โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สตีวี วันเดอร์

ดัชนี สตีวี วันเดอร์

ตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder มีชื่อตามเกิด Stevland Hardaway Judkins ภายหลังเปลี่ยนเป็น Stevland Hardaway Morris) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 เป็นนักร้องชาวอเมริกัน นักประพันธ์เพลง และโปรดิวเซอร์ดนตรี สตีวี วันเดอร์มีเพลงติดท็อปเท็น มากกว่า 30 เพลงในอเมริกา ได้รับรางวัลแกรมมี่ 22 ครั้ง ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงยอดเยี่ยม สตีวี วันเดอร์ตาบอดมาตั้งแต่เด็ก เขาเซ็นสัญญากับโมทาวน์ตั้งแต่อายุ 11 ปี และเริ่มแสดงและบันทึกเสียงกับค่ายเพลง โดยมีเพลงอันดับ 1 เพลงแรก Fingertips (Pt. 2) ตั้งแต่อายุ 13 ปี และมีเพลงอันดับ 1 ในอเมริการวม 9 เพลง มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 100 ล้านชุด นอกจากนั้นเขายังเป็นนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินดังหลายๆ คน ตัวเขาสามารถเล่นดนตรีได้หลายชนิดเช่น กลอง,เบสกีตาร์,ออร์แกน,ฮาร์โมนิกา,เปียโน,เครื่องสังเคราะห์เสียง และอื่นๆ โดยเฉพาะเสียงฮาร์โมนิกาของเขาที่เป็นเอกลักษณ.

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2493กลองรางวัลออสการ์รางวัลแกรมมีสตีวี วันเดอร์ออร์แกนค่ายเพลงตาบอดโมทาวน์เรเคิดส์เครื่องสังเคราะห์เสียงเปียโนOgg13 พฤษภาคม

พ.ศ. 2493

ทธศักราช 2493 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และพ.ศ. 2493 · ดูเพิ่มเติม »

กลอง

กลอง ทำด้วยหนังวัวขึงด้วยเชือก กลอง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยแผ่นบาง มักทำด้วยแผ่นหนังขึงยึดติดกับโครงให้ตึง ทำให้เกิดเสียงโดยการตีด้วยไม้ หรืออวัยวะของผู้เล่น กลองจัดเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก กลอง มีทั้งกลองที่ทำจากหนังสัตว์ และ กลองที่ทำจากพลาสติก ซึ่งจะให้เสียงที่แตกต่างกันไป และการใช้อุปกรณ์ช่วย กลองที่ทำจากพลาสติกจะต้องใช้ไม้ช่วยตีเพราจะช่วยให้เกิดเสียงที่ดังขึ้น เช่น กลองสแนร์ และ กลองชุด เป็นต้น ส่วนกลองที่ทำจากหนังสัตว์ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ เนื่องจาก เราสามารถใช้แค่มือตีก็จะทำให้เกิดเสียงดังพอตัวอยู่แล้ว เช่น กลองยาว กลองรำมะนา ตะโพน เป็นต้น แต่ก็มีกลองหนัง ที่จำเป็นต้องใช้ไม้ก็มี เช่น กลองสะบัดชัย และ กลองทัด เนื่องจากเป็นกลองขนาดใหญ่จึงไม่สามารถใช้มือตีอย่างเดียวได้ กลองไม่ได้มีแค่ใช้ในทางเท่านั้นแต่ยังใช้ในด้านอื่นๆอีกด้วยเช่น การตีกลองเพื่อร้องทุกข์ต่อศาล การตีกลองเพื่อเปิดสงครามในสมัยก่อน และ การตีกลองเพื่อเป็นสัญญาณเพื่อให้พระสงฆ์ฉันเพลได้.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และกลอง · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลแกรมมี

รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 โดยเริ่มถ่ายทอดสดในปี 1971.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และรางวัลแกรมมี · ดูเพิ่มเติม »

สตีวี วันเดอร์

ตีวี วันเดอร์ (Stevie Wonder มีชื่อตามเกิด Stevland Hardaway Judkins ภายหลังเปลี่ยนเป็น Stevland Hardaway Morris) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1950 เป็นนักร้องชาวอเมริกัน นักประพันธ์เพลง และโปรดิวเซอร์ดนตรี สตีวี วันเดอร์มีเพลงติดท็อปเท็น มากกว่า 30 เพลงในอเมริกา ได้รับรางวัลแกรมมี่ 22 ครั้ง ยังได้รับรางวัลออสการ์สาขาเพลงยอดเยี่ยม สตีวี วันเดอร์ตาบอดมาตั้งแต่เด็ก เขาเซ็นสัญญากับโมทาวน์ตั้งแต่อายุ 11 ปี และเริ่มแสดงและบันทึกเสียงกับค่ายเพลง โดยมีเพลงอันดับ 1 เพลงแรก Fingertips (Pt. 2) ตั้งแต่อายุ 13 ปี และมีเพลงอันดับ 1 ในอเมริการวม 9 เพลง มียอดขายอัลบั้มมากกว่า 100 ล้านชุด นอกจากนั้นเขายังเป็นนักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินดังหลายๆ คน ตัวเขาสามารถเล่นดนตรีได้หลายชนิดเช่น กลอง,เบสกีตาร์,ออร์แกน,ฮาร์โมนิกา,เปียโน,เครื่องสังเคราะห์เสียง และอื่นๆ โดยเฉพาะเสียงฮาร์โมนิกาของเขาที่เป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และสตีวี วันเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายเพลง

ลง (record label) เป็นแบรนด์และเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย เพลง (sound recording)และมิวสิกวีดีโอ ค่ายเพลงเป็นบริษัทจัดการทั้งแบรนด์ และ เทรดมาร์ก ประสานงานกับฝ่ายโปรดักชั่น ฝ่ายผลิตสินค้า ฝ่ายจำหน่าย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ทั้งเพลง (sound recording)และมิวสิกวิดีโอ,จัดการเกี่ยวกับ A&R,ดูแลสัญญาศิลปินและผู้จัดการศิลปิน.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และค่ายเพลง · ดูเพิ่มเติม »

ตาบอด

ตาบอด เป็นความพิการในลักษณะหนึ่งของร่างกาย ผู้ที่ตาบอดจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้หรือมองเห็นได้เพียงบางส่วน ในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถือว่า ผู้ที่ ตาบอดทางกฎหมาย หมายถึงผู้ที่มีวิสัยการมองเห็นภาพได้ไม่เกิน 20 องศา (จากวิสัยของคนปกติประมาณ 180 องศา) หมวดหมู่:การมองเห็น หมวดหมู่:ตาบอด.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และตาบอด · ดูเพิ่มเติม »

โมทาวน์เรเคิดส์

มทาวน์เรเคิดส์ (Motown Records) เป็นค่ายเพลง ก่อกำเนิดในดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดยเบอร์รี กอร์ดี จูเนียร์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม..

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และโมทาวน์เรเคิดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสังเคราะห์เสียง

Synthesizer เครื่องสังเคราะห์เสียง หรือ ซินธิไซเซอร์ (synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับแผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการสุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์ ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และเครื่องสังเคราะห์เสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

Ogg

ogg ("อ็อก") เป็นรูปแบบหีบห่อดิจิทัลแบบมาตรฐานเปิดสำหรับบรรจุสื่อผสม มันถูกออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพในการกระจายเสียง (สตรีมมิง) และการเปลี่ยนแปร รูปแบบ ogg ออกแบบโดยมูลนิธิ Xiph.Org และปลอดจากสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ คำว่า "ogg" ยังถูกใช้บ่อย ๆ เพื่อเรียกรูปแบบแฟ้มเสียง Ogg Vorbis ซึ่งเป็นเสียงที่ถูกเข้ารหัสแบบ Vorbis แล้วเก็บลงในหีบห่อ Ogg การเข้ารหัสอื่นที่เด่น ๆ ของ Xiph ที่มักถูกใส่ใน Ogg ก็คือ Theora ซึ่งเป็นการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ), และ Speex ซึ่งเป็นการบีบอัดเสียงพูดของมนุษย์ MIME type ของ ogg คือ application/ogg.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และOgg · ดูเพิ่มเติม »

13 พฤษภาคม

วันที่ 13 พฤษภาคม เป็นวันที่ 133 ของปี (วันที่ 134 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 232 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สตีวี วันเดอร์และ13 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Stevie WonderStevie wonderสตีวี่ วันเดอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »