โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ็บที่ต้องรู้

ดัชนี เจ็บที่ต้องรู้

"เจ็บที่ต้องรู้" เป็นซิงเกิลของวงดนตรีเดอะมูสส์ ประพันธ์เนื้อร้อง-ทำนองโดย อธิศ อมรเวช,แอร์ ลิ่มสกุล,ปัณฑพล ประสารราชกิจ,โยธกานต์ ถาวงศ์ และเรียบเรียงโดย เดอะมูสส์ ออกจำหน่ายในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เนื้อหาพูดถึงความรักที่ไม่สมหวัง กับความเจ็บปวด เมื่อต้องรับรู้ว่าคนรักของเรา ไม่ใช่คนของเราอีกต่อไป ในด้านของภาคดนตรี ให้ความสำคัญในการเรียบเรียงและอารมณ์ของก­ารถ่ายทอดมากเป็นพิเศษ ดนตรีให้น้ำหนักกับซาวน์ดีไซด์ของการจัดวา­งแต่ละเครื่องแต่ละชิ้น เพื่อให้ได้ความเหงาและล่องลอย แม้จะโดนทอนส่วนของไลน์ต่างๆออกไปมากกว่าผ­ลงานที่ผ่านมา แต่ก็ยังให้ความรู้สึกครบถ้วนเช่นเดียวกัน แนวความคิดโดยรวมของเพลงคือทำน้อยให้รู้สึ­กได้มากที.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2558กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมอเดิร์นร็อกสื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ออลเทอร์นาทิฟร็อกอินดี้ร็อกอีเอฟเอ็ม 104.5จีนี่เรคอร์ดสจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ซี้ดเอฟเอ็มปัณฑพล ประสารราชกิจเดอะมูสส์12 กรกฎาคม21 พฤษภาคม

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Bangkok Metropolitan Region)NESDB, Bangkok Metropolitan Region Study, 1985 เป็นเขตเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ตั้งอยู่โดยรอบ ("ปริมณฑล" หมายถึง วงรอบ) ครอบคลุมพื้นที่กว่า 7 พันตารางกิโลเมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน มีประชากรตามหลักฐานทะเบียนราษฎรรวมกันประมาณ 10 ล้านกว่าคน (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2555) ซึ่งในเวลากลางวันจะมีถึง 13 ล้านกว่าคนที่อยู่ในเขตนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลนับว่าเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเจริญที่สุด และเป็นศูนย์กลางการปกครอง การบริหารราชการ พาณิชยกรรม และการเงินของประเท.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มอเดิร์นร็อก

มอเดิร์นร็อก เป็นคำที่มักใช้อธิบายถึงดนตรีร็อก ที่มักใช้ในสถานีวิทยุในสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มแรกใช้กับเพลงพังก์ร็อกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 แต่จะเริ่มนิยมใช้ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และคำว่า มอเดิร์นร็อกก็ทำให้เห็นคำแตกต่างเมื่อเทียบกับคำว่า คลาสสิกร็อก ที่จะมุ่งประเด็นเพลงในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 และยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อสถานีวิทยุที่เล่นเพลงประเภทออลเทอร์นาทิฟร็อก เรียกตนเองว่า สถานีวิทยุทางเลือก (ออลเทอร์นาทิฟ) และในปี 1988 นิตยสารบิลบอร์ดได้มีการจัดชาร์ตที่ชื่อว่า มอเดิร์นร็อกแทร็กส์ชาร์ท (Modern Rock Tracks chart).

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และมอเดิร์นร็อก · ดูเพิ่มเติม »

สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์

ื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ (promotional recording, promo (โปรโมชั่นซิงเกิล) คือซิงเกิลที่ออกเผยแพร่ อาจเป็นรูปแบบเสียงหรือวีดิทัศน์ โดยส่วนมากจะใช้กันในสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์เท่านั้น สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์จะถูกส่งโดยตรงไปยังผู้ออกอากาศ เช่น สถานีวิทยุเพลง สถานีโทรทัศน์ หรือนักจัดรายการวิทยุและนักข่าวฝ่ายเพลง ก่อนการเปิดตัวเชิงพาณิชย์ของอัลบัมใหม่โดยตั้งใจให้สื่อต่าง ๆ ออกอากาศ วิจารณ์ หรือเสนอในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของสาธารณชนในการเปิดตัวในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เพื่อเป็นการส่งเสริมการขายเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับการขาย นอกจากนี้ยังอาจระบุว่า สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถกลับไปจำหน่ายต่อแล้วแต่ความต้องการของบริษัท ซึ่งเป็นที่สนใจของนักสะสมแผ่นเพลงเป็นอย่างยิ่ง โดยมีเพียง 1–2 เพลง หรือในบางประเทศอาจรวมรีมิกซ์หลายแบบของซิงเกิลนั้น ๆ ไว้ในแผ่นเดียว นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการส่งเสริมรูปแบบใหม่บนร้านค้าออนไลน์ซึ่งมีการนับถอยหลังก่อนการวางจำหน่ายอัลบัมใหม่ โดยไอทูนส์และร้านค้าออนไลน์เพลงอื่น ๆ จะมีการจำหน่ายตัวอย่างเพลงจากในอัลบัมใหม่ออกมาให้ลองฟัง ตัวอย่างเช่น หนึ่งสัปดาห์ก่อนวางจำหน่ายอัลบัมจริง ซึ่งเพลงบางส่วนที่ออกวางจำหน่ายก่อนส่วนใหญ่จะเรียกว่า "สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์".

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และสื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออลเทอร์นาทิฟร็อก

ออลเทอร์นาทิฟร็อก (alternative rock) ในบางครั้งอาจเรียกว่า ออลเทอร์นาทิฟ (alternative) หรือ ออลต์ร็อก (alt rock) เป็นแนวเพลงร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1990 คำว่าออลเทอร์นาทิฟถูกคิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 อธิบายถึงแนวเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากพังก์ร็อก โดยอยู่ค่ายเพลงอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ในความหมายทางด้านดนตรี ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า "อินดี้" ออลเทอร์นาทิฟประกอบด้วยเพลงหลากหลายแนวรวมกันทั้งกรันจ์ บริตป็อป กอทิกร็อก และอินดี้ป็อป ที่ถูกรวมกันโดยลักษณะพื้นฐานของพังก์ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีออลเทอร์นาทิฟร็อกในทศวรรษที่ 1980 ออลเทอร์นาทิฟยุคแรก ๆ ถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา คริสต์ทศวรรษ 1970 ในนามของวงพังก์ร็อกคือวงเดอะ ราโมนส์ ก่อนที่จะมาเป็นออลเทอร์นาทิฟเต็มตัวและแพร่หลายในคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมีวงอาร์.อี.เอ็ม. และเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส ปลุกกระแสแนวเพลงนี้ จนปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 เข้าสู่คริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นช่วงที่แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีวงดัง ๆ ระดับโลกเกิดขึ้นมากมาย เช่น เนอร์วานา โอเอซิส เรดิโอเฮด เดอะไวต์สไตรปส์ กรีนเดย์ มิวส์ ลิงคินพาร์ก เป็นต้น.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และออลเทอร์นาทิฟร็อก · ดูเพิ่มเติม »

อินดี้ร็อก

อินดี้ร็อก (Indie rock) เป็นแนวเพลงย่อยของร็อก ที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร และในสหรัฐอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นคำที่อธิบายถึงการผลิตและการเผยแพร่โดยค่ายเพลงใต้ดินอิสระ เช่นเดียวกับเป็นลักษณะแนวเพลงที่แรกทีมีลักษณะความหมายการผลิตเช่นนี้http://www.allmusic.com/explore/style/indie-rock-d2687 เหตุผลที่ยังคงต้องอยู่กับค่ายอิสระเพื่อต่อต้านระบบทุนของค่ายเพลงใหญ่ ซึ่งค่ายใหญ่เหล่านี้มักจะผูกขาดการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การแต่งเพลง จนทุกขั้นตอน และความจงรักภักดีต่อระบบ DIY นี้เอง ก็ทำให้กิจการของค่ายอิสระเติบโตขึ้นได้ แนวเพลงอินดี้ร็อกมีอิสระในการค้นหาแนวเพลงใหม่ อารมณ์และสาระเนื้อเพลงที่ไม่ปรากฏทั่วไปกับกลุ่มผู้ฟังกระแสหลัก ที่ไม่คำนึงถึงความชอบของผู้ฟังมากนัก และยังเป็นต้นแบบของเพลงใต้ดินอเมริกันและเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ซึ่งแนวเพลงอินดี้ร็อกก็ต่างจากออลเทอร์นาทิฟร็อกในช่วงเวลาต่อมาที่วงอย่างเนอร์วาน่า ก้าวเข้าสู่กระแสหลัก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงอินดี้ร็อกพัฒนาแนวทางและมีความใกล้ชิดกับแนวเพลงอย่าง อินดี้ป็อป, ดรีมป็อป, นอยส์-ป็อป, โล-ไฟ, แมธร็อก, โพสต์-ร็อก, สเปซร็อก และอีโม ที่ยังคงก้าวอยู่ในกระแสเพลงใต้ดินเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และอินดี้ร็อก · ดูเพิ่มเติม »

อีเอฟเอ็ม 104.5

อีเอฟเอ็ม เป็นสถานีวิทยุในเครือเอไทม์ มีเดีย ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีรูปแบบให้สาระบันเทิง การสัมภาษณ์ดารา ศิลปิน และเปิดเพลง อีเอฟเอ็ม เคยมีสัญญาสัมปทานกับกองทัพบกไทย โดยผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก และออกอากาศในระบบ ดิจิตอล เป็นคลื่นแรกในประเทศไท.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และอีเอฟเอ็ม 104.5 · ดูเพิ่มเติม »

จีนี่เรคอร์ดส

ีนี่ เรคคอร์ดส (genie records) เป็นชื่อสังกัดค่ายเพลงย่อยในเครือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในแนวเพลงร็อกเป็นหลัก มีนายวิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และจีนี่เรคอร์ดส · ดูเพิ่มเติม »

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่ของกิจการบันเทิง ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจดนตรี, สื่อ, ภาพยนตร์, ดิจิตอล, สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม, สถานีวิทยุ, สื่อสิ่งพิมพ์, และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ แบบครบวงจร ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และเรวัต พุทธินันทน์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 และเป็นค่ายเพลงที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 3 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของนิตยสารชื่อดังของอังกฤษ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทที่มีคนอยากเข้าทำงานมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทยอีกด้วย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ทำธุรกิจทางด้านดนตรี สื่อ ภาพยนตร์ ดิจิตอล สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม สถานีวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และ อีเวนต์เมเนจเม้นท์ เป็นต้น โดยระยะแรกดำเนินธุรกิจหลักสร้างสรรค์ผลงาน เพลงไทยสากล โดยออกอัลบั้มชุดแรก นิยายรักจากก้อนเมฆ โดย แพทย์หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ และผลิตรายการทีวี 3 รายการ ได้แก่ ยิ้มใส่ไข่, มันกว่าแห้ว และ เสียงติดดาว จากนั้นจึงเริ่มขยายกิจการ ไปสู่ธุรกิจผลิตรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุ บริษัทได้ขยายการดำเนินธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจบันเทิงอื่นๆ เช่น วิทยุ, ภาพยนตร์, การจัดคอนเสิร์ต, การศึกษา, สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งธุรกิจร้านค้าปลีกเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของบริษัทในเครือ เช่นเทปและซีดีเพลงการขยายธุรกิจดังกล่าวส่งให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร และเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในปี พ.ศ. 2544 ข้อมูลเมื่อ เมษายน..

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ · ดูเพิ่มเติม »

ซี้ดเอฟเอ็ม

ซี้ด เอฟเอ็ม (SEED FM) เป็นชื่อรายการวิทยุส่วนกลาง ในเครือสถานีวิทยุ อสมท ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) บริหารงานโดยบริษัท ซี้ด เอ็มคอต จำกัด ออกอากาศในระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 97.5 เมกะเฮิร์ตซ์ มีพื้นที่ออกอากาศ ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอด 24 ชั่วโมง และผ่านเครือข่ายดาวเทียม ไปยังสถานีวิทยุ อสมท ส่วนภูมิภาคทั้ง 53 แห่งทั่วประเทศ โดยมีธีรภัทร์ สัจจกุล เป็นกรรมการผู้จัดการ ซี้ดเอฟเอ็มเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 จนเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และซี้ดเอฟเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปัณฑพล ประสารราชกิจ

ปัณฑพล ประสารราชกิจ (ชื่อเล่น; โอม) เป็นนักร้องนำของวงค็อกเทล โดยได้ลงนามสัญญากับทางค่ายจีนี่เรคอร์ดส เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของวง Cocktail รุ่นก่อตั้งสมัยเมื่อครั้งยังศึกษาระดับมัธยมปลายเมื่อปี พ.ศ. 2545 และมีส่วนในการเขียนเนื้อ และแต่งทำนองร้อง สำหรับเพลงเกือบทั้งหมดของวงมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานกับวง Cocktail มาแล้ว 3 อัลบั้ม และ 3 อีพี และเป็นนักแต่งเพลงอิสระให้กับอีกหลายศิลปิน.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และปัณฑพล ประสารราชกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะมูสส์

อะมูสส์ เป็นกลุ่มดนตรีสัญชาติไทย ค่าย จีนี่เรคอร์ดส สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีสมาชิกทั้งหมด 3 คน คือ แอร์ (ร้องนำ), จ๊ะ (กีต้าร์), ต๋า (กลอง) หลังจากห่างหายไปนานหลายปี วงเดอะมูสส์ วงดนตรีที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 คน คือ แอร์ (ร้องนำ), จ๊ะ (กีต้าร์), บาส (เบส), ต๋า (กลอง) และ ริน (คีย์บอร์ด) ก็กลับมาอีกครั้งกับซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุด “ความจริง” ที่บอกเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นบนโลกแห่งความเป็นจริง กับความฝันที่อยากจะให้มันเป็นไป เพลงนี้นำเสนอความเป็นเดอะมูสส์ ที่เติบโตขึ้นด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากระยะเวลาที่หายไปถึง 2 ปี จึงทำให้ลุคและดนตรีดูเข้มข้นและแข็งแรงมากขึ้นจากซิงเกิ้ลก่อนๆ ที่ผ่านมา โลโก้ใหม่ของวงยังเป็นอีกสิ่งที่ตอบความเป็นวงเดอะมูสส์ ได้เป็นอย่างดี ด้วยรูปเลขาคณิตสามเหลี่ยมที่โชว์ความแข็งแรงและความมุ่งมั่น กับนกฮัมมิ่งเบิร์ดขาวดำที่เปรียบเสมือนหยิง&หยาง แสดงถึงพลังที่สมดุลในตัวของมันเอง ส่วนที่ใช้นกฮัมมิ่งเบิร์ดเป็นสัญญลักษณ์ของวง เพราะนกฮัมมิ่งเบิร์ดเป็นนกตัวเล็กๆที่แข็งแรง มีลีลาการบินที่ตื่นเต้นและเป็นนักสู้ เปรียบได้ดั่งวง The Mousses เองที่จะสู้ต่อไปในสายนักดนตรี ด้านดนตรีของเพลง “ความจริง” เป็นเพลงในสไตล์ เดอะมูสส์ ที่นำเสนอในด้านมิติของซาวน์และเนื้อหา ที่ทางวงไม่เคยทำมาก่อนในอัลบั้มแรก แต่ยังคงไว้ซึ่งลายเซ็นของเดอะมูสส์ อย่างชัดเจนกับความรู้สึกที่ว่า ถ้าวันนี้เราต้องเผชิญกับ “ความจริง” ที่เจ็บปวดเกินทน การเลือกที่จะอยู่ใน “ความฝัน” จะทำให้เราก้าวข้ามผ่านความเจ็บปวดนั้นได้หรือไม่ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และเดอะมูสส์ · ดูเพิ่มเติม »

12 กรกฎาคม

วันที่ 12 กรกฎาคม เป็นวันที่ 193 ของปี (วันที่ 194 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 172 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และ12 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 พฤษภาคม

วันที่ 21 พฤษภาคม เป็นวันที่ 141 ของปี (วันที่ 142 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 224 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจ็บที่ต้องรู้และ21 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »