โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วราวุธ สุธีธร

ดัชนี วราวุธ สุธีธร

ฟอสซิลภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ วราวุธ สุธีธร (10 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ที่จังหวัดนครปฐม—) เป็นนักธรณีวิทยา, นักบรรพชีวินวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวไทย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลัง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

17 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาพ.ศ. 2491กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเนมหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสยามโมซอรัสสยามโมไทรันนัสจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดนครปฐมธรณีวิทยาซอโรพอดซิตตะโกซอรัส10 ตุลาคม

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2491

ทธศักราช 2491 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1948.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและพ.ศ. 2491 · ดูเพิ่มเติม »

กรมทรัพยากรธรณี

กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและกรมทรัพยากรธรณี · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Ministry of Natural Resources and Environment) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และดูแลหน่วยงานราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม..

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน

ูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน หมายความว่า "สัตว์เลื้อยคลานยักษ์แห่งภูเวียง" เป็นชื่อสกุลของไดโนเสาร์ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในหมวดหินเสาขัว อายุราวยุคครีเตเชียสตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (sauropod - ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว) ชนิดแรกที่บรรยายลักษณะจากประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่ม Titanosaur ซึ่งเป็นซอโรพอดขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15-20 เมตร โดยตัวอย่างต้นแบบ (type specimens) พบที่ภูเวียง อำเภอภูเวียง (อำเภอเวียงเก่า ในปัจจุบัน) จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้รับการบรรยายลักษณะเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) พบกระดูกภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่ง วัดสักกะวัน ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว) ซึ่งพบโครงกระดูกอย่างน้อย 6 ตัว จำนวนมากกว่า 800 ชิ้น และแหล่งภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สถานที่พบเป็นครั้งแรก (type locality) พบกระดูกของพวกวัยเยาว์ ขนาดประมาณ 2 เมตร สูง 0.5 เมตรรวมอยู่ด้วย กรมทรัพยากรธรณีขอพระราชทานชื่อชนิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านที่สนพระทัยงานในด้านธรณีวิทยา และบรรพชีวินวิทยาในประเทศไท.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Mahasarakham University, อักษรย่อ: มมส - MSU) ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ก่อกำเนิดจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2537 นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีวิทยาเขตหลักที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และวิทยาเขตพื้นที่ในเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม เปิดการสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก 177 สาขาวิชา ใน 21 คณะหรือเทียบเท่า และขยายโอก่าสทางการศึกษาโดยจัดโครงการศึกษาที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี นอกจากนี้ยังมีการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูม..

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

ูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว หรือ พิพิธภัณฑ์สิรินธร (Sirindhorn Museum) เป็นศูนย์วิจัยเกี่ยวกับไดโนเสาร์และ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย อยู่ที่อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์พลาดิสัย สิทธิธัญก.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมซอรัส

มโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurus suteethorni) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ขนาดกลาง พบครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 1 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ชิ้นส่วนตัวอย่างต้นแบบเป็นฟัน 9 ซี่ มีลักษณะคล้ายฟันจระเข้ เป็นรูปกรวยยาวเรียว ค่อนข้างตรง และโค้งเล็กน้อยในแนวด้านหลังของฟัน บนผิวของฟันมีร่องและสันนูนเล็กๆตามแนวความยาวของตัวฟันด้านละ 15 ลายเส้นโยงจากฐานของตัวฟันไปยังส่วนของยอดฟันห่างจากส่วนปลายสุดประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ไม่มีลักษณะเป็นหยักแบบฟันเลื่อย ความยาวของตัวฟันทั้งหมด 62.5 มิลลิเมตร ลักษณะฟันดังกล่าวไม่เคยมีรายงานการค้นพบจากที่ใดๆในโลกมาก่อน จึงพิจารณาให้เป็นสกุลและชนิดใหม่ คือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนี".

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและสยามโมซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

สยามโมไทรันนัส

มโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอด ลำตัวยาวประมาณ 6.5 เมตร ชื่อของมันหมายถึง"ทรราชแห่งสยามจากภาคอีสาน" พบกระดูกเป็นครั้งแรกที่หลุมขุดค้นที่ 9 ที่ภูประตูตีหมา อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดยนายสมชัย เตรียมวิชานนท์ นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี เมื่อปี..

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและสยามโมไทรันนัส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาฬสินธุ์

ังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีวิทยา

The Blue Marble: ภาพนี้เป็นภาพถ่ายของโลก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ที่ถ่ายโดยแฮร์ริสสัน ชมิตต์ (Harrison Schmitt) นักธรณีวิทยาคนแรกที่ร่วมเดินทางไปกับยานอวกาศอะพอลโล 17 (Apollo 17) ที่เดินทางไปยังดวงจันทร์ ธรณีวิทยา, ธรณีศาสตร์ (Geology จากγη- (''เก-'', โลก) และ λογος (''ลอกอส'', ถ้อยคำ หรือ เหตุผล).) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย นักธรณีวิทยาศึกษาพบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปี (4.5x109 ปี) และเห็นตรงกันว่าเปลือกโลกแยกออกเป็นหลายแผ่น เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือเนื้อโลกหรือแมนเทิลที่มีสภาวะกึ่งหลอมเหลว เรียกกระบวนการนี้ว่าการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ นักธรณีวิทยายังทำหน้าที่ระบุตำแหน่งและจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งหิน แหล่งแร่ แหล่งปิโตรเลียมเช่น น้ำมันและถ่านหิน รวมทั้งโลหะอย่างเหล็ก ทองแดง และยูเรเนียม วิชาธรณีวิทยา มีความเกี่ยวข้องกับหลากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ มีการบูรณการความรู้จากหลากหลายวิชา เพื่อวิเคราะห์หาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก โดยสามารถแบ่งออกเป็นหลากหลายสาขาวิชา เช่น ธรณีวิทยากายภาพ (Physical Geology) ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology) ธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (Geotectonics, Tectonics) ตะกอนวิทยา (Sedimentology) ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) ธรณีเคมี (Geochemistry) ธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) ธรณีอุทกวิทยา (Geohydrology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) เป็นต้น '''การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก''' วิชาธรณีวิทยานอกโลก ศึกษาองค์ประกอบทางธรณีวิทยาของวัตถุในระบบสุริยะ อย่างไรก็ตาม ยังมีศัพท์เฉพาะอื่น ๆ ที่ใช้เรียกธรณีวิทยานอกโลก เช่น "ศศิวิทยา" (selenology) ศึกษาธรณีวิทยาบนดวงจันทร์, areology ศึกษาธรณีวิทยาบนดาวอังคาร เป็นต้น วิชาธรณีวิทยา สามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับ วิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และ จักรวาล ธรณีพิบัติภัย ภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและธรณีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ซอโรพอด

ซอโรพอด (sauropod Diermibot) คือ ไดโนเสาร์คอยาวชนิดหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีคอยาวอย่างน้อย 5 เมตร มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดคือแอมพิโคเลียส และเล็กที่สุดคือพลาทีโอซอรัส ซอโรพอดชนิดเรกอาศัยอยู่ในยุคไตรแอสสิคตอนปลาย และชนิดสุดท้ายอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและซอโรพอด · ดูเพิ่มเติม »

ซิตตะโกซอรัส

''ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี'' ซิตตะโกซอรัส (Psittacosaurus) หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและซิตตะโกซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

10 ตุลาคม

วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันที่ 283 ของปี (วันที่ 284 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 82 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: วราวุธ สุธีธรและ10 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดร.วราวุธ สุธีธร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »