UTC+7:00เป็นเขตเวลาใช้ใน:ประเทศไทย UTC +7 สีน้ำเงิน (เดือนธันวาคม), สีเหลือง (ตลอดทั้งปี), สีส้ม (มิถุนายน), สีน้ำเงินอ่อน - พื้นที่ทางทะเล.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และUTC+07:00 · ดูเพิ่มเติม »

UTC+08:00

UTC+8 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 8 ชั่วโมง มีการประเมินว่า ประชากรโลกกว่า 1,708 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเวลานี้ ซึ่งคิดเป็น 24% ของประชากรโลกทั้งหมด เขตเวลานี้ เป็นเวลามาตรฐานของ;เอเชียเหนือ.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และUTC+08:00 · ดูเพิ่มเติม »

UTC+09:00

UTC+9 เป็นเขตเวลาที่เวลาท้องถิ่นเร็วกว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 9 ชั่วโมง ใช้ใน;เอเชียเหนือ.

ใหม่!!: ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2018และUTC+09:00 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »