โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุยเอี๋ยน

ดัชนี อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

26 ความสัมพันธ์: ชัวมอบุนเพ่งพ.ศ. 718พ.ศ. 777กระบี่กวนอูมณฑลเสฉวนม้าต้ายยุคสามก๊กรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กวรรณกรรมสามก๊กสุมาอี้ฮองตงฮันเหียนจูกัดเหลียงจดหมายเหตุสามก๊กจ๊กก๊กง้าวประวัติศาสตร์ประเทศจีนโจโฉเบ้งเฮ็กเกียงอุยเล่าจ๋องเล่าปี่

ชัวมอ

ัวมอ (Cai Mao) เป็นขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นแม่ทัพเรือของเล่าเปียว และเป็นน้องชายของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียวด้วย ครั้งเมื่อเล่าปี่มาอาศัยอยู่กับเล่าเปียว ชัวมอก็กลัวจะถูกแย่งชิงอำนาจ จึงวางแผนจะฆ่าเล่าปี่เสียแต่เล่าปี่ก็หนีรอดไปได้ หลังจากเล่าเปียวถึงแก่กรรมก็ยึดครองอำนาจ แต่งตั้งเล่าจ๋องลูกของพี่สาวตัวเองเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป ต่อมาภายหลังจากโจโฉยึดครองเมืองเกงจิ๋ว ชัวมอ ได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ และได้รับตำแหน่งเนแม่ทัพเรือของโจโฉเพื่อยกทัพไปตีกังตั๋ง แต่ต่อมาจิวยี่ได้ใช้อุบายหลอกให้โจโฉหลงเชื่อว่าชัวมอคิดทรยศ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชัวมอ.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและชัวมอ · ดูเพิ่มเติม »

บุนเพ่ง

บุนเพ่ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เหวิน พิ่ง ตามสำเนียงกลาง บุคคลใน ยุคสามก๊ก เป็นขุนศึกแห่ง วุยก๊ก แต่เดิมรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋วต่อมาเมื่อ เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวซึ่งขึ้นครองเมืองเกงจิ๋วสืบต่อจากบิดาได้ยอมแพ้ต่อ โจโฉ ทำให้บุนเพ่งได้มารับใช้วุยก๊ก ซึ่งบุนเพ่งมีบทบาทสำคัญในการปกป้อง เมืองกังแฮ จากการรุกรานของ ซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก หมวดหมู่:วุยก๊ก.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและบุนเพ่ง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 718

ทธศักราช 718 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและพ.ศ. 718 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 777

ทธศักราช 777 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและพ.ศ. 777 · ดูเพิ่มเติม »

กระบี่

กระบี่ อาจหมายถึง; เขตการปกครอง.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและกระบี่ · ดูเพิ่มเติม »

กวนอู

กวนอู เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือนมิถุนายน จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 704 ในรัชกาลฮั่นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนกรกฎาคม จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี 763 ในรัชกาลฮั่นเหี้ยนเต้ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (Yunchang) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า ง้าวมังกรเขียว หรือง้าวมังกรจันทร์ฉงาย ในจินตนาการของศิลปินมักวาดภาพหรือปั้นภาพให้กวนอูแต่งกายด้วยชุดสีเขียวและมีผ้าโพกศีรษะ กวนอูมีความเชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุมกวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและกวนอู · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต้าย

ม้าต้าย (Ma Dai; ม้าต้าย (馬岱) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ในอดีตนั้น เขาเป็นทหารเอกรับใช้ผู้เป็นลุง คือ ม้าเท้งและม้าเฉียว บุตรคนโตของม้าเท้ง เมื่อม้าเท้งเข้าเมืองหลวงตามคำเชิญของโจโฉ ม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย เมื่อม้าเท้งถูกจับโดยกลลวงของโจโฉ เขาจึงหนีออกมาจากเมืองหลวง โดยการปลอมตัวได้สำเร็จ ม้าต้ายมีชื่อเสียงโด่งดังจากการสังหารกบฏอุยเอี๋ยน จากการวางแผนของขงเบ้งและเกียงอุย เมื่ออุยเอี๋ยนก่อกบฏ เขาลวงอุยเอี๋ยนโดยการแสร้งทำเป็นเข้าร่วมทัพกบฏ หลังจากนั้นเมื่อได้โอกาส เขาจึงลอบเข้าไปด้านหลังของอุยเอี๋ยนและสังหารเขาเสีย รางวัลที่เขาได้รับสำหรับการที่เขาสังหารอุยเอี๋ยนก็คือบรรดาศักดิ์ที่ริบมาจากอุยเอี๋ยนนั่นเอง หลังจากที่เล่าปี่ ฮ่องเต้แห่งเสฉวนสิ้นพระชนม์ ม้าต้ายนั้นเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มากผู้หนึ่งของขงเบ้งและเขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะสงครามม่านใต้ที่รบกับเบ้งเฮ็กอย่างมาก ไม่แพ้จูล่งและอุยเอี๋ยนเลยทีเดียว.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและม้าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สุมาอี้

มาอี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ ซือหม่าอี้ ตามสำเนียงกลาง (司马懿; Sima Yi; ค.ศ. 179-251) นายทหารคนสำคัญของวุยก๊ก หลังยุคที่โจโฉสิ้นไปแล้ว เป็นคู่ปรับที่สำคัญของขงเบ้ง และเป็นผู้ที่วางรากฐานให้กับทายาทผู้สืบทอดตระกูลจนได้รวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว กลายเป็นพระจักรพรรดิ์องค์ใหม่ และก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์จิ้น อันเป็นการสิ้นสุดยุคสามก๊กที่ดำเนินมานานถึง 111 ปี สามชั่วอายุคน.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและสุมาอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ฮองตง

องตง Huang Zhong; เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก ฉายา ฮั่นสินแห่งหนานหยาง เป็นชาวเมืองหนานหยาง (บ้านเดียวกับขงเบ้ง) เชี่ยวชาญในการใช้ง้าวและเกาทัณฑ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก โดยฮองตงเป็นคนที่ 4 เดิมเป็นขุนพลที่รักษาเมืองเตียงสา ของเล่าเปียว เมื่อออกรบเคยพลาดท่าในสนามรบ และกวนอูไว้ชีวิต ในการต่อสู้ครั้งต่อมา จึงจงใจยิงเกาทัณฑ์พลาด เป็นการทดแทนบุญคุณกลับคืน แต่เจ้าเมืองเตียงสาเข้าใจว่า ฮองตงเอาใจข้างข้างฝ่ายเล่าปี่ จึงกล่าวหาว่าฮองตงเป็นกบฏ เมื่อเล่าปี่เข้าเมืองเตียงสาได้แล้ว ได้ไปพบฮองตงที่บ้านพัก พบฮองตงนอนเมาอยู่ด้วยความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาเมืองได้ เล่าปี่ กวนอู และเตียวหุยทำการคาราวะฮองตงว่า เป็นนักรบที่มีฝีมือและคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมเกลี้ยกล่อมให้มาเข้าร่วมด้วย ฮองตงจึงเข้าร่วมกับเล่าปี่เมื่ออายุได้ 60 ปี และได้เป็น 1 ใน 5 ทหารเสือของจ๊กก๊ก ฮองตงสร้างผลงานอีกครั้ง เมื่อแฮหัวเอี๋ยนยกทัพมา ขงเบ้งแสร้งพูดยั่ว โดยกล่าวว่าฮองตงแก่ชราแล้ว คงจะไม่มีเรี่ยวแรง ฮองตงจึงเกิดมานะ แสดงพละกำลังด้วยการหักคันธนูและรำง้าวให้ดู ฮองตงหนีไปตั้งหลักที่ยอดเขาเตงกุนสัน เพื่อให้แฮหัวเอี๋ยนที่อยู่ริมเขาตะโกนท้าทายให้ลงมาสู้ แต่ฮองตงก็ไม่ยอมสู้ เพราะการที่ฮองตงไม่ลงมาโจมตีนั้นเพราะหวดเจ้งยังไม่ยกธงแดง เมื่อยกธงแดงจึงฉวยโอกาสโจมตีในตอนที่แฮหัวเอี๋ยนอ่อนล้าเองในเวลาบ่าย ทหารทุกคนกำลังนอนหลับ ฮองตงจึงได้บุกลงมาจากเขา ในขณะที่แฮหัวเอี๋ยนกำลังใส่ชุดเกราะ ฮองตงขี่ม้าประชิดตัวและยกง้าวฟันลำตัวขาดทันที ฮองตงเสียชีวิต ณ ค่ายทหารฝ่ายจ๊กก๊ก หลังจากถูกยิงด้วยเกาทัณฑ์ของทหารฝ่าย ง่อก๊ก เข้าซอกคอ ครั้งเล่าปี่ยกทัพไปรบเพื่อล้างแค้นให้กวนอูในศึกอิเหลง เมื่ออายุได้ 75 ปี.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและฮองตง · ดูเพิ่มเติม »

ฮันเหียน

ันเหียน (Han Xuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเตียงสาและเป็นเจ้านายของฮองตงและอุยเอี๋ยนก่อนที่ทั้งสองจะมาสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและฮันเหียน · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จดหมายเหตุสามก๊ก

หมายเหตุสามก๊ก (Records of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ บทประพันธ์โดยเฉินโซ่ว ชาวเสฉวนที่มีตัวตนและมีชีวิตจริงอยู่ในยุคสามก๊ก โดยเนื้อหาตามบทประพันธ์เกิดจากจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วฉากสำคัญหลายฉากในจดหมายเหตุสามก๊กเช่น ในปี พ.ศ. 776 ซึ่งเป็นปีเกิดของเฉินโซ่ว ภายหลังพระเจ้าเหี้ยนเต้สละบัลลังก์แล้ว ตระกูลของเฉินโซ่วรับราชการเป็นบริวารแก่จ๊กก๊กของพระเจ้าเล่าปี่ ซึ่งรวมทั้งเฉินโซ่วด้วย ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์รวมทั้งเรื่องราวการต่อสู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นการบันทึกโดยบิดาของเฉินโซ่ว ในปี พ.ศ. 806 แคว้นจ๊กก๊กที่เฉินโซ่วอาศัยอยู่ ได้ประกาศยอมแพ้ต่อแคว้นวุย เฉินโซ่วและครอบครัวรวมทั้งชาวจ๊กก๊กคนอื่น ๆ ถูกนำตัวไปยังวุยก๊ก ขณะนั้นสุมาเจียว ซึ่งเป็นผู้ครองแคว้นวุยสิ้นพระชนม์ สุมาเอี๋ยนจึงเป็นผู้สืบทอดแคว้นต่อไปและสถาปนาราชวงศ์จิ้นขึ้นแทนราชวงศ์วุย และแย่งชิงราชบัลลังก์จากพระเจ้าโจฮวนในปี พ.ศ. 808 ก่อนจะสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้แห่งราชวงศ์ใหม่ ราชวงศ์จิ้นตะวันตก 15 ปีสืบต่อมา พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ก็สามารถรวบรวมอาณาจักรสามก๊กให้รวมเป็นหนึ่งเดียวได้ พระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ทรงโปรดให้เฉินโซ่วรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงศึกสามก๊กอย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่ในช่วงพระเจ้าเลนเต้ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 711 จนถึงการรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวใน พ.ศ. 823อย่างละเอียด เพื่อเอากลศึกสงครามต่าง ๆ ที่เกิดในยุคนี้ให้เป็นตำราสงครามให้แก่คนรุ่นหลัง สามก๊กฉบับแรกนี้มีชื่อว่า "ซันกั๋วจื้อ" แต่ซันกั๋วจื้อก็ไม่ได้รับความนิยม ซันกั๋วจื้อจึงกลายเป็นต้นแบบในการประพันธ์วรรณกรรมสามก๊กในยุคหลัง ที่สำคัญได้แก่ ซันกั๋วยั่นอี้ของหลัว กวั้นจง.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและจดหมายเหตุสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ง้าว

ง้าว และของ้าวไทย คนถือง้าว ง้าว เป็นอาวุธจีนโบราณ สำหรับต่อสู้บนหลังม้า พบว่าส่วนใหญ่ง้าวจะใช้โดยขุนพล แม่ทัพ โดยส่วนมาก ง้าวมีลักษณะเป็นอาวุธด้ามยาว คล้ายกับ ทวน และ หอก แต่จะมีความยาวด้ามจับสั้นกว่า คือสูงเท่าลำตัว ส่วนใหญ่หัวของง้าวนั้นคล้ายจะมีลักษณ์คล้ายลิ้นของมังกร และมีความโค้งเป็นเสี้ยวพระจันทร์ ลักษณะการต่อสู้โดยการใช้ง้าวนั้นจะต่างกับการใช้หอกคือ หอกจะใช้สำหรับการโจมตีโดยการแทงไปที่เป้าหมายเท่านั้น แต่ง้าวจะใช้โจมตีโดยการฟัน และด้วยลักษณะเด่นของง้าวที่มีส่วนหัวที่ใหญ่จึงมักจะใช้ปัด เบี่ยง หรือ รับ การโจมตีจากศัตรู ซึ่งจะเห็นได้บ่อยๆในฉากรบกันของหนังจีนโบราณ จุดเสียของง้าวนั้นเนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่จึงทำให้มีน้ำหนักมาก ดังนั้นผู้ใช้ง้าวส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ที่มีกำลังมากเท่านั้น ในประวัติศาสตร์ประเทศไทยนั้นได้พบว่า ได้มีการใช้ง้าวเป็นอาวุธด้วยเช่นกัน ดังเช่น ประวัติสมเด็จพระสุริโยไท เป็นต้น หมวดหมู่:อาวุธมีคม หมวดหมู่:อาวุธด้ามยาว.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและง้าว · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เกียงอุย

กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและเกียงอุย · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจ๋อง

ล่าจ๋อง (Liu Cong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าแคว้นเกงจิ๋ว อันเกิดจากนางชัวฮูหยินภรรยาน้อย หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ตามประเพณี ลูกชายคนโตคือเล่ากี๋ควรมีสิทธิ์ในตำแหน่งเจ้าแคว้น แต่ชัวฮูหยินและชัวมอน้องชาย ได้ปลอมแปลงพินัยกรรมของเล่าเปียวว่าให้เล่าจ๋องขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วคนต่อไป เล่าจ๋องจึงได้ครองตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วต่อจากบิดาขณะมีอายุได้ 14 ปี ต่อมา โจโฉยกทัพจะเข้าตีเกงจิ๋ว เล่าจ๋องได้ยอมจำนนต่อโจโฉ โจโฉแต่งตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋ว ระหว่างที่เล่าจ๋องเดินทางไปรับตำแหน่งที่เฉงจิ๋วพร้อมกับนางชัวฮูหยิน อิกิ๋มซึ่งโจโฉสั่งให้นำกำลังไปซุ่มระหว่างทาง ได้นำกำลังออกมาสังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินเสี.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและเล่าจ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: อุยเอี๋ยนและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »