โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตยพรต ศาสตรี

ดัชนี สัตยพรต ศาสตรี

. สัตยพรต ศาสตรี กำลังถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ศาสตราจารย์ ดร.สัตยพรต ศาสตรี (Satya Vrat Shastri) (29 กันยายน พ.ศ. 2473 ประเทศอินเดีย) นักวิชาการภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศอินเดีย และต่างประเทศ รวมทั้งในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ยังได้รับเชิญไปสอนและบรรยายด้านภาษาสันสกฤตในมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วโลก.

7 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2473ภาษาสันสกฤตมหาวิทยาลัยศิลปากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคตินิยมนักวิชาการประเทศอินเดีย29 กันยายน

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากร (Silpakorn University; ชื่อย่อ: มศก. – SU) เป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกในประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์ ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากร" ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนเป็น "โรงเรียนศิลปากร" และเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม..

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและมหาวิทยาลัยศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมนักวิชาการ

ตินิยมนักวิชาการ (technocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งวิทยาศาสตร์จะมีอยู่ในการควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและนักเทคโนโลยีผู้มีความรู้ ความชำนาญหรือทักษะจะก่อตัวเป็นองค์การปกครอง แทนนักการเมือง นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ ในคตินิยมนักวิชาการ ผู้ตัดสินใจจะถูกเลือกโดยดูจากความรู้และทักษะที่พวกเขามีในสาขาของตน คำว่า "คตินิยมนักวิชาการ" นี้ เดิมทีใช้เรียกการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งต่างไปจากการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือปรัชญาแบบเก่า ตามผู้เสนอมโนทัศน์นี้ บทบาทของเงินและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความเห็นทางการเมืองและกลไลการควบคุมซึ่งยึดมั่นในศีลธรรมจะถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด หากเมื่อรูปแบบการควบคุมทางสังคมนี้ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่แห่งทวีป ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ บุคลากรซึ่งถูกฝึกทางเทคนิค และสินค้าอุตสาหกรรมที่ติดตั้งแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้การผลิตและการแจกจ่ายสินค้าและบริการทางภายภาพแก่พลเมืองแห่งทวีปทั้งหมดในปริมาณที่เกินความสามารถทางกายของปัจเจกบุคคลจะบริโภคได้p.35 (p.44 of PDF), p.35 ในการจัดเตรียมเช่นนัน ความกังวลจะเป็นเรื่องความยั่งยืนภายในฐานทรัพยากร แทนที่จะเป็นการได้ประโยชน์ทางการเงิน เพื่อที่จะรับประกันให้หน้าที่ทางสังคม-อุตสาหกรรมทั้งหมดดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดp.35 (p.44 of PDF), p.35 ทักษะทางเทคนิคและความเป็นผู้นำจะถูกเลือกบนพื้นฐานของความรู้และสมรรถนะทางวิชาการ มากกว่าการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยผู้ไม่มีความรู้หรือทักษะเช่นนั้นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางคนใช้คำว่า คตินิยมนักวิชาการ หมายถึงรูปแบบหนึ่งของคุณธรรมนิยม (meritocracy) ซึ่งเป็นระบบที่ "ผู้มีคุณวุฒิสูงสุด" และผู้ซึ่งตัดสินความสมบูรณ์ของคุณสมบัตินั้นคือคน ๆ เดียวกัน การนำไปใช้อื่นได้ถูกอธิบายว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์แบบคณาธิปไตย (oligarchy) แต่เป็นเหมือนการบริหารจัดการโดยวิทยาศาสตร์เฉพาะสาขา อย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ปัจจุบัน ความหมายของคำว่า คตินิยมนักวิชาการ ได้ขยายไปบ่งชี้การจัดการหรือการบริหารทุกประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ("นักวิชาการ") ในสาขาใด ๆ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเท่านั้น และมีการใช้อธิบายรัฐบาลที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นที่ระดับรัฐมนตรี.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและคตินิยมนักวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

29 กันยายน

วันที่ 29 กันยายน เป็นวันที่ 272 ของปี (วันที่ 273 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 93 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สัตยพรต ศาสตรีและ29 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »