โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สกุลเฮมอิบากรัส

ดัชนี สกุลเฮมอิบากรัส

กุลเฮมอิบากรัส เป็นสกุลของปลาหนังในวงศ์ปลากด (Bagridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemibagrus (/เฮม-อิ-บา-กรัส/) นับว่าเป็นปลากดสกุลหนึ่งที่มีขนาดใหญ่พอสมควร เดิมทีสกุลนี้ผู้ตั้งชื่อ ปีเตอร์ บลีกเกอร์ ชาวดัตช์ ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1862 โดยกำหนดให้ชนิด Bagrus nemurus เป็นต้นแบบของสกุล แต่ว่านักมีนวิทยารุ่นหลังหลายท่าน เช่น ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ เมื่อปี ค.ศ. 1989 ได้กล่าวว่าเป็นชื่อพ้องของสกุล Mystus ดังนั้นในข้อมูลเก่า ปลาหลายชนิดในสกุลนี้จะใช้ชื่อสกุลว่า Mystus แต่ในปัจจุบัน มัวรีซ คอทเทเลต เมื่อปี ค.ศ. 2001, เค. ปีเตอร์ อู๋ และ ฮ็อก ฮี อู๋ เมื่อปี ค.ศ. 1995 ได้ยืนยันว่า สกุลเฮมอิบากรัสนี้มีความแตกต่างจากสกุลมีสทัสพอสมควร คือ ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังมีขอบเรียบ ไม่เป็นฟันเลื่อย และปลาในสกุลเฮมอิบากรัสนี้จะมีความยาวเต็มที่เกินกว่า 50 เซนติเมตรทั้งนั้น จึงได้เปลี่ยนมาใช้จนถึงปัจจุบัน ส่วนสกุล Bagrus หลุยส์ ออกุสติน กิลโยม บลอค นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อสกุลมิได้กำหนดให้ชนิดไหนเป็นต้นแบบของสกุล ต่อมา ไบลีย์ และ สจวร์ต ในปี ค.ศ. 1893 ได้กำหนดให้ Silurus bajad เป็นต้นแบบสกุล ปลาในสกุลเฮมอิบากรัส ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลากดคัง (H. wyckioides) ที่มีน้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 80 กิโลกรัม จึงนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาและบริโภคกันเป็นปลาเศรษฐกิจ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้ จากลุ่มแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร, ตอนใต้ของจีน, อินโดจีน ไปจนถึงเขตชีวภาพซุน.

42 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสชาวดัตช์ชื่อพ้องชีววิทยาพ.ศ. 2318พ.ศ. 2405พ.ศ. 2436พ.ศ. 2532พ.ศ. 2538พ.ศ. 2544พ.ศ. 2547การสูญพันธุ์การจับปลากิโลกรัมมอริส ก็อตลามีนวิทยาวงศ์ปลากดสกุล (ชีววิทยา)สกุลมีสทัสสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อัปโหลดและดาวน์โหลดอันดับปลาหนังอินโดจีนต้นแบบ (ชีววิทยา)ซุนดาแลนด์ประเทศจีนปลากดขาวปลากดดำปลากดคังปลากดคังสาละวินปลากดเหลืองปลาที่มีก้านครีบปีเตอร์ เบลเกอร์น้ำหนักแม่น้ำพรหมบุตรแม่น้ำคงคาไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เมตรเอเชียใต้

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ชาวดัตช์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและชาวดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2318

ทธศักราช 2318 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2318 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2405

ทธศักราช 2405 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1862.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2405 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2436

ทธศักราช 2436 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1893 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2436 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2532

ทธศักราช 2532 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1989 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2532 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

มอริส ก็อตลา

มอริส ก็อตลา (Maurice Kottelat) เป็นนักมีนวิทยาชาวสวิส เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957 ที่เมืองเดอเลมง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นประธานสมาคมมีนวิทยาแห่งทวีปยุโรป ก็อตลาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนอชาแตลในปี ค.ศ. 1987 ในปี ค.ศ. 1980 ได้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อศึกษาภาคสนามปลาน้ำจืดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยศึกษาร่วมกับนักมีนวิทยาหลายชาติในภูมิภาคนี้ อาทิ ชวลิต วิทยานนท์ นักมีนวิทยาชาวไทย, ตาน ฮอก ฮุย นักชีววิทยาชาวสิงคโปร์ มีผลงานมากมาย เช่น การเปลี่ยนชื่อสกุลในวงศ์ปลาหมู (Cobitidae) จากสกุล Botia เป็น Chromobotia และ Yasuhikotakia; การอนุกรมวิธานปลาค้อถ้ำพระวังแดง (Schistura spiesi), ปลาพลวงถ้ำ (Neolissochilus subterraneus), ปลาเสือตอลายใหญ่ (Datnioides pulcher) เป็นต้น ที่เกาะสุมาตรา ก็อตลาได้ค้นพบปลาสกุล Paedocypris ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้วย ปัจจุบันได้พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีปลาที่ได้รับการบรรยายทางวิทยาศาสตร์ไปแล้วกว่า 440 ชนิด ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ก็อตลาได้รับปริญญากิตติมศักดิ์เนื่องในการฉลองของมหาวิทยาลัยเนอชาแตล.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและมอริส ก็อตลา · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากด

วงศ์ปลากด (Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น มีการกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทย โดยพบมากกว่า 25 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว กินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลากด" ในปลาขนาดใหญ่ และ "ปลาแขยง" (ปลาลูกแหยง ในภาษาใต้) หรือ "ปลามังกง" ในปลาขนาดเล็ก โดยมีสกุลที่ใหญ่ที่สุดคือสกุล Rita ที่พบได้ในประเทศอินเดียและแม่น้ำสาละวินที่เมื่อโตเต็มที่อาจใหญ่ได้ถึง 2 เมตร.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและวงศ์ปลากด · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลมีสทัส

กุลมีสทัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluformes) ใช้ชื่อสกุลว่า Mystus (/มีส-ทัส/) เดิมทีสกุลนี้มิได้มีการกำหนดชนิดต้นแบบไว้ ต่อมาภายหลัง ได้มีการการกำหนดให้ Bagrus halapenesis เป็นต้นแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีนักมีนวิทยาหลายท่านได้ให้การรับรองและนำมาตั้งเป็นชื่อปลาที่ตนเองค้นพบ เช่น เค.ซี. จารายาม ในปี ค.ศ. 1977, ค.ศ. 1978 และค.ศ. 1981, มัวรีซ คอทเทเลท ในปี ค.ศ. 1985, ดับเบิลยู.อี. เบอร์เกส ในปี ค.ศ. 1989 และไทสัน โรเบิร์ตส์ ในปี ค.ศ. 1989 และค.ศ. 1992 เป็นต้น มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาว ผิวหนังเรียบ หัวแบน นัยน์ตาเล็ก ปากกว้าง รูปปากตัดตรง ขากรรไกรบนยาวกว่าขากรรไกรล่างเล็กน้อย ปากมีริมฝีปากโดยรอบ ฟันที่ขากรรไกรเป็นซี่เล็กละเอียด ฟันที่กระดูกเพดานเรียงเป็นแผ่นโค้งเล็กน้อย ช่องเหงือกกว้าง โดยเฉพาะด้านล่าง หนังริมกระดูกแก้มทั้งสองข้างแยกจากกันเป็นอิสระไม่ติดกับเอ็นคาง กระดูกกะโหลกบางชนิดไม่เรียบและมีร่องที่กึ่งกลางกะโหลก กระดูกท้ายทอยส่วนหลังยื่นยาวเป็นกิ่ง บางส่วนเปลือย และบางส่วนซ่อนอยู่ใต้ผิวหนัง มีหนวด 4 คู่ คือ หนวดขนาดเล็กและที่สั้นจมูก 1 คู่ หนวดที่ริมปากบนยาวเลยหัว 1 คู่ และมีหนวดที่คางสั้นกว่าความยาวหัว 1 คู่ ครีบหลังมีด้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย 1 ก้าน และครีบแขนง 6 ก้าน มีครีบไขมัน 1 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวเป็นเงี่ยงแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย ปลายครีบยาวไม่ถึงฐานของครีบท้อง ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึกแยกเป็น 2 แฉก แต่ขนาดไม่เท่ากัน โดยปลายแฉกบนในบางชนิดแยกออกมาเป็นครีบเดี่ยวที่เรียวยาวเหมือนหางเปีย ในอดีต ปลากดในสกุลมิสทัสนี้เคยรวมอยู่เป็นสกุลเดียวกันกับ Bagrus, Hemibagrus และSperata แต่ต่อมาได้มีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร จึงมีการจับแยกกันในปัจจุบัน ซึ่งปลาในสกุลมีสทัสนี้ถือว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ในภาษาไทยอาจเรียกชื่อสามัญได้ว่า "ปลาแขยง" พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ โดยในปี..

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสกุลมีสทัส · ดูเพิ่มเติม »

สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์

มโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดนครปฐม จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลวัดสรรเพชญ (ทวีวิทยาคม) จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เริ่มรับราชการที่กรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัปโหลดและดาวน์โหลด

ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (download, ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์ การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:คำศัพท์ de:Herunterladen es:Descargar (archivos) ru:Скачивание.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและอัปโหลดและดาวน์โหลด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ซุนดาแลนด์

แม่น้ำคาปัวส์ในภาคตะวันออกของเกาะบอร์เนียว อินโดนีเซีย ซุนดาแลนด์ (Sundaland, Sundaic region) เป็นชื่อเรียกการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ทางชีวภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกบริเวณตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยลงไปถึงมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา และเกาะบาหลี โดยสภาพอากาศของซุนดาแลนด์นั้น มีความชื้นสูง ในบางพื้นที่ฝนอาจตกติดต่อกันหลายวันจนเป็นสัปดาห์ ความแตกต่างของแต่ละฤดูกาลมีไม่มากนัก พรรณพืชที่ขึ้นนั้นโดยมากเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้แสงอาทิตย์ในการเติบโต ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้นมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นหนาแน่น สัตว์ป่าที่อยู่อาศัย มักเป็นสัตว์ที่หากินตามพื้นหรือสามารถอาศัยหากินได้บนต้นไม้สูง เช่น บ่าง (Cynocephalus variegatus), เซียแมง (Symphalangus syndactylus), แมวป่าหัวแบน (Prionailurus planiceps) เป็นต้น.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและซุนดาแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดขาว

ปลากดขาว หรือ ปลากดชงโลง หรือ ปลากดนา เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus nemurus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลากดเหลือง (H. filamentus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปลากดขาวหลังจะไม่โค้ง ขอบก้านครีบแข็งของครีบหลังเรียบ ครีบหลังยาวไม่ถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน ครีบไขมันมีสีเข้มกว่าลำตัวและมีขอบครีบสีขาว มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลัง 2 ก้าน และก้านครีบแขนง 7 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 1–2 ก้าน มีก้านครีบแขนง 7–8 ก้าน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีขนาดโตเต็มที่ 72–80 เซนติเมตร ปลากดขาวเป็นปลากดที่พบได้มากกว่าปลากดเหลืองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งในบางครั้งยังอาจเรียกชื่อซ้ำกันได้ว่า "ปลากดเหลือง" แต่เมื่อนำมาเลี้ยงเปรียบเทียบกันแล้ว ปรากฏว่าปลากดขาวมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่า นิยมนำมาบริโภคเหมือนกันและเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งจะได้รับความนิยมอย่างมากในชนิดที่เป็นปลาเผือก.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลากดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดดำ

ปลากดดำ หรือ ปลากดหม้อ (Crystal eye catfish, Black diamond catfish) ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus wyckii มีรูปร่างค่อนข้างสั้นป้อม หัวและลำตัวตอนหน้าแบนราบกว่าปลาชนิดอื่น ๆ ปากกว้าง ตาค่อนข้างเล็ก ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังมีก้านแข็ง ครีบไขมันค่อนข้างยาว หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณหลัง ตัวมีสีเทาคล้ำหรือดำ ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีขาวเห็นชัดเจน มีขนาดประมาณ 30 เซนติเมตร ใหญ่สุด 70 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทุกภาคของประเทศ และพบไปถึงบอร์เนียว เป็นปลากดที่มีราคาสูงชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลากดคัง (H. wyckioides) และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากดหม้อ ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไปเช่น "ปลาสิงห์ดำ", "ปลากดหางดอก" ชื่อที่ใช้เรียกในวงการปลาสวยงามคือ "มรกตดำ" เป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวมาก ไม่สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เล.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลากดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดคัง

ปลากดคัง (Asian redtail catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) ที่มีขนาดโตเต็มที่ราว 1.5 เมตร หนักได้ถึง 100 กิโลกรัม แต่ที่พบโดยเฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้าหรือเขียวมะกอก ท้องสีจาง ครีบหางและครีบอื่น ๆ มีสีแดงสดหรือสีส้มสด ไม่มีแถบขาวบนขอบครีบหางส่วนบนเหมือนปลากดชนิดอื่น ๆ พบในแม่น้ำของไทยทุกภาค และในแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ นิยมนำมาบริโภคโดยการปรุงสด ลวก จิ้ม หรือยำ มีราคาค่อนข้างแพง มีการเพาะเลี้ยงเป็นกระชังอยู่ริมแม่น้ำสายใหญ่บางสาย และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากดคังมีชื่อเรียกอื่น อีกเช่น "ปลากดแก้ว" "ปลากดเขี้ยว" เป็นต้น.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลากดคัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดคังสาละวิน

ปลากดคังสาละวิน ปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus microphthalmus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดเหลือง (H. filamentus) และปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันมาก แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า และยื่นยาวกว่า ส่วนหลังยกสูง ครีบหลังเป็นก้านแข็ง ปากกว้าง มีหนวดที่ริมฝีปากยาวมากถึงบริเวณครีบก้น ตาเล็กมาก ส่วนหัวมองจากด้านบน ค่อนข้างกว้าง ครีบไขมันยาว ครีบหางใหญ่ และเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมฟ้า หรือเขียวมะกอก ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำ ครีบหางสีคล้ำ ขนาดใหญ่สุดถึง 1 เมตร พบทั่วไป 60 – 70 เซนติเมตร จับได้โดยเบ็ดราว ข่ายลอย และดำน้ำยิงด้วยฉมวก อาศัยในแม่น้ำและลำธารที่ค่อนข้างลึก พบเฉพาะในแม่น้ำสาละวินและสาขา และถูกจับขึ้นขายเป็นครั้งคราวใน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นปลาที่มีรสชาติดี เช่นเดียวกับปลากดขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ และนิยมตกเป็นเกมกีฬา ในต่างประเทศพบในอินเดียและพม่าในแม่น้ำอิระวดี.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลากดคังสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดเหลือง

ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemibagrus filamentus อยู่ในวงศ์ปลากด (Bagridae) มีรูปร่างคล้ายปลากดคัง (H. wyckioides) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีรูปร่างเล็กกว่า สีข้างลำตัวเป็นสีเหลืองจึงเป็นที่ของชื่อ หรืออาจเป็นสีเทาคล้ำ สีท้องจาง ครีบหลังยาวจนถึงจุดเริ่มต้นของครีบไขมัน และครีบไขมันมีสีคล้ำ ขนาดโตเต็มที่ราว 50 เซนติเมตร พบในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน เป็นปลาที่ใช้บริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และปลาแห้ง และมีการเพาะเลี้ยงในกระชังเหมือนปลากดคัง นอกจากนี้แล้วยังมีปลากดในสกุลเดียวกันนี้ อีกชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน คือ ปลากดขาว (H. spilopterus) ซึ่งบางครั้งอาจสับสนกันและเรียกชื่อสามัญตรงกันว่า "ปลากดเหลือง" ด้วย ซึ่ง 2 ชนิดนั้นยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลากดช่องหลวง", "ปลากดนา", "ปลากดขาว", "ปลากดชงโลง" หรือ "ปลากดคัง" เป็นต้น.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลากดเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพรหมบุตร

แม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบต แม่น้ำพรหมบุตร มุมมองจากใกล้ท่าน้ำสุเกลศวรในเมืองคูวาหตี แม่น้ำพรหมบุตร (เทวนาครี: ब्रह्मपुत्र พรฺหฺมปุตฺร; Brahmaputra) เป็นแม่น้ำที่กั้นเขตแดนสายสำคัญสายหนึ่งของทวีปเอเชีย มีความความยาว 2,900 กิโลเมตร ส่วนความยาวของลำน้ำตอนบนนั้นไม่ทราบแน่ชัด มีต้นกำเนิดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาทิเบตว่า "แม่น้ำยาร์ลุงซางโป (Yarlung Tsangpo)" จากนั้นไหลผ่านพื้นที่ตอนใต้ของทิเบต มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำดีฮัง (Dihang)" ไปตัดผ่านเทือกเขาหิมาลัยในโกรกธารใหญ่ แล้วไหลวกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขาอัสสัม และไปทางใต้ผ่านประเทศบังกลาเทศ มีชื่อเรียกว่า "แม่น้ำยมุนา (Jamuna)" จากนั้นได้ไหลมารวมกับแม่น้ำคงคา เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง อนึ่ง แม่น้ำยมุนาแห่งบังกลาเทศซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำพรหมบุตรนี้เป็นคนละสายกับแม่น้ำยมุนา (Yamuna) แห่งอินเดียซึ่งไหลขนานกับแม่น้ำคงคา และมารวมกันที่เมืองอัลลอฮาบาดในอินเดีย แม่น้ำส่วนใหญ่ของอินเดียและบังกลาเทศจะมีชื่อเป็นเพศหญิง แต่แม่น้ำพรหมบุตรมีชื่อเป็นเพศชาย ในภาษาสันสกฤต คำว่า "พรหมบุตร" หมายถึง โอรสของพระพรหม ในภาษาอาหม เรียกแม่น้ำพรหมบุตรว่า น้ำดาวผี หรือ แสงดาว.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและแม่น้ำพรหมบุตร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคงคา

ริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาอันกว้างใหญ่ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำคงคา (เทวนาครี: गंगा คังคา ภาษาอังกฤษ: Ganges แกนจีส, Ganga) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอินเดีย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูคู่กับแม่น้ำยมุนาที่ไหลขนานกัน มีต้นกำเนิดทางภาคเหนือของอินเดีย บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียไปทางตะวันออก และรวมกับแม่น้ำพรหมบุตรที่ประเทศบังกลาเทศ เกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ชื่อว่าสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา นับเป็นแหล่งชลประทานและการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ก่อนจะไหลออกที่อ่าวเบงกอล แม่น้ำคงคามีความยาวประมาณ 2,510 กิโลเมตร.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและแม่น้ำคงคา · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: สกุลเฮมอิบากรัสและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hemibagrus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »