โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมยิ่ง

ดัชนี หม่อมยิ่ง

หม่อมยิ่ง (พระยศเดิม: พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา; 21 มกราคม พ.ศ. 2395 — 2 กันยายน พ.ศ. 2429) พระราชธิดาองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ ต่อมาพระองค์ได้ถูกลดพระอิสริยยศเป็น หม่อมยิ่ง หลังมีเรื่องอื้อฉาวเนื่องจากทรงตั้งครรภ์กับอดีตพระภิกษุที่เคยเข้ามาเทศนาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังพระองค์ได้จำสนม (คุกฝ่ายใน) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 กันยายน..

27 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ภาษาอังกฤษวัดพระศรีรัตนศาสดารามวิกฤตการณ์วังหน้าสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา หรือสะกดว่า บรรจบเบญจมา (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 — 13 กันยายน พ.ศ. 2435) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแพ (สกุลเดิม: ธรรมสโรช) เหตุที่ได้พระนามว่า "บัญจบเบญจมา" นั้น เนื่องจากเจ้าจอมมารดาแพ พระมารดาได้ถึงอสัญกรรมหลังประสูติการพระองค์ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "วันอังคารขึ้นสามค่ำเดือนสิบสองนางแพมารดายิ่งเยาวลักษณ์ แลภักตรพิมลพรรณ แลเกษมสันต์โสภาคย์ แลมนุษยนาคมานพนั้นคลอดบุตรเป็นหญิงออกแล้วครรภมล (รก) ไม่ออกตั้งแต่เวลาห้าทุ่ม หกบาทไป หมอแก้ไขหลายหมอก็ไม่ออก ครั้นเวลาเจ็ดทุ่มก็ตั้งหอบตาตั้ง ครั้นเวลาสามยามหมอบรัดเลอเมริกาเข้าชักครรภมลออกได้ แต่เมื่อนั้นอาการหนักชีพจรอ่อนเสียแล้วแก้ไม่ฟื้น ครั้นเวลาสามยามสี่บาทก็ขาดใจตาย ได้เอาศพไปฝังไว้วัดสมอราย แต่บุตรนั้นดีอยู่" ด้วยเหตุนี้พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามให้ว่า "บัญจบเบญจมา" ซึ่งแปลว่าสิ้นสุดพระองค์ที่ห้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดาทรงอภิบาลเป็นสิทธิ์ขาด ตั้งแต่วันประสูติ ณ พระตำหนักของท่าน เช่นเดียวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเชษฐา ด้วยมารดาของทั้งสองเป็นญาติกับเจ้าจอมมารดาอึ่ง พระมารดาพระองค์เจ้าบุตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา ทรงพระกรรษะตกพระโลหิต (ไอเป็นเลือด) เรื้อรังมานาน ไม่ทราบพระโรคแน่ชัด แพทย์แผนตะวันตกสันนิษฐานว่าประชวรพระโรคในปอด ส่วนแพทย์แผนไทยว่าเป็นโทษพระเสมหะและพระโลหิตอุลบทำพิษ บ้างก็ว่าเป็นวัณโรคภายในบ้าง หริศโรคบ้าง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ ประสูติวันพุธ เดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช 1216 ตรงกับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลำดับที่ 2 ใน เจ้าจอมมารดาแพ ธรรมสโรช สิ้นพระชนม์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเมีย อัฐศก จุลศักราช 1268 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2449 พระชันษา 52 ปี.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพักตร์พิมลพรรณ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี (18 กันยายน พ.ศ. 2395 — 13 กันยายน พ.ศ. 2449) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ และเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวงพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประสูติกาลพระราชบุตร แต่เมื่อมีพระประสูติกาล พระราชบุตรพระองค์นั้นก็ได้สิ้นพระชนม์ไปอย่างกระทันหันภายในเวลาอันสั้น พระองค์เจ้าทักษิณชาทรงเสียพระทัยยิ่งนักจนสูญเสียพระจริตในเวลาต่อมา และมิสามารถสนองพระเดชพระคุณรับราชการฝ่ายในได้ต่อไป ทรงอยู่ในสภาพผู้ป่วยตลอดชีพตราบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) พระราชธิดาพระองค์ที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับพระองค์แรกในเจ้าจอมมารดาเที่ยง.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2399 พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระเจ้าน้องยาเธอที่มีบทบาทในงานวรรณกรรมในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดรุโณวาท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เผยแพร่แก่ประชาชน และดำเนินการโดยคนไทย เริ่มออกฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2417 ชื่อหนังสือมีความหมายว่า "โอวาทหรือคำสอนของคนหนุ่ม" มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี มีสาระทันสมัย แสดงความสามารถและสติปัญญาของคนหนุ่มรุ่นใหม่ในยุคนั้น พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ รับราชการในโรงพิมพ์และการเสื้อหมวก เป็นพนักงานจารึกอักษรในแผ่นศิลาประดับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2467 สิริพระชันษาได้ 67 ปี.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์วังหน้า

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและวิกฤตการณ์วังหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นหนึ่งในสิบพระเถระผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุต ประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2434 ขณะพระชันษาได้ 82 ปี ดำรงตำแหน่งได้ 10 เดือนก็สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2435 ขณะมีพระชันษา 83 ปี.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี

มเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี มีพระนามเดิมว่า สั้น หรือ มาก (ประสูติ: ราว พ.ศ. 2254 — สิ้นพระชนม์: พ.ศ. 2344) เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาร.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาค เป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม พระชนกชื่อ "ทอง" (พระชนกทอง ณ บางช้าง) พระชนนีชื่อ "สั้น" (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

มเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ทรงเป็นบุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย (บ้างก็ว่า กรมนา) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2228 สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

มเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา เดิมคือ เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สกุลเดิม: สุจริตกุล; ประสูติ: 5 มีนาคม พ.ศ. 2381 - พิราลัย: 13 เมษายน พ.ศ. 2447) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมารดาของพระอัครมเหสีไทยถึงสามพระองค์คือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระอัยยิกา (ยาย) ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เจ้าจอมมารดาเปี่ยม ได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม, เจ้าคุณพระอัยยิกาเปี่ยม และหลังการอสัญกรรมได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้า ทรงพระนามว่า สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา โดยสร้อยพระนาม "ศรีพัชรินทรมาตา" มีความหมายว่า เป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์

มเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พ.ศ. 2277 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า แก้ว พระธิดาลำดับที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครชายาหยก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นพระพี่นางพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีพระโอรส-ธิดา กับ เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน คหบดีชาวจีนที่สืบเชื้อสายมาจากขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง 6 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ

หม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ (26 มกราคม พ.ศ. 2473 - 16 เมษายน พ.ศ. 2556) นักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น และสารคดีเกี่ยวชีวิตเจ้านายในวัง เจ้าของนามปากกา "ศรีฟ้า ลดาวัลย์" "สีฟ้า" และ "จุลลดา ภักดีภูมินทร์" ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและหม่อมหลวงศรีฟ้า มหาวรรณ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีรูปร่างยาวในแนวเหนือ-ใต้ และแคบในแนวตะวันออก-ตะวันตก โดยมีส่วนที่แคบที่สุดของประเทศไทย ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอยู่ที่เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด คือ เทศบาลเมืองหัวหิน.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)

้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี) ต้นสกุลธรรมสโรช นามเดิมว่า ทองดี เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยชั้นเดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาพิพัฒโกษาและได้รับประราชทานโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาธรรมากร เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังคนที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ (ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวัง มีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกร ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นกระทรวงวังแล้ว เสนาบดีกระทรวงวัง จึงมีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิดี (หนังสือประวัติสำนักพระราชวัง พิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพระราชวัง กรกฎาคม ๒๕๔๓) ซึ่งปัจจุบันหลายคนสับสนเกี่ยวชื่อบรรศักดิ์นี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี ธรรมสโรช) ผู้นี้ปรากฏตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษสืบๆกันมาว่า เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา ที่เรียกกันว่า เจ้าคุณประตูจีน ครั้งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาอภัยราชาผู้นี้ตามความในราชพงศาวดาร เดิมเป็นเจ้าพระยาสุภาวดี บ้านอยู่ประตูจีน แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ตำแหน่งสมุห พระกลาโหม ในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที๓ พระเจ้าบรมโกฎฐ์ (จ.ศ.๑๑๑๗) พร้อมกันกับพระยาธรรมไตรโลก บ้านคลองแกลบ ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนาธิบดีศรีสมุห พระกลาโหม (เจ้าพระยากลาโหม คลองแกลบ) เจ้าพระยาอภัยราชา (เจ้าคุณประตูจีน) มีบุตรชายคนโตคือพระสำราญองค์(ต้นสกุลสโรบล) เป็นข้าราชการในสมัยรัชกาลที่๑ พระสำราญองค์มี่บุตรคือพระยาศรีสุริยะพาหะ(สระ) ข้าราชการในรัชกาลที่๒ พระยาศรีพาหะ มีบุตรคือพระยามณเฆียรบาล(บัว) เป็นพระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านผู้นี้เป็นคุณตาของคุณจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ผู้เป็นคุณจอมมารดาของพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส นามสกุล ธรรมสโรช นี้ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ พระราชทานแก่ นายพลตรีพระวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมโรช) แต่ครั้งยังเป็นนายพันตรี หลวงศักดาพลรักษ์ ผู้รั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลาง ว่า “ธรรมสโรช” (Dharmasaroja) ซึ่งท่านผู้นี้เป็นบุตรของหลวงเทวะวงศวโรปการ(เสน)อันเป็นบุตรของจมื่นสรสิทธิราช(จุ้ย)กับท่านไม้จีนบุตรของท่านคล้าย(ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒) ทางมารดาของพระยาวิบุลอายุรเวทคือท่านศิลาเป็นบุตรีของท่านทันและเป็นหลานตา ของพระยาอุทัยธรรม (นุด) ผู้เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมารหรือพระนเรนทรราชา(ต้นสกุลรุ่งไพโรจน์) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่๑๘ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเป็นพระราชโอรสองค์ที่๓ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม)ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๙ เป็นลำดับที่๑๔๙๗ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗) ในเวลาก่อนหน้าที่พระยาวิบุลอายุรเวทจะได้รับนามสกุลพระราชทานก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่๖ ว่าสกุล “รัตนทัศนีย” (Ratnadasniya) คือพระยามหิมานุภาพ (เป๋า รัตนทัศนีย์) กรมพระตำรวจในซ้าย บิดาคือพระยาณรงค์วิไชย (ทัศ) ผู้เป็นต้นสกุลรัตนทัศนีย ปู่คือพระยาเพชรพิไชย (เอี่ยม ธรรมสโรช) ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านคล้ายและพระยาราชงคราม (อินทร์)และท่านพลับ(หญิง) (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๑ เป็นลำดัที่๗๓๕ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๕๖) ในเวลาใกล้เคียงกันกับที่พระยาวิบุลอายุรเวทได้รับพระราชทานนามสกุล ก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่๖ ว่าสกุล “อินทรวิมล” (Indravimala) คือ นายร้อยโท นายศุขแพทย์ ผู้บังคับหมวดพยาบาล โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม บิดาชื่อนายเผื่อน ปู่คือพระยาราชสงคราม(อินทร์) ผู้เป็นต้นตระกูล อินทรวิมล ซึ่งแยกออกไปจากสกุลธรรมสโรช (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๙ เป็นลำดัที่ ๑๕๓๘ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๕๗) มหาสาขาที่๒ พระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) ภรรยาคือท่านท้าวทรงกันดาลสี คือ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4

้าจอมมารดาจันทร์ในรัชกาลที่ 4 เป็นบุตรีคนรองสุดท้องของพระยาพิพิธสมบัติ (ทองสุก) ผู้สำเร็จราชการเมืองตราด มีมารดาเป็นชาวจังหวัดตราด คุณตาชื่อ “หยง” เป็นจีนฮกเกี้ยนที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายที่เมืองตราด คุณยายชื่อ “อิ่ม” เป็นคนพื้นเพเมืองตราด เมื่อพระยาพิพิธสมบัติถึงแก่อนิจกรรมในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บุตรชายคนหนึ่งของพระยาพิพิธสมบัติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองตราดสืบต่อจากบิดา ท่านเจ้าเมืองคนใหม่นี้ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาพิพิธฤทธิเดชวิเศษสิงหนาถ” และพระยาพิพิธฤทธิเดชวิเศษสิงหนาถนี้เองที่เป็นผู้ชักชวนให้เจ้าจอมมารดาจันทร์ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัยรุ่นสาวมีรูปโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเมืองตราด ให้เข้ามารับราชการสนองพระเดชพระคุณในพระบรมมหาราชวัง จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณชุบเลี้ยงให้เป็นพระสนมเอก พระราชทานเครื่องยศพานทองคำ เครื่องใช้สอยทองคำ หีบทองลงยาราชาวดี กับได้เบี้ยหวัดเงินปี ปีละ 10 ชั่ง เจ้าจอมมารดาจันทร์ได้รับราชการสนองคุณพระกรุณา ฯ ถวายพระประสูติกาลพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสิ้น 4 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและเจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4

้าจอมมารดาแพ ธรรมสโรช ธิดาพระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) และท้าวทรงกันดาร (สี) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมกัน 5 พระองค์คือ.

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

้าจอมมารดาเที่ยง ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2374 - พ.ศ. 2456) เป็นเจ้าจอมมารดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เจ้าจอมมารดาเที่ยง เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

รื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ มีอักษรย่อว่า ม..ก. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๑๑, ตอน ๑๔, ๓๐ มิถุนายน..

ใหม่!!: หม่อมยิ่งและเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »