โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

ดัชนี เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน

เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชัน (ventricular fibrillation,VF, V-Fib) หรือ หัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว เป็นภาวะซึ่งมีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างอย่างไม่สัมพันธ์กัน จึงเหมือนเป็นการเต้นแผ่วระรัวซึ่งไม่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือด ไม่สามารถคลำชีพจรได้ เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยืนยันการวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเท่านั้น ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันทีเนื่องจากหากการเต้นแบบฟิบริลเลชันนี้ดำเนินไปอีกไม่กี่วินาทีอาจกลายเป็นหัวใจหยุดเต้นได้ ภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดภาวะช็อคเหตุหัวใจ ไม่มีการไหลเวียนของเลือด และทำให้เสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที หากได้รับการกู้ชีพขึ้นมาไม่ทันท่วงที ทำให้สมองขาดออกซิเจนเกินกว่าระยะเวลาหนึ่ง (ประมาณ 5 นาทีที่อุณหภูมิห้อง) อาจมีความเสียหายของสมองอย่างไม่สามารถทำให้กลับคืนเป็นปกติได้หรือถึงขั้นสมองตายได้ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:สาเหตุการเสียชีวิต หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ.

6 ความสัมพันธ์: ชีพจรกล้ามเนื้อหัวใจการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจภาวะสมองตายภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ชีพจร

thumb การประเมินชีพจรที่หลอดเลือดแดงเรเดียล ในวิชาแพทยศาสตร์ ชีพจรของบุคคลแทนการคลำตรวจการเต้นของหัวใจทางหลอดเลือดแดงด้วยนิ้วมือ อาจคลำตรวจชีพจรได้ทุกที่ซึ่งจะกดหลอดเลือดแดงกับกระดูก เช่น ที่คอ (หลอดเลือดแดงแคโรติด) ด้านในข้อศอก (หลอดเลือดแดงแขน) ที่ข้อมือ (หลอดเลือดแดงเรเดียล) ที่ขาหนีบ (หลอดเลือดแดงต้นขา) หลังเข่า (หลอดเลือดแดงขาพับ) ใกล้ข้อตาตุ่ม (หลอดเลือดแดงแข้งหลัง) และบนเท้า (หลอดเลือดแดงเท้าบน) ชีพจร หรือการนับชีพจรหลอดเลือดแดงต่อนาที เท่ากับการวัดอัตราหัวใจเต้น อัตราหัวใจเต้นยังสามารถวัดได้โดยการฟังหัวใจเต้นโดยตรง ซึ่งปกติใช้เครื่องตรวจหูฟังแล้วนับไปหนึ่งนาที หมวดหมู่:สรีรวิทยาระบบหัวใจหลอดเลือด.

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและชีพจร · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจ

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (involuntary) พบที่หัวใจ ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิตไปยังระบบไหลเวียนโลหิตโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ.

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและกล้ามเนื้อหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองตาย

มองของมนุษย์ ภาวะสมองตาย (อังกฤษ: brain death) เป็นบทนิยามที่ทางนิติศาสตร์และทางแพทยศาสตร์ใช้หมายเอาการตายของบุคคล ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2503 ทั้งนี้ โดยทั่วไปมักหมายเอาภาวะที่ไม่สามารถฟื้นฟูระบบการทำงานของสมองของบุคคลได้อีกแล้ว อันเป็นผลมาจากการตายหมดแล้วทุกส่วนของเซลล์ประสาทในสมอง (อังกฤษ: total necrosis of cerebral neurons) เพราะเหตุที่ได้ขาดเลือดและออกซิเจนหล่อเลี้ยง ทั้งนี้ พึงไม่สับสนภาวะสมองตายกับสภาพร่างกายทำงานนอกบังคับจิตใจเป็นการเรื้อรัง หรือสภาพผักเรื้อรังของผู้ป่วย (อังกฤษ: persistent vegetative state).

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและภาวะสมองตาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์คือโรคหรือการบาดเจ็บที่เป็นขึ้นเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพในระยะยาวโดยทันที จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยทันทีเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเกิดการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:เวชศาสตร์ฉุกเฉิน.

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: เว็นทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

V-FibV-fibVentricular fibrillationหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวเวนทริคูลาร์ ฟิบริลเลชันเวนทริคูลาร์ฟิบริลเลชัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »