โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เว่ย์ ชิง

ดัชนี เว่ย์ ชิง

เว่ย์ ชิง (เสียชีวิต 106 ปีก่อน ค.ศ.) ชื่อเกิดว่า เจิ้ง ชิง (鄭青) และชื่อรองว่า จ้ง ชิง (仲卿) เป็นขุนศึกจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีชื่อจากการนำทัพต่อต้านชาวซฺยงหนู (匈奴) เขาเป็นน้องชายของเว่ย์ จื่อฟู (衛子夫) ภริยาของหลิว เช่อ (劉徹) ผู้ซึ่งต่อมาเป็นจักรพรรดิฮั่นอู่ (汉武帝) เขายังเป็นสามีขององค์หญิงผิงหยาง (平陽公主) และเป็นลุงของขุนพลฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง (霍去病) หมวดหมู่:ขุนนางสมัยราชวงศ์ฮั่น.

5 ความสัมพันธ์: ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกฮั่ว ชฺวี่ปิ้งจักรพรรดิฮั่นอู่จักรพรรดินีเว่ย์ จื่อฟูซฺยงหนู

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 8) หลิวปังรบชนะฌ้อป๋าอ๋องเซี่ยงหวี่ และตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้น ราชวงศ์ฮั่นเป็นยุคทองของจีน คนจีนในยุคหลังจะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวฮั่น ราชวงศ์ฮั่นอยู่ได้เป็นเวลานาน กว่า 400 ปี (ราว ๆ ช่วง พ.ศ. 335 - 763) (หรือราว ๆ ช่วง ก่อนคริสต์ศักราช 206 ปี - ค.ศ. 220) และล่มสลายมาเป็นยุคสามก๊ก (ราว ๆ พ.ศ. 763 - 823)(หรือ ๆ ค.ศ. 220 - 280)มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เมื่อกองทัพหลิวปังเอาชนะกองทหารของเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า พระเจ้าฮั่นเกาจู่ โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน (ใกล้บริเวณเมืองซีอาน มณฑลส่านซีปัจจุบัน) แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งยุคสมัยของราชวงศ์ฮั่นเป็นสองยุคตามที่ตั้งของเมืองหลวง คือ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (เริ่มต้นโดยพระเจ้าฮั่นเกาจู่) และราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (เริ่มต้นที่พระเจ้าฮั่นกวงอู่) เนื่องจากความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองอันมากด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงถือเป็นยุคทองของจีน จึงมีศัพท์จีนคำหนึ่งซึ่งได้ยินติดหูและใช้เรียกในชีวิตประจำวัน คือ ชาวฮั่น ภาษาฮั่น ซึ่งหมายถึง ชาวจีน ภาษาจีน นั่นเอง มันแสดงถึงความภาคภูมิใจของคนจีนที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่ยุคอาณาจักรฮั่นโบราณ.

ใหม่!!: เว่ย์ ชิงและราชวงศ์ฮั่นตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง

ภาพวาดของแม่ทัพฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง ฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง (140 ปีก่อน ค.ศ. – 117 ปีก่อน ค.ศ.) เมื่อสิ้นชีวิตแล้วได้บรรดาศักดิ์ จิ่งหฺวันโหว (景桓侯) เป็นขุนศึกจีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก รับราชการในสมัยจักรพรรดิฮั่นอู่ (汉武帝) เป็นหลานของจักรพรรดินีเว่ย์ จื่อฟู (衛子夫) มเหสีของจักรพรรดิฮั่นอู่ ทั้งเป็นหลานของขุนพลเว่ย์ ชิง (衛青) และเป็นพี่ชายของขุนพลฮั่ว กวาง (霍光) หมวดหมู่:ขุนนางสมัยราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.

ใหม่!!: เว่ย์ ชิงและฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นอู่

ักรพรรดิฮั่นอู่ (พ.ศ. 388–457) เป็นจักรพรรดิจีนราชวงศ์ฮั่น พระนามเดิมว่า หลิว เช่อ (劉徹) ขึ้นครองราชย์เมื่ออายุ 16 พรรษา ปกครองนานถึง 54 ปี (ปี 140 – 87 ก่อนคริสต์ศักราช นับว่าเป็นฮ่องเต้ ชาวฮั่น ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดด้วย) ผลงานปรับปรุงประเทศและแผ่ขยายอิทธิพลของพระองค์ทำให้นักประวัติศาสตร์ถือเป็นมหาราชซึ่งมีชื่อเสียงมากในประวัติศาสตร์ของจีน พระองค์กำหนดปีรัชสมัยของตนขึ้นเป็นครั้งแรกในชื่อว่า “เจี้ยนหยวน” นับจากนี้ไป ฮ่องเต้ องค์ต่อมาต่างถือเป็นประเพณีตั้งชื่อรัชศกของตนมาจนกระทั่งสิ้นสุดยุคจักรพรร.

ใหม่!!: เว่ย์ ชิงและจักรพรรดิฮั่นอู่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเว่ย์ จื่อฟู

เว่ย์ จื่อฟู (สิ้นพระชนม์ 91 ปีก่อน ค.ศ.) เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วได้ชื่อว่า เซี่ยวอู๋ซือหวงโฮ่ว (孝武思皇后) และ เว่ย์ซือโฮ่ว (衛思后) เป็นราชนารีจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยเป็นมเหสีองค์ที่สองของหลิว เช่อ (劉徹) ผู้ซึ่งต่อมาเป็นจักรพรรดิฮั่นอู่ (汉武帝) และสถาปนานางเป็นจักรพรรดินี นางอยู่ในตำแหน่งนี้ถึง 38 ปี และมีชีวิตสมรสอยู่กับจักรพรรดิฮั่นอู่ยาวนานถึง 49 ปี นับเป็นมเหสีที่ดำรงตำแหน่งจักรพรรดินียาวนานเป็นลำดับที่สองในประวัติศาสตร์ รองจาก หวัง สีเจี่ย (王喜姐) มเหสีของจักรพรรดิว่านลี่ (萬曆) ที่อยู่ในตำแหน่ง 42 ปี อนึ่ง เว่ย์ จื่อฟู ยังเป็นมารดาของหลิว จฺวี้ (劉據) รัชทายาทของจักรพรรดิฮั่นอู่ เป็นพี่สาวของขุนพลเว่ย์ ชิง (衛青) เป็นป้าของขุนพลฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง (霍去病) กับฮั่ว กวาง (霍光) และเป็นทวดของหลิว ปิ้งอี่ (劉病已) ผู้ต่อมาเป็นจักรพรรดิฮั่นเซฺวียน (汉宣帝) หมวดหมู่:จักรพรรดินีราชวงศ์ฮั่น หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก.

ใหม่!!: เว่ย์ ชิงและจักรพรรดินีเว่ย์ จื่อฟู · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: เว่ย์ ชิงและซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wei Qingเว่ย ชิงเว่ยชิง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »