โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม

ดัชนี สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม

มบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม (enlightened absolutism, benevolent despotism หรือ enlightened despotism) คือรูปแบบของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบบใช้อำนาจเด็ดขาด ที่ซึ่งผู้ปกครองได้รับอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญา พระมหากษัตริย์ในระบอบนี้ที่เรียกว่า ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม เป็นผู้อุปถัมภ์หลักการของการเรืองปัญญา โดยเฉพาะความสำคัญของหลักเหตุและผล และนำไปใช้ในการปกครองดินแดนของตน พระมหากษัตริย์มีแนวโน้มที่จะมีพระบรมราชานุญาตให้มีหลักขันติธรรมทางศาสนา, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเผยแพร่ข่าวสาร รวมถึงสิทธิ์ของประชาชนทั่วไปในการครอบครองทรัพย์สิน อันเป็นการช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าทางศิลปศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และการศึกษาในยุโรปอย่างมาก.

19 ความสัมพันธ์: พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปนพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์กมงแต็สกีเยอยุคเรืองปัญญาระบบใช้อำนาจเด็ดขาดวอลแตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิสเปนประเทศโปรตุเกสประเทศเดนมาร์กเทวสิทธิราชย์

พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย

ระเจ้าฟรีดริชที่ 2 (เยอรมัน: Friedrich II.; อังกฤษ: Frederick II หรือ พระเจ้าฟรีดริชมหาราช (24 มกราคม ค.ศ. 1712 - 17 สิงหาคม ค.ศ. 1786 เป็นพระมหากษัตริย์ปรัสเซียจากราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์น โดยทรงครองราชย์ระหว่างปีค.ศ. 1740 จนถึงปีค.ศ. 1786 พระองค์ทรงเป็นลำดับที่สามและ ‘กษัตริย์ในปรัสเซีย(King in Prussia)’ องค์สุดท้าย ก่อนที่จะฉลองพระอิสรยยศขึ้นเป็น ‘กษัตริย์แห่งปรัสเซีย(King of Prussia)’ หลังจากที่ได้รับดินแดนทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของปรัสเซีย นอกจากนั้นก็ยังทรงดำรงตำแหน่งผู้คัดเลือกแห่งบรันเดนบวร์กในพระนามว่า “ฟรีดริชที่ 4” และทรงได้รับสมญานามว่า ‘พระเจ้าฟรีดริชมหาราช’ และมีพระนามเล่นว่า ‘เจ้าฟริทซ์แก่(der Alte Fritz)” พระเจ้าฟรีดริชทรงมีความสนพระทัยทางศิลปะตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และทรงพยายามหนีจาการควบคุมจากพระบิดาครั้งหนึ่งแต่ไม่สำเร็จ พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 พระราชบิดาทรงเข้มงวดจนได้รับสมญานามว่า “กษัตริย์ทหาร” เมื่อยังทรงพระเยาว์ฟรีดริชทรงถูกบังคับให้ดูการประหารชีวิตอย่างทารุณของพระสหายที่ทรงรู้จักกันมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์ในปีแรกทรงโจมตีจักรวรรดิออสเตรียและยึดครองบริเวณไซลีเซีย ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโปแลนด์ปัจจุบันซึ่งเป็นดินแดนยึดครองที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการขยายดินแดนของปรัสเซียและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ราชอาณาจักรปรัสเซีย ในบั้นปลายของชีวิตพระเจ้าฟรีดริชทรงรวมอาณาจักรต่าง ๆ ที่เคยเป็นราชรัฐเล็กของปรัสเซียเข้าด้วยกันรวมทั้งดินแดนที่ทรงได้มาจากการแบ่งแยกโปแลนด์ พระเจ้าฟรีดริชทรงเป็นผู้สนับสนุนการปกครองระบบที่มีพื้นฐานมาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ทรงติดต่อสื่อสารกับวอลแตร์ นักปรัชญาเป็นเวลาราวห้าสิบปี และมีความสนิทสนมกันมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งโดยตลอด พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ คือการปรับปรุงระบบการบริหารราชการและข้าราชการ และยังทรงสนับสนุนเสรีภาพของการนับถือศาสนา ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปินและนักปรัชญา เมื่อสิ้นพระชนม์ร่างของพระองค์ถูกฝังอยู่ที่พระราชวังที่โปรดปรานที่วังซองส์ซูซิที่เมืองพอทสดัม เมื่อสิ้นพระชนม์ บัลลังก์ตกไปเป็นของพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 พระราชนัดดาเพราะพระองค์เองไม่มีพระราชโอรส ฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 2 เป็นพระโอรสของเจ้าชายเอากุสท์ วิลเฮล์มแห่งปรัสเซีย พระอนุชาของพระเจ้าฟรีดริชเอง.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน

ระวังสับสนกับ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ปกครองสเปนในช่วงเวลาสั้นๆในช่วงสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ในฐานะ ชาร์ลส์ที่ 3 พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน หรือสำเนียงภาษาอังกฤษ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (สเปน;การ์โลส, อิตาลี; การ์โล; 20 มกราคม ค.ศ. 1716 - 14 ธันวาคม ค.ศ. 1788 เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนและชาวสเปนระหว่างปี 1759 - 1788 ทรงเป็นพระโอรสพระองค์ที่ห้าในพระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปน กับพระมเหสีพระองค์ที่สองเอลิซาเบธ ฟาร์เนเซ ในปี 1731 เจ้าชายการ์โลสพระชนมายุ 15 ชันษาได้กลายเป็นดยุคแห่งปาร์มาและปิอาเซนซา ในฐานะชาร์ลส์ที่ 1 หลังจากการสวรรคตของแอนโตนิโอ ฟาร์เนส ผู้เป็นพระปิตุลา ในปี 1734 ในฐานะดยุกแห่งปาร์มา ทรงได้รับชัยชนะในสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ ทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเนเปิลส์และซิซิลี ในปี 1735 ในฐานะ ชาร์ลส์ที่ 7 แห่งเนเปิลส์ และ ชาร์ลส์ที่ 5 แห่งซิซิลี ในปี 1738 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซกโซนี มีพระราชโอรสและธิดารวมทั้งสิ้น 13 พระองค์ พระเจ้าการ์โลสและมาเรีย อเมเลียทรงประทับอยู่ที่เนเปิลส์เป็นเวลา 19 ปี จนพระนางมาเรีย เมเลียสิ้นพระชนม์ในปี 1760 เมื่อเสด็จเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนในวันที่ 10 สิงหาคม 1759 เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม โดยในวันที่ 6 ตุลาคม 1759 ทรงสละราชบัลลังก์เนเปิลส์และซิซิลีให้อินฟันเตเฟอร์ดินานด์ พระโอรสพระองค์ที่สามผู้ทรงโปรดปรานโดยได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งซิซิลีทั้งสอง ในฐานะกษัตริย์แห่งสเปน พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ทรงเป็นหนึ่งกษัตริย์ผู้ได้รับอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญา โดยทรงมีความพยายามที่จะช่วยเหลืออาณาจักรของพระองค์ที่กำลังเสื่อมสลายถึงการปฏิรูปที่อ่อนตัวลง เช่น คริสตจักรและพระราชวงศ์ ในการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า การพานิชย์ และการเกษตรที่ทันสมัยและการหลีกเลี่ยงสงคราม ทรงไม่ประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจกับการควบคุมเงินและถูกบังคับให้ยืมเงินเพื่อสนองค่าใช้จ่าย ทำให้การปฏิรูปของพระองค์ได้รับการพิสูจน์ในระยะสั้นว่าหลังการสวรรคตของพระองค์การเปลี่ยนแปลงของพระองค์เห็นผล แต่พระราชมรดกของพระองค์ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์สแตนเลย์แพนรัฐการ์โลสที่ 3 ได้กล่าวว่า "อาจจะเป็นผู้ปกครองในยุโรปที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำให้ความสอดคล้องความเป็นผู้นำที่ชาญฉลาด โดยทรงเลือกรัฐมนตรีที่มีความสามารถ...ชีวิตส่วนพระองค์ได้รับการยอมรับนับถือของประชาชน" หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์สเปน หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:เจ้าชายสเปน.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและพระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน

พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน (Gustav III) เป็นกษัตริย์แห่งสวีเดน ระหว่างปี ค.ศ. 1771 จนถึงการลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1792 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรเดอริกแห่งสวีเดน และสมเด็จพระราชินีหลุยเซ่ อูลริเค่แห่งปรัสเซีย ผู้ทรงเป็นพระขนิษฐาในพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 มหาราชแห่งปรัสเซีย หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์สวีเดน หมวดหมู่:ราชวงศ์โฮลชไตน์-กอททอร์พ หมวดหมู่:บุคคลจากสตอกโฮล์ม หมวดหมู่:เสียชีวิตจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและพระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก

ระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 (28 มกราคม พ.ศ. 2311 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก (13 มีนาคม พ.ศ. 2351 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2382)และพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 แห่งเดนมาร์กกับเจ้าหญิงแคโรไลน์ มาทิลดาแห่งบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นพระขนิษฐาในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น พระประมุขสูงสุดที่ทรงภูมิธรรม (An enlightened despot) ในยุคเรืองปัญญา คติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ พระผู้เป็นเจ้าและความยุติธรรม (Gud og den retfærdige sag).

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและมงแต็สกีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด

ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด (Despotism) เป็นระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ โดยให้บุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลเป็นมีอำนาจปกครองกลุ่ม โดยมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ในระบอบของตน แนวคิดหลักคือ อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของคนคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลขนาดเล็ก โดยอาจเป็นได้ทั้งการปกครองแบบทรราช ซึ่งใช้อำนาจปราบปรามและลงโทษผู้อยู่ใต้การปกครอง หรือการปกครองแบบเบ็ดเสร็จซึ่งผู้ปกครองอยู่เหนือกฎหมายใด ๆ การปกครองแบบราชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มและอยู่เหนือกฎหมายนั้นก็นับเป็นระบอบเผด็จการแบบหนึ่ง แต่มองเตสกีเยอได้ระบุถึงความแตกต่างระหว่างระบอบทั้งสองว่า ระบอบราชาธิปไตยใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จโดยการตราและแก้ไขกฎหมาย ขณะที่ระบอบเผด็จการจะใช้อำนาจตามใจตน.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและระบบใช้อำนาจเด็ดขาด · ดูเพิ่มเติม »

วอลแตร์

ฟร็องซัว-มารี อารูเอ (François-Marie Arouet) หรือเป็นที่รู้จักกันในนามปากกาว่า วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส และยังสนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา, เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรั.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและวอลแตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "แคทเธอรีนมหาราชินี" (หรือ Екатерина II Великая; Katharina die Große; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากการรัฐประหารและการปลงพระชนม์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีของพระองค์เอง (ไม่นานหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเจ็ดปี) จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป ในการเข้าถึงขุมอำนาจและปกครองจักรวรรดิของพระองค์ พระนางแคทเธอรีนมักจะทรงพึ่งพาอำนาจจากเหล่าขุนนางที่ทรงโปรดปราน และผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเช่นกริกอรี ออโลฟ และกริกอรี โปเตมคิน หรือเหล่านายพลผู้มีอำนาจบารมีสูงเช่น ปิออตร์ รูเมียนเซฟ และอเล็กซานเดอร์ ซูโวโลฟ หรือแม้แต่พลเรือเอกเช่น ฟิโอดอร์ อูชาโคฟ พระนางปกครองรัสเซียในช่วงเวลาที่จักรวรรดิได้ทำการแผ่ขยายอาณาเขตของตนโดยทั้งการศึกสงครามและการทูต ทางทิศใต้, อาณาจักรข่านแห่งไครเมียร์ถูกบดขยี้และตามมาด้วยชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี ต่อมารัสเซียได้ทำการเข้ายึดครองดินแดนอันว่างเปล่าแห่งโนโวรอสซิยาตลอดจนชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ ทางทิศตะวันตก, เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียซึ่งถูกปกครองโดยอดีตคนรักของพระนาง พระเจ้าสตานิส์ลอว์ ออกุส โปเนียโทว์สกี ในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยรัสเซียได้ส่วนแบ่งของดินแดนมากที่สุด ทางทิศตะวันออก, รัสเซียเริ่มเข้ายึดครองอะแลสกาในรูปแบบของอาณานิคมจนนำไปสู่การก่อตั้งอเมริกาของรัสเซีย พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการภายในของเขตกูเบอร์นิยา รวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างปี 1765 ถึง 1790 และทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดินฮับบูร์ก ระหว่างปี 1780 ถึง 1790 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา กับ จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 และเป็นพระเชษฐาในพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อัครมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองดินแดนประเทศราชของออสเตรียพระองค์แรก ที่มีเชื้อสายมาจากฮับส์บูร์กผ่านทางพระราชมารดา ในช่วงรัชกาลของพระองค์ ทรงใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม ตัวพระองค์ถูกเปรียบว่าเทียบได้กับ พระนางแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย และ พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย เป็นหนึ่งในสามกษัตริย์ผู้รุ่งโรจน์แห่งยุค พระองค์เสร็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท ดังนั้นผู้สืบราชบัลลังก์ต่อคือพระอนุชาของพระองค์ แกรนด์ดยุกปีเตอร์ เลโอโปล.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรพรรดิโยเซฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์แห่งฮังการีและโครเอเชีย ระหว่างปี 1790 ถึง 1792 พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา กับ จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 และทรงเป็นพระเชษฐาในพระนางมารี อ็องตัวแน็ต อัครมเหสีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต่อจากพระเชษฐาของพระองค์ จักรพรรดิโยเซฟที่ 2 ที่เสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท จักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 ทรงใช้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมตามรอยพระเชษฐาของพระอง.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและจักรวรรดิสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเดนมาร์ก

นมาร์ก (Denmark; แดนมาก) (Danmark) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง เดนมาร์กเป็นประเทศองค์ประกอบที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ.

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและประเทศเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: สมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรมและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »