โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เตียวล่อ

ดัชนี เตียวล่อ

ตียวฬ่อ (Zhang Lu; 张鲁) เป็นเจ้านครฮันต๋ง และเป็นศัตรูคู่แค้นกับตระกูลของ เล่าเจี้ยง เมื่อครั้งเล่าปี่บุกตีเสฉวนของเล่าเจี้ยงด้วยอุบายอันแยบยลของขงเบ้งทำให้เล่าเจี้ยงต้องละทั้งความเป็นศัตรูและเข้าเป็นพวกกับเตียวล่อในตอนนั้นพวกม้าเฉียวที่หนีกองทัพของโจโฉก็ได้เข้ามาพึ่งกับเตียวล่อ เตียวล่อจึงให้ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยง แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อขงเบ้งเห็นม้าเฉียวเป็นคนมีความสามารถและเป็นศัตรูกับโจโฉ จึงวางแผนให้ม้าเฉียวมาเป็นพวกและก็สามารถยึดเสฉวนได้ โจโฉกลัวว่าหากเล่าปี่ยึดเสฉวนได้จะขยายอำนาจไปยึดเมืองฮันต๋งต่อ โจโฉจึงยกทัพมาที่ฮันต๋ง เตียวล่อรู้ดีว่ากองทัพของตนไม่มีทางสู้กับโจโฉได้ แต่เหมือนสวรรค์บันดาลเมื่อ บังเต๊ก ทหารเอกของม้าเฉียวยังอยู่ เพราะตอนที่ม้าเฉียวไปช่วยเล่าเจี้ยงตอนนั้นบังเต๊กป่วยจึงไม่ได้ไปด้วย เตียวล่อจึงให้บังเต๊กเป็นแม่ทัพไปรบกับโจโฉ แต่ก็ถูกกลลวงของโจโฉจึงต้องเป็นพวกกับโจโฉ เตียวโอย น้องชายจึงอาสาไปรบแทนแต่ก็ถูกเคาทูฆ่าตายในสนามรบ เตียวล่อหมดทางสู้จึงยอมจำนนต่อโจโฉ นครฮันต๋งจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของโจโฉแต่สุดท้ายเมืองฮันต๋งก็ถูกเล่าปี่ยึดไปได้ด้วยกลยุทธ์อันล้ำลึกของขงเบ้ง.

11 ความสัมพันธ์: บังเต๊กพ.ศ. 759ม้าเฉียวฮันต๋งจูกัดเหลียงตันซิ่วโจโฉเล่าปี่เล่าเจี้ยงเจ้าพระยาพระคลัง (หน)เคาทู

บังเต๊ก

บังเต๊ก เป็นขุนพลที่มีฝีมือคนหนึ่งในสามก๊ก แต่แรกเริ่มอยู่รับใช้ม้าเฉียว ต่อมาม้าเฉียวไปเป็นทหารเตียวล่อแห่งฮันต๋ง บังเต๊กก็ได้เป็นทหารเตียวล่อในสังกัดของม้าเฉียว ในขณะที่ม้าเฉียวไปทำศึกกับเล่าปี่และถูกเกลี้ยกล่อมให้อยู่ด้วยกับเล่าปี่ ในขณะนั้นบังเต๊กไม่ได้ติดตามม้าเฉียวไปด้วยเพราะป่วยจึงพักรักษาตัวอยู่ที่ฮันต๋ง ต่อมา โจโฉยกทัพบุกฮันต๋งบังเต๊กอาสาเตียวล่อเป็นทัพหน้าไปรบกับโจโฉ แต่ถูกอุบายของกาเซี่ยงทำให้เตียวล่อกับบังเต๊กผิดใจกัน ทำให้โจโฉได้บังเต๊กร่วมกองทัพ ต่อมา กวนอูจะยกทัพตีเมืองอ้วนเสีย โจโฉได้ส่งกองทัพไปช่วยสลายวงล้อมอ้วนเสีย โดยให้อิกิ๋มเป็นแม่ทัพใหญ่ บังเต๊กคุมทัพหน้า ในการรบบังเต๊กสามารถรบกับกวนอูได้อย่างสูสี ในบางครั้งแม้บังเต๊กได้เปรียบกวนอู แต่อิกิ๋มริษยาว่าถ้าบังเต๊กชนะกวนอูต้องได้ความชอบใหญ่จึงสั่งให้ทหารตีม้าล่อถอยทัพทุกครั้ง เมื่ออิกิ๋มได้ยกมาตั้งทัพที่ทุ่งจันเค้า กวนอูได้ให้ทหารสร้างเขื่อนกั้นน้ำรอให้น้ำหลาก จึงพังเขื่อนปล่อยน้ำท่วมทัพอิกิ๋ม อิกิ๋มและบังเต๊กถูกจับตัวได้ กวนอูสั่งให้ขังตัวอิกิ๋ม ส่วนบังเต๊กให้นำตัวไปประหาร หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่: วุยก๊ก.

ใหม่!!: เตียวล่อและบังเต๊ก · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 759

ทธศักราช 759 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เตียวล่อและพ.ศ. 759 · ดูเพิ่มเติม »

ม้าเฉียว

ม้าเฉียว (Ma Chao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ เชี่ยวชาญในการขี่ม้ามาก เป็น 1 ใน 5 ขุนพลพยัคฆ์แห่งจ๊กก๊ก ชื่อรองว่า เหมิงฉี เกิดที่มณฑลซานซี เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของม้าเท้ง เจ้าเมืองเสเหลียง มีความแค้นต่อโจโฉมาก เนื่องจากม้าเท้งเป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมลงชื่อกำจัดโจโฉตามหนังสือเลือดของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นบุคคลที่โจโฉระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าจะตลบหลังตีเมืองลกเอี๋ยง ตอนตนออกไปทำศึกตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงทำอุบายขอโองการฮ่องเต้แต่งตั้งตำแหน่งแม่ทัพปราบทักษิณ ให้ม้าเท้งเข้ามาเมืองฮูโต๋รับตำแหน่งแล้วจะจับฆ่า แต่ม้าเท้งซ้อนแผนไว้ ผลสุดท้ายแผนแตกจึงถูกโจโฉจับฆ่าตายทั้งตัวและน้องชาย ม้าต้าย ญาติผู้น้องเป็นผู้เดียวที่หลบหนีมาได้ จึงรีบไปบอกม้าเฉียว ม้าเฉียวแค้นมากประกาศจะตามล้างโจโฉให้ได้ จึงรวบรวมทัพของตนผสมกับชนเผ่าเกี๋ยงบุกตีโจโฉ ทำให้โจโฉต้องเตลิดหนีด้วยการตัดหนวดทิ้ง และถอดเสื้อคลุมทิ้ง แต่โจหองเข้ามาขวาง จึงหลบหนีไปได้หวุดหวิด โจโฉได้กล่าวว่า ม้าเฉียวเก่งกล้าไม่แพ้ลิโป้ในอดีต จากนั้นม้าเฉียวจึงไปร่วมกับหันซุยทำศึกกับโจโฉ แต่ด้วยอุบายของโจโฉ ที่รอให้น้ำแข็งที่เกาะกุมกำแพงเมืองหนาแน่น และทำให้ม้าเฉียวระแวงหันซุย จึงชนะในที่สุด ม้าเฉียวจึงต้องร่อนเร่พเนจรและได้เข้าร่วมกับเตียวล่อ ได้เข้ารบกับจ๊กก๊ก โดยประลองฝีมือกับเตียวหุย รบถึงกัน 100 เพลง ก็ไม่มีใครแพ้-ชนะ เนื่องจากฝีมือสูสีกันมาก ด้วยอุบายของขงเบ้ง ทำให้ได้ม้าเฉียวมาอยู่กับฝ่ายจ๊กก๊ก เมื่อครั้งที่เล่าปี่ยกทัพเข้าตีเซงโต๋ในเสฉวนของเล่าเจี้ยง ขงเบ้งได้ให้ม้าเฉียวเป็นทัพหน้า เพียงแค่ได้ยินชื่อของม้าเฉียว ทหารของเล่าเจี้ยงก็ยอมแพ้ไม่ต้องรบทันที เพราะนับถือม้าเฉียวมากดุจเทพเจ้าแห่งสงคราม ม้าเฉียวเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ขณะตามขงเบ้งลงใต้ปราบเบ้งเฮ็กด้วยวัยเพียง 45 ปี (แต่ตามประวัติศาตร์จริง ม้าเฉียวตายด้วยโรคภัยก่อนขงเบ้ง1ปี).

ใหม่!!: เตียวล่อและม้าเฉียว · ดูเพิ่มเติม »

ฮันต๋ง

ันต๋ง (Han Dang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งง่อก๊ก รับใช้ตระกูลซุนตั้งแต่รุ่นซุนเกี๋ยน ซุนเซ็ก ถึงซุนกวน เข้ารับราชการกับซุนเกี๋ยนในเวลาไล่เลี่ยกับเทียเภาและอุยกาย มีความสามารถในการรบ ทำศึกมีความชอบหลายครั้ง รวมถึงการมีบทบาทในศึกผาแดงอีกด้ว.

ใหม่!!: เตียวล่อและฮันต๋ง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: เตียวล่อและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

ตันซิ่ว

ตันซิ่ว (Chen Shou) หรือ เฉินโซ่ว เป็นนักประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์จิ้น และเป็นผู้แต่งจดหมายเหตุสามก๊ก เกิดที่เมืองหนานจง มณฑลเสฉวนในปี พ.ศ. 776 ซึ่งอยู่ยุคสามก๊ก และได้รับราชการกับจ๊กก๊ก ภายหลังวุยก๊กได้ยึดจ๊กก๊ก ตันซิ่วได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่วุยก๊ก ต่อมา สุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ จึงทรงให้ตันซิ่วเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กในชื่อว่า จดหมายเหตุสามก๊ก.

ใหม่!!: เตียวล่อและตันซิ่ว · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: เตียวล่อและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: เตียวล่อและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าเจี้ยง

ล่าเจี้ยง (Liu Zhang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเสฉวน เป็นบุตรของเล่าเอียง เล่าเจี้ยงเป็นคนที่โลเลและใช้คนไม่เป็น แต่เล่าเจี้ยงมีเหล่าที่ปรึกษาและขุนพลที่มีฝีมือมากมาย แต่ต่อมา เสฉวนถูกเล่าปี่ยึดครอง และส่งตัวเล่าเจี้ยงไปอยู่ที่เมืองกองอั๋นชายแดนเกงจิ๋ว เมื่อเกงจิ๋วถูกซุนกวนยึด เล่าเจี้ยงจึงถูกย้ายมาอยู่ที่กังตั๋งจนกระทั่งเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: เตียวล่อและเล่าเจี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นขุนนางและ กวี เอกคนหนึ่งในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา และถึงแก่ อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1..

ใหม่!!: เตียวล่อและเจ้าพระยาพระคลัง (หน) · ดูเพิ่มเติม »

เคาทู

ทู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขุนพลแห่งวุยก๊ก มีร่างกายใหญ่โต ชำนาญการใช้ทวน เป็นคนซี่อสัตย์และเคร่งครัด เมื่อเตียนอุยนำกำลังไปปราบโจรโพกผ้าเหลือง ได้เห็นเคาทูจับโจรเอาไว้หมดแล้ว เตียนอุยบอกเคาทูให้ส่งโจรมา แต่เคาทูไม่ยอมจึงได้สู้กัน เตียนอุยกลับไปรายงานโจโฉว่าเคาทูมีพละกำลังแข็งแรงมากโจโฉชอบใจจึงเกลี่ยกล่อมให้มาช่วยราชการ เคาทูเคยปกป้องโจโฉไว้หลายครั้ง ในสงครามพายัพได้เป็นองครักษ์แก่โจโฉได้สู้กับม้าเฉียวที่แค้นเพราะโจโฉสังหารม้าเท้งพ่อของตนไป ม้าเฉียวจึงบุกโจมตี ครั้นโจโฉถูกซุ่มโจมตีคิดจะหนีไปทางเรือ เคาทูก็อุ้มโจโฉแล้วกระโจนลงเรือทันทีแต่ข้าศึกยังยิงเกาทันฑ์ใส่ เคาทูจึงใช้มือซ้ายปัดป้องมิให้โดนโจโฉจนตัวเองบาดเจ็บ เป็นที่สรรเสริญนับแต่นั้นม.

ใหม่!!: เตียวล่อและเคาทู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เตียวฬ่อ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »