โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ็ดอาณาจักร

ดัชนี เจ็ดอาณาจักร

อังกฤษแสดงที่ตั้งของแองโกล-แซ็กซอนราวปี ค.ศ. 600 อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เจ็ดอาณาจักร หรือ เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน (ภาษาอังกฤษ: Heptarchy) Heptarchy (ภาษากรีก: ἑπτά + ἀρχή หรือ “เจ็ด” + “อาณาจักร”) เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนต่างๆ ในบริเวณทางใต้ ตะวันออก และตอนกลางของสหราชอาณาจักรในปลายสมัยโบราณและต้นสมัยยุคกลาง ซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นดินแดนแองเกิล (อังกฤษ) (ในขณะนั้นดินแดนที่รู้จักกันในนาม สกอตแลนด์ และ เวลส์ ยังแยกตัวเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย) หลักฐานแรกที่กล่าวถึง เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนเป็นหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) และเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนครอบคลุมระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 500 ถึง ค.ศ. 850 ซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ทหารโรมันถอนตัวจากอังกฤษไปจนกระทั่งถึงรัชสมัยของการรวมอาณาจักรต่างๆ เข้าด้วยกันโดยพระเจ้าเอ็กเบิร์ตแห่งเวสเซ็กซ์ คำว่า “เจ็ดอาณาจักร” หมายถึงราชอาณาจักรเจ็ดราชอาณาจักรซึ่งต่อมารวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยราชอาณาจักร: นอร์ทธัมเบรีย, เมอร์เซีย, อีสต์แองเกลีย, เอสเซ็กซ์, เค้นท์, ซัสเซ็กซ์ และ เวสเซ็กซ์ ในช่วงเวลานี้แต่ละอาณาจักรก็รวบรวมแคว้นเล็กแคว้นน้อยให้เป็นอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นแต่เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนั้นยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่ นอกจากนั้นแต่ละอาณาจักรประมุขบางคนเช่นประมุขของนอร์ทธัมเบรีย เมอร์เซีย และ เวสเซ็กซ์ก็พยายามอ้างสิทธิในดินแดนอื่นของอังกฤษ แม้ว่าจะรวมตัวกันแล้วแต่ในภาษาพูดในหมู่ประชาชนก็ยังมีการกล่าวถึงอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้อย่างอิสระต่อกันมาจนถึงรัชสมัยของ พระเจ้าเอ็ดวี และ พระเจ้าเอ็ดการ์ ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 ตามความเป็นจริงแล้วการรวมเจ็ดอาณาจักรเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ไวกิงเข้ามารุกรานปล้นสดมภ์อังกฤษและตั้งถิ่นฐานบริเวณยอร์คซึ่งกลายมาเป็นบริเวณเดนลอว์ซึ่งมีความแข็งแกร่งพอที่จะเป็นอันตรายต่ออาณาจักร์ทางใต้ที่มักจะมีความขัดแย้งกัน อาณาจักรจึงจำเป็นต้องพยายามรวมตัวกันเพื่อต่อต้านศัตรูร่วมกัน ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชทรงต่อต้านชนเดนมาร์กเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็ทรงทำในฐานะผู้นำของแองโกล-แซ็กซอน พระเจ้าแผ่นดินแห่งเวสเซ็กซ์องค์ต่อๆ มาโดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้าเอเธลสตันแห่งอังกฤษทรงเน้นความสำคัญของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนกระทั่งการแยกเป็นอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยอย่างที่เป็นมาก่อนหมดความหมายลง เมื่อไม่นานมานี้จากหลักฐานการค้นคว้าพบว่าบางอาณาจักรในเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอนโดยเฉพาะเอสเซ็กซ์ และ ซัสเซ็กซ์ ไม่มีฐานะเท่าเทียมกับอาณาจักรอื่นๆ นอกไปจากนั้นในบรรดาสมาชิกของเครือจักรภพก็มิได้มีเพียงเจ็ดแต่ยังมีอาณาจักรย่อยอีกหลายอาณาจักรที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าที่เคยคาดไว้ เช่นอนุอาณาจักรเบอร์นิเซีย (Bernicia) และ อนุอาณาจักรไดรา (Deira) ภายในราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย หรือ อาณาจักรลินด์ซีย์ (Lindsey) ในลิงคอล์นเชอร์ และอื่นๆ อีกมาก ฉะนั้นคำว่า “เจ็ดอาณาจักร” จึงเป็นคำที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และนักประวัติศาสตร์บางคนก็ไม่ใช้คำนี้กันแล้วเนื่องด้วยเห็นว่าความหมายของคำไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่ก็ยังมีการใช้เพื่อความสะดวกในการบรรยายการก่อตั้งราชอาณาจักรอังกฤษในสมัยนั้น.

30 ความสัมพันธ์: ชาวแองโกล-แซกซันชาวไวกิงพ.ศ. 1043พ.ศ. 1143พ.ศ. 1393พระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบพระเจ้าเอ็ดวีภาษากรีกภาษาอังกฤษยอร์กราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอังกฤษราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียราชอาณาจักรซัสเซกซ์ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์ราชอาณาจักรเคนต์รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษลิงคอล์นเชอร์สมัยกลางสหราชอาณาจักรประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษประวัติศาสตร์อังกฤษประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษประเทศเวลส์เดนลอว์

ชาวแองโกล-แซกซัน

ราชอาณาจักรแองโกล-แซกซัน ราว ค.ศ. 600 หมวกนักรบที่พบในซัตตันฮูที่อาจจะเป็นของเรดวอลดแห่งอีสแองเกลีย (Raedwald of East Anglia) (ราว ค.ศ. 625) ออกแบบตามแบบหมวกนักรบของโรมันและตกแต่งแบบหมวกนักรบของสวีเด็นที่ทำในสมัยเดียวกันที่โอลด์อุพพ์ซาลา แองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxons) เป็นคำที่ใช้เรียกชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้และตะวันออกของสหราชอาณาจักรระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนกระทั่งถึงการรุกรานของนอร์มัน ในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1043

ทธศักราช 1043 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพ.ศ. 1043 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1143

ทธศักราช 1143 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพ.ศ. 1143 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1393

ทธศักราช 1393 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพ.ศ. 1393 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอเธลสตานแห่งอังกฤษ (Athelstan of England; Æþelstān) (ราว ค.ศ. 895 - ค.ศ. 940) กษัตริย์แห่งอังกฤษปี..924-940 โอรสของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส เอเธลสตานนำอังกฤษสู่ความเป็นหนึ่งโดยการปกครองทั้งเมอร์เซียและเวสเซ็กซ์ พระองค์ปราบการรุกรานของชาวสก็อตแลนด์, ชาวไอร์แลนด์ และชาวสแตรธไคลด์ ที่บรูนันเบอร์ในปี..937 พระองค์เอาชนะอาณาจักรของชาวสแกนดิเนเวียที่ตั้งรกรานอยู่ในยอร์กและเพิ่มอำนาจของอังกฤษในชายแดนของเวลส์และสก็อตแลน.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพระเจ้าแอเทลสแตนแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ

ระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ (Edgar the Peaceful หรือ Edgar the Peaceable) (ราว ค.ศ. 943 หรือ ค.ศ. 944 - ค.ศ. 975) พระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์เวสเซ็กซ์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบเสด็จพระราชสมภพเมื่อราวปี ค.ศ. 943 หรือปี ค.ศ. 944 ที่เวสเซ็กซ์ ในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์รองในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1 แห่งอังกฤษและเอ็ดจิวาแห่งเคนต์ อภิเษกสมรสกับเอเธลฟรีด วูลฟธริธ และเอลฟริธ และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 975 ที่วินเชสเตอร์ อังกฤษ พระนาม “ผู้รักสงบ” ไม่ได้บ่งถึงพระลักษณะตามความหมายเพราะทรงเป็นนายทหารผู้เข้มแข็งซึ่งจะเห็นได้จากการยึดราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย และราชอาณาจักรเมอร์เซียจากพระเจ้าเอ็ดวีพระเชษฐาในปี ค.ศ. 958 พระเจ้าเอ็ดการ์ทรงปกครองบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์กับขุนนางของพระองค์กลุ่มหนึ่ง เมื่อพระเจ้าเอ็ดวีเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 959 พระเจ้าเอ็ดการ์ก็ทรงเรียกตัวโดยดันสตัน (ต่อมาเป็นนักบุญดันสตัน) จากที่ทรงลี้ภัยกลับมาและแต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งวูสเตอร์และต่อมาเป็นบิชอปแห่งลอนดอนและในที่สุดอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ดันสตันเมื่อเริ่มแรกไม่ยอมสวมมงกุฏให้พระเจ้าเอ็ดการ์เพราะไม่ยอมรับวิธีดำเนินชีวิตของพระองค์เกี่ยวกับพระสนม วูลฟธริธ (ต่อมาเป็นนักพรตหญิงที่วิลตัน) มึพระธิดา อีดิธแห่งวิลตัน แต่ดันสตันก็เป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าเอ็ดการ์ตลอดรัชสมัย รัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์เป็นรัชสมัยที่บ้านเมืองมีความสงบสุขและอาจจะเป็นสมัยที่เรียกได้ว่าเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน แม้ว่าการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอังกฤษจะเป็นผลที่มาจากผู้ที่ครองบัลลังก์มาก่อนพระองค์ ในปลายรัชสมัยของพระเจ้าเอ็ดการ์ อังกฤษก็เกือบจะไม่มีศัตรูที่จะมาแบ่งราชอาณาจักรอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ในสมัยนี้ดันสตันก็มีบทบาทในการปฏิรูปอารามที่ออกจะเริ่มหย่อนยานให้กลับไปถือวินัยของนักบุญเบเนดิกต์อย่างที่เคยเป็นมา แต่บทบาทอันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถึยงกันในบรรดาผู้รู้ในวงการศึกษา พระเจ้าเอ็ดการ์ได้ทำพิธีสวมมงกุฏที่บาธในปี ค.ศ. 973 ซึ่งมิใช่ราชาภิเศกในการฉลองการเริ่มรัชกาล พระราชพิธีครั้งนี้เตรียมการโดยดันสตันเองโดยมีโคลงเฉลิมพระเกียรติที่บันทึกในบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน เป็นพระราชพิธีที่เป็นพื้นฐานในการทำพิธีบรมราชาภิเศกของอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระราชพิธีเป็นพิธีสัญลักษณ์โดยมีเจ้าผู้ครองอาณาจักรในอังกฤษมาแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ที่เชสเตอร์ กษัตริย์หกพระองค์ในบริเตนและสกอตแลนด์ปฏิญาณว่าจะเป็นผู้ป้องกันพระองค์ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางทะเล ต่อมาบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันกล่าวว่ามีแปดองค์ แต่พระราชพิธีประกาศการสวามิภักดิ์ที่เชสเตอร์ (submission at Chester) ดูเหมือนว่จะเป็นเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น พระเจ้าเอ็ดการ์มีพระราชโอรสธิดาเจ็ดพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขีพระราชโอรสพระองค์ใหญ่สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ หลังจากที่เสด็จสวรรคตมาจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันไม่มีราชบัลลังก์ใดที่ได้รับการสืบทอดโดยไม่มีปัญหาในการแก่งแย่ง.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดวี

ระเจ้าเอ็ดวี หรือ เอ็ดวิก โอรสของพระเจ้าเอ็ดมุนด์ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ (ค.ศ.955-959) ต่อจากพระปิตุลา เอ็ดเร็ด เอเธลวาลด์บันทึกไว้ว่าประชาชนทั่วไปเรียกว่าเอ็ดวิกว่า "ผู้งดงามทุกส่วน (All-Fair)" เนื่องจากพระองค์รูปงามมาก พระองค์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากเรื่องการประจันหน้ากับดันสตานในงานเลี้ยงฉลองการราชาภิเษก และจากเรื่องที่ว่าในปี..957 อาณาจักรถูกแบ่ง พื้นที่ทั้งหมดที่อยู่เหนือเธมส์ (เมอร์เซียและนอร์ธัมเบรีย) ปกครองโดยพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดการ์ การแบ่งประเทศดูจะสงบสุขดี และเมื่อเอ็ดวิกสวรรคตในอีกสองปีต่อมา เอ็ดการ์ขึ้นเป็นกษัตริย์เหนืออังกฤษที่เป็นเอกภาพอีกครั้ง.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและพระเจ้าเอ็ดวี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ก

อร์ก (York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์ ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรอังกฤษ (Kingdom of England.) เป็นราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย (ภาษาอังกฤษ: Kingdom of the East Angles หรือ Kingdom of East Anglia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร ชื่อของอาณาจักรมาจากชื่อดินแดนแองเกิล (Angeln) ของชนแองเกิล ทางตอนเหนือของเยอรมนี ที่เมื่อแรกเริ่มประกอบด้วยนอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ชื่อที่อาจจะได้รับหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์ (“North folk (people)”.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซัสเซกซ์

ราชอาณาจักรซัสเซกซ์ (Kingdom of Sussex; Sūþseaxna rīce) คำว่า "ซัสเซกซ์" มาจากคำภาษาอังกฤษเก่าว่า Sūþsēaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ ซัสเซกซ์เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซกซันเจ็ดอาณาจักรที่มีอาณาบริเวณคล้ายกับอาณาจักรเคลต์เดิมชื่ออาณาจักรเรกีนี (Regini) แต่ต่อมาเทศมณฑลซัสเซกซ์ แต่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองโบราณครอบคลุมบริเวณป่าที่เรียกว่าป่าอันเดรด (Forest of Andred) ราชอาณาจักรซัสเซกซ์ปกครองโดยระบบราชาธิปไต.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเคนต์

ราชอาณาจักรเคนต์ (Kingdom of Kent) เป็นราชอาณาจักรของชนจูต (Jutes) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษและครั้งหนึ่งเป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและราชอาณาจักรเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงคอล์นเชอร์

ที่ตั้งของมณฑลลิงคอล์นเชอร์ ลิงคอล์นเชอร์ หรือ ลิงคอล์นเชียร์ (Lincolnshire, or,; ย่อ Lincs) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของอังกฤษโดยมีลิงคอล์นเป็นเมืองหลวง ลิงคอล์นเชอร์มีเขตแดนติดกับนอร์โฟล์ค, เคมบริดจ์เชอร์, รัทแลนด์, เลสเตอร์เชอร์, น็อตติงแฮมเชอร์, เซาท์ยอร์คเชอร์, and the อีสต์ไรดิงแห่งยอร์คเชอร์ และมีเขตแดนติดกับนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ราว 19 เมตรซึ่งเป็นเขตแดนระหว่างมณฑลที่สั้นที่สุดในอังกฤษ.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและลิงคอล์นเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ

ประวัติศาสตร์ของหมู่เกาะอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: History of the British Isles) เป็นประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับความขัดแย้งและความเป็นพันธมิตรระหว่างผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของบริเตนใหญ่, ไอร์แลนด์ และเกาะต่างๆ ที่รวมเป็นเกาะอังกฤษที่รวมทั้งฝรั่งเศส, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก และ สแกนดิเนเวีย ในปัจจุบันเกาะอังกฤษประกอบด้วยรัฐอิสระสองรัฐ: สาธารณรัฐไอร์แลนด์ และ สหราชอาณาจักร นอกจากนั้นยังมีรัฐที่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร: เกิร์นซีย์, เจอร์ซีย์ และ ไอล์ออฟแมน.

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและประวัติศาสตร์หมู่เกาะอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อังกฤษ

อังกฤษ เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีประชากรมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร ประวัติศาสตร์อังกฤษเริ่มขึ้นเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ภูมิภาคที่ปัจจุบันคืออังกฤษภายในสหราชอาณาจักรเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีอันเดอร์ธอลราว 230,000 ปีมาแล้ว ขณะที่มนุษย์โฮโมเซเพียนซึ่งเป็นมนุษย์สมัยใหม่เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 29,000 ปีมาแล้ว แต่การอยู่ต่อเนื่องกันโดยตลอดเริ่มขึ้นราว 11,000 ปีมาแล้วในปลายยุคน้ำแข็ง ในบริเวณภูมิภาคนี้ยังมีร่องรอยของมนุษย์สมัยต่างๆ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เริ่มตั้งแต่ยุคหินกลาง, ยุคหินใหม่ และ ยุคสำริด เช่น สโตนเฮนจ์ และเนินดินที่เอฟบรี ในยุคเหล็กอังกฤษก็เช่นเดียวกับบริเตนทั้งหมดทางใต้ของเฟิร์ธออฟฟอร์ธเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนเคลต์ที่เป็นกลุ่มชนที่เรียกว่า บริเตน (Briton) หรือเผ่าเบลแจ ในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดนลอว์

“โกลด์:” บริเวณการปกครองของเดนส์ บริเวณการปกครองของเดนส์ หรือ บริเวณเดนลอว์ (Danelaw, Danelagh; Dena lagu; Danelov) ที่บันทึกใน “พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน” เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์ของบริเวณในบริเตนใหญ่ที่ปกครองด้วยกฎหมายของ “เดนส์” ที่อยู่เหนืออิทธิพลของกฎของแองโกล-แซ็กซอน บริเวณบริเตนใหญ่ที่อยู่ใต้การปกครองของเดนส์ในปัจจุบันอยู่ในบริเวณทางเหนือและตะวันออกของอังกฤษ ที่มาของบริเวณการปกครองของเดนส์มาจากการขยายตัวของไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แม้ว่าคำนี้จะมิได้ใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 การขยายตัวของไวกิงมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในสแกนดิเนเวียที่ทำให้นักรบไวกิงมีความจำเป็นในการไปล่าทรัพย์สมบัติในอาณาบริเวณใกล้เคียงเช่นเกาะอังกฤษ นอกจากจะใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์แล้ว “บริเวณการปกครองของเดนส์” ก็ยังหมายถึงชุดกฎหมายและคำจำกัดความที่ระบุในสนธิสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและขุนศึกชาวเดนส์กูธรัมผู้อาวุโส (Guthrum the Old) ที่เขียนขึ้นหลังจากกูธรัมพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอัลเฟรดในยุทธการเอธาดัน (Battle of Ethandun) ในปี..

ใหม่!!: เจ็ดอาณาจักรและเดนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Heptarchyเจ็ดราชอาณาจักรเจ็ดราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเครือจักรภพแองโกล-แซ็กซอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »