โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เต่าแก้มแดง

ดัชนี เต่าแก้มแดง

ต่าแก้มแดง (Pond slider, Common slider) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี.

27 ความสัมพันธ์: ฟุตพืชพื้นที่ชุ่มน้ำการร่วมเพศการว่ายน้ำมิถุนายนมีนาคมรัฐอิลลินอยส์วันวงศ์เต่าแก้มแดงสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสิงหาคมสีเขียวสปีชีส์หาดอะแนปซิดาอาหารอ่าวเม็กซิโกทวีปอเมริกาเหนือปีน้ำน้ำจืดแม่น้ำมิสซิสซิปปีเต่าเต่าญี่ปุ่น

ฟุต

ฟุต (foot; พหูพจน์: feet; ย่อว่า ft หรือ ′ (ไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยให้มีขนาดเท่ากับ 0.3048 เมตรพอดี และแบ่งเป็นหน่วยย่อย 12 นิ้ว.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พื้นที่ชุ่มน้ำ

ื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน -ป่าพรุศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland) หมายถึงลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและพื้นที่ชุ่มน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การว่ายน้ำ

การว่ายน้ำท่ากบ การว่ายน้ำ (Swimming) เป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่าง ๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่าฟรีสไตล์ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและการว่ายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม

มีนาคม เป็นเดือนสามของปี ในทั้งปฏิทินเกรกอเรียนและปฏิทินจูเลียน เป็นหนึ่งในเจ็ดเดือนที่มี 31 วัน เดือนมีนาคมในซีกโลกเหนือมีฤดูกาลเทียบเท่ากับเดือนกันยายนในซีกโลกใต้ ในซีกโลกเหนือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นวันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในซีกโลกใต้ วันเดียวกันเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงทางอุตุนิยมวิทยา เดือนมีนาคมมีวันในสัปดาห์เริ่มต้นตรงกับเดือนพฤศจิกายนทุกปี และเดือนกุมภาพันธ์เฉพาะปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมสิ้นสุดวันในสัปดาห์เดียวกับเดือนมิถุนายนทุกปี ในปีอธิกสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนกันยายนและธันวาคมของปีก่อนหน้า ในปีปกติสุรทิน เดือนมีนาคมเริ่มต้นในวันเดียวกับเดือนมิถุนายนปีก่อนหน้า คำว่า "March" ในภาษาอังกฤษ มาจากโรมโบราณ เมื่อเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี และได้ชื่อภาษาละตินว่า "มาร์ติอุส" (Martius) ตามมาร์ส หรือแอรีส เทพแห่งสงครามของกรีก ในโรม ซึ่งมีลักษณะอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ จุดเริ่มต้นปีตามหลักเหตุผล และการเริ่มต้นฤดูกาลศึกสงคราม เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีปฏิทินในรัชสมัยกษัตริย์นูมา ปอมปิเลียส (ประมาณ 713 ปีก่อน ค.ศ.) หรือในรัชสมัยกษัตริย์เดเซมวีร์ราว 450 ก่อน..

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและมีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิลลินอยส์

รัฐอิลลินอยส์ (Illinois, ออกเสียงเหมือน อิล-ลิ-นอย โดยไม่มีเสียง s) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ชื่ออิลลินอยส์ตั้งโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ตามชื่อกลุ่มชาวอินเดียนแดงที่เรียกตัวเองว่า อไลไนเว็ก (Illiniwek) เมืองหลวงของอิลลินอยส์คือ สปริงฟิลด์ เมืองที่มีชื่อเสียงในรัฐอิลลินอยส์ได้แก่ ชิคาโก รหัสย่อของรัฐอิลลินอยส์คือ IL อิลลินอยส์เป็นที่รู้จักในรัฐข้าวโพด เป็นที่ตั้งของเมืองชิคาโก สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงได้แก.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและรัฐอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่าแก้มแดง

วงศ์เต่าแก้มแดง (Terrapin, Pond turtle, Marsh turtle) เป็นวงศ์ของเต่าวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Emydidae เป็นเต่าที่มีลักษณะคล้ายกับเต่าในวงศ์เต่านา (Bataguridae) คือ มีกระดองที่โค้งกลมเหมือนกัน กระดองท้องใหญ่เหมือนกัน ในบางสกุลจะมีบานพับที่กระดองท้อง เช่น Terrapene แต่กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกออคซิพิทัลเป็นชิ้นแคบ การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เป็นเต่าที่มีวงศ์ขนาดใหญ่ จึงแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย ๆ (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 10 สกุล ราว 50 ชนิด พบแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทั้งในทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ และบางส่วนของอเมริกาใต้ เต่าตัวผู้โดยมากจะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก และมีความแตกต่างระหว่างเพศมาก จนเห็นได้ชัดเจน กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ หรือบางสกุลหรือบางชนิดก็กินได้ทั้ง 2 อย่าง โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "เต่าญี่ปุ่น" ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยสามารถโตเต็มที่ได้ถึง 60 เซนติเมตร และขนาดเล็กที่สุด คือ เต่าจุด (Clemmys guttata) ที่โตเต็มที่มีความยาวกระดองเพียง 10-12 เซนติเมตร เท่านั้น ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ โดยฝังไข่ไว้ในหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำ โดยเต่าเพศเมียจะวางไข่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และลูกเต่าจะฟักเป็นตัวในช่วงปลายฤดูร้อน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและวงศ์เต่าแก้มแดง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว

ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หาด

Pomerania Beach ''(Darss)'' ชายหาดในอังกฤษ หาด หรือ ชายหาด คือที่ลาดลงไปในน้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางน้ำ โดยมากเป็นเนินทราย มักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอยู่เสมอ (transient feature) จึงเป็นสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (dynamic environment).

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและหาด · ดูเพิ่มเติม »

อะแนปซิดา

อะแนปซิดา หรือ อะแนปซิด (ชั้นย่อย: Anapsida, Anapsid) เป็นชั้นย่อยของสัตว์สี่ขาในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilia) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anapsida อะแนปซิดา มีลักษณะของช่องเปิดกะโหลกที่ไม่มีช่องขมับเลย โดยกระดูกพาไรทัลที่เป็นหลังคาของกะโหลกเชื่อมต่อกับกระดูกสคาโมซัลที่อยู่ด้านข้างและกับกระดูกซูปราออคซิพิทัลที่อยู่ด้านท้ายจึงไม่มีช่องเปิดบริเวณขมับ ลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในชั้นย่อยนี้ ได้แก่ เต่า (Testudines) และสัตว์เลื้อยคลานในหลายอันดับที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อะแนปซิดา ได้ปรากฏขึ้นมาครั้งแรกในยุคคาร์บอนิเฟอรัสจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและอะแนปซิดา · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเม็กซิโก

อ่าวเม็กซิโก อ่าวเม็กซิโก (Gulf of Mexico; Golfo de México) ตั้งอยู่ทางใต้ของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันออกของประเทศเม็กซิโก และอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศคิวบา มีพื้นที่ประมาณ 615,000 ตารางไมล์หรือประมาณ 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึกประมาณ 4,384 เมตร ในอ่าวเป็นแหล่งทรัพย์กรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เม็กซิโก หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศเม็กซิโก.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและอ่าวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและปี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำมิสซิสซิปปี

แม่น้ำมิสซิสซิปปี ภาพถ่ายจากสวนสาธารณะในรัฐมินนิโซตา แม่น้ำมิสซิสซิปปี (Mississippi River) อยู่ตอนกลางของสหรัฐอเมริกา เป็นเครือข่ายสาขาแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ(เครือข่ายแม่น้ำมิสซิสซิปปี-มิสซูรี) มีความยาวทั้งสิ้น 3,334 กม.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและแม่น้ำมิสซิสซิปปี · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าญี่ปุ่น

ต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (Red-eared slider) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ จัดเป็นชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง (T. scripta) มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอยส์, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้กระทั่งลูกเป็ดขนาดเล็กที่กำลังว่ายน้ำอยู่ ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี เต่าขนาดเล็กที่กระดองยังเป็นสีเขียว สีเผือก ซึ่งมีราคาซื้อขายที่แพงมาก''Albino (มัน เผือก มาก)'', โดย เวอร์ริเดียน, ชวิน ตันพิทยคุปต์ คอลัมน์ Aqua Knowledge หน้า 70-73. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 16: ตุลาคม 2011 เต่าญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ด้วยเป็นที่รู้จักกันดีจากการที่ถูกอ้างอิงถึงในภาพยนตร์การ์ตูนชุด Teenage Mutant Ninja Turtles ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคทศวรรษที่ 80 และ90 ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย รวมถึงยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในที่อื่น ๆ ด้วย เช่น กรุงลอนดอน ในประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: เต่าแก้มแดงและเต่าญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chrysemys scriptaCommon sliderPond sliderPseudemys scriptaTestudo scriptaTrachemys scriptaเต่าหูแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »