โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สุวรรณหงส์

ดัชนี สุวรรณหงส์

หมวดหมู่:วรรณคดีไท.

16 ความสัมพันธ์: พิกุลทองมณีพิชัยมโนราห์ละครสังข์ศิลป์ชัยสังข์ทองสุวรรณหงส์อาณาจักรอยุธยาอิเหนาอุณรุทร้อยเรื่องแก้วหน้าม้าโคบุตรไชยทัตไชยเชษฐ์ไกรทองเสือโคคำฉันท์

พิกุลทอง

รื่องนางพิกุลทอง นี้เป็น ละครนอก หนึ่งใน 14 เรื่อง ที่นิยมนำมาเล่นกันมากเรื่องหนึ่งตั้งแต่ครั้ง สมัยอยุธยา ปัจจุบันยังพบว่ามีต้นฉบับหนังสือตัวเขียนที่เหลือรอดจากการถูกพม่าทำลายคราวเสียกรุง เก็บรักษาไว้อยู่ที่ หอสมุดแห่งชาติ เป็นสมุดข่อยสีขาว ตัวหมึกดำ ลายมือกึ่งบรรจงแกมหวัด ตัวอักษรไม่สม่ำเสมอและมีบันทึกว่า หมู่กลอนบทละคร ชื่อ พิกุลทอง เล่ม 1 (สำนวนเก่า) เลขที่ 20 ตู้ที่ 114 ชั้น 2/1 มัด 39 ประวัติ สมบัติเดิมของหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งมีเนื้อความเริ่มตั้งแต่นางพิกุลทองสรงน้ำ จนจบตอนท้ายคือปราบนางยักษ์กาขาวและยังไม่ได้รับตรวจสอบชำระฉบับที่เหลืออื่นๆ หรือตีพิมพ์จากกรมศิลปากร ส่วนเรื่องนางพิกุลทองต่อจากสำนวนเดิมที่เป็นการผจญภัยยืดยาวถึงรุ่นลูกนั้น มาจากกลอนอ่านสำนวนของ นายบุศย์ รจนา จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์วัดเกาะราวปี พ.ศ. 2433 ตรงกับสมัย รัชกาลที่ 5 ซึ่งนายบุศย์ผู้นี้ได้นำนิทานไทยครั้งกรุงเก่ามาแต่งสำนวนใหม่เป็น "กลอนอ่าน" หรือ กลอนสวด อยู่หลายเรื่อง เช่น แก้วหน้าม้า, จันทโครพ, สุวรรณหงส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อสังเกตตามเนื้อเรื่อง สำนวนกลอนค่อนข้างจะรวบรัดและไม่สละสลวยเท่าใดนัก เพราะผู้แต่งคงมีจุดประสงค์เพียงไว้สำหรับเล่นละครเท่านั้น แม้การบอกเพลงหน้าพาทย์ก็ไม่ชัดเจนแน่นอน มีตอนที่กล่าวถึง พระสังข์ศิลป์ชัยและนางศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นตัวละครจากบทละครนอกเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย พร้อมทั้งมีของวิเศษที่เหมือนกันทุกประการ อันได้แก่ สังข์ ศร และพระขรรค์ จึงสันนิษฐานว่า ผู้แต่งคงมีจุดประสงค์ดำเนินเรื่องให้เป็นภาคต่อจากเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย เพราะเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย ก็ไม่ได้กล่าวถึงการผจญภัยในรุ่นลูกไว้เล.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และพิกุลทอง · ดูเพิ่มเติม »

มณีพิชัย

มณีพิชัย เป็นที่รู้จักกันในชื่อเรื่องว่า "ยอพระกลิ่น" เข้าใจกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า รัชกาลที่ ๒ โดยทรงพระราชนิพนธ์เป็นกลอนสำหรับใช้เป็นบทละครนอก ซึ่งความจริงร.๒ แต่เฉพาะตอนที่ยอพระกลิ่น ปลอมตัวเป็นพราหมณ์มาขอพระมณีพิไชยไปเป็นทาส ส่วนเนื้อเรื่องตามต้นเรื่องและบทท้ายนั้น จากหนังสือ "รวมพระราชนิพนธ์บทละครนอก ๖ เรื่อง" ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นผู้แต่ง ซึ่งทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดย บริษัท สามเศียร จำกัด และ บริษัท ดาราวิดีโอ จำกัดเคยนำมาสร้างเป็นละครพื้นบ้านแนวจักรๆวงศ์ๆในชื่อ ยอพระกลิ่น โดยผู้รับบท มณีพิชัย คือ ชาตรี พิณโณ และผู้รับบทยอพระกลิ่นคือ กบ สุวนันท์ ปุณณกันต์ โดยละครเรื่องนี้ออกอากาศเมื่อ ปี 2535 บทโทรทัศน์ โดย ภาวิต ต่อมาเมื่อปี 2546 สามเศียร ได้นำมาทำใหม่อีกครั้ง โดยนำแสดงโดย รติพงษ์ ภู่มาลี และ ฐานมาศ ขวัญหวาน บทโทรทัศน์โดย พิกุลแก้ว ต่อมาเมื่อปี 2557 นำกลับสร้างอีกครั้งของ สามเศียร นำแสดงโดย ภัทชา งามพิสุทธิ์ รับบท ยอพระกลิ่น นพรัตน์ ประเสริฐสุข รับบท มณีพิชัย บทโทรทัศน์ โดย เกล้าเกศ หมวดหมู่:วรรณคดีไทย.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และมณีพิชัย · ดูเพิ่มเติม »

มโนราห์

มโนราห์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และมโนราห์ · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และละคร · ดูเพิ่มเติม »

สังข์ศิลป์ชัย

ประติมากรรมรูปสังข์ศิลป์ชัย บนเสาไฟฟ้าริมถนนในเทศบาลนครขอนแก่น สังศิลป์ชัย หรือ สังข์ศิลป์ไชย เป็นวรรณคดีชิ้นเอกเรื่องหนึ่งในไทยและลาว (ล้านช้างหรือลาวในปัจจุบันเรียก สินไซ) ประพันธ์ขึ้นโดยเจ้าปางคำแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู ในราว พ.ศ. 2192 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ แม้ว่าในบทที่แสดงความโกรธแค้นก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย และผู้รจนาหนังสือเล่นนี้ยังเป็นปราชญ์ที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแตกฉานในภาษาบาลี มีความรู้ภาษาสันสกฤตและราชประเพณีเป็นอย่างดี.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และสังข์ศิลป์ชัย · ดูเพิ่มเติม »

สังข์ทอง

สังข์ทอง เดิมทีนั้นเป็นบทเล่นอุทัยเทวี (2560) หมวดหมู่:วรรณคดีไทย หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 หมวดหมู่:บทละคร หมวดหมู่:ละครโทรทัศน์ไทยที่ออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 หมวดหมู่:รายการโทรทัศน์ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2561 โครงวรรณกรรม.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และสังข์ทอง · ดูเพิ่มเติม »

สุวรรณหงส์

หมวดหมู่:วรรณคดีไท.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และสุวรรณหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อิเหนา

ละครของกรมศิลปากร เรื่อง “อิเหนา” ตอนส่งดอกลำเจียกให้นางค่อม แสดงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2483 อิเหนาเป็น วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย เป็นที่รู้จักกันมานาน เข้าใจว่าน่าจะเป็นช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้ผ่านมาจากหญิงเชลยปัตตานี ที่เป็นข้าหลวงรับใช้พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ พ.ศ. 2275 – 2301) โดยเล่าถวายเจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดา จากนั้นพระราชธิดาทั้งสองได้ทรงแต่งเรื่องขึ้นมาองค์ละเรื่อง เรียกว่าอิเหนาเล็ก (อิเหนา) และอิเหนาใหญ่ (ดาหลัง) ประวัติดังกล่าวมีบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์อิเหนา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดังนี้ นอกจากนี้ ยังมีบรรยายไว้ในปุณโณวาทคำฉันท์ ของพระมหานาค วัดท่าทราย ระบุถึงการนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเช่นกัน โดยเล่าว่ามีงานมหรสพที่เล่นเรื่องอิเหนา ดังนี้ เนื้อเรื่องตรงกับอิเหนาเล็ก ที่ว่าถึงตอนลักบุษบาไปไว้ในถ้ำ ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องอิเหนาใหญ่ เรื่องอิเหนา หรือที่เรียกกันว่านิทานปันหยีนั้น เป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา และมีด้วยกันหลายสำนวน พงศาวดารเรียกอิเหนาว่า “ ปันจี อินู กรัตปาตี” (Panji Inu Kartapati) แต่ในหมู่ชาวชวามักเรียกกันสั้นๆ ว่า “ปันหยี” (Panji) ส่วนเรื่องอิเหนาที่เป็นนิทานนั้น น่าจะแต่งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 หรือในยุคเสื่อมของราชวงศ์อิเหนาแห่งอาณาจักรมัชปาหิต และอิสลามเริ่มเข้ามาครอบครอง นิทานปันหยีของชวานั้น มีด้วยกันหลายฉบับ แต่ฉบับที่ตรงกับอิเหนาของเรานั้น คือ ฉบับมาลัต ใช้ภาษากวีของชวาโบราณ มาจากเกาะบาหลี.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และอิเหนา · ดูเพิ่มเติม »

อุณรุทร้อยเรื่อง

อุณรุทร้อยเรื่อง เป็นวรรณคดีขนาดสั้น แต่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์โดย คุณสุวรรณ เป็นวรรณคดีนิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่นำตัวละคร และเรื่องราวจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ มาประมวลไว้ด้วยกันมากกว่าร้อยชื่อ.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และอุณรุทร้อยเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

แก้วหน้าม้า

แก้วหน้าม้า เป็นวรรณคดีไทย พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ประพันธ์ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 นอกจากพระนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว ยังทรงมีผลงานพระนิพนธ์อื่น ๆ เช่น บทละครนอกเรื่องยอพระกลิ่น โคลงนิราศฉะเชิงเทรา บทละครนอกโม่งป่า และเพลงยาวสังวาสอีกหลายสำนวน.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และแก้วหน้าม้า · ดูเพิ่มเติม »

โคบุตร

โคบุตร เป็นนิทานกลอนเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องราวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้ หมวดหมู่:นิทาน หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:กวีนิพนธ์ของสุนทรภู่.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และโคบุตร · ดูเพิ่มเติม »

ไชยทัต

ทัต เป็นวรรณคดีนิทานเรื่องหนึ่งในจำนวน ๑๔ เรื่องที่เป็นที่นิยมกันมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมากมักจะนำมาเล่นเป็นละครนอก, ละครหุ่นหลวง หรือแม้กระทั่งนำมาเป็นกลอนสวด เพื่อสวดอ่านตามวัดต่างๆ ของภาคกลางในสมัยก่อน รวมทั้งยังนำมาเป็นการแสดงในงานมหรสพสมโภชต่าง ๆ เช่น งานสมโภชพระพุทธบาท ดังมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยา เรื่องปุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาค วัดท่าทราย ที่ได้พรรณนาถึงการแสดงละครหุ่นหลวงไว้ดังนี้ ตอนที่นิยมนำมาเล่นกันมากในการแสดงละครนอกและละครหุ่นหลวงคือ ตอนไชยทัตต้องคุณ นอกจากนี้ เรื่องไชยทัตก็ยังได้รับความนิยมมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และไชยทัต · ดูเพิ่มเติม »

ไชยเชษฐ์

250px ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ให้ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และทรงให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และไชยเชษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกรทอง

การต่อสู้ระหว่างไกรทอง กับชาละวันในร่างมนุษย์ ที่วัดอัมพวันเจติยาราม ไกรทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางของไทย ที่มีตัวเอกชื่อ ไกรทอง เล่าไว้หลายสำนวนด้วยกัน ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครสำหรับละครนอก และได้รับความนิยม ยกย่องเป็นฉบับมาตรฐานฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักเกี่ยวกับคนและจระเข้.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และไกรทอง · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคคำฉันท์

ือโคคำฉันท์ เป็นวรรณคดีไทย ประเภทฉันท์เรื่องแรก และเป็นแบบฉบับของการแต่งฉันท์ในสมัยต่อมา ซึ่งพระมหาราชครู ภิกษุชาวเชียงใหม่ เป็นผู้แต่ง มีเค้าเรื่องอยู่ในปัญญาสชาดก.

ใหม่!!: สุวรรณหงส์และเสือโคคำฉันท์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »