โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์

ดัชนี รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์

รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์ (Kurfürstentum Trier, Electorate of Trier) เดิมเป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 ต่อมาเป็นราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และประมุขได้เป็นเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก จนถึงต้นปี..

23 ความสัมพันธ์: ชาร์เลอมาญพ.ศ. 1441พ.ศ. 2344การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาภาษาฝรั่งเศสภาษาละตินมุขมณฑลยุโรปกลางรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สมัยกลางอิมพีเรียลอิมมีเดียซีจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทวีปยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ 9ประเทศเยอรมนีโรมันคาทอลิกโลทาริงเกียเจ้าชายมุขนายกเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเทรียร์เทวาธิปไตยเครือราชรัฐแห่งแม่น้ำไรน์

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1441

ทธศักราช 1441 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และพ.ศ. 1441 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2344

ทธศักราช 2344 ตรงกับคริสต์ศักราช 1801 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และพ.ศ. 2344 · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา

“การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา” โดยฌ็อง-บาติสต์ อีซาแบ ราว ค.ศ. 1819 แม้ว่าผู้แทนจากทุกรัฐที่เข้าร่วมสงครามจะได้รับการเชิญมาประชุม แต่การต่อรองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นไปโดย “สี่มหาอำนาจ” ซึ่งได้แก่บริเตน รัสเซีย ฝรั่งเศส และออสเตรีย การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna) คือ การประชุมราชทูตจากรัฐต่าง ๆ ในยุโรป มีรัฐบุรุษออสเตรีย เคลเมนส์ เวนเซิล ฟอน เมทเทอร์นิช (Klemens Wenzel von Metternich) เป็นประธาน ประชุมกันที่เวียนนาระหว่างเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑล

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และมุขมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (Reichsstand หรือ Reichsstände; Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อิมพีเรียลอิมมีเดียซี

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ อำนาจอธิปไตยซึ่งประมุขขึ้นโดยตรงต่อจักรพรรดิ (Reichsfreiheit; Reichsunmittelbarkeit, Imperial immediacy) หรือทับศัพท์ว่าอิมพีเรียลอิมมีเดียซี เป็นสถานะเอกสิทธิ์ทางการเมืองตามระบบเจ้าขุนมูลนายที่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มอบให้แก่จักรพรรดินครอิสระ รัฐคริสตจักร หรือราชรัฐ รัฐที่ได้รับ "อิมพีเรียลอิมมีเดียซี" เช่น แอบบีดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสภานิติบัญญัติ (Reichstag) โดยไม่ตัองมีเจ้าผู้ครองอื่นเป็นตัวกลาง ในภาษาสมัยปัจจุบันก็หมายถึงรูปแบบของรัฐที่ปกครองตนเอง.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และอิมพีเรียลอิมมีเดียซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 9

ริสต์ศตวรรษที่ 9 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 801 ถึง ค.ศ. 900.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และคริสต์ศตวรรษที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โลทาริงเกีย

ลทาริงเกีย (Lotharingia) เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปที่ประกอบด้วยกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ทางตะวันตกของไรน์แลนด์, ดินแดนที่ในปัจจุบันอยู่ระหว่างพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี, และดินแดนทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ โลทาริงเกียเกิดจากการแบ่งออกเป็นสามส่วนในปี ค.ศ. 855 ของ "ราชอาณาจักรแฟรงค์กลาง" ที่เป็นอาณาจักรที่ถูกแบ่งออกมาจากจักรวรรดิคาโรแล็งเชียงในปี ค.ศ. 843 ในสนธิสัญญาแวร์เดิง ในปี ค.ศ. 870 ก็ถูกแบ่งตามสนธิสัญญาเมอร์เซนระหว่างราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกและราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก หลังจากสงครามระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และโลทาริงเกีย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมุขนายก

ันน์ ออทโท ฟอน เกมมิงเงิน เจ้าชายบิชอปแห่งเอาก์สบูร์กในบาวาเรีย เจ้าชายมุขนายก (Prince-Bishop) เป็นมุขนายกที่มีศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักรโดยมีราชรัฐในปกครองอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ทำให้เขตปกครองของพระองค์ทั้งราชรัฐและมุขมณฑลมีลักษณะทับซ้อนกันในพื้นที่เดียว กรณีที่เป็นอัครมุขนายกปกครองราชรัฐก็เรียกว่า เจ้าชายอัครมุขนายก ถ้าเป็นนักพรตปกครองราชรัฐเรียกว่าเจ้าชายอธิการอาราม (prince-abbot) ในยุโรปตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิโรมันเริ่มสูญเสียพระราชอำนาจเพราะถูกคุกคามจากพวกอนารยชน ดังนั้นมุขนายกซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายคริสตจักรจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอาณาจักรแทน บางครั้งก็ถึงกับต้องนำทัพเองด้วยถ้าจำเป็น ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ จักรพรรดิก็นิยมแต่งตั้งหรือพระราชทานสิทธิและหน้าที่พิเศษให้มุขนายกบางองค์ปกครองรัฐในมุขมณฑลของตนได้ ซึ่งถือเป็นแนวพัฒนาการของลัทธิจักรพรรดิสันตะปาปานิยมที่จะให้คริสตจักรตะวันออกมาทำงานให้กับจักรวรรดิด้วย เช่น มีอัครบิดรสากลที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาให้กับองค์จักรพรรดิ จักรวรรดิรัสเซียมีการดำเนินการยิ่งกว่านี้อีก กล่าวคือยุบตำแหน่งอัครบิดรแล้วให้คริสตจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของฝ่ายอาณาจักร คำว่า ฮอคชติฟท์ ในภาษาเยอรมันก็หมายถึงอำนาจหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรที่มุขนายกสามารถว่าการปกครองราชรัฐของตนได้ ถ้าเป็นของอัครมุขนายก เรียกว่า แอร์ซชติฟท.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และเจ้าชายมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ระมหากษัตริย์โบฮีเมีย เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (Princeps Elector, Kurfürst, Prince-elector หรือ Electors) คือสมาชิกของคณะผู้คัดเลือก (electoral college) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันพระองค์ใดพระองค์หนึ่งให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเรียกว่าเจ้าผู้คัดเลือก (electoral prince) เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกถือเป็นผู้มีเกียรติรองจากพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิ ตามทฤษฎีแล้วจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเลือกตั้งก็มักจะเป็นเพียงการทำเพียงพิธี โดยมีพระจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ที่ตำแหน่งมักจะเป็นของพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิผู้เสด็จสวรรคต แต่กระนั้นตำแหน่งมิได้เป็นตำแหน่งสืบทอดในตระกูลเดียวกัน และทายาทไม่สามารถเรียกตนเองว่า "จักรพรรดิ" โดยมิได้รับเลือก การเลือกตั้งเป็นการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ผู้ได้รับเลือกในเยอรมนีและจะได้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เมื่อได้รับทำพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระสันตะปาปา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ผู้เป็นจักรพรรดิต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิโดยการเลือกตั้งเท่านั้น.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก · ดูเพิ่มเติม »

เทรียร์

กลางตลาดเมืองเทรียร์ เทรียร์ (Trier; Augusta Treverorum) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโมแซลในประเทศเยอรมนี เทรียร์ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อนปี 16 ก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเจสตา เทรเวโรรุมกล่าวว่าเทรียร์เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นโดยเทรบีทา พระราชโอรสพระเจ้าไนนัสแห่งอัสซีเรียกับพระชายาองค์ก่อนที่จะมเสกสมรสกับพระราชินีเซมิรามิส เซมิรามิสทรงเกลียดชังเทรบีทา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของไนนัสแล้ว ไนนัสก็ออกจากอัสซีเรียไปยังยุโรป หลังจากที่เร่ร่อนอยู่พักหนึ่งแล้วไนนัสก็นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเทรียร์ราว 2000 ก่อนคริสต์ศักราชที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เมื่อเสียชีวิตร่างของไนนัสก็ได้รับการเผาบนเพทริสแบร์กโดยประชากรชาวเทรียร์ เทรียร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเตี้ย ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นของดินที่เป็นหินทรายทางตะวันตกของรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับประเทศลักเซมเบิร์กและเป็นเมืองสำคัญในภูมิภาคที่มีชื่อในการทำไร่องุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์โมเซิล เทรียร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ในยุคกลางอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์เป็นตำแหน่งเจ้าชายมุขนายกที่มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่พรมแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงแม่น้ำไรน์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การที่มีประชากรประมาณ 100,000 ทำให้เทรียร์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สี่เท่ากับไคเซอร์สเลาเทิร์น มาจนถึงปี..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เครือราชรัฐแห่งแม่น้ำไรน์

แผนที่แสดงเครือราชรัฐช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 สีเทาบนแผนที่คือเครือราชรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ เครือราชรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Kurrheinischer Reichskreis หรือ เครือรัฐผู้คัดเลือกแห่งแม่น้ำไรน์ (Electoral Rhenish Circle) เป็นหนึ่งในเครือราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1512 ชื่อของกลุ่มมาจากชื่อของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกสี่ในเจ็ดองค์ ได้แก่ โคโลญ, เทรียร์, ไมนซ์ และ พาลาทิเนต.

ใหม่!!: รัฐผู้คัดเลือกเทรียร์และเครือราชรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Archbishop of TrierArchbishopric of TrierArchdiocese of TrierBishop of TrierBishopric of TrierElector of Trierอัครมุขมณฑลเทรียร์อาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์อาณาจักรสังฆราชแห่งทริเออร์อาณาจักรอัครสังฆราชแห่งทริเออร์อาณาจักรอัครสังฆราชแห่งเทรียร์อีเล็คเตอร์แห่งทริเออร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »