โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัลเทอพีนาโคเทค

ดัชนี อัลเทอพีนาโคเทค

อัลเทอพีนาโคเทค (Alte Pinakothek, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะเก่า") เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ตั้งอยู่ที่คุนสท์อาเรอาล เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี "อัลเทอพีนาโคเทค" ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1836 พิพิธภัณฑ์เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าที่สุดแห่งหนึ่งในโลกที่เป็นหนึ่งในสามพิพิธภัณฑ์ของกลุ่มพีนาโคเทค (Pinakothek) ได้แก่ "น็อยเออพีนาโคเทค" (Neue Pinakothek, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะใหม่") ที่แสดงงานสะสมงานที่สร้างตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และ "พีนาโคเทคเดอร์โมแดร์เนอ" (Pinakothek der Moderne, "พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่") ที่แสดงงานสะสมศิลปะสมัยใหม่ ทั้งสามพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ "คุนสท์อาเรอาล" (Kunstareal) หรือบริเวณพิพิธภัณฑ์ของมิวนิก.

19 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโยพ.ศ. 2369พ.ศ. 2379พิพิธภัณฑสถานมิวนิกราฟาเอลสงครามโลกครั้งที่สองจิตรกรรมดีร์ก เบาตส์คัสเซิลซันโดร บอตตีเชลลีประเทศเยอรมนีปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ)แม่พระแห่งดอกคาร์เนชันโรมเลโอนาร์โด ดา วินชีเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย

“เด็กขายผลไม้” (The Little Fruit Seller) - ค.ศ. 1670 บาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย (Bartolomé Esteban Murillo) รับศีลล้างบาปเมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1618 ที่เซบิยา ประเทศสเปน และเสียชีวิตที่เซบิยาเช่นกันเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1682 เป็นจิตรกรสมัยศิลปะบาโรกคนสำค้ญของประเทศสเปนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน แม้ว่ามูริโยจะมีชื่อเสียงในการเขียนภาพทางศาสนาแต่ก็ได้เขียนภาพชีวิตชาวบ้านทั้งผู้หญิงและเด็กร่วมสมัยไว้มาก เป็นภาพของเด็กขายดอกไม้ เด็กเกเร ขอทาน ซึ่งทำให้เราเห็นภาพชีวิตประจำวันในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและบาร์โตโลเม เอสเตบัน มูริโย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2369

ทธศักราช 2369 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและพ.ศ. 2369 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2379

ทธศักราช 2379 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1836 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและพ.ศ. 2379 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

มิวนิก

มิวนิก (Munich) หรือในภาษาเยอรมันว่า มึนเชิน (München) เป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ของประเทศเยอรมนี และเป็นเมืองหลวงของรัฐบาวาเรีย ถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศรองจากเบอร์ลินและฮัมบวร์ค และเป็นหนึ่งในเมืองมั่งคั่งที่สุดของยุโรปตัวเมืองมีประชากร 1.3 ล้านคน และ 2.7 ล้านคนในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำอีซาร์ เหนือเทือกเขาแอลป์ มิวนิกเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งที่สุดในประเทศเยอรมนี โครงการริเริ่ม “Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM)” (เศรษฐกิจตลาดสังคมใหม่) และนิตยสาร “Wirtschafts Woche” (ธุรกิจรายสัปดาห์) ให้คะแนนมิวนิกสูงที่สุดในการสำรวจเปรียบเทียบ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 (เป็นครั้งที่สาม) มิวนิกยังเป็นอันดับหนึ่งในการจัดอันดับโดยนิตยสาร “Capital” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่จัดอันดับแนวโน้มเศรษฐกิจระหว่าง..

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและมิวนิก · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ดีร์ก เบาตส์

ีร์ก เบาตส์ (Dirk Bouts; ราว ค.ศ. 1410/ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1475) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของจิตรกรรมเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมันและการเขียนบานพับภาพ จากหนังสือ Het Schilderboeck (ค.ศ. 1604) โดยกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander) เบาตส์เกิดที่เมืองฮาร์เลมและทำงานส่วนใหญ่ที่เมืองเลอเฟิน มันเดอร์เขียนชีวประวัติของจิตรกรสองคน "ดีร์กแห่งฮาร์เลม" และ "ดีร์กแห่งเลอเฟิน" ซึ่งเป็นคนคนเดียวกัน ชีวิตเบื้องต้นไม่มีหลักฐานเท่าใดนัก แต่ดีร์ก เบาตส์ได้รับอิทธิพลจากยัน ฟัน ไอก์ และโรเคียร์ ฟัน เดอร์ไวเดิน ซึ่งอาจจะเป็นผู้ที่ดีร์กศึกษาด้วย หลักฐานครั้งแรกเกี่ยวกับดีร์กพบครั้งแรกที่เลอเฟินเมื่อปี..

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและดีร์ก เบาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

คัสเซิล

ัสเซิล (Kassel) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเฮ็สเซิน ประเทศเยอรมนี บนแม่น้ำฟุลดา เมืองคัสเซิลเป็นเมืองหลวงของแคว้นคัสเซิล มีประชากร 198,500 คน (ค.ศ. 2007) และมีพื้นที่ 106.77 ตร.กม.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและคัสเซิล · ดูเพิ่มเติม »

ซันโดร บอตตีเชลลี

ซานโดร บอตติเซลลี อเลสซานโดร ดี มาริอาโน ดี วานนี ฟิลิเปปิ หรือ ซานโดร บอตติเชลลี หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า บอตติเชลลี (Alessandro di Mariano di Vanni Filipepi หรือ Sandro Botticelli เรียกย่อว่า Il Botticello; 1 มีนาคม ค.ศ. 1444 (พ.ศ. 1987/88) - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1510(พ.ศ. 2053) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีแห่งตระกูลการเขียนแบบฟลอเรนซ์ระหว่างยุคเรอเนสซองซ์ตอนต้น เพียงไม่ถึงร้อยปึต่อมาวิธีการเขียนตระกูลนี้ (ภายใต้การอุปถัมภ์ของลอเรนโซ เดอ เมดิชิ) ก็ถูกจัดโดยจอร์โจ วาซารีให้เป็น “ยุคทอง” ในบทนำของหนังสือ “ชีวิตศิลปิน” ของชีวประวัติของบอตติเชลลี ชื่อเสียงของบอตติเชลลีได้รับความเสียหายหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วมาจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาบอตติเชลลีก็ได้รับความนับถือว่าเป็นจิตรกรฝีมือดีของสมัยเรอเนสซองซ์ตอนต้นของอิตาลีหรือสมัยที่เรียกกันในภาษาอิตาลีว่า “ควัตโตรเชนโต” ผลงานที่เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของงานเขียนแบบฟลอเรนซ์ก็ได้แก่ “กำเนิดวีนัส” และ “ฤดูใบไม้ผลิ”.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและซันโดร บอตตีเชลลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ)

ปีเตอร์ เบรอเคิล ชัยชนะของความตาย (The Triumph of Death) ประมาณ พ.ศ. 2105 (ค.ศ.1562) พิพิธภัณฑ์ปราโด มาดริด ปีเตอร์ เบรอเคิล ผู้พ่อ (Pieter Bruegel de Oude,; Pieter Bruegel the Elder; พ.ศ. 2068 - 9 กันยายน พ.ศ. 2112) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแบบดัตช์และเฟลมิช เบรอเคิลมีชื่อเสียงในด้านการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์และภาพชีวิตประจำวันโดยเฉพาะของเกษตรกร ที่ทำให้ได้รับสมญาว่า "Peasant Bruegel" เพื่อให้ต่างจากสมาชิกผู้อื่นในตระกูล "Brueghel" ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและปีเตอร์ เบรอเคิล (ผู้พ่อ) · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระแห่งดอกคาร์เนชัน

ูบทความหลักที่ แม่พระและพระกุมาร แม่พระแห่งดอกคาร์เนชัน (Madonna of the Carnation) หรือ แม่พระกับแจกัน (Madonna with vase) หรือ แม่พระกับพระกุมาร (Madonna with child) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชีจิตรกรคนสำคัญสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิคในประเทศเยอรมนี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 หลังจากอยู่ในมือผู้สะสมส่วนบุคคล ดา วินชี เขียน “แม่พระแห่งดอกคาร์เนชัน” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1478 ถึงปี ค.ศ. 1480 ซึ่งเป็นสมัยเรอเนซองส์ตอนต้น ใจกลางภาพเป็นพระนางมารีย์พรหมจารีและพระกุมารเยซูบนพระเพลา แม่พระทรงแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงที่หรูหราและทรงสวมอัญมณี ในพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกคาร์เนชั่นซึ่งตีความหมายว่าเป็นสัญลักษณ์ของการหายจากความเจ็บป่วย พระพักตร์ของพระองค์ฉายด้วยแสงที่สว่างกว่าส่วนอื่นๆ ของภาพเช่นดอกคาร์เนชั่นที่บังอยู่ในเงา พระกุมารทรงแหงนมองมาทางพระพักตร์พระมารดาขณะที่พระมารดาทรงมองสวนลงมาแต่มิได้ทรงสบพระเนตรกัน ตัวแบบนั่งอยู่ในห้องที่มีหน้าต่างสองบานสองข้าง เดิมเชื่อกันว่าเป็นภาพที่เขียนโดยอันเดรอา เดล แวร์รอกกีโอแต่นักประวัติศาสตร์ศิลปะตกลงกันว่าเป็นงานของดา วินชี แม่พระและพระกุมารเป็นหัวเรื่องของศิลปะศาสนาคริสต์ที่นิยมเขียนกันในสมัยกลาง ภาพเขียนนี้เป็นภาพเดียวของเลโอนาร์โด ดา วินชีที่ตั้งแสดงอย่างถาวรในประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและแม่พระแห่งดอกคาร์เนชัน · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและโรม · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์

ปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ (Peter Paul Rubens,; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2120 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2183) เป็นจิตรกรชาวเฟลมิชที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีผลงานในรูปแบบศิลปะบาโรก.

ใหม่!!: อัลเทอพีนาโคเทคและเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Alte Pinakothekพิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »