โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรเทงกวาร์

ดัชนี อักษรเทงกวาร์

ตัวอย่างภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยอักษรเทงกวาร์ อักษรเทงกวาร์ (Tengwar) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏใช้อยู่ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ สำหรับใช้เขียนภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาเควนยา และภาษาซินดาริน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในการเขียนภาษาอื่นได้อีก เช่น ภาษาอังกฤษ (ตัวอย่างการเขียนประโยคด้วยอักษรเทงกวาร์ของโทลคีน ส่วนใหญ่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ) คำว่า tengwar เป็นคำเควนยาในรูปพหูพจน์ หมายถึง 'ตัวอักษร' รูปเอกพจน์เรียกว่า tengwa.

13 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษภาษาซินดารินภาษาเควนยามิดเดิลเอิร์ธอักษรตำนานแห่งซิลมาริลประวัติศาสตร์อาร์ดาโนลดอร์เบเลริอันด์เฟอานอร์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และภาษาซินดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และภาษาเควนยา · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และตำนานแห่งซิลมาริล · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อาร์ดา

ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาร์ดา ซึ่งหมายถึงโลกและห้วงหาวที่ห่อหุ้มทั้งหมด เหตุการณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การสร้าง เออา หรือจักรวาลของโลก เหล่าไอนัวร์เข้ามายังอาร์ดา และเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ใน ไอนูลินดาเล ระยะเวลาในช่วงนี้นับด้วยวาเลียนศก หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของอาร์ดาแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ที่มีการนับระยะเวลาแตกต่างกัน เรียกชื่อยุคทั้งสามว่า ยุคแห่งชวาลา ยุคแห่งพฤกษา และยุคแห่งตะวัน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกการนับศักราชแยกออกมาอีกเป็น ยุคของบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่ยุคที่หนึ่งเริ่มนับตั้งแต่แรกที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ทะเลสาบคุยวิเอเนนระหว่างยุคแห่งพฤกษา และเรื่อยไปอีกประมาณหกร้อยปีในยุคแห่งตะวัน ยุคของเหล่าบุตรหลังจากนั้นเกิดขึ้นในยุคแห่งตะวันทั้งหมด เรื่องราวต่างๆ ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างสามยุคแรกของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และประวัติศาสตร์อาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบเลริอันด์

แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และเบเลริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอานอร์

ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้สร้างอัญมณี ซิลมาริล อันเป็นแก่นของตำนานเรื่องนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่ชาวเอลดาร์ และเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือช่างเป็นเลิศที่สุดใน.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: อักษรเทงกวาร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tengwarเทงกวาร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »