โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

ดัชนี เสามาร์กุส เอาเรลิอุส

มาร์กุส เอาเรลิอุส (Columna Centenaria Divorum Marci et Faustinae, Colonna di Marco Aurelio, Column of Marcus Aurelius) เป็นคอลัมน์ดอริคที่ประกอบด้วยลายสลักภาพนูนเป็นเกลียวรอบลำเสาที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสตามแบบเสาไตรยานุส เสามาร์กุส เอาเรลิอุสยังคงตั้งอยู่ที่ตั้งดั้งเดิมที่จัตุรัสโคลอนนาก่อนหน้าวังคีกีในกรุงโรมในประเทศอิตาลี.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 736วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5สถาปัตยกรรมโรมันอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจักรพรรดิก็อมมอดุสจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุสซีโมนเปโตรประเทศอิตาลีแม่น้ำดานูบโรมเสาแบบดอริกเสาไตรยานุสเปาโลอัครทูต

พ.ศ. 736

ทธศักราช 736 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและพ.ศ. 736 · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3

ักรวรรดิที่ถูกแบ่งแยกในปี ค.ศ. 271: จักรวรรดิกอลสีเขียว, จักรวรรดิพาลมิรีนสีเหลือง และจักรวรรดิโรมันสีแดง วิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 (Discrimen Tertii Saeculi, Crisis of the Third Century) หรืออนาธิปไตยทางทหาร (Military Anarchy หรือวิกฤติการณ์จักรวรรดิ (Imperial Crisis; ค.ศ. 235–284) เป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันประสบวิกฤติการณ์ที่แทบจะนำความสิ้นสุดมาสู่จักรวรรดิจากปัญหาหลายอย่างรวมกันที่รวมทั้งการรุกรานของศัตรู, สงครามกลางเมือง, โรคระบาด, และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ วิกฤติการณ์เริ่มด้วยการลอบสังหารของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส โดยทหารของพระองค์เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของห้าสิบปีของความปั่นป่วนที่ในระหว่างนั้นก็มีผู้อ้างตนเป็นจักรพรรดิถึง 20 ถึง 25 คน ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นนายพลผู้มีชื่อเสียงของกองทัพโรมันที่เข้ายึดอำนาจทั้งหมดหรือบางส่วนของจักรวรรดิ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 258 ถึงปี ค.ศ. 260 จักรวรรดิโรมันก็แบ่งออกเป็นสามส่วน: จักรวรรดิกอล ที่รวมทั้งจังหวัดโรมันแห่งกอล, บริเตน และฮิสปาเนีย (Hispania); และจักรวรรดิพาลไมรีน ที่รวมทั้งจังหวัดทางตะวันออกของซีเรีย, ปาเลสไตน์ และเอกิบตัส (Aegyptus) สองจักรวรรดิแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันที่มีศูนย์กลางอยู่ในอิตาลี วิกฤติการณ์ยุติลงด้วยการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและวิกฤตการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 (อังกฤษ: Sixtus V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1585 ถึง ค.ศ. 1590 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2063 ซิกส์ตุสที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและสมเด็จพระสันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมัน

ลอสเซียมในกรุงโรม สถาปัตยกรรมโรมัน (Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก” นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและสถาปัตยกรรมโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิก็อมมอดุส

ักรพรรดิก็อมมอดุส เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิมาร์คัส ออเรลิอัส ประสูติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 161 เมื่อพระชนมายุได้เพียง 15 ชันสา ก็ทรงครองจักรวรรดิโรมันร่วมกับพระราชบิดาในปี..

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิก็อมมอดุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส

ักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius หรือ Marcus Aurelius Antoninus Augustus) (ราว 26 เมษายน ค.ศ. 121Augustan History, "Marcus Aurelius" – 17 มีนาคม ค.ศ. 180) มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันระหว่างวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 161 ถึง ค.ศ. 169 โดยปกครองร่วมกับ ลูกิอุส เวรุส (Lucius Verus) พระอนุชาบุญธรรม จนเวรุสสิ้นพระชนม์ในปี 169; จากนั้นเอาเรลิอุสทรงปกครองต่อมาโดยลำพังพระองค์เองระหว่างปี ค.ศ. 169 ถึง ค.ศ. 177 และ ทรงปกครองร่วมกับ ก็อมมอดุส (Commodus) ผู้เป็นราชโอรสของพระองค์ ระหว่าง ค.ศ. 177 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 180 มาร์กุส เอาเรลิอุสเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของ “จักรพรรดิโรมันผู้ทรงคุณธรรมห้าพระองค์” (Five Good Emperors) และถือกันว่าเป็นนักปรัชญาลัทธิสโตอิก (Stoicism) คนสำคัญคนหนึ่ง เหตุการณ์สำคัญในสมัยการปกครองของมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ได้แก่สงครามในเอเชียกับจักรวรรดิพาร์เธียน (Parthian Empire), และกับชนเผ่าเจอร์มานิคตามบริเวณพรมแดนโรมัน-เจอร์มานิคัส (LimesGermanicus) เข้าไปในกอลและข้ามแม่น้ำดานูบ และการปฏิวัติทางตะวันออกที่นำโดยอาวิเดียส คาสเซียส (Avidius Cassius) ที่ไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากความสามารถในการสงครามแล้วมาร์กุส เอาเรลิอุสก็ยังมีงานเขียน “Meditations” ที่เขียนเป็นภาษากรีกระหว่างที่ทำการรณรงค์ระหว่างปี..

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำดานูบ

แม่น้ำดานูบ (Danube River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในสหภาพยุโรป และยาวเป็นอันดับสองของทวีปยุโรป (รองจากแม่น้ำวอลกา) มีต้นกำเนิดที่แถบป่าดำ (Black Forest; Schwarzwald) ในประเทศเยอรมนี เกิดจากแม่น้ำเล็กๆ สองสาย คือ Brigach และ Breg ซึ่งไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำดานูบที่เมือง Donaueschingen แม่น้ำดานูบไหลจากป่าดำไปทางทิศตะวันออกผ่านเมืองหลวงและเมืองสำคัญๆ ของประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันออก ก่อนที่จะไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบ (Danube Delta) และแยกลงสู่ทะเลดำที่ประเทศโรมาเนียและยูเครน มีความยาวประมาณ 2,845 กม.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและแม่น้ำดานูบ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและโรม · ดูเพิ่มเติม »

เสาแบบดอริก

หัวเสาแบบดอริก วิหารพาร์เทนอน เสาแบบดอริก (Doric order) เป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมเสาแบบคลาสสิกหนึ่งในสามแบบของกรีกโบราณ ที่มีลักษณะโคนเสาใหญ่และเรียวขึ้นไปจนถึงยอด ตามลำเสาเป็นร่องเว้าตามแนวตั้งยี่สิบร่องรอบเสา ตอนบนเป็นหัวเสาเรียบที่บานออกไปจากคอลัมน์ไปบรรจบกับแผ่นสี่เหลี่ยมที่ขวางกับคานแนวนอนที่วางเหนือ.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและเสาแบบดอริก · ดูเพิ่มเติม »

เสาไตรยานุส

ตรยานุส (Trajan's Column) เป็นอนุสาวรีย์ชัยโรมันที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิไตรยานุสแห่งจักรวรรดิโรมันและอาจจะก่อสร้างภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัส (Apollodorus of Damascus) ตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน เสาตั้งอยู่ที่จัตุรัสไตรยานุสไม่ไกลจากเนินคิรินาลทางด้านเหนือของจตุรัสโรมัน เสาไตรยานุสสร้างเสร็จในค.ศ. 113 เป็นเสาอิสระที่มีชื่อเสียงตรงที่มีภาพสลักนูนเป็นเกลียวรอบเสาที่เป็นการสรรเสริญชัยชนะของไตรยานุสในสงครามไตรยานุสเดเซียน (Trajan's Dacian Wars) และเป็นอนุสาวรีย์ชัยที่มีอิทธิพลในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยอื่น ๆ ต่อมาตั้งแต่ในสมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่ เสาไตรยานุสสูงราว 30 เมตร และ 38 เมตรถ้ารวมทั้งฐาน ตัวเสาเป็นปล้องหินอ่อน 20 ปล้องจากคาร์ราราแต่ละปล้องหนักราว 40 ตัน โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 เมตร รูปสลักนูนเวียนรอบเสายาว 190 เมตรวน 23 รอบ ภายในเสาเป็นช่องกลวงที่มีบันได 185 ขั้นที่มีฐานชมทิวทัศน์อยู่ข้างบน บนเหรียญโบราณแสดงภาพว่ามีประติมากรรมรูปนกอยู่บนยอดซึ่งอาจจะเป็นเหยี่ยว และต่อมาเป็นรูปเปลือยของไตรยานุสเองแต่หายไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม..

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและเสาไตรยานุส · ดูเพิ่มเติม »

เปาโลอัครทูต

นักบุญเปาโลอัครทูต (St.) หรือนักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส (St.; San Paolo di Tarso) หรือนักบุญเปาโล มาจาก ภาษากรีก “Šaʾul HaTarsi” หมายถึง “เซาโลแห่งทาร์ซัส” มาจาก “Σαουλ” “Saul” หรือ “Σαῦλος” “Saulos” หรือ “Παῦλος” “Paulos” เป็น “อัครทูตถึงชนต่างชาติ” (Apostle to the Gentiles) พร้อมกับนักบุญเปโตรและนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม (James the Just), เป็นมิชชันนารีที่สำคัญที่สุดในศาสนาคริสต์ยุคแรก แต่ไม่เคยพบพระเยซูดังเช่นอัครทูตท่านอื่นๆ ไม่มีหลักฐานใดที่กล่าวว่านักบุญเปาโลเคยพบพระองค์ด้วยตนเองก่อนที่จะถูกตรึงกางเขนตามที่กล่าวใน “กิจการของอัครทูต” นักบุญเปาโลมานับถือศาสนาคริสต์ระหว่างที่เดินทางไป ดามัสกัส จากการที่ได้เห็นพระเยซูผู้ฟื้นคืนพระชนม.

ใหม่!!: เสามาร์กุส เอาเรลิอุสและเปาโลอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Column of Marcus Aureliusคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »