โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สังขยาปกาสกปกรณ์

ดัชนี สังขยาปกาสกปกรณ์

ังขยาปกาสกปกรณ์ เป็นปกรณ์ในภาษาบาลี ประเภทร้อยกรอง มีความยาว 73 คาถา ประพันธ์โดย พระญาณวิลาส พระภิกษุชาวลาว สังขยาปกาสกปกรณ์ ซึ่งพระญาณวิลาส ได้ประพันธ์ไว้นั้น เข้าใจว่าเจตนาให้ผู้ศึกษาสังขยาปกาสกปกรณ์ ศึกษาโดยใช้วิธีท่องจำ มาตรานับต่างๆ เพื่อการนำไปใช้ได้อย่างสะดวก เหมือนการท่องสูตรคูณของนักเรียนในปัจจุบัน การประพันธ์เป็นคาถานั้นง่ายต่อการจดจำก็จริง แต่มีความยุ่งยากในการศึกษาให้เข้าใจ เพราะงานประพันธ์เป็นคาถาต้องมีข้อความสั้นๆ กระชับ ตามกฎแห่งฉันทลักษณ์ การที่ถูกกำหนดด้วยกฎแห่งฉันทลักษณ์ ทำให้ผู้ประพันธ์ ไม่สามารถจะอธิบายขยายความอะไรให้ละเอียด ได้มากเหมือนการแต่งเป็นร้อยแก้ว.

7 ความสัมพันธ์: กวีนิพนธ์กหาปณะภาษาบาลีลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)สังขยาตัวเลขมอญปกรณ์

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กหาปณะ

งินตอกตราโบราณสมัยราชวงศ์โมริยะของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพัฒนามาจากรูปแบบของเงินกหาปณะในสมัยพุทธกาล กหาปณะ (สันสกฤต: กษาปณ) เป็นคำเรียกเงินตราทำด้วยโลหะที่ใช้ในสมัยพุทธกาล เป็นเงินตราโลหะชนิดแรกของอนุทวีปอินเดีย เทียบคำว่า กษาปณ์ ในปัจจุบัน กหาปณะ มีอัตราเทียบเท่ากับ 20 มาสก หรือ 1 ตำลึง หรือ 4 บาทไทย กหาปณะ มีปรากฏอยู่ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ คือภิกษุจงใจลักทรัพย์ที่มีราคา 5 มาสก หรือ 1 บาทขึ้นไปต้องอาบัติสูงสุดคือปาราชิกหากมีราคาต่ำกว่านั้นก็มีความผิดลดหลั่นลงมาตามราคาทรั.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และกหาปณะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

ลาว (ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และลาว (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

สังขยา

ังขยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และสังขยา · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขมอญ

ระบบการนับเลข (လမောက်သင်ချာ แลโมกสังขฺยา) ของภาษามอญ เป็นการใช้ตัวเลข (ဂၞန် (แ)กนอน) เป็นตัวบ่งบอกค่าจำนวน วิธีการนับและเรียงลำดับ จะเหมือนกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี โดยวางตัวเลขลงตามหลักแบบเดียวกับเลขฮินดู-อารบิก โดยหลักหน่วยอยู่ทางขวามือ ไล่เพิ่มไปทางซ้ายเป็น หลักสิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โดยต้องใส่ให้ครบตามจำนวนหลักที่มี เช่น ตรงกับเลขไทย ๑๐ ส่วน 2006 ก็เขียน ตรงกับเลขไทย ๒๐๐๖ โดยไม่มีเครื่องหมายจุลภาคคั่น เป็นต้น ส่วนวิธีอ่าน ให้อ่านในระบบหลัก รูปแบบเดียวกับอักษรภาษาอื่น ๆ ในตระกูลอักษรพราหฺมี ดังนี้.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และตัวเลขมอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณ์

ปกรณ์ หมายถึง เรื่อง คำอธิบาย การจัด งานประพันธ์ คัมภีร์ ตำรา หนังสือ ในคำวัดทั่วไปใช้หมายถึงคัมภีรฺหรือหนังสือซึ่งเป็นงานประพันธ์เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีการจัดเรื่องและคำอธิบายไว้ชัดเจนสามรถอ้างเป็นหลักฐานหรือเป็นตำราได้ เช่น อภิธรรมปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์ เนตติปกรณ์ ปกรณ์วิเศษวิสุทธิมรรคเป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เรียกหนังสือในพระพุทธศาสนาที่แต่งเป็นภาษามคธหรือภาษาบาลีเท่านั้น ภาษาที่แต่งโดยภาษาอื่นไม่นิยมเรียกว่าปกรณ.

ใหม่!!: สังขยาปกาสกปกรณ์และปกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »