โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมพล คูเกษมกิจ

ดัชนี สมพล คูเกษมกิจ

มพล คูเกษมกิจ (24 มกราคม พ.ศ. 2506 —) เป็นอดีตนักกีฬาแบดมินตันชาวไทย เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ของกีฬาดังกล่าวในประเทศไทย นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแบดมินตันให้แก่นักแบดมินตันทีมชาติไท.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2506กีฬาโอลิมปิกรัชนก อินทนนท์ทีมชาติไทยคริสต์ทศวรรษ 1980คริสต์ทศวรรษ 1990ประเทศมาเลเซียประเทศอังกฤษประเทศไทยแบดมินตันเบอร์มิงแฮม24 มกราคม

พ.ศ. 2506

ทธศักราช 2506 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1963 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและพ.ศ. 2506 · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาโอลิมปิก

กีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeux olympiques, JO) หรือโอลิมปิกส์ (อังกฤษ: Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาว หมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ ซึ่งจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน..

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและกีฬาโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

รัชนก อินทนนท์

รัชนก อินทนนท์ ชื่อเล่น เมย์ (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538) เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิงชาวไทย อดีตนักแบดมินตันหญิงเดี่ยวมือหนึ่งของโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและรัชนก อินทนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ทีมชาติไทย

ทีมชาติไทย สามารถหมายถึง บุคคลที่แข่งขันในนามของประเทศไทย ซึ่งสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและทีมชาติไทย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1980

ริสต์ทศวรรษ 1980 (1980s) หรือยุคเอจตี้ส์ เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เป็นช่วงเวลาที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทั่วไปอย่างความร่ำรวย การผลิตที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเสรีที่พัฒนาไปทั่วโลก บริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศอย่าง ประเทศไทย มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศจีน และเศรษฐกิจตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก ตามมาด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีถือเป็นประเทศที่เห็นเด่นชัดว่าพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดทศวรรษนี้ ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมีประสบความยากลำบากด้านความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ประเทศเหล่านั้นพบกับปัญหาหนี้สินในคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ประเทศเอธิโอเปียประสบปัญหาความยากจนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผลคือประเทศต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านอาหารกับประชากรและทั่วโลกต่างกันช่วยหาเงินช่วยเหลือต่อชาวเอธิโอเปีย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินดังกล่าว ปัญหาด้านสงคราม เกิดความรุนแรงในตะวันออกกลาง อย่างสงครามอิรัก-อิหร่าน และความขัดแย้งในเลบานอนช่วงปี 1982 ถึง 1983 และกองทัพอเมริกันเข้าบุกลิเบียในปี 1985 และ Intifada ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คริสต์ทศวรรษ 1980 ยังเป็นยุคที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างมาก ไปทั่วโลก มากกว่าแม้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ตลอดทศวรรษ ด้วยอัตราการเพิ่มใกล้หรือมากกว่า 4% ต่อปี.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและคริสต์ทศวรรษ 1980 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1990

คริสต์ทศวรรษ 1990 (1990s) เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1990 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เป็นทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 เป็นทศวรรษแรกที่ตามมาด้วยผลกระทบของการสิ้นสุดสงครามเย็น คริสต์ทศวรรษ 1990.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและคริสต์ทศวรรษ 1990 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แบดมินตัน

ม้แบดมินตันหรือแร็กเกต แบดมินตัน (badminton) เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ใช้ไม้ตีลูก ลูกสำหรับใช้ตีนั้น เรียกกันมาช้านานว่า "ลูกขนไก่" เพราะสมัยก่อนกีฬานี้ใช้ขนของไก่มาติดกับลูกบอลทรงกลมขนาดเล็ก ปัจจุบันลูกขนไก่ผลิดจากขนเป็ดที่คัดแล้ว ลูกบอลทรงกลมขนาดเล็กที่ทำเป็นหัวลูกขนไก่ทำด้วยไม้คอร์ก กีฬาแบดมินตันจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกเป็น 2 ประเภท คือ "ประเภทเดี่ยว" แบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายละ 1 คน และ "ประเภทคู่" แบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายละ 2 คน การเล่นรอบหนึ่งเรียกว่า 1 นัด นัดละ 3 เกม (บางคนเรียกเซต) ตัดสินแพ้ชนะ 2 ใน 3 เกม มีกำหนดคะแนนสูงสุด 21 คะแนน ฝ่ายใดทำคะแนนได้ถึง 21 คะแนนก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น.

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและแบดมินตัน · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์มิงแฮม

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองเบอร์มิงแฮม ตัวเมืองเบอร์มิงแฮม เบอร์มิงแฮม (Birmingham, เบอมิงงัม) เป็นนครและเขตเมืองในภาคเวสต์มิดแลนด์สของอังกฤษ สหราชอาณาจักร ซึ่งหลายฝ่ายพิจารณาว่าเป็นเมืองรองของอังกฤษ แม้คำอ้างนี้จะถูกท้าทายจากผู้สนับสนุนเมืองแมนเชสเตอร์ เบอร์มิงแฮมเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดใน กลุ่มนครหลัก (core cities) ของอังกฤษ มีประชากรประมาณ 992,400 คน (ตัวเลขประมาณการเมื่อ ค.ศ. 2004) www.birmingham.gov.uk มากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงลอนดอน ชื่อเสียงของเมืองมาจากการเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศ จนได้รับการขนานนามว่า "โรงงานของโลก" ปัจจุบัน ผลผลิตที่ได้จากเบอร์มิงแฮมและเขตโดยรอบคิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 25 ของยอดการส่งออกทั้งหมดของประเทศ เบอร์มิงแฮมเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรม จากการสำรวจเมื่อ..

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและเบอร์มิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

24 มกราคม

วันที่ 24 มกราคม เป็นวันที่ 24 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 341 วันในปีนั้น (342 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: สมพล คูเกษมกิจและ24 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »