โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา

ดัชนี หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา

หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา หรือ หม่อมครูนุ่ม (สกุลเดิม: อภัยกุล; ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2477) เป็นหม่อมในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ เป็นนางละครในเจ้าคุณจอมมารดาเอม หม่อมครูนุ่มเป็นผู้วางรากฐาน และเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารำละครตัวนาง ทั้งหมดของคณะละครวังสวนกุหล.

6 ความสัมพันธ์: พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญวังสวนกุหลาบศิลปินแห่งชาติเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์

ระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ (21 มกราคม พ.ศ. 2426 — 8 เมษายน พ.ศ. 2453) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่ประสูติแต่จอมมารดาสอาด ธิดาพระยาทิพมณเฑียร พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 9 ค่ำ ปีมะแม เบญจศก..

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์

ระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ (พ.ศ. 2384 - พ.ศ. 2449) พระราชโอรสพระองค์ที่ 12 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกต ขณะประสูติ พระราชบิดายังไม่ได้ทรงบวรราชาภิเษก ในราชสำนักนิยมออกพระนามว่า พระองค์โตใหญ่ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ มีพระนามว่า พระองค์เจ้าวรรัตน์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิในรัชกาลที่ 5 เมื่อ.ศ 2424 ทรงเป็นต้นสกุล วรรัตน.

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรัตน์ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (6 กันยายน พ.ศ. 2381 — 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์สุดท้ายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร.

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ · ดูเพิ่มเติม »

วังสวนกุหลาบ

ระตำหนักวังสวนกุหลาบ วังสวนกุหลาบ เป็นวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่มุมถนนราชสีมากับถนนศรีอยุธยา โดยทางด้านทิศเหนือติดกับถนนอู่ทองนอก และทิศตะวันออกติดกับสวนอัมพร ซึ่งอาณาเขตดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังดุสิต ตามเดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะสร้างวังสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ที่วังริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ปากคลอง(ตลาด) คูเมืองเดิม ครั้งเสด็จฯกลับมาจากทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะให้ทรงศึกษาราชการอยู่ใกล้พระองค์ จึงได้โปรดเกล้าฯให้สร้างตำหนักชั่วคราวที่สวนดุสิต ตรงริมถนนใบพร พระราชทานนามว่า "สวนกุหลาบ" สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา จึงเสด็จประทับอยู่ตลอดรัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ขยายเขตที่วังสวนกุหลาบออกไปให้กว้างขวางกว่าเก่า สร้างพระตำหนักและท้องพระโรงพระราชทานเป็นอาคารถาวร สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมหลวงนครราชสีมาได้ประทับอยู่จนเสด็จทิวงคตในปีพุทธศักราช 2467 วังสวนกุหลาบสร้างตามแบบสถาปัตยากรรมของยุโรป ตัวอาคารมี 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน ทาสีเหลืองอ่อน หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ภายในตกแต่งอย่างงดงาม ที่วังนี้เคยเป็นที่ทำการของรัฐบาล ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่สวนรื่นฤดี ในปีพุทธศักราช 2507 ต่อมากองออมทรัพย์ กองแผนและโครงการของกรมสวัสดิการทหารบกได้ย้ายจากสวนพุดตานมาทำการอยู่ที่วังนี้แทน จนกระทั่งในวันที่ 9 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 กรมสวัสดิการทหารบก ได้ทำหนังสือถวายคืนวังสวนกุหลาบให้กลับมาอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักพระราชวัง โดยมีพิธีส่งมอบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ มาจัดแสดงไว้ที่พระตำหนักวังสวนกุหลาบตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 นอกจากนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ยังใช้เป็นที่ทรงงาน และโปรดให้คณะบุคคลมาเข้าเฝ้าที่วังสวนกุหลาบอยู่เสมอ.

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและวังสวนกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปินแห่งชาติ

ลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

้าคุณจอมมารดาเอม เป็นพระชายาองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศที่เจ้าฟ้าจุฑามณี หรือที่บุคคลทั่วไปเรียกขานพระนามว่าเจ้าฟ้าน้อย ตามประวัติที่เล่าสืบกันมา ครั้งที่เจ้าฟ้าน้อยเสด็จผนวชตามพระราชประเพณีและจำพรรษาอยู่วัดระฆัง โปรดที่จะพายเรือออกบิณฑบาตโดยเรือพระทีนั่งลำเล็ก เข้าคลองบางกอกน้อย ซึ่งมีบ้านขุนนางคหบดีท่านหนึ่งตั้งโต๊ะใส่บาตรพระอยู่หน้าท่าน้ำเป็นประจำ และปรากฏบุตรีของท่านเจ้าของบ้านเป็นผู้ลงมาตักบาตรเองเสมอๆ วันหนึ่งขณะที่นางกำลังตักข้าวใส่บาตรพระภิกษุหนุ่มรูปงาม ท่าทางดูจะมิใช่สามัญชนทั่วไป พระภิกษุองค์นั้นก็ปิดฝาบาตรงับมือนางโดยเจตนา นางตกใจปล่อยมือจับทัพพีจนตกน้ำ แล้วรีบวิ่งหนีขึ้นเรือนไป ส่วนพระภิกษุหนุ่มดูจะพึงใจมาก บ่ายวันนั้นได้มีขบวนเชิญเครื่องทำขวัญและทัพพีอันใหม่มายังบ้านนั้น เจ้าสัวบุญมีเจ้าของบ้านเห็นวัสดุและลวดลายของทัพพีก็ทราบได้ทันทีว่าเจ้าของทัพพีเป็นใคร จึงเฝ้าถนอมรักษาบุตรีของตนไว้อย่างดีและมิให้ลงไปใส่บาตรพระอีก ครั้นพระภิกษุเจ้าฟ้าจุฑามณีลาผนวชแล้ว ทรงสู่ขอบุตรีของเจ้าสัวบุญมีนั้นเป็นพระชายา ชื่อแต่แรกว่าเจ้าจอมเอมและได้เป็นเจ้าจอมมารดาเอมตามลำดับ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (เจ้าฟ้าจุฑามณี) พระอนุชาร่วมพระราชชนนีให้ดำรงพระอิสสริยยศเสมอกษัตริย์ เฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเจียมพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ระมัดระวังที่จะไม่ตีพระองค์เสมอพระเชษฐา โดยเฉพาะมิได้ทรงสถาปนาเจ้าจอมคนใดขึ้นเป็นเจ้า เพื่อเลี่ยงมิให้พระราชโอรสและธิดาจะมีพระฐานันดรศักดิ์เกินชั้นพระองค์เจ้า ดังนั้นเจ้าจอมมารดาเอมจึงเพียงได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลต่อมา เมื่อพระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ อุปราชวังหน้า โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามอย่างเป็นทางการว่า เจ้าคุณพระชนนี คนทั่วไปยังคงเรียกว่าเจ้าคุณจอมมารดาเอม.

ใหม่!!: หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยาและเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »