โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อินิโก โจนส์

ดัชนี อินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ (Inigo Jones; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1573 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1652) ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญคนแรกของสถาปัตยกรรมสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ และเป็นสถาปนิกคนแรกที่นำสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังอังกฤษ งานชิ้นสำคัญๆ ของโจนส์เป็นตึกโดดเช่นคฤหาสน์รับรอง, ไวท์ฮอลล์ และโคเวนต์การ์เดน ที่กลายมาเป็นแบบอย่างของการพัฒนาในบริเวณเวสต์เอ็นด์ นอกจากนั้นโจนส์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเวทีในฐานะนักออกแบบฉากละครสำหรับ งานสวมหน้ากากเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตามพระราชประสงค์จากราชสำนัก และอีกหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับเบ็น จอนสัน.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2116พ.ศ. 2195ละครสวมหน้ากากวิลเลียม เคนท์สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีอันโตน ฟัน ไดก์ประเทศอังกฤษ15 กรกฎาคม21 มิถุนายน

พ.ศ. 2116

ทธศักราช 2116 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และพ.ศ. 2116 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2195

ทธศักราช 2195 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และพ.ศ. 2195 · ดูเพิ่มเติม »

ละครสวมหน้ากาก

รื่องแต่งตัวในละคร “The Masque of Blackness” ออกแบบโดยอินิโก โจนส์ ละครสวมหน้ากาก (Masque) เป็นการละเล่นแบบหนึ่งที่นิยมทำกันในราชสำนักยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่อันที่จริงแล้วเริ่มขึ้นในอิตาลีก่อนหน้านั้นในรูปแบบของละครอินเทอร์เมดิโอซึ่งเป็นละครสวมหน้ากากที่แสดงในที่สาธารณะในงานเทศกาลยุคกลาง ละครสวมหน้ากากประกอบด้วยดนตรีและการเต้นรำ, การร้องเพลงและการแสดง บนเวทีที่ตกแต่งอย่างหรูหรา ที่โครงสร้างของฉากและเครื่องแต่งกายอาจจะออกแบบโดยสถาปนิกผู้มีชื่อเสียง ที่เป็นจะอุปมานิทัศน์ที่เป็นการสรรเสริญผู้เป็นเจ้าภาพ นักแสดงและนักดนตรีอาชีพจะได้รับการจ้างให้แสดงและร้องเพลงในละครดังกล่าว โดยทั่วไปแล้วผู้แสดงที่เป็นข้าราชสำนักจะไม่มีบทพูดหรือร้องแอนน์แห่งเดนมาร์กพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษมักจะทรงมีบทเต้นรำร่วมกับนางสนองพระโอษฐ์ในละครสวมหน้ากาก ระหว่างปี..

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และละครสวมหน้ากาก · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เคนท์

วิลเลียม เคนท์ ผู้บุกเบิกสวนอังกฤษแบบธรรมชาติ วิลเลียม เคนท์ (William Kent พ.ศ. 2228-2291) จิตรกร นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักจัดภูมิทัศน์และสถาปนิก เกิดที่เมืองบริดลิงตันไรดิงตะวันออกของยอร์กไชร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เคนท์ได้ไปทัศนศึกษาที่อิตาลีกับผู้อุปถัมภ์และกลับมาทำงานกับลอร์ดเบอร์ลิงตันในงานสร้างตำหนักชิสวิก ต่อมาเคนท์ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียนในอังกฤษ อาคารที่เคนท์ออกแบบได้แก่กลุ่มอาคารฮอร์สการ์ดที่ไวท์ฮอลล์ อาคารรอแยลมิวส์ที่จตุรัสทราฟัลกาและอาคารกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เคนท์ประสบความสำเร็จในงานออกแบบอาคารน้อยกว่างานภูมิทัศน์ สะพานและอาคารแบบพาลลาเดียนในสโตว์ โดยเคนท์ ตัวอย่างงานออกแบบภูมิทัศน์ที่สำคัญคือสวนที่ สโตว์ในบัคคิงแฮมเชอร์ เคนท์นับเป็น “เจ้าตำหรับสวนอังกฤษ” (English School of Landscape Gardening) ที่ได้รับอิทธิพลจากการไปศึกษาที่อิตาลีซึ่งเคนท์ได้ชื่นชมภาพเขียนภูมิทัศน์ของโคลด ลอร์แรน (Claude Lorrain) นิโคลาส์ ปูแซน และซัลวาตอเร โรซา โดยถือเป็นการ “ปฏิรูปสวนอังกฤษ” ให้เป็นรูปแบบ “ธรรมชาติ” ที่มีเนินทุ่งหญ้าและน้ำ นับเป็นการบุกเบิกงานภูมิทัศน์ธรรมชาติที่เปิดกว้างขึ้นให้แก่ “บราวน์ผู้สามารถ” ซึ่งมีโอกาสได้พบเคนท์ในขณะฝึกงานที่สวนสโตว์ และบราวน์ได้ยึดแนวและปรับปรุงรูปแบบ “สวนอังกฤษให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในชั่วคนต่อมา กล่าวกันว่าจุดอ่อนของตัวเคนท์ในงานจัดภูมิทัศน์คือการขาดความรู้ในด้านพืชพรรณและทักษะด้านเทคนิคภูมิทัศน์ แต่ความสามารถในการนำศิลปะสถาปัตยกรรมมาผสมกลมกลืนธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมสามารถชดเชยจุดอ่อนนี้ได้ เคนท์เคยกล่าวไว้ว่า “งานสร้างสวนทั้งหมดแท้จริงก็คืองานสร้างภาพเขียนภูมิทัศน์” ตัวอย่างงานศิลปะบางส่วนโดยเคนท์ได้แก่ฉาก กอธิก ห้องโถงในวิหารเวสมินสเตอร์ โบสถ์กลอสเซสเตอร์ งานภายในตำหนักเบอร์ลิงตัน และตำหนักชิสวิกในลอนดอน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2227 คเนท์ คเนท์ หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลอีสต์ไรดิงออฟยอร์คเชอร์.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และวิลเลียม เคนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

ร์ลส์ แบร์รีhttp://www.touruk.co.uk/houses/housebucks_clive.htm Historic Houses In Buckinghamshireที่เป็นคฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์ลักษณะแบบอิตาลีที่แสดงลักษณะที่ “บ่งเป็นนัยยะอย่างชัดแจ้งว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของคหบดีพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวอิตาลี”“Direct quote from: Walton, John. ''Late Georgian and Victorian Britain'' Page 50. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1 สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิก การสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีเป็นการใช้ลักษณะทรงและศัพท์สถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งลัทธิพาลเลเดียน และลัทธิฟื้นฟูคลาสสิกในการผสานกับความงามอันต้องตา (picturesque aesthetics) ฉะนั้นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ฟื้นฟูเรอเนซองส์” ด้วยจึงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยุค นักประวัติศาสตร์ชาวสวิสเชื้อสายเยอรมันซิกฟรีด กีเดียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของปรัชญาของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสถาปัตยกรรมว่า “การมองอดีตแปรสภาพของสิ่งของ ผู้ชมทุกคนทุกสมัย—ทุกช่วงเวลา—ในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปรลักษณะที่เห็นในอดีตในบริบทของความเข้าใจของตนเอง” สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเริ่มขึ้นในบริเตนราว..

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

อันโตน ฟัน ไดก์

"ภาพเหมือนกับดอกทานตะวัน" แสดงให้เห็นเหรียญที่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 พระราชทานเมื่อ ค.ศ. 1633 ดอกทานตะวันอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือการอุปถัมภ์หลวงSo Ellis Waterhouse (as refs below). But Levey (refs below) suggests that either van Dyck is the sun to which the sun-flower (of popular acclaim?) turns its face, or that it is the face of the King, on the medal he holds, as presented by van Dyck to the world ภาพเหมือนของครอบครัวโลเมลลี (Lomelli family) ค.ศ. 1623 ภาพเหมือนของลอร์ดจอห์น สจวต และน้องชายลอร์ดเบอร์นาร์ด สจวต--ลักษณะที่ผู้เป็นแบบมีเป็นความกันเองมากขึ้นที่ฟัน ไดก์มาวิวัฒนาการในอังกฤษ, ประมาณ ค.ศ. 1638 พระเจ้าชาลส์ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1635) อันโตน ฟัน ไดก์ (Antoon van Dyck, Antoon van Dijck) หรือ แอนโทนี แวน ไดก์ (Anthony van Dyck; 22 มีนาคม ค.ศ. 1599 – 9 ธันวาคม ค.ศ. 1641) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวเฟลมมิชซึ่งมาเป็นจิตรกรคนสำคัญประจำราชสำนักพระเจ้าชาลส์ที่ 1ที่อังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพสีน้ำมัน โดยเฉพาะภาพเหมือน ภาพเขียนที่มีชื่อเสียงของฟัน ไดก์เป็นภาพเหมือนของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และครอบครัวซึ่งวางท่าลักษณะสบายแต่สง่าแบบที่กลายมาเป็นแบบที่ใช้ในการเขียนภาพเหมือนต่อมาในอังกฤษเป็นเวลาราว 150 ปี นอกจากภาพเหมือนแล้ว ฟัน ไดก์ยังเขียนภาพจากพระคัมภีร์และตำนานเทพ และเป็นจิตรกรคนสำคัญผู้ริเริ่มใช้สีน้ำและกลวิธีพิมพ์กัดกรด (etching).

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และอันโตน ฟัน ไดก์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

15 กรกฎาคม

วันที่ 15 กรกฎาคม เป็นวันที่ 196 ของปี (วันที่ 197 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 169 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และ15 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

21 มิถุนายน

วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ 172 ของปี (วันที่ 173 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 193 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อินิโก โจนส์และ21 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Inigo Jones

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »