โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาวาร์ยูเรเชีย

ดัชนี อาวาร์ยูเรเชีย

แผนที่แสดงตำแหน่งของอาณาจักรข่านของอาวาร์ราว ค.ศ. 600 อาวาร์ยูเรเชีย หรือ อาวาร์ยุโรป หรือ อาวาร์โบราณ (Eurasian Avars หรือ European Avars หรือ Ancient Avars) เป็นกลุ่มชนที่มีระบบสังคมที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสหพันธ์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจที่มาจากหลายชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับชนบัลการ์, ชนคาซาร์ และกลุ่มชนที่พูดภาษาโอเกอร์ (Oghur languages) ในขณะนั้น อาวาร์ยูเรเชียปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “คากาน” หรือ “มหาข่าน” (Khagan หรือ Great Khan) ผู้ล้อมรอบตัวด้วยนักการทหารที่มาจากกลุ่มชนเร่ร่อน (nomad) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบของกลุ่มชนชนเตอร์กิกโดยทั่วไป อาวาร์ยูเรเชียปรากฏเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในชื่อรูราน (Rouran) ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของจีนและมีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้นอยู่ราวสองร้อยปี ก่อนที่จะมาปรากฏตัวในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมามีอิทธิพลในบริเวณส่วนใหญ่ของที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) มาจนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากในยุโรปแล้วอาวาร์ยูเรเชียยังปรากฏในอินเดียในชื่ออาเฮอร์ (ahir).

8 ความสัมพันธ์: ชาติพันธุ์วิทยาชนบัลการ์ชนร่อนเร่กลุ่มชนเตอร์กิกยุโรปกลางยุโรปตะวันออกที่ราบพันโนเนียประวัติศาสตร์ยุโรป

ชาติพันธุ์วิทยา

ติพันธุ์วิทยา หรือ ชาติวงศ์วิทยา หรือ ชนชาติวิทยา (ethnology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของมานุษยวิทยา ที่ศึกษาและเปรียบเทียบเกี่ยวกับความเชื่อและวิธีปฏิบัติของแต่ละสังคม เป้าหมายหนึ่งคือ การศึกษาประวัติศาสตร์มนุษย์ กฎทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม และนัยทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ สำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชานี้ จะเรียกว่า "นักชาติพันธุ์วิทยา" (ethnologist) คำว่า ethnology ถูกใช้ครั้งแรกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวสโลวัค Adam František Kollár (1718–1783) โดยมาจาก 2 คำในภาษากรีก คือ ethnos ("ชนชาติ") และ logos ("การศึกษา").

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและชาติพันธุ์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชนบัลการ์

ัยชนะของทหารบัลการ์ในการต่อสู้กับทหารฝ่ายไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิกEncyclopaedia Britannica Online - หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง..

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและชนบัลการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนร่อนเร่

นร่อนเร่ในท้องทุ่งตั้งแค้มพ์ใกล้นัมโซ (Namtso) ในปี ค.ศ.2005 ราว 40% ของชาวทิเบตเป็นชนร่อนเร่หรือชนกึ่งเร่ร่อนhttp://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/picture_gallery/06/asia_pac_tibetan_nomads/html/1.stm In pictures: Tibetan nomads BBC News ชนร่อนเร่ (νομάδες, Nomad หรือ Nomadic people) คำว่า “Nomad” มาจาก “nomádes” ที่แปลว่า “ผู้นำฝูงสัตว์เลี้ยงในทุ่ง” คือชุมชนที่ย้ายที่อยู่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแทนที่จะตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอย่างถาวรในที่ใดที่หนึ่ง ชนร่อนเร่มีด้วยกันราว 30-40 ล้านคนทั่วโลก อารธรรมหลายวัฒนธรรมเดิมมาจากการเป็นชนร่อนเร่ แต่การเป็นชนร่อนเร่เป็นวิถีชีวิตที่เป็นไปได้ยากขึ้นในประเทศอุตสาหกรรม ชนร่อนเร่แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม: ผู้ล่าสัตว์และหาอาหาร (hunter-gatherer) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณที่ล่าสัตว์ต่างๆ, ผู้หากินกับทุ่งเลี้ยงสัตว์ (pastoralism) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ต่างๆ และ “ผู้ร่อนเร่ตามแหล่งหากิน” (peripatetic nomads) ผู้ย้ายถิ่นฐานระหว่างแหล่งงานหรือแหล่งการค้า ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการล่าสัตว์เป็นกลุ่มชนที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติที่ดำรงชีวิตโดยการหากินจากสิ่งที่หาได้จากป่าที่พำนักอาศัยตามฤดูกาล ชนร่อนเร่ที่หากินด้วยการเลี้ยงสัตว์ย้ายถิ่นฐานไปตามทุ่งที่มีอาหารดีสำหรับสัตว์เลี้ยงและทิ้งทุ่งเก่าไว้ให้ฟื้นตัวก่อนที่จะกลับมาใหม่ “ชนร่อนเร่หากิน” เป็นกลุ่มที่พบในประเทศอุตสาหกรรมที่ย้ายถิ่นฐานตามแต่ที่ใดจะมีทางทำมาหากิน.

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและชนร่อนเร่ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเตอร์กิก

กลุ่มชนเตอร์กิก (Turkic peoples) เป็นกลุ่มชนยูเรเชียที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือ กลาง และตะวันตกของยูเรเชียผู้พูดภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษากลุ่มเตอร์กิก, Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition, 2008 ชนในกลุ่มชนเตอร์กิกมีลักษณะวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์บางอย่างร่วมกัน คำว่า “เตอร์กิก” เป็นคำที่ใช้แทนกลุ่มชาติพันธุ์/ภาษา (ethno-linguistic group) ของชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวอาเซอร์ไบจาน, ชาวคาซัคสถาน, ชาวตาตาร์, ชาวคีร์กีซ, ชาวตุรกี, ชาวเติร์กเมน, ชาวอุยกูร์, ชาวอุซเบกิสถาน, ชาวฮาซารา, ชาวการากัลปัก ชาวโนกาย ชาวการาเชย์-บัลการ์ ชาวตาตาร์ไซบีเรีย ชาวตาตาร์ไครเมีย ชาวชูวาช ชาวตูวัน ชาวบัชกีร์ ชาวอัลไต ชาวยาคุตส์ ชาวกากาอุซ และรวมทั้งประชาชนในรัฐและจักรวรรดิเตอร์กิกในอดีตเช่นฮั่น, บัลการ์, คูมัน, ชนอาวาร์, เซลจุค, คาซาร์, ออตโตมัน, มามลุค, ติมูริด และอาจจะรวมทั้งซฺยงหนู (Xiongnu).

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและกลุ่มชนเตอร์กิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปกลาง

รัฐในยุโรปกลางในปี ค.ศ. 1902 ยุโรปกลาง (Central Europe) คือ อาณาบริเวณที่ตีความหมายแตกต่างกันไปหลายอย่าง ที่ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก คำนี้และความสนใจโดยทั่วไปของบริเวณนี้กลับมาเป็นที่สนใจกันอีกครั้ง หลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลงซึ่งก็เช่นเดียวกับม่านเหล็กที่เป็นอาณาบริเวณที่แบ่งยุโรปทางการเมืองออกเป็นตะวันออก และ ตะวันตก และม่านเหล็กผ่ายุโรปกลางออกเป็นสองข้าง ความหมายของยุโรปกลางในเชิงความมีลักษณะวัฒนธรรมร่วมกันของกลุ่มรัฐที่อยู่ในเครือเป็นความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นความคิดลวง แต่กระนั้นนักวิชาการก็ยังเสนอว่าลักษณะเอกลักษณ์ของ “วัฒนธรรมยุโรปกลางที่แม้จะยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่นั้นมีอยู่จริง” ความเห็นนี้มีพื้นฐานมาจาก “ความคล้ายคลึงกันที่มาจากลักษณะทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม” ซึ่งสามารถบอกได้จากการที่บริเวณที่ว่านี้เคยเป็น “สถานที่ที่เป็นแหล่งสำคัญที่สุดของผู้มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก” ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 คริสต์ศตวรรษที่ 20 “Cross Currents: A Yearbook of Central European Culture” ให้คำจำกัดความของยุโรปกลางว่าเป็น “ยุโรปตะวันตกที่ถูกละเลย หรือ สถานที่ที่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกประสานงานกัน” ในคริสต์ทศวรรษ 2000 ประเทศหลายประเทศในยุโรปกลางก็มักจะติดอันดับอยู่ในบรรดากลุ่ม 30 ประเทศที่ถือกันว่าเป็นประเทศพัฒนา (Developed countries) ที่สุดในโลก แต่วัฒนธรรมสมัยนิยมของตะวันตก (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมอเมริกัน) ยังคงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบริเวณนี้ที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความ “ความล้าหลัง” ของสงครามเย็น.

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปตะวันออก

แผนที่ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออก (Eastern Europe) มีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 - 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประกอบไปด้วยประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต, อดีตเช็กโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือเช็กเกียและสโลวาเกีย), โปแลนด์, ฮังการี, โรมาเนีย, บัลแกเรีย และอดีตยูโกสลาเวีย ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรแมนซ์และกลุ่มสลาวอนิก.

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบพันโนเนีย

แผนที่แสดงที่ราบพันโนเนีย ที่ราบพันโนเนีย (Pannonian Plain) เป็นที่ราบในยุโรปกลางที่เกิดขึ้นเมื่อทะเลพันโนเนียในสมัยไพลโอซีนเหือดแห้งลง ที่ราบแพนโนเนียเป็นธรณีสัณฐานที่เปลี่ยนแปลงของระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย (Alpide belt) โดยมีแม่น้ำดานูบแบ่งที่ราบออกเป็นสองส่วน ที่ราบส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ราบฮังการีใหญ่ (Great Hungarian Plain) ทางตอนใต้และทางตะวันออก และที่ราบฮังการีน้อย (Little Hungarian Plain) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและที่ราบพันโนเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ยุโรป

ทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรปโดยรวม.

ใหม่!!: อาวาร์ยูเรเชียและประวัติศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Avar KhaganateEurasian AvarsEuropean AvarsPseudo-AvarsTurkic AvarTurkic Avar languageภาษาเตอร์กิกอาวาร์สหพันธ์อาวาร์ยูเรเชียอาณาจักรข่านแห่งอาวาร์ชาวอาวาร์ยูเรเชีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »