โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เข็มกลัดทารา

ดัชนี เข็มกลัดทารา

็มกลัดทารา (Tara Brooch) เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของศิลปะสมัยคริสเตียนยุคแรกศิลปะเกาะของไอร์แลนด์ เข็มกลัดทาราที่สร้างขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 700 เป็นเข็มกลัดประดับที่มีขนาดยาว 7 นิ้ว ทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยลวดลายลายสอดประสาน หรือ ปมเคลติคอย่างละเอียด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ประคำมีรูปลักษณ์ของหัวสุนัขป่าและมังกรกว่ายี่สิบหัว การออกแบบและกรรมวิธีของการสร้างงานชิ้นนี้ที่รวมทั้งการทำลายทองถักและการฝังประดับด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, อำพัน และ แก้วเป็นงานฝีมือชั้นดี และแสดงถึงความก้าวหน้าของงานช่างทองในไอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โครงสร้างเป็นเชิงวงแหวนที่หมายความว่าเป็นแบบที่มิได้ออกเพื่อใช้เป็นเครื่องตรึงรัดเสื้อผ้า แต่เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะ เข็มกลัดทาราก็เช่นเดียวกับเข็มกลัดอื่นๆ ในยุคเดียวกันที่ไม่มีรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาของทั้งคริสเตียนหรือเพกัน และสร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดีและเกือบจะเป็นที่แน่นอนคือเป็นชาย เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะ เข็มกลัดตั้งชื่อตามชื่อเนินทาราซึ่งเป็นที่สถิตย์ของประมุขแห่งกษัตริย์ไอร์แลนด์ (High Kings of Ireland) ในตำนาน แต่ตัวเข็มกลัดเองไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเนินและประมุขแห่งกษัตริย์ เข็มกลัดพบเมื่อเดือนสิงหาคม..

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 1243พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันลัทธินอกศาสนาลายสอดประสานศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันอำพันทองคำทองแดงดับลินแก้วเข็มกลัดประดับเงินตรา

พ.ศ. 1243

ทธศักราช 1243 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและพ.ศ. 1243 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน

ัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตัน (Metropolitan Museum of Art หรือ the Met) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่ทางตะวันออกของเซ็นทรัลพาร์คในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิตันก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1870 พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของงานศิลปะถาวรกว่าสองล้านชิ้นที่แบ่งเป็นสิบเก้าแผนก อาคารหลักมักจะเรียกสั้นๆ ว่า “the Met” เป็นหอศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหอศิลป์หนึ่งแลมีสาขาที่สองที่เล็กกว่าที่“เดอะคล็อยสเตอร์ส” ในอัพเพอร์แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นที่ตั้งแสดงศิลปะยุคกลาง ศิลปะถาวรที่เป็นเจ้าของเป็นงานศิลปะตั้งแต่ศิลปะยุคคลาสสิกและศิลปะอียิปต์โบราณ, จิตรกรรมและประติมากรรมของจิตรกรชั้นครูจากเกือบทุกประเทศในยุโรปตะวันตก และงานสะสมศิลปะอเมริกันและศิลปะสมัยใหม่ นอกจากนั้นพิพิธภัณฑ์ก็ยังเป็นเจ้าของงานศิลปะจากแอฟริกา, เอเชีย, ศิลปะจากหมู่เกาะปาซิฟิค, ศิลปะไบเซนไทน์ และศิลปะอิสลาม นอกไปจากศิลปะแล้วพิพิธภัณฑ์ก็ยังสะสมเครื่องดนตรี, เสื้อผ้าและเครื่องตกแต่ง, อาวุธโบราณ, เสื้อเกราะและอาวุธจากทั่วโลก ภายในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งก่อสร้างที่แสดงการตกแต่งภายในเป็นการถาวรตั้งแต่จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 ของสมัยโรมันไปจนถึงสมัยใหม่ของสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิตันก่อตั้งในปี ค.ศ. 1870 โดยกลุ่มชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งรวมทั้งนักธุรกิจและนักการเงินและผู้นำศิลปินและนักคิดในสมัยนั้นผู้ที่ประสงค์จะก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่นำศิลปะและการศึกษาศิลปะมาสู่ประชาชนอเมริกัน พิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1872 ในปี..

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ลายสอดประสาน

ลายสอดประสาน (Interlace) ในด้านทัศนศิลป์ “ลายสอดประสาน" คือองค์ประกอบของงานตกแต่งที่พบในศิลปะสมัยกลาง ในงานสอดประสานจะเป็นแถบหรือลวดลายที่กระหวัด สาน หรือผูกเป็นเงื่อน เป็นลักษณะโครงสร้างของเรขาคณิตที่มักจะเขียนเติมให้เต็มเนื้อที่ที่ว่างอยู่ ลายสอดประสานของอิสลามและเงื่อนเคลต์มีลักษณะรูปแบบและโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่ามีต้นตอมาจากรากเหง้าเดียวกัน ศิลปะลายสอดประสานนิยมสร้างกันในงานของศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานของยุโรปเหนือโดยเฉพาะศิลปะเกาะของเกาะบริติชและศิลปะนอร์สของยุคกลางตอนต้น.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและลายสอดประสาน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน หรือ ศิลปะเกาะ (Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซกซัน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า "the Insular period in art" ซึ่งมาจากคำว่า "insula" ของภาษาละตินที่แปลว่า "เกาะ" ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตนและไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปและศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ของศาสนาคริสต์แบบเคลต์ หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว..

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

อำพัน

อำพันตกแต่งเป็นเหรียญประดับรูปไข่ขนาด 2x1.3 นิ้ว อำพัน เป็นซากดึกดำบรรพ์ของยางไม้ เป็นสิ่งมีค่าด้วยสีสันและความสวยงามของมัน อำพันที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจะถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับและอัญมณี แม้ว่าอำพันจะไม่จัดเป็นแร่แต่ก็ถูกจัดให้เป็นพลอย โดยทั่วไปแล้วจะเข้าใจผิดกันว่าอำพันเกิดจากน้ำเลี้ยงของต้นไม้ แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำเลี้ยงเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในระบบท่อลำเลียงของพืช ขณะที่ยางไม้เป็นอินทรียวัตถุเนื้ออสัณฐานกึ่งแข็งที่ถูกขับออกมาผ่านเซลล์เอพิทีเลียมของพืช เพราะว่าอำพันเคยเป็นยางไม้ที่เหนียวนิ่มเราจึงพบว่าอาจมีแมลงหรือแม้แต่สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กอยู่ในเนื้อของมันได้ ยางไม้ที่มีสภาพเป็นกึ่งซากดึกดำบรรพ์รู้จักกันในนามของโคปอล สีของอำพันมีได้หลากหลายสีสัน ปรกติแล้วจะมีสีน้ำตาล เหลือง หรือส้ม เนื้อของอำพันเองอาจมีสีได้ตั้งแต่ขาวไปจนถึงเป็นสีเหลืองมะนาวอ่อนๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลจนถึงเกือบสีดำ สีที่พบน้อยได้แก่สีแดงที่บางทีก็เรียกว่าอำพันเชอรี่ อำพันสีเขียวและสีฟ้าหายากที่มีการขุดค้นหากันมาก อำพันที่มีค่าสูงมากๆจะมีเนื้อโปร่งใส ในทางตรงกันข้ามอำพันที่พบกันมากทั่วไปจะมีสีขุ่นหรือมีเนื้อทึบแสง อำพันเนื้อทึบแสงมักมีฟองอากาศเล็กๆเป็นจำนวนมากที่รู้จักกันในนามของอำพันบาสตาร์ดหมายถึงอำพันปลอม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วก็เป็นอำพันของแท้ๆนั่นเอง.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและอำพัน · ดูเพิ่มเติม »

ทองคำ

ทองคำ (gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและทองคำ · ดูเพิ่มเติม »

ทองแดง

ทองแดง (Copper) คือธาตุที่มีเลขอะตอม 29 และสัญลักษณ์คือ Cu ทองแดงอยู่ในตารางธาตุหมู่ 29 เป็นที่ทราบกันว่ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากทองแดงมาไม่น้อยกว่า 10,000 ปี พบหลักฐานว่ามนุษย์สามารถหลอมสกัดทองแดงให้บริสุทธิ์ได้เมื่อประมาณ 5000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่มนุษย์จะรู้จักกับทองคำ โดยมนุษย์รู้จักทองคำ เมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและทองแดง · ดูเพิ่มเติม »

ดับลิน

ับลิน (Dublin; ไอริช: Baile Átha Cliath) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ชื่อดับลินนั้นมาจากคำว่า Dubh Linn ซึ่งในภาษาไอริชมีความหมายว่า "สระน้ำสีดำ" (Black Pool) ดับลินมีพื้นที่ประมาณ 114.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 495,781 คนในเขตตัวเมือง.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและดับลิน · ดูเพิ่มเติม »

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดประดับ

็มกลัดประดับ (Brooch หรือ broach) หรือในสมัยโบราณเรียกว่า “เข็มกลัดตรึง” หรือ “เข็มกลัดฟิบิวลา” เป็นเครื่องประดับที่ทำด้วยอัญมณีที่ออกแบบเพื่อใช้ติดประดับเสื้อผ้า เข็มกลัดประดับมักจะทำด้วยโลหะที่มักจะเป็นเงิน หรือ ทอง แต่บางครั้งก็ทำด้วยสำริดหรือวัสดุอื่น เข็มกลัดประดับมักจะแตกแต่งด้วยเครื่องเคลือบหรืออัญมณี บางครั้งก็จะใช้สอยในการตกแต่งเท่านั้น หรือบางครั้งก็จะมีประโยชน์ใช้สอยด้วยเช่นใช้ในการตรึงเสื้อผ้าให้ติดตัว หรือ หรือสำหรับเสื้อคลุมปล่อยชาย (cloak) เข็มกลัดประดับแรกที่สุดมาจากยุคสำริด แต่เพราะลักษณะของเข็มกลัดประดับมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามแฟชันทำให้กลายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการใช้ระบุยุคสมัยในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและเข็มกลัดประดับ · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: เข็มกลัดทาราและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tara Brooch

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »