โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เต่าหับเอเชีย

ดัชนี เต่าหับเอเชีย

ต่าหับเอเชีย (Asian box turtles; 閉殼龜屬; พินอิน: Bì ké guī shǔ) เป็นสกุลของเต่าสกุลหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์เต่านา (Geoemydidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cuora มีรูปร่างคล้ายโดยรวมคล้ายกับเต่าในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ คือ กระดองโค้งกลมเห็นได้ชัด มีลักษณะสำคัญ คือ กระดองส่วนท้องแบ่งออกเป็น 2 ตอน สามารถทำให้พับหับได้เหมือนกล่อง ซึ่งเต่าจะสามารถเก็บส่วนหัว ขาทั้ง 4 ข้าง และหางได้ปิดสนิท เต่าหับเอเชียนั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดประมาณ 9 ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และตอนใต้ของจีน เช่น มณฑลยูนนาน เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่มักที่จะอยู่บนพื้นดินที่มีความชุ่มชื้นมากกว่า กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เต่าหับเอเชียนอกจากได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังถือว่าเป็นสัตว์นำโชคอีกด้วย เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเต่าหับตัวใดมีหับที่ใต้ท้องมากกว่า 2 ตอน หรือ 3 ตอน และยังนำกระดองไปทำเป็นเครื่องรางของขลังได้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างในเต่าหับเหรียญทอง (C. aurocapitata) โดยที่มาของความเชื่อมาจากชาวจีน.

38 ความสัมพันธ์: ชาวจีนชนิดย่อยพ.ศ. 2345พ.ศ. 2368พ.ศ. 2399พ.ศ. 2406พ.ศ. 2449พ.ศ. 2482พ.ศ. 2527พ.ศ. 2531พ.ศ. 2533พ.ศ. 2541พ.ศ. 2552พินอินกระดองเต่าภูมิศาสตร์ไต้หวันมณฑลชานซีมณฑลยูนนานมณฑลหูเป่ย์มณฑลอานฮุยมณฑลเสฉวนวงศ์เต่านาสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์หมู่เกาะญี่ปุ่นฮ่องกงประเทศกัมพูชาประเทศลาวประเทศจีนประเทศเวียดนามเพศหญิงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเต่าเต่าหับ

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและชนิดย่อย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2345

ทธศักราช 2345 ตรงกับคริสต์ศักราช 1802 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2345 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2368

ทธศักราช 2368 ตรงกับคริสต์ศักราช 1825 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2368 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2399

ทธศักราช 2399 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1856.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2399 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2406

ทธศักราช 2406 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1863.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2406 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2527

ทธศักราช 2527 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1984 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2527 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2541

ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2541 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กระดองเต่า

กระดองของเต่าในสกุล ''Cuora'' หรือเต่าหับ ที่ปิดสนิท เต่าราเดียตา (''Astrochelys radiata'') เต่าบกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีกระดองหลังที่สวยงามมาก กระดองเต่า (Turtle shell) เป็นลักษณะสำคัญที่ทำให้เต่ามีความแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นแคลเซียมที่ประกอบด้วยกระดูกในชั้นหนังเชื่อมรวมกับกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง บางส่วนของกระดูกหัวไหล่ และกระดูกหน้าอก เนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนลำตัว (ยกเว้นกระดูกคอและกระดูกหาง) เชื่อมรวมกับกระดอง กระดูกสันหลังในส่วนลำตัวจึงเคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อกระดูกซี่โครงเชื่อมรวมกับกระดองทำให้กระดูกหัวไหล่และกระดูกเชิงกรานต้องเลื่อนตำแหน่งเข้าไปอยู่ทางด้านในของกระดูกซี่โครง ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของเต่า ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ และสัตว์มีกระดูกสันหลังในชั้นอื่น ๆ ทุกชั้น ลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการเจริญและการแปรสภาพ 2 ประการ คือ.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและกระดองเต่า · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไต้หวัน

กาะไต้หวัน เกาะไต้หวัน (ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและภูมิศาสตร์ไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลชานซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ ซัวไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ชื่อย่อ จิ้น (晋) เป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า "ชานซี" แปลตรงตัวว่า ทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หัง มีเมืองเอกชื่อ ไท่หยวน มีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและมณฑลชานซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลหูเป่ย์

มณฑลหูเป่ย์ (จีน: 湖北省 Húběi Shěng) ชื่อย่อ เอ้อ (鄂) ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิงทางตอนกลางของแม่น้ำ ฉางเจียง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากร 60,160,000 คน ความหนาแน่น 324/ตร.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและมณฑลหูเป่ย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลอานฮุย

มณฑลอานฮุย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อ เหอเฟย์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 139,400 ตาราง ก.ม.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและมณฑลอานฮุย · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เต่านา

วงศ์เต่านา (Terrapin, Pond turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Geoemydidae หรือ ในอดีตใช้ Bataguridae) เป็นวงศ์ของเต่า ที่ส่วนมากอาศัยอยู่ในน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย หรือบางส่วนอาศัยบนพื้นที่มีความชุ่มชื้นหรือชื้นแฉะ หรืออยู่บนบกแห้ง ๆ เลยก็มี เป็นเต่าที่มีกระดองทรงกลมหรือโค้งนูนเล็กน้อย กระดองท้องใหญ่ กระดูกแอนกูลาร์ของขากรรไกรล่างไม่เชื่อมติดกับกระดูกอ่อนเมคเคล กระดูกเบสิคออคซิพิทัลเป็นชิ้นกว้าง การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล กระดองท้องไม่มีกระดูกมีโสพลาสทรอน มีกระดูกพลาสทรอนไปเชื่อมต่อกับขอบนอกของกระดองหลังที่มีร่องแบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะที่ยืดหยุ่นได้ เต่าในวงศ์นี้ถือเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) มีทั้งหมด 23 สกุล พบราว 65 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปตอนใต้, เอเชียอาคเนย์, อเมริกากลาง และบางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศไทยมีเต่าในวงศ์นี้มากถึง 16 ชนิด อาทิ เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis), เต่ากระอาน (Batagur baska), เต่านา (Malayemys macrocephala และM. subtrijuga), เต่าหับ (Cuora amboinensis), เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis) เป็นต้น โดยเต่าชนิดที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้คือ เต่าน้ำบอร์เนียว (Orlitia borneensis) ที่มีความยาวของกระดองได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในบึงน้ำและแม่น้ำของมาเลเซียและเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเต่าชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้วชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและวงศ์เต่านา · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะญี่ปุ่น

มุมมองส่วนหนึ่งของหมู่เกาะญี่ปุ่นจากอวกาศ หมู่เกาะญี่ปุ่น (日本列島, นิฮงเรตโต; Japanese Archipelago) ตั้งอยู่ตะวันออกสุดของแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ถัดจากคาบสมุทรเกาหลี และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดจากการชนกันระหว่างแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น ได้แก่ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก ยูเรเชีย ฟิลิปปินส์ และอเมริกาเหนือ เมื่อกว่า 25 ล้านปีก่อน เป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน ด้วยจำนวนเกาะกว่า 7,000 เกาะ โดยมีเกาะหลัก ๆ ได้แก่ เกาะฮกไกโด เกาะฮนชู เกาะชิโกะกุ และเกาะคีวชู ซึ่งสภาพอากาศของเกาะญี่ปุ่นในตอนบน จะมีสภาพอากาศแบบป่าสนกึ่งขั้วโลก มีหิมะตกหนาทับถมกันหลายนิ้วในช่วงฤดูหนาว แต่ทว่าในตอนใต้ เช่น เกาะอิริโอะโมะเตะ มีสภาพอากาศที่อบอุ่นกว่าคล้ายป่าฝนเขตร้อน มีป่าโกงกาง ขณะที่ตอนกลางของเกาะฮนชูก็มีป่าแบบป่าดิบ อันเป็นผืนป่าดิบแห่งเดียวของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ 36 องศาเหนือ ในขณะที่พื้นที่ ๆ อื่น ๆ ของโลกที่ตั้งอยู่ ณ เส้นรุ้งพิกัดเดียวกันกลับไม่มี ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่เกิดจากกระแสน้ำอุ่น 2 กระแสหลักรอบเกาะญี่ปุ่น คือ กระแสน้ำอุ่นกุโรชิโว และกระแสน้ำโอยาชิโว.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและหมู่เกาะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและฮ่องกง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าหับ

ต่าหับ (Asian box turtle, Siamese box terrapin) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเต่านา แต่มีกระดองโค้งนูนสูงกว่า กระดองราบเรียบ ใต้ท้องแบ่งเป็น 2 ตอน ซึ่งเรียกว่า "แผ่น" หรือ "หับ" หรือ "ขีด" สามารถเก็บขา หัว และหางเข้ากระดองได้มิดชิด อันเป็นที่มาของชื่อ หัวมีขนาดเล็กสีเหลืองมีลวดลายสีดำ กระดองสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาวหรือสีเหลือง โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภูมิภาคอินโดจีน, พม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ เป็นเต่าที่สามารถว่ายน้ำได้ดี แต่ชอบอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าลงน้ำ ผสมพันธุ์ในน้ำ แต่วางไข่บนบก ปีหนึ่งวางไข่หลายครั้ง ทว่าวางไข่เพียงครั้งละ 2-3 ฟองเท่านั้น อาหารสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ มีชนิดย่อย ถึง 4 ชนิด ได้แก่ C. a. lineata พบในพม่า, C. a. amboinensis พบในอินโดนีเซีย, ซูลาเวสี, C. a. couro พบในสุมาตรา, ชวา, บาหลี และ C. a. kamaroma พบในไทย, มาเลเซีย นอกจากนี้แล้ว เต่าหับยังมีความแตกต่างหากหลายทางสีสันและลวดลายต่าง ๆ ออกไปอีก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 โดยจากสถิติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าเต่าหับนับเป็นสัตว์ที่มีการลักลอบซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดค้าสัตว์ป่าร่วมกับลิ่น โดยเต่าที่เข้ามาในประเทศไทย ส่วนมากจะถูกนำเข้ามาทางอินโดนีเซียผ่านมาทางมาเลเซีย และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย ก่อนจะนำออกต่อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม โดยเต่าหับนอกจากได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังถือว่าเป็นสัตว์นำโชคอีกด้วย เชื่อว่าจะนำโชคลาภมาสู่ผู้เป็นเจ้าของ โดยเฉพาะหากเต่าหับตัวใดมีหับที่ใต้ท้องมากกว่า 2 ตอน หรือ 3 ตอน และยังนำกระดองไปทำเป็นเครื่องรางของขลังได้อีกด้ว.

ใหม่!!: เต่าหับเอเชียและเต่าหับ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Asian box turtleCuoraสกุลเต่าหับ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »