โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทรงลิ่ม

ดัชนี ทรงลิ่ม

ทรงลิ่ม ปริซึมสามเหลี่ยม ทรงลิ่ม (wedge) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยม 2 หน้า และหน้ารูปสี่เหลี่ยมคางหมู 3 หน้า มี 6 จุดยอดและ 12 ขอบ ทรงลิ่มเป็นหนึ่งในพริสมาทอยด์ (prismatoid) ที่มีจุดยอดที่ฐานด้านหนึ่งเพียง 2 จุด หรืออาจจัดได้เป็นคิวโพลาสองเหลี่ยมก็ได้ ปริซึมสามเหลี่ยม (triangular prism) เป็นกรณีพิเศษของทรงลิ่มที่มีหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่ขนานกันทั้งสองหน้.

8 ความสัมพันธ์: พริสมาทอยด์รูปสามเหลี่ยมรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปสี่เหลี่ยมคางหมูสูตรทรงหลายหน้าคิวโพลาปริมาตร

พริสมาทอยด์

ริสมาทอยด์ (prismatoid) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่จุดยอด (vertex) ทุกจุดเรียงกันอยู่บนระนาบสองระนาบที่ขนานกัน และพริสมาทอยด์ที่มีจำนวนจุดยอดบนระนาบเท่ากับทั้งสองระนาบ จะเรียกอีกอย่างว่า พริสมอยด์ (prismoid) ปริมาตรของพริสมาทอยด์ V สามารถหาได้จาก V.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและพริสมาทอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).

ใหม่!!: ทรงลิ่มและรูปสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า คือรูปสามเหลี่ยมชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมีความยาวเท่ากัน ในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็นรูปหลายเหลี่ยมมุมเท่า (equiangular polygon) กล่าวคือ มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมมีขนาดเท่ากันคือ 60° ด้วยคุณสมบัติทั้งสอง รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจึงจัดเป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (regular polygon) และเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเป็น รูปสามเหลี่ยมปรกติ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่ยาวด้านละ a\,\! หน่วย จะมีส่วนสูง (altitude) เท่ากับ \fraca หน่วย และมีพื้นที่เท่ากับ \fraca^2 ตารางหน่วย รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสมมาตรมากที่สุด คือมีสมมาตรแบบสะท้อนสามเส้น และสมมาตรแบบหมุนที่อันดับสามรอบศูนย์กลาง กรุปสมมาตรของรูปสามเหลี่ยมนี้จัดว่าเป็นกรุปการหมุนรูปของอันดับหก (dihedral group of order 6) หรือ D3 ทรงสี่หน้าปรกติ สร้างขึ้นจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสี่รูป รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสามารถพบได้ในโครงสร้างทางเรขาคณิตอื่นๆ หลายอย่าง เช่น รูปวงกลมที่มีรัศมีเท่ากันสองวงตัดกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บนเส้นรอบวงของอีกวงหนึ่ง ทำให้เกิดส่วนโค้งขนาดเท่ากัน และสามารถแสดงได้ด้วยรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปสามเหลี่ยมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทรงหลายหน้า ทรงตันเพลโตสามในห้าชิ้นประกอบขึ้นจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หนึ่งในนั้นคือทรงสี่หน้าปรกติ ซึ่งประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสี่หน้า นอกจากนั้นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสามารถนำมาเรียงติดต่อกันบนระนาบ จนเกิดเป็นรูปแบนราบสามเหลี่ยม (triangular tiling) การหารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับรูปสามเหลี่ยมใดๆ สามารถหาได้จากทฤษฎีบทสามส่วนของมอร์ลีย์ (Morley's trisector theorem) Triangle Construction Animation.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมคางหมู

ในทางเรขาคณิต รูปสี่เหลี่ยมคางหมู คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มีด้านตรงข้ามขนานกันจำนวนหนึ่งคู่ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ baseline ABCD หรือ ⏢ ABCD ภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันเรียกรูปสี่เหลี่ยมคางหมูว่า trapezoid ในขณะที่สำเนียงอังกฤษและออสเตรเลียเรียกว่า trapezium ในทางกลับกัน สำเนียงอเมริกันเรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่ขนาน (ด้านไม่เท่า) ว่า trapezium ในขณะที่สำเนียงอังกฤษและออสเตรเลียเรียกว่า trapezoid.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและรูปสี่เหลี่ยมคางหมู · ดูเพิ่มเติม »

สูตร

ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สูตร หมายถึง แนวทางสั้นๆ ที่ใช้อธิบายความรู้ด้วยสัญลักษณ์ (เช่นสูตรคณิตศาสตร์หรือสูตรเคมี) หรือความสัมพันธ์ทั่วไปในเรื่องปริมาณ หนึ่งในสูตรต่างๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ สูตรของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า E.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและสูตร · ดูเพิ่มเติม »

ทรงหลายหน้า

ทรงหลายหน้า (polyhedron, พหูพจน์: polyhedra) หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่ประกอบด้วยหน้าเรียบและขอบตรง ทรงหลายหน้าเป็นที่น่าหลงใหลของมนุษยชาติมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ศึกษาอย่างเป็นกิจลักษณะโดยชาวกรีกโบราณ ต่อเนื่องมาจนถึงนักเรียน นักคณิตศาสตร์ และศิลปินทุกวันนี้ คำว่า polyhedron มาจากภาษากรีก πολυεδρον โดยที่ poly- มาจาก πολυς แปลว่า "มากมาย" และ -edron มาจาก εδρον แปลว่า "ฐาน, ที่นั่ง, หน้า".

ใหม่!!: ทรงลิ่มและทรงหลายหน้า · ดูเพิ่มเติม »

คิวโพลา

วโพลา หรือ รูปทรงถ้วยคว่ำ (cupola, พหูพจน์: cupolae) คือทรงหลายหน้าชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมระหว่างรูปหลายเหลี่ยมสองรูปที่ขนานกัน โดยที่จำนวนเหลี่ยมของรูปหนึ่งเป็นสองเท่าของอีกรูปหนึ่ง เช่น รูปสี่เหลี่ยมกับรูปแปดเหลี่ยม เป็นต้น และหน้าด้านข้างประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมสลับกับรูปสามเหลี่ยม ลักษณะจึงคล้ายกับกะลาครอบ การเรียกชื่อคิวโพลาจะเรียกด้านที่มีเหลี่ยมน้อยกว่าเป็นหลัก และคิวโพลาก็เป็นพริสมาทอยด์ (primatoid) ชนิดหนึ่ง คิวโพลาสามเหลี่ยม คิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส และคิวโพลาห้าเหลี่ยม ที่มีความยาวขอบทุกด้านเท่ากันหมด จัดได้เป็นทรงตันจอห์นสัน (Johnson solid) ซึ่งคิวโพลาเหล่านี้สามารถตัดส่วนหนึ่งออกมาจากคิวบอกทาฮีดรอน (cuboctahedron) รอมบิคิวบอกทาฮีดรอน (rhombicuboctahedron) และรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (rhombicosidodecahedron) ตามลำดับ สำหรับคิวโพลาหกเหลี่ยมด้านเท่า ที่มีความยาวขอบทุกด้านเท่ากันหมด จะกลายเป็นรูปทรงที่แบนราบอยู่บนระนาบสองมิติ ไฟล์:Geometric wedge.png|คิวโพลาสองเหลี่ยม ไฟล์:triangular_cupola.png|คิวโพลาสามเหลี่ยม ไฟล์:square_cupola.png|คิวโพลาสี่เหลี่ยม ไฟล์:Pentagonal cupola.png|คิวโพลาห้าเหลี่ยม ไฟล์:Tile 3464.svg|คิวโพลาหกเหลี่ยม.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและคิวโพลา · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตร

ออนซ์ และมิลลิลิตร ปริมาตร หมายถึง ปริมาณของปริภูมิหรือรูปทรงสามมิติ ซึ่งยึดถือหรือบรรจุอยู่ในภาชนะไม่ว่าจะสถานะใดๆก็ตาม บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่นลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของภาชนะคือ ความจุ ของภาชนะ เช่นปริมาณของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้สูตรต่าง ๆ ทางเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วยแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่นเส้นตรง) และรูปร่างสองมิติ (เช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วยการแทนที่ของไหล และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่งละลายในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก ในเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของรูปแบบปริมาตร (volume form) และเป็นตัวยืนยงแบบไรมันน์ (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ในอุณหพลศาสตร์ ปริมาตรคือตัวแปรเสริม (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็นตัวแปรควบคู่ (conjugate variable) กับความดัน.

ใหม่!!: ทรงลิ่มและปริมาตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Wedgeเวดจ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »