โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สโมกกีแบร์

ดัชนี สโมกกีแบร์

ปสเตอร์ในปี 1944 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนช่วยป้องกันไฟป่าโดยดับกองไฟทันทีที่พบ สโมกกีแบร์ (Smokey Bear) เป็นมาสคอตของกรมป่าไม้แห่งสหรัฐอเมริกา (United States Forest Service) ออกแบบขึ้นในปี..

15 ความสัมพันธ์: บัลลูนการประชาสัมพันธ์ยีนส์รัฐนิวเม็กซิโกวอชิงตัน ดี.ซี.สงครามโลกครั้งที่สองหมวกหมีดำตัวนำโชคประเทศญี่ปุ่นนักผจญเพลิงนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)ไฟป่าเรือดำน้ำเครื่องบินทะเล

บัลลูน

แบบจำลองของบัลลูนของพี่น้องมงกอลฟีเย จากพิพิธภัณฑ์ในกรุงลอนดอน บัลลูน (สืบค้นออนไลน์) หรือ บอลลูน (balloon) เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางทางอากาศ ด้วยหลักการของแรงลอยตัว (Buoyancy) และเคลื่อนที่ด้วยลม มีหลักฐานการสร้างในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ต่อมาในทวีปยุโรปมีการทดลองสร้างเป็นพาหนะสำหรับใช้เดินทางทางอากาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1709 ที่กรุงลิสบอน ประเทศสเปน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1783 พี่น้องมงกอลฟีเย ชาวฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จในการใช้บัลลูนขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนด้วยอากาศร้อน เดินทางที่ความสูง 500 ฟุตในอากาศ เป็นระยะทาง 5 1/2 ไมล์ ใช้เวลา 25 นาที ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกที่ ปารีส และนับเป็นก้าวแรกของการเดินทางด้วยบัลลูนอย่างแท้จริง.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และบัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

การประชาสัมพันธ์

การประชาสัมพันธ์ (Public relations หรือ PR) คือการทำงานในการจัดการการสื่อสารระหว่างองค์กรและสาธารณะ การประชาสัมพันธ์นั้นช่วยทำให้องค์กรหรือบุคคล ได้แสดงสู่ผู้ชม ผู้อ่าน โดยใช้เรื่องที่เป็นที่สนใจของสาธารณะและใช้เป็นการรายงานข่าวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายโดยตรง.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และการประชาสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีนส์

ีนส์ ยีนส์ คือกางเกงที่ทำจากผ้าฝ้ายหยาบ แต่เพื่อความหลากหลายมักใช้ผ้าที่มีริ้ว เดิมทีผลิตเพื่อการทำงาน (คนงานในเหมือง) แต่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นเริ่มจากทศวรรษที่ 50 มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง ลีวายส์ แรงเลอร์ เป็นต้น ทุกวันนี้ยีนส์ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับความนิยมทั่วทุกมุมโลก มีหลากหลายรูปแบบและสีสัน.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และยีนส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนิวเม็กซิโก

รัฐนิวเม็กซิโก (New Mexico,; Nuevo México) เป็นรัฐทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงของรัฐคือ ซานตาเฟ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ อัลบูเคอร์คี ถึงแม้ว่าในสหรัฐอเมริกา ภาษาอังกฤษนิยมใช้กันมากที่สุด แต่ในรัฐนิวเม็กซิโกเป็นรัฐที่มีการใช้ภาษาสเปนมากที่สุดรัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โดยประชากรในรัฐประกอบด้วย ชาวอเมริกา ชาวสเปน และชาวเม็กซิโก ในปี 2550 นิวเม็กซิโกมีประชากร 1,969,915 คน.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และรัฐนิวเม็กซิโก · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

หมวก

หมวก หมวก เป็นสิ่งที่ใส่สวมใส่บนศีรษะเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่นใส่เพื่อป้องกันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น แสงแดด ฝน เพื่อเฉลิมฉลองหรือเหตุจำเป็นเกี่ยวกับศาสนา เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อประดับเป็นแฟชัน ในอดีต หมวกใช้บ่งบอกสถานะทางสังคม ในทางการทหาร ใช้หมวกเพื่อแสดงถึงชาติ ตำแหน่ง และ/หรือ ยศของทหารนายนั้น.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และหมวก · ดูเพิ่มเติม »

หมีดำ

หมีดำ (American Black Bear) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีถิ่นที่อยู่ในป่าทางตอนเหนือของอเมริกา พบได้ทั่วไปในป่าร้อนชื้น.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และหมีดำ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวนำโชค

ตัวนำโชค หรือ การ์ตูนสัญลักษณ์ หรือ แมสคอต หรือ มาสคอต (mascot) คือสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของบางอย่าง (โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นสัตว์หรือตัวละครที่เป็นมนุษย์) ที่ถูกใช้นำมานำเสนอหรือเป็นตัวแทนสู่สาธารณชน ส่วนใหญ่แล้วมักจะถูกใช้โดยโรงเรียน มหาวิทยาลัย (ในประเทศไทย บริษัทธุรกิจต่าง ๆ ได้มีการใช้แมสคอทเช่นกัน) ตัวนำโชคยังถูกเรียกแทนชื่อโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เลยก็ได้เช่นกัน (ตัวอย่าง ช้าง สามารถใช้เรียกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น) ในวงการกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) ได้มีการจัดทำตัวนำโชคแตกต่างกันไปในแต่ละปีเพื่อสื่อถึงที่มาและความสำคัญของประเทศเจ้าภาพ เช่น เอเชียนเกมส์ 2010 ณ เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ได้จัดทำตัวนำโชคเป็นแพะ 5 ตัว ซึ่งหมายถึง "สันติภาพ, สามัคคี และความสุข ในทุก ๆ อย่างที่คุณปรารถนา".

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และตัวนำโชค · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นักผจญเพลิง

นักผจญเพลิง หรือ พนักงานดับเพลิง คือ คนกู้ภัยที่ได้ฝึกฝนด้านการผจญเพลิงมาอย่างแตกฉาน เพื่อระงับอัคคีภัยที่คุกคามชีวิต ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:นักผจญเพลิง หมวดหมู่:อาชีพให้บริการการคุ้มครอง.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และนักผจญเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ไฟป่า

thumb ไฟป่า (wildfire, brush fire, bushfire, forest fire, desert fire, grass fire, hill fire, peat fire, vegetation fire, veldfire หรือ wildland fire) คือ เพลิงที่ไหม้อย่างเป็นอิสระในชนบทประเทศหรือถิ่นทุรกันดาร (wilderness area)Federal Fire and Aviation Operations Action Plan, 4.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และไฟป่า · ดูเพิ่มเติม »

เรือดำน้ำ

รือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่นของกองทัพเรือรัสเซีย เรือดำน้ำขนาดเล็ก เรือดำน้ำ เป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้ สร้างจากเหล็กแต่มีความสามารถในการเคลื่อนที่ภายใต้น้ำ เรือดำน้ำ ถูกนำมาใช้ในการสงครามและการค้นคว้าสำรวจใต้ทะเลลึกในบริเวณที่มนุษย์เราไม่สามารถดำลงไปได้ด้วยการสวมเพียงชุดดำน้ำ ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษเหนือกว่ายานพาหนะชนิดอื่นคือ มันสามารถที่จะอยู่ได้ทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ นับตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และเรือดำน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบินทะเล

กรัมแมน จี-111 อัลบาทรอสส์ เรือบินสะเทินน้ำสะเทินบกของสายการบินชาล์กส์นำเครื่องลงที่อ่าวไมอามีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1987 เครื่องบินทะเล หรือ เครื่องบินน้ำ (sea plane) เป็นอากาศยานปีกตรึงที่สามารถนำเครื่องขึ้นและลงบนน้ำได้ เครื่องบินทะเลที่สามารถนำเครื่องขึ้นและลงในสนามบินได้ถือเป็นชนิดย่อยของเครื่องบินทะเลเรียกว่าอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบก (amphibian aircraft) เครื่องบินทะเลและอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกยังแบ่งได้อีก 2 ชนิดตามลักษณะบนพื้นฐานของเทคโนโลยีคือ เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ (floatplane) และ เรือบิน (flying boat) บางครั้งเครื่องบินทะเลก็เรียกว่า hydroplane.

ใหม่!!: สโมกกีแบร์และเครื่องบินทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »