โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามฤดูหนาว

ดัชนี สงครามฤดูหนาว

ทหารสกีของฟินแลนด์ในสงครามฤดูหนาว ทิศทางการโจมตีของกองทัพแดงและการวางกำลังหลักของสองฝ่าย สงครามฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter War, ฟินแลนด์: talvisota, สวีเดน: vinterkriget, รัสเซีย: Советско-финская война, และอาจรู้จักกันในชื่อ สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์ หรือ สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์) เป็นสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับประเทศฟินแลนด์ เกิดในช่วงต้น ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อฟินแลนด์ปฏิเสธไม่ยอมยกดินแดนบางส่วนและไม่ยอมให้โซเวียตสร้างฐานทัพเรือในดินแดนของตน การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) เมื่อทหารในกองทัพแดงราวหนึ่งล้านคนบุกเข้าจู่โจมตามแนวรบหลายจุดบริเวณพรมแดนระหว่างสหภาพโซเวียตกับฟินแลนด์ กองทัพฟินแลนด์บัญชาการโดยจอมพลมานเนอร์ไฮม์ สามารถต่อต้านการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีกำลังพลน้อยกว่าฝ่ายโซเวียตมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ทหารรัสเซียเข้าไปในฟินแลนด์ได้สำเร็จ หลังใช้ปืนใหญ่ระดมโจมตีแนวป้องกันตามคอคอดคาเรเลียซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของฟินแลนด์รวมทั้งการโจมตีทางอากาศตามเมืองสำคัญต่างๆ สงครามสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) เมื่อมีการลงนามในสัญญาสันติภาพมอสโก โดยฟินแลนด์ยอมยกดินแดนบางส่วนให้โซเวียตและยอมให้โซเวียตก่อสร้างฐานทัพเรือบนคาบสมุทรฮังโก การรุกรานฟินแลนด์ในครั้งนี้ทำให้สหภาพโซเวียตถูกขับออกจากสันนิบาตชาติ เพราะละเมิดสนธิสัญญาที่จะไม่รุกรานฟินแลน.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2482พ.ศ. 2483กองทัพแดงภาษาฟินแลนด์ภาษารัสเซียภาษาสวีเดนภาษาอังกฤษสหภาพโซเวียตสันนิบาตชาติสงครามสงครามโลกครั้งที่สองสนธิสัญญาสันติภาพมอสโกคลีเมนต์ โวโรชีลอฟคาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮมคีริลล์ เมเรตสคอฟประเทศฟินแลนด์12 มีนาคม30 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2482

ทธศักราช 2561 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1939.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและพ.ศ. 2482 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฟินแลนด์

ษาฟินแลนด์ เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ (เป็นภาษาแม่ถึง 92%) รวมถึงชาวฟินน์ที่อาศัยนอกฟินแลนด์ด้วย เป็นภาษาทางการในฟินแลนด์และภาษาชนกลุ่มน้อยในสวีเดน ทั้งในรูปแบบมาตรฐานและ ภาษาเมแอนเคียลิ (Meänkieli) และในนอร์เวย์ในรูปของภาษาคเวน ภาษาฟินแลนด์เป็นภาษากลุ่มฟินโน-ยูกริก และจัดเป็นภาษาติดต่อคำ (agglutinative language) ภาษาฟินแลนด์แปลงรูปของคำนาม คำวิเศษณ์, คำสรรพนาม, คำเลข, คำกริยา ตามบทบาทในประโยค ภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาที่แตกจากภาษาอื่น ๆ โดยทั่วไปในยุโรปมาก จุดเด่นของภาษาตระกูลฟินโน-อูกริกคือ เป็นภาษาที่ไม่มีคำบุพบท แต่จะใช้วิธีการผันคำแทน การเขียนภาษาฟินแลนด์ ใช้ตัวอักษรละตินซึ่งประกอบด้วย29ดังนี้ A-อา B-เบ C-เซ D-เด E-เอ F-แอฟ G-เก H-โฮ I-อี J-ยี K-โก L-แอล M-แอม N-แอน O-โอ P-เป Q-กู R-แอรฺ S-แอส T-เต U-อู V-เว W-กักโชยส์-เว (Kaksois-Vee) X-แอกซ์ Y-อวี Z-เซตตา Å-โอของสวีเดน (Ruotsin-Oo) Ä-แอ Ö-เออวฺ โดยที่ตัว C Q W X Z และ Å ใช้ในคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศเท่านั้น การสะกดคำของภาษาฟินแลนด์เป็นลักษณะการเขียนตามเสียงที่อ่านเหมือนภาษามาเลเซีย ภาษาอินโดนีเซียและภาษาเวียดนาม.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและภาษาฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวีเดน

แผนที่แสดงบริเวณที่มีผู้พูดภาษาสวีเดน ภาษาสวีเดน (svenska) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกเหนือ (หรือภาษาสแกนดิเนเวีย) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก สาขาของภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ภาษาสวีเดนเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของสวีเดน เป็นภาษาราชการหนึ่งในสองภาษาของฟินแลนด์ (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาฟินแลนด์) และเป็นภาษาราชการภาษาเดียวของหมู่เกาะโอลันด์ ซึ่งเป็นเขตการปกครองตนเองของฟินแลนด์ ภาษาสวีเดนสามารถใช้แทนกันกับภาษาสแกนดิเนเวียอีก 2 ภาษาคือ ภาษาเดนมาร์ก และภาษานอร์เวย์ ภาษาสวีเดนมาตรฐาน เป็นภาษาประจำชาติที่วิวัฒนาการมาจากภาษาย่อยของสวีเดนกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีความมั่นคงในช่วงตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ภาษาย่อยตามภูมิภาคที่สืบมาจากภาษาพื้นเมืองในชนบทยังคงมีอยู่ ภาษาพูดและ ภาษาเขียน มีมาตรฐาน และมีอัตราความสามารถในการอ่านและเขียน 99% ในกลุ่มผู้ใหญ่ ภาษาพื้นเมืองบางภาษาต่างจากภาษามาตรฐานทั้งเรื่องไวยากรณ์และคำศัพท์ และไม่สามารถเข้าใจกับภาษาสวีเดนมาตรฐานได้เสมอไป ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้จะจำกัดเฉพาะพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่คนพูดเป็นคนกลุ่มน้อยที่มีความเคลื่อนไหวทางสังคมต่ำ ถึงแม้ว่าจะไม่สูญพันธุ์ในเร็ว ๆ นี้ ภาษาพื้นเมืองเหล่านี้ได้ถดถอยในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการวิจัยเป้นอย่างดี และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นส่งเสริมการใช้ ภาษาสวีเดนมีลักษณะเด่นในเรื่องฉันทลักษณ์ ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดต่าง ๆ มีทั้งเสียงเน้นที่ต่างกันตามแต่ละคำ และ เสียงวรรณยุกต์ ภาษาสวีเดนมีเสียงสระค่อนข้างมาก โดยที่มีเสียงสระถึง 9 เสียงที่ต่างกันด้วยความยาว และลักษณะเสียง ทำให้มีหน่วยเสียงสระ (vowel phoneme) ถึง 17 หน่วย นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนยังมีเสียง voiceless dorso-palatal velar fricative ซึ่งสามารถพบได้ในภาษาพื้นเมืองหลายภาษา รวมถึงภาษามาตรฐานชั้นสูง และไม่ปรากฏในภาษาอื่น.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและภาษาสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตชาติ

ันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและสันนิบาตชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก

นแดนที่ฟินแลนด์ต้องยกให้แก่สหภาพโซเวียต สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก ได้รับการลงนามโดยฟินแลนด์และสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1940 ส่วนการอนุมัติถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 21 มีนาคม ผลจากสนธิสัญญาเป็นการยุติสงครามฤดูหนาวซึ่งกินเวลา 105 วัน เงื่อนไขของสนธิสัญญา คือ ฟินแลนด์ต้องยกดินแดนบางส่วนให้แก่สหภาพโซเวียต ยินยอมให้สหภาพโซเวียตสร้างกองทัพในประเทศของตนได้ แต่ยังคงรักษาเอกราชของประเทศเอาไว้ และเป็นการยุติความพยายามของสหภาพโซเวียตในการยึดครองฟินแลน.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

คลีเมนต์ โวโรชีลอฟ

ลีเมนต์ เยฟรีโมวิช โวโรชีลอฟ (Климе́нт Ефре́мович Вороши́лов​; Kliment Yefremovich Voroshilov) หรือเรียกขานกันในรัสเชียว่าคลิม เยฟรีโมวิช โวโรชีลอฟ (Клим Вороши́лов; Klim Voroshilov) (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2512) เป็นจอมพลและนักการเมืองในยุคสตาลิน เขาเป็นหนึ่งในห้าจอมพลดั่งเดิมของสหภาพโซเวียต (ทหารยศสูงสุดของสหภาพโซเวียต) พร้อมกับเสนาธิการกองทัพแดงอเล็กซานเดอร์ เยโกรอฟกับผู้บัญชาการอาวุโสสามคน วาซีลี บลูย์เคียร์ เซมิออน บูดิออนนืยและ มีคาอิล ตูคาเชฟสกี.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและคลีเมนต์ โวโรชีลอฟ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม

รอน คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม (Carl Gustaf Emil Mannerheim) เป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และ รัฐบุรุษชาวฟินแลนด์ มันเนอร์เฮมเคยเป็น ผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายขาวในช่วง สงครามกลางเมืองฟินแลนด์, ผู้สำเร็จราชการแห่งฟินแลนด์ (1918–1919), ผู้บัญชาการกองทัพฟินแลนด์ ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สอง, จอมพลแห่งฟินแลนด์, และ ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของฟินแลนด์ (1944–1946).

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและคาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม · ดูเพิ่มเติม »

คีริลล์ เมเรตสคอฟ

ีริลล์ อะฟานาเลวิช เมเรตสคอฟ (Кири́лл Афана́сьевич Мерецко́в) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมเรตสคอฟเข้าร่วม พรรคคอมมิวนิสต์ ในปี 1917 เข้าเข้าร่วมกองทัพแดง ในปี 1920 ในช่วงสงครามฤดูหนาว เขาได้รับผิดชอบการแทรกซึมแนวมันเนอร์เฮม ในฐานะผู้บัญชาการกองทัพที่ 7 เมเรตสคอฟได้รับเหรียญดาวทองของวีรชนแห่งสหภาพโซเวียต ในช่วงหลัง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมเรตสคอฟ กลับไปบัญชาการกองทัพที่ 7 และแนวรบวอลฮอฟ ในช่วง การล้อมเลนินกราด เมเรตสคอฟบัญชาการแนวรบคาเรเลีย ในเดือนกุมภาพันธ์ 1944 เมเรตสคอฟสร้างผลงานอย่างโดดเด่นในช่วงการรุกเพ็ตซาโม–คิร์เคเนส และในเดือน เมษายน 1945 เมเรตสคอฟยังไปประจำการที่ตะวันออกไกล โดยบัญชาการแนวรบในช่วงระหว่างที่ สหภาพโซเวียตบุกครองแมนจูเรีย ระหว่างสงครามเมเรตสคอฟได้รับการเลื่อนยศเป็นจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต; on warheroes.ru.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและคีริลล์ เมเรตสคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

12 มีนาคม

วันที่ 12 มีนาคม เป็นวันที่ 71 ของปี (วันที่ 72 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 294 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและ12 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 พฤศจิกายน

วันที่ 30 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 334 ของปี (วันที่ 335 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 31 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามฤดูหนาวและ30 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สงครามรัสเซีย-ฟินแลนด์สงครามโซเวียต-ฟินแลนด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »