โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นขนานที่ 40 องศาใต้

ดัชนี เส้นขนานที่ 40 องศาใต้

้นขนานที่ 40 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 40 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย ออสตราเลเซีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้ ในวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 26.17° กับขอบฟ้า และ 73.83° ในวันที่ 21 ธันวาคม.

18 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกรัฐบัวโนสไอเรสรัฐริโอเนโกรรัฐแทสเมเนียรัฐเนวเกนวงกลมละติจูดออสตราเลเซียองศา (มุม)ทวีปอเมริกาใต้ทะเลแทสมันทิศใต้โลกเกาะเหนือเส้นศูนย์สูตรเส้นเมริเดียนแรก21 ธันวาคม

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบัวโนสไอเรส

ัวโนสไอเรส (Buenos Aires) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดของรัฐในอาร์เจนตินา ชื่อรัฐมาจากชื่อกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของรัฐคือเมืองลาปลาตา ที่ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และรัฐบัวโนสไอเรส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐริโอเนโกร

ริโอเนโกร (Río Negro) เป็นรัฐในประเทศอาร์เจนตินา ทางตอนเหนือสุดของภูมิภาคปาตาโกเนีย มีรัฐเพื่อนบ้าน เริ่มจากทิศเหนือหมุนตามเข็มนาฬิกา ได้แก่ รัฐชูบุต รัฐเนวเกน รัฐเมนโดซา รัฐลาปัมปา และรัฐบัวโนสไอเรส ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันออก มีเมืองหลวงคือเมืองบิเอดมา ริโอเนโกร.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และรัฐริโอเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแทสเมเนีย

กาะแทสเมเนีย เป็นรัฐหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 240 กม.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และรัฐแทสเมเนีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนวเกน

นวเกน (Neuquén) เป็นรัฐในประเทศอาร์เจนตินา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ ทางเหนือของภูมิภาคปาตาโกเนีย มีชายแดนติดกับรัฐเมนโดซาทางทิศเหนือ ติดกับรัฐริโอเนโกรทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และติดกับประเทศชิลีทางทิศตะวันตก ติดกับรัฐลาปัมปาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และรัฐเนวเกน · ดูเพิ่มเติม »

วงกลมละติจูด

วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และวงกลมละติจูด · ดูเพิ่มเติม »

ออสตราเลเซีย

แผนที่ออสตราเลเซีย ออสตราเลเซีย (Australasia) คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้คิดคำนี้ขึ้น คือ ชาร์ล เดอ บรอส (Charles de Brosses) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือประวัติการสำรวจซีกโลกใต้ (Histoire des navigations aux terres australes) เมื่อ..

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และออสตราเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแทสมัน

ทะเลแทสมัน ทะเลแทสมัน (Tasman Sea) เป็นทะเลส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ อยู่ระหว่างด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลียกับฝั่งตะวันตกของประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งห่างราว 2,000 กิโลเมตร มีความยาวจากเหนือไปใต้ราว 2,800 กิโลเมตร ทะเลตั้งชื่อตามนักสำรวจชาวดัตช์ อาเบิล ยันส์โซน ตัสมัน (Abel Janszoon Tasman) ซึ่งเป็นนักสำรวจชาวยุโรปที่ค้นพบนิวซีแลนด์และแทสเมเนียเป็นคนแรกเท่าที่มีการบันทึกมา ต่อมานักสำรวจชาวอังกฤษ กัปตันเจมส์ คุก เดินทางมาถึงทะเลแทสมันในคริสต์ทศวรรษ 1770 ในการเดินทางสำรวจครั้งแรกของเขา หมวดหมู่:มหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศออสเตรเลีย.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และทะเลแทสมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะเหนือ

กาะเหนือ หรือ นอร์ทไอแลนด์ (North Island) เป็นหนึ่งใน 2 เกาะสำคัญของประเทศนิวซีแลนด์ แบ่งกับเกาะใต้ด้วยช่องแคบคุก เกาะมีพื้นที่ 113,729 ตร.กม.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และเกาะเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

21 ธันวาคม

วันที่ 21 ธันวาคม เป็นวันที่ 355 ของปี (วันที่ 356 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 10 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เส้นขนานที่ 40 องศาใต้และ21 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »