โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เตเรซาแห่งอาบีลา

ดัชนี เตเรซาแห่งอาบีลา

นักบุญเตเรซาแห่งอาบีลา (Santa Teresa de Ávila, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา, นักบุญเทเรซา แห่งอาวีล.) หรือนักบุญเทเรซาแห่งพระเยซู (Santa Teresa de Jesús) เป็นนักพรตหญิงโรมันคาทอลิกชาวสเปน นักการปฏิรูปคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรในปี..

25 ความสัมพันธ์: ชาวสเปนการอธิษฐานการปฏิรูปคาทอลิกการประกาศเป็นบุญราศีการประกาศเป็นนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนายอห์นแห่งไม้กางเขนวิหารคดสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6สันตะสำนักอัมพาตอาบิลาอธิการอารามความมั่นคงแห่งชาติคอนแวนต์คณะออกัสติเนียนคณะคาร์เมไลท์คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้าซาลามังกาประเทศสเปนนักพรตหญิงนักปราชญ์แห่งคริสตจักรโรมโรมันคาทอลิก

ชาวสเปน

วสเปน (Spanish people หรือ Spaniards; españoles) มีสองความหมาย ความหมายทั่วไปคือ คนพื้นเมืองที่อยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศสเปน นอกจากนั้นยังมีความหมายด้านกฎหมาย คือบุคคลที่ถือสัญชาติสเปน ในประเทศสเปนนั้นมีชนเผ่าและผู้นับถือศาสนาที่หลากหลาย สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ความซับซ้อนของประเทศ ภาษาอย่างเป็นทางการคือ ภาษาสเปน (คาสตีล) ซึ่งเป็นภาษาของสเปนแถบเหนือ-กลาง แต่ละท้องถิ่นมีภาษาเฉพาะกลุ่ม ภาษาที่พูดในสเปนนั้นเป็นกลุ่มภาษาโรมานซ์ (ยกเว้นภาษาบาสก์) ส่วนชาวสเปนนอกประเทศสเปนที่อพยพออกไปจากสเปนนั้น โดยมากมักอยู่ในลาตินอเมริก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและชาวสเปน · ดูเพิ่มเติม »

การอธิษฐาน

การอธิษฐาน (prayer) หมายถึง การตั้งจิตร้องขอต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและการอธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปคาทอลิก

การปฏิรูปคาทอลิกราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 147 (Catholic Reformation) หรือการปฏิรูปคู่เคียง (Counter-Reformation), from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและการปฏิรูปคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นบุญราศี

็ดบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน เป็นคริสต์ศาสนิกชนชาวไทยกลุ่มแรกที่ได้รับการประกาศเป็นบุญราศี การประกาศเป็นบุญราศี (Beatification) คือกระบวนการที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดขึ้นเพื่อรับรองว่าบุคคลหนึ่งได้เข้าสู่สวรรค์และสามารถวอนขอพรจากพระเป็นเจ้าแทนมนุษย์บนโลกได้ กระบวนการนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สี่ของการประกาศเป็นนักบุญ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและการประกาศเป็นบุญราศี · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศเป็นนักบุญ

การประกาศเป็นนักบุญ (canonization) เป็นกระบวนการที่คริสตจักรต่าง ๆ เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ และแองกลิคัน ใช้ดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนคริสต์ศาสนิกชนผู้ล่วงลับให้เข้าในสารบบนักบุญ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและการประกาศเป็นนักบุญ · ดูเพิ่มเติม »

กาเตรีนาแห่งซีเอนา

นักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา (Caterina da Siena) เป็นสมาชิกคณะชั้นสามของนักบุญดอมินิก เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม..

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและกาเตรีนาแห่งซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นแห่งไม้กางเขน

นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน (San Juan de la Cruz; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1542 – 14 ธันวาคม ค.ศ. 1591) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวสเปน ผู้ปฏิรูปคณะคาร์เมไลท์ จนก่อให้เกิดคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า เป็นนักเขียนที่มีผลงานวรรณกรรมสำคัญด้านรหัสยะ ได้รับยกย่องให้เป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักร และเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์เทววิทยาเชิงรหัสยะ รหัสยิก และกวีชาวสเปน เป็นต้น.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและยอห์นแห่งไม้กางเขน · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 (อังกฤษ: Paul V) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1605 ถึง ค.ศ. 1621 ประสูติเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1552 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1621 รวมพระชนมายุได้ 68 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2095 ปอลที่ 5 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6

มเด็จพระสันตะปาปา บุญราศีปอลที่ 6 (Paulus PP.) ดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1978 สืบต่อจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ผู้เรียกประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง เมื่อได้รับตำแหน่งพระสันตะปาปาก็ทรงสืบสานงานการประชุมสังคายนานั้นต่อ ซึ่งมีผลให้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านคริสตศาสนสัมพันธ์กับนิกายโปรเตสแตนต์และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรื่อยมาจนปัจจุบัน ก่อนได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา พระองค์เคยทำงานรับใช้ใกล้ชิดกับสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 โดยทำงานที่สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน และพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 นี้เองได้แต่งตั้งพระองค์เป็นอัครมุขนายกแห่งมิลาน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสภามุขนายกแห่งอิตาลีอีกด้วย ต่อมาในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล และได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาหลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 ได้สิ้นพระชนม์ พระองค์เลือกใช้พระนามว่า เปาโล เพื่อสื่อถึงการเน้นพันธกิจทางด้านการประกาศข่าวดีเหมือนนักบุญเปาโลอัครทูต นอกจากนี้หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 23 พระองค์ยังคงสานงานการประชุมสังคายนาวาติกันครั้งที่สองนั้นต่อ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

อาบิลา

อาบิลา (Ávila) เป็นเมืองแห่งหนึ่งของประเทศสเปน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอาดาคา (Adaja) ในแคว้นปกครองตนเองกัสตียาอีเลออน อาบิลาเป็นเมืองหลักของจังหวัดที่มีชื่อเดียวกันและเป็นเมืองหลักจังหวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดของประเทศ กล่าวคือ ตั้งอยู่ที่ 1,131 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ด้วยเหตุนี้ในเขตเมืองจึงมีหิมะตกค่อนข้างบ่อยในฤดูหนาว ตัวเมืองมีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในปี ค.ศ. 2012 มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอาบิลาประมาณร้อยละ 34 ของประชากรทั้งจังหวัด หลังจากที่จักรวรรดิโรมันได้สถาปนาอำนาจขึ้นในพื้นที่และกลมกลืนชนพื้นเมืองชาวเวตตอน (Vettones) ให้เข้ากับอารยธรรมโรมันแล้ว (เนื่องจากไม่เหลือร่องรอยการตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนโรมันที่ชัดเจนในเขตเมืองเก่า) อาบิลาก็เปลี่ยนมาอยู่ในอำนาจของชาววิซิกอท จากนั้นจึงตกอยู่ใต้อำนาจของชาวมุสลิมในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไอบีเรีย ชาวคริสต์ไม่สามารถยึดเมืองคืนไปได้อย่างเด็ดขาดจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมืองมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างโดดเด่นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ต่อมาก็ประสบภาวะวิกฤตที่ยาวนานจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีการก่อสร้างทางรถไฟผ่านตัวเมือง สภาพเศรษฐกิจจึงกระเตื้องขึ้นในระดับหนึ่ง อาบิลาได้รับพระราชทานสมญานาม "อาบิลาแห่งพระมหากษัตริย์" (Ávila del Rey) จากพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 7 แห่งเลออน, "อาบิลาแห่งเหล่าผู้จงรักภักดี" (Ávila de los Leales) จากพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 8 แห่งกัสตียา และ "อาบิลาแห่งเหล่าอัศวิน" (Ávila de los Caballeros) จากพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 11 แห่งกัสตียา สมญานามทั้งสามยังคงปรากฏอยู่ในธงและตราประจำเมืองในปัจจุบัน นอกจากนี้เมืองนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็น "นครแห่งบทเพลงร้องและนักบุญ" (ciudad de cantos y de santos) มาแต่โบราณอีกด้วย สิ่งก่อสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ของอาบิลาคือกำแพงเมืองยุคกลางซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่มีความโดดเด่น เช่น อาสนวิหารอาบิลา (ซึ่งมีมุขโค้งด้านสกัดรวมเป็นส่วนหนึ่งของแนวกำแพงเมือง), มหาวิหารนักบุญบิเซนเต, สำนักชีนักบุญยอแซฟ เป็นต้น ย่านเมืองเก่ายุคกลางรวมทั้งโบสถ์บางแห่งนอกกำแพงเมืองซึ่งอยู่ในสภาพการอนุรักษ์ที่ดีเยี่ยมได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกร่วมกันในปี ค.ศ. 1985.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและอาบิลา · ดูเพิ่มเติม »

อธิการอาราม

อธิการอาราม (abbot) เป็นสมณศักดิ์สำหรับนักพรตที่เป็นอธิการของอาราม พบในหลายศาสนารวมทั้งศาสนาคริสต์ ถ้าเป็นนักพรตหญิงเรียกว่าอธิการิณีอาราม ส่วนอธิการอารามในศาสนาพุทธเรียกว่า "เจ้าอาวาส" หรือ "สมภาร" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า abbot ซึ่งมาจากภาษาแอราเมอิก ܐܒܐ/אבא (อับบา) แปลว่า คุณพ่อ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและอธิการอาราม · ดูเพิ่มเติม »

ความมั่นคงแห่งชาติ

อาคารรัฐสภาในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร บล็อกคอนกรีตหนักเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันคาร์บอมบ์หรืออุปกรณ์อื่นมิให้ทะลวงเข้าไปในอาคาร ความมั่นคงแห่งชาติ เป็นมโนทัศน์ว่ารัฐบาล ตลอดจนรัฐสภา ควรพิทักษ์รัฐและพลเมืองของรัฐต่อวิกฤตการณ์ "แห่งชาติ" ทุกชนิดโดยใช้การแสดงอำนาจ (power projection) ต่าง ๆ เช่น อำนาจทางการเมือง การทูต อำนาจทางเศรษฐกิจ แสนยานุภาพ เป็นต้น มีการพัฒนามโนทัศน์ดังกล่าวเป็นหลักในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมุ่งเน้นแสนยานุภาพ แต่ปัจจุบันครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งล้วนกระทบต่อความมั่นคงที่มิใช่ทางทหารหรือเศรษฐกิจของชาติ และค่านิยมที่ความมั่นคงแห่งชาติรับมาใช้ ฉะนั้น เพื่อให้มีความมั่นคงแห่งชาติ ชาติจึงจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ภัยคุกคามความมั่นคงมิได้มีเฉพาะข้าศึกตามแบบ เช่น รัฐชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังมีตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) เช่น ตัวแสดงที่มิใช่รัฐรุนแรง พ่อค้ายาเสพติด บรรษัทข้ามชาติและองค์การนอกภาครัฐ ทางการบางแห่งยังรวมภัยพิบัติธรรมชาติและเหตุการณ์ซึ่งก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอยู่ในหมวดนี้ด้วย มาตรการที่ดำเนินเพื่อประกันความมั่นคงแห่งชาติ ได้แก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและความมั่นคงแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะออกัสติเนียน

นักบุญออกัสตินแห่งฮิบโปจากรายละเอียดของการประดับกระจกสีโดย หลุยส์ คอมฟอร์ต ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) ที่พิพิธภัณฑ์ไลท์เนอร์ (Lightner museum) โบสถ์เซนต์ออกัสติน รัฐฟลอริดา คณะออกัสติเนียน (Augustinian Order) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกกลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อตามนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (ค.ศ. 354 - ค.ศ. 450) ปัจจุบันมีสองแบบ ได้แก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและคณะออกัสติเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์

ณะภราดาพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์เมล (Ordo Fratrum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo; Order of Brothers of The Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) หรือที่มักรู้จักกันในนามคณะคาร์เมไลท์ (Carmelite Order) (บางแห่งเรียกว่า คณะคาร์แมล) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารคณะหนึ่งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในยุคแรกนักบวชในคณะนี้เน้นวัตรปฏิบัติอย่างฤๅษี (hermit) คือเก็บตัวภาวนา เพ่งฌาน เกือบตัดขาดจากโลกภายนอก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและคณะคาร์เมไลท์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า

ณะภราดาไม่สวมรองเท้าแห่งพระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล (Ordo Fratrum Discalceatorum Beatissimae Mariae Virginis de Monte Carmelo: Order of Discalced Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel) เรียกโดยย่อว่าคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า (Order of Discalced Carmelites) เป็นคณะนักบวชภิกขาจารในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งแยกตัวออกมาจากคณะคาร์เมไลท์เดิม โดยมีนักบุญเตเรซาแห่งอาบีลาและนักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขนร่วมกันดำเนินการปฏิรูป นักบุญที่มีชื่อเสียงอีกองค์ในคณะนี้คือนักบุญเตแรซแห่งลีซีเยอ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและคณะคาร์เมไลท์ไม่สวมรองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

ซาลามังกา

ซาลามังกา (Salamanca) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซาลามังกาในแคว้นกัสติยาและเลออน ทางภาคตะวันตกของประเทศสเปน ตั้งอยู่บนที่ราบสูงริมแม่น้ำตอร์เมส ซึ่งมีสะพานข้ามแห่งหนึ่งสูง 150 เมตร สร้างบนส่วนโค้ง (arch) 26 ชิ้นส่วน โดย 15 ชิ้นส่วนนั้นสร้างขึ้นในสมัยโรมัน ส่วนที่เหลือสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบัน (ค.ศ. 2005) ซาลามังกามีประชากร 160,331 คน ซาลามังกาตั้งขึ้นก่อนสมัยโรมโบราณโดยชาวเคลติเบเรียนเผ่าหนึ่งชื่อ วักไกอี (Vaccaei) โดยเป็นหนึ่งในสองป้อมปราการที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันดินแดนของพวกเขาใกล้แม่น้ำดวยโร ต่อมาในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวคาร์เทจซึ่งนำโดยฮันนิบาลได้เข้าจู่โจมและยึดครองเมืองนี้ จนกระทั่งคาร์เทจสูญเสียอำนาจในคาบสมุทรไอบีเรียให้กับสาธารณรัฐโรมัน เมืองนี้จึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในฐานะศูนย์กลางการค้า ในสมัยโรมัน ซาลามังกามีชื่อเรียกว่า "ซัลมันตีกา" (Salmantica) หนึ่งในช่วงที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองนี้คือปี ค.ศ. 1218 (พ.ศ. 1761) เมื่อพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 9 แห่งเลออนทรงก่อตั้งมหาวิทยาลัยซาลามังกาขึ้นที่เมืองนี้ และหลังจากนั้นไม่นานนัก มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางวิชาการที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากที่สุดในยุโรป ในช่วงสงครามคาบสมุทร (ซึ่งนโปเลียนเข้ามาเกี่ยวข้อง) นั้น ยุทธการที่ซาลามังกาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1812 (พ.ศ. 2355) เป็นความปราชัยครั้งสำคัญของกองทัพฝรั่งเศส และยังเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของซาลามังกาด้วย เนื่องจากซีกตะวันตกของเมืองถูกโจมตีเสียหายอย่างหนัก.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและซาลามังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นักปราชญ์แห่งคริสตจักร

นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: เตเรซาแห่งอาบีลาและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »