โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจดีย์ฮหวั่งฟุก

ดัชนี เจดีย์ฮหวั่งฟุก

ีย์ฮหวั่งฟุก (Chùa Hoằng Phúc; ฮ้านตึ: 弘福寺) เป็นเจดีย์ในจังหวัดกว๋างบิ่ญ ประเทศเวียดนาม เจดีย์มีประวัติมากกว่า 700 ปี และเป็นหนึ่งในเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในภาคกลางของประเทศเวียดนาม.

8 ความสัมพันธ์: พระบรมสารีริกธาตุพระโคตมพุทธเจ้าย่างกุ้งราชวงศ์เหงียนจักรพรรดิมิญ หมั่งจังหวัดกว๋างบิ่ญประเทศเวียดนามเจดีย์ชเวดากอง

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ย่างกุ้ง

งกุ้ง หรือ ยานโกน (ရန်ကုန်, MLCTS rankun mrui, ยานโกน มโย; "อวสานสงคราม") หรือ ร่างกุ้ง (Rangoon) เป็นเมืองหลวงของเขตย่างกุ้ง ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงของพม่าจนถึงปี..

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและย่างกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหงียน

ราชวงศ์เหงียน (Nhà Nguyễn, หญ่า-งฺเหวียน; จื๋อโนม: 阮朝, Nguyễn triều, งฺเหวียนเจี่ยว) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏไตเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (越南) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (大南, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โคชินไชนาเป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและราชวงศ์เหงียน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิมิญ หมั่ง

มิญ หมั่ง (Minh Mạng, 明命; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 — 20 มกราคม ค.ศ. 1841) หรือในพงศาวดารไทยเรียก มินมาง มีพระนามเดิมว่า เหงียน ฟุก ด๋าม (Nguyễn Phúc Đảm, 阮福膽) เป็นจักรพรรดิแห่งเวียดนามจากราชวงศ์เหงียน ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงเป็นผู้นำของเวียดนามในช่วงสงครามอานามสยามยุทธ จักรพรรดิซา ล็อง พระบิดาของจักรพรรดิมิญ หมั่ง ได้กอบกู้เวียดนามจากกบฏเต็ยเซิน จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงรับช่วงต่อบ้านเมืองจากพระบิดาและทรงจัดระเบียบการปกครองของราชสำนักเวียดนามให้เรียบร้อย จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงเคร่งครัดในลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo–Confucianism) เป็นอย่างมาก เป็นกษัตริย์ที่ใส่พระทัยในการปกครองและความเป็นอยู่ของราษฎร แต่ทว่าความเคร่งครัดในลัทธิขงจื๊อของพระองค์ทำให้ราชสำนักเวียดนามเกิดความขัดแย้งกับมิชชันนารีชาวตะวันตก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะฝรั่งเศสเสื่อมถอยลงอย่างมากในรัชสมัยของพระองค์ จนนำไปสู่การสูญเสียเอกราชแก่ฝรั่งเศสในที.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและจักรพรรดิมิญ หมั่ง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกว๋างบิ่ญ

right กว๋างบิ่ญ (Quảng Bình) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ภาคกลางตอนบนของประเทศเวียดนาม เป็นจังหวัดที่มีแผ่นดินแคบที่สุดของเวียดนาม และเป็นจังหวัดที่เดินทางจากไทยไปใกล้ที่สุด คือระยะทาง 145 กิโลเมตรจากจังหวัดนครพนม.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและจังหวัดกว๋างบิ่ญ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวดากอง

ีย์ชเวดากอง (ရွှေတိဂုံစေတီတော်, เฉว่ดะโก่งเส่ดี่ด่อ) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า "ชเว" (ရွှေ) หมายถึง ทอง, "ดากอง" (ဒဂုံ แผลงเป็น တိဂုံ) คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดของพระเจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำข้างประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆและเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง.

ใหม่!!: เจดีย์ฮหวั่งฟุกและเจดีย์ชเวดากอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เจดีย์หวั่งฟุก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »