โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

ดัชนี อุทยานแห่งชาติแม่วงก์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยานมีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้ว.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2530สปีชีส์อำเภอปางศิลาทองอำเภอแม่วงก์อำเภอแม่เปินอุทยานแห่งชาติอนุสาร อ.ส.ท.จังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดนครสวรรค์ทิวเขาถนนธงชัยตารางกิโลเมตรประเทศไทยปลาตะพากส้มปลาเลียหินนกยูงไทยนากใหญ่ขนเรียบแม่น้ำสะแกกรังโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์เสือโคร่งเสือโคร่งอินโดจีน14 กันยายน

พ.ศ. 2530

ทธศักราช 2530 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1987 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และพ.ศ. 2530 · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอปางศิลาทอง

ปางศิลาทอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอำเภอปางศิลาทอง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่วงก์

แม่วงก์ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอำเภอแม่วงก์ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอแม่เปิน

แม่เปิน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครสวรร.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอำเภอแม่เปิน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติ

วามหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย ความหลากหลายทางชีวภาพในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าในอุทยานแห่งชาติ ประเทศไทย นิยาม อุทยานแห่งชาติ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..๒๕๕๔ ให้นิยามไว้ดังนี้ คำว่าอุทยานแห่งชาติ คือกฏหมายที่ประกาศ โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในราชอาณาจักรไทยที่เป็นของราชการมิใช่พื้นที่ครอบครองของผุ้หนึ่งผู้ใดมาก่อนให้สงวนรักษาไว้ให้คงสภาพเดิมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศกำหนดให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า "National Park" ซึ่งหมายถึง เขตบริเวณพื้นที่ซึ่งสงวน ไว้เพื่อที่จะรักษา และทำการคุ้มครองทรัยากรทางธรรมชาติ นั้นๆ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ตามหลักสากลแล้ว อุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมีพื้นที่ ทั่วทั้งบริเวณไม่น้อยกว่า 6,250 ไร่ หรือประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ที่สำคัญในพื้นที่ ของอุทยานแห่งชาตินั้นจะต้องมี ธรรมชาติของ วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสาร อ.ส.ท.

อนุสาร อ..ท.เป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นพร้อมกับองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอนุสาร อ.ส.ท. · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกำแพงเพชร

ังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 8,607 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และจังหวัดกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และจังหวัดนครสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขาถนนธงชัย เป็นแนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ เริ่มจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาว ทอดตัวเป็นแนวยาวลงมาทางตอนล่างของภาค แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และทิวเขาถนนธงชัย · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากส้ม

ปลาตะพากส้ม, ปลาจาด หรือ ปลาจาดแมลคัม (Goldfin tinfoil barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า แต่ขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน มีลำตัวกว้างและแบนข้าง เกล็ดค่อนข้างใหญ่ จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 26 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบหางเป็นแฉกลึกและยาวมากกว่าความยาวหัว ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ลำตัวมีสีขาวเงินสะท้อนแสง และมีลายดำเชื่อมต่อกันระหว่างเกล็ดดูคล้ายตาข่าย ปลาตะพากส้มแพร่ขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เป็นครั้งแรกจากการผสมเทียมจากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดเพชรบุรี พบว่าวางไข่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ไข่เป็นประเภทไข่ติด มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ที่แม่น้ำเพชร ที่จังหวัดเพชรบุรี และแม่น้ำปิง ที่จังหวัดตาก และแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ที่พบบ่อยคือ แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน ปลาตะพากส้มได้รับการอนุกรมวิธานจาก ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักวิชาการประมงชาวอเมริกัน ได้เก็บตัวอย่างต้นแบบจากแม่น้ำปิง เมืองระแหง ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดตาก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1924 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ จึงส่งตัวอย่างไปยังพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ แห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ แมลคัม อาเธอร์ สมิธ นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอังกฤษที่เข้ามาศึกษาสัตว์ทั้งสองประเภทนี้ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาปีกแดง" นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และปลาตะพากส้ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเลียหิน

ปลาเลียหิน (Stone-lapping fishes, Garras, Doctor fishes) คือชื่อสามัญเรียกโดยรวมของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Garra (/การ์-รา/) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และอยู่ในวงศ์ย่อย Labeoninae เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวยาว หลังโค้งเล็กน้อย สันท้องแบนราบ จะงอยปากยาว ปลายทู่ และมีตุ่มเหมือนเม็ดสิวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตัวผู้ริมฝีปากหนาและมีตุ่มเม็ดสิวที่อ่อนนุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีร่องระหว่างริมฝีปากกับกระดูกขากรรไกร ริมฝีปากล่างแผ่ออกกว้างเป็นแผ่น ขอบหน้าเรียบ ใช้ในการยึดเกาะกับของแข็ง มีหนวด 1-2 คู่ ครีบอกและครีบครีบท้องอยู่ในแนวระดับสันท้อง ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน และก้านครีบเดี่ยวไม่แข็ง ครีบก้นสั้นมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน เส้นข้างลำตัวตรง มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นฝูง ในแหล่งน้ำไหลเชี่ยวบริเวณน้ำตกหรือลำธารในป่า เพื่อดูดกินตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายหรืออินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย พบมากกว่า 90 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบด้วยหลายชนิด เช่น G. fuliginosa, G. notata, G. cambodgiensis, G. fasciacauda เป็นต้น นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เพื่อให้ดูดกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือและทำความสะอาดตู้เลี้ยง นอกจากนี้แล้วในปัจจุบัน ปลาเลียหินยังนิยมใช้ในธุรกิจสปา แบบที่เรียกว่า "ฟิชสปา" โดยให้ผู้ใช้บริการแช่เท้าและขาลงในอ่างน้ำ และให้ปลาเลียหินมาดูดกินผิวหนังชั้นผิวกำพร้าเพื่อกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว เพื่อเป็นการสร้างเซลล์ผิวใหม่อีกด้วย โดยในน้ำลายของปลาเลียหินจะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่กระตุ้นในการสร้างเซลล์ผิวใหม่ซึ่งปลาเลียหินที่นิยมใช้กันคือ ชนิด G. rufa และ G. sp.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

นกยูงไทย

นกยูงไทย หรือ นกยูงสีเขียว (Green peafowl; มาจากภาษาละติน Pavo, นกยูง; muticus, เชื่อมต่อ หรือ ตัดทอน) เป็นไก่ฟ้าขนาดใหญ่ที่พบในป่าเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นญาติใกล้ชิดกับนกยูงอินเดียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่านกยูงสีฟ้า ที่ส่วนมากพบในอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และนกยูงไทย · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ขนเรียบ

นากใหญ่ขนเรียบ (smooth-coated otter) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นนากชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก มีลักษณะแตกต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra) และ นากจมูกขน (L. sumatrana) คือ มีหัวกลม แนวขนบนจมูกเป็นรูปตัววีคว่ำ ขนสั้น หูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูเวลาว่ายน้ำเพื่อมิให้น้ำเข้าหู ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลปนสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางแบน และมีความยาวประมาณร้อยละ 60 ของลำตัว อุ้งเท้าและนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 65–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–45 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 7–11 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, อินเดีย, ภาคตะวันตกของมณฑลยูนาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามตอนใต้, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา มีพฤติกรรมอาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่ลุ่มต่ำ เช่น ริมทะเลสาบ ลำธาร คลอง ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่นเดียวกับนากชนิดอื่น ๆ โดยใช้หนวดทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู ด้วย ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน มักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ยกเว้นในสถานที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ มีเท้าและเล็บแข็งแรงจึงสามารถขุดรูริมตลิ่งได้ลึกถึง 3 เมตร เพื่อใช้การเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนากที่เกิดใหม่จะลืมตาภายในเวลา 10 วัน และออกหากินได้เองเมื่ออายุได้ 3 เดือน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาค โดยพบได้แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ในแถบป่าชายเลน ในเขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในประเทศสิงคโปร์ แถบหน้ามารีนาเบย์แซนส์ โรงแรมขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่เป็นที่รู้จักดี ก็มีฝูงนากใหญ่ขนเรียบอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสง.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และนากใหญ่ขนเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสะแกกรัง

แม่น้ำสะแกกรัง เป็นแม่น้ำมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาโมโกจู ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร ไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บ้านท่าซุง ตำบลท่าซุง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีความยาวประมาณ 225 กิโลเมตร แม่น้ำสะแกกรัง มีหลายชื่อตามท้องถิ่นที่แม่น้ำไหลผ่านคือ.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และแม่น้ำสะแกกรัง · ดูเพิ่มเติม »

โครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์

รงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ เป็นโครงการก่อสร้างในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กั้นแม่น้ำแม่วงก์บริเวณเขาชนกัน หรือเขาสบกก มูลนิธืสืบนาคะเสถียร ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้างตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555 เป็นเงิน 13,280 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 8 ปี ผูกพันปีงบประมาณ..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

14 กันยายน

วันที่ 14 กันยายน เป็นวันที่ 257 ของปี (วันที่ 258 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 108 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และ14 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ป่าแม่วงก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »