โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา

ดัชนี เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา

อร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา (Perseus Freeing Andromeda) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรชาวเฟลมิชคนสำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะแห่งเบอร์ลินในประเทศเยอรมนี รือเบินส์เขียนภาพ "เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดา" เสร็จในปี..

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2163พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพิพิธภัณฑ์แอร์มิทาชพุตโตรูอ็องสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจิตรกรรมสีน้ำมันประเทศเยอรมนีแอนดรอมิดาเบอร์ลินเพกาซัสเพอร์ซิอัสเทพปกรณัมกรีกเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

พ.ศ. 2163

ทธศักราช 2163 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและพ.ศ. 2163 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาช

ัณฑ์แอร์มิทาช หรือ พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิเทจ (Hermitage Museum; Государственный Эрмитаж, Gosudarstvennyj Èrmitaž; musée de l’Ermitage) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในประเทศรัสเซีย พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาชเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งที่มีงานศิลปะในความครอบครองเป็นจำนวนราวสามล้านชิ้นThe Guinness book of world records และพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เก่าที่สุดในโลก งานศิลปะจำนวนมหาศาลตั้งแสดงอยู่ในอาคารหกหลัง อาคารเอกคือพระราชวังฤดูหนาวที่เคยเป็นที่ประทับของซาร์ แอร์มิทาชมีสาขาที่อัมสเตอร์ดัม, ลอนดอน, ลาสเวกัส และแฟร์ราราในอิตาลี พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาชได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ว่าเป็นหอศิลป์ที่มีงานสะสมมากชิ้นที่สุดในโลก.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและพิพิธภัณฑ์แอร์มิทาช · ดูเพิ่มเติม »

พุตโต

“พุตโต” ถือหอยสำหรับจ้วงน้ำที่ใช้ในพิธีบัพติศมาบนฉากประดับแท่นบูชานักบุญยอห์นแบปติสต์ที่อารามออทโทบอยเรินในเยอรมนี “พุตโตกับวีนัส” (ราว ค.ศ. 1750) โดยฟร็องซัว บูเช (François Boucher) เปมเทพ หรือ พุตโต หรือ พุตตี (Putto หรือ putti (พหูพจน์)) เป็นประติมากรรมรูปเด็กอ้วนยุ้ยและส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเด็กผู้ชาย, เปลือย ใช้ในการตกแต่งและพบบ่อยในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และศิลปะบาโรกในเยอรมนี พุตโตมาจากศิลปะโบราณแต่มาพบใหม่เมื่อต้นสมัยศิลปะควอตโตรเช็นโต (Quattrocento) และมักจะเรียกสับสนกับเครูบ (Cherub หรือ cherubim).

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและพุตโต · ดูเพิ่มเติม »

รูอ็อง

รูอ็อง (Rouen) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน เป็นอดีตเมืองหลวงของนอร์ม็องดีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของแคว้นโอต-นอร์ม็องดี (นอร์ม็องดีบน) เดิมรูอ็องเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดของยุคกลาง ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานที่รับผิดชอบในการเก็บภาษีของนอร์มองดีในยุคกลาง และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์แองโกล-นอร์มันที่ปกครองทั้งอังกฤษและบริเวณส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15 รูอ็องเป็นเมืองที่โจนออฟอาร์กถูกเผาทั้งเป็นในปี..

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและรูอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอมิดา

ภาพเขียนแสดงเจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ริมทะเลเพื่อรอเป็นอาหารของซีตัส แอนดรอมิดา (Andromeda) เป็นนางในตำนานเทพปกรณัมกรีกผู้ซึ่งถูกตรึงโซ่ไว้กับหินเพื่อเป็นเครื่องสังเวยแก่สัตว์ประหลาดแห่งท้องทะเลและได้รับการช่วยเหลือโดยวีรบุรุษเพอร์ซิอัส (Perseus) ผู้ซึ่งนางได้สมรสด้วยในภายหลัง ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เพราะมีพระราชชนนีเป็นคนคุยโวมาก เทพเจ้าแห่งท้องทะเลจึงส่งสัตว์มหายักษ์ ซีตัส (Sea Monster, Cetus) อสุรกายผู้มีร่างน่าเกลียดมาบันดาลคลื่นลม พายุกระหน่ำน้ำท่วมกรุงเอธิโอเปียอย่างหนักหน่วง วิธีเดียวที่จะแก้วิกฤตการณ์นี้ได้ คือ กษัตริย์ซีฟีอัสต้องเสียดวงใจอันเป็นที่รักยิ่งคือราชธิดา ส่งไปสังเวยสัตว์มหายักษ์ซีตัส เพื่อความผาสุกของประชากร กษัตริย์ซีฟีอัสจึงตัดใจเอาราชธิดาไปผูกติดไว้ที่ก้อนหินชายทะเลให้ซีตัสจัดการตามต้องการ เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเล และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย หมวดหมู่:ตำนาน หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เพกาซัส

รูปสลักนูนต่ำ เบลเลโรฟอนปราบไคเมร่า ด้วยการขี่เพกาซัส เพกาซัส (Pegasus; กรีก: Πήγασος; เปกาซอส หมายถึง "แข็งแรง") เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นม้าเพศผู้รูปร่างกำยำพ่วงพีสีขาวบริสุทธิ์ และมีปีกอันกว้างสง่างามเหมือนนกพิราบ เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ซึ่งถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอุสฟันคอ ในขณะที่เลือดจากลำคอพุ่งกระเซ็นนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง เพกาซัสเป็นพี่ของคริสซาออร์ ซึ่งก็เกิดมาหลังจากนั้น ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลย ตอนที่เพกาซัสเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่เพกาซัสวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงามที่เหล่ากวีและศิลปินชื่นชมกันนักหนา คือ น้ำพุฮิปโปครีนี ที่เป็นที่รู้จักในวรรณคดีกรีกโบราณ ว่ากันว่า หากใครได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม นอกจากนี้แล้วเพกาซัสยังทำหน้าที่คอยเก็บสายฟ้าให้ซุส เพกาซัสโดนปราบโดยเด็กหนุ่มรูปงามชาวเมืองโครินทร์ คือ เบลเลอโรฟอน เบลเลอโรฟอนเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองโครินท์ คือ กลอคุส ซึ่งต่อมาเบลเลอโรฟอนได้ขี่เพกาซัสปราบสัตว์ประหลาดร้ายไคเมร.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเพกาซัส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัส

อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเพอร์ซิอัส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ (Peter Paul Rubens,; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2120 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2183) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานในรูปแบบศิลปะบาโรก.

ใหม่!!: เพอร์ซิอัสปล่อยแอนดรอมิดาและเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เพอร์ซิอุสปล่อยอันโดรเมดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »