โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมน้อย

ดัชนี หม่อมน้อย

หม่อมน้อย อาจหมายถึง.

8 ความสัมพันธ์: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุลหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยาหม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยาเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด ตรงกับวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2359 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม แล้วต่อมาทรงเลื่อนเป็นกรมขุนราชสีหวิกรม โปรดเกล้าฯให้ทรงกำกับกรมช่างศิลาในกรมช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. 2411 พระชันษา 53 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ทรงเป็นต้นราชสกุล ชุมสาย ทรงมีหม่อม 1 ท่านคือหม่อมน้อย อดีตหม่อมในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่ หลวงสฤษดิ์สุทธิวิจารณ (หม่อมราชวงศ์ผัด) ผู้ขอเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 เป็นสกุลอันดับที่ 365 ตามประกาศวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2456.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย

นายพันเอก มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไชยันตมงคล เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 77 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลูสัปตศก..

ใหม่!!: หม่อมน้อยและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์

มเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 - 29 เมษายน พ.ศ. 2382) ต้นราชสกุลศิริวงศ์ เป็นพระชนกของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ เดิมมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 6 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ธิดาพระอักษรสมบัติ (ทับ) กับผ่อง ณ พัทลุง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: หม่อมน้อยและสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

มหาอำมาตย์นายก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม ในรัชกาลที่ 4) ร่วมพระชนนีเดียวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี โดยเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 42 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระอง.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล

หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล หรือที่นิยมเรียกกันว่า หม่อมน้อย (แท้จริงแล้วต้องเรียกว่า คุณน้อย) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์ และละครเวทีที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยสืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ) ผู้เป็นท่านปู่ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพมีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ผลงานกำกับภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540) ชีวิตส่วนตัว ยังเป็น.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา

หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา บุตรีของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) นางห้ามสามัญในกรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ และต่อมาได้เป็นนางห้ามในกรมขุนราชสีหวิกรม.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา

หม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา หรือ พระชนนีน้อย เป็นหม่อมในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ และเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี หม่อมน้อยท่านนี้เป็นหม่อมคนละท่านกับหม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา บุตรีของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) กับท่านผู้หญิงอิน ที่เป็นอดีตหม่อมในกรมหมื่นมาตยพิทักษ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นหม่อมในกรมขุนสีหวิกรม.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและหม่อมน้อย ศิริวงศ์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต

มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (120px) (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ครองราชย์ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2465) ตลอดรัชสมัย เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตดำรงความมั่นคงสุจริตและความจงรักภักดีต่อพระบรมราชวงศ์จักรี พระองค์ได้ทรงพัฒนานครลำปางและเมืองบริวารในด้านต่าง ๆ ให้ทันกับการพัฒนาในส่วนกลาง ได้ทรงประทานที่ดินและทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการก่อสร้างสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อความผาสุกแก่ประชาชนลำปางอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: หม่อมน้อยและเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »