โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วจีวิภาค

ดัชนี วจีวิภาค

วจีวิภาค (ละติน: pars orationis, part of speech) ในทางไวยากรณ์ หมายถึงประเภทของคำในทางภาษาศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปนิยามโดยลักษณะวากยสัมพันธ์หรือหน่วยคำของคำที่กล่าวถึง แทบทุกภาษามีคำชนิดนามและกริยา แต่นอกเหนือจากนี้ จะมีแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา ตัวอย่างเช่น ภาษาญี่ปุ่นมีคำคุณศัพท์สามชนิด ขณะที่ภาษาอังกฤษมีชนิดเดียว ภาษาจีน เกาหลีและญี่ปุ่นมีลักษณนาม ขณะที่ภาษาทางยุโรปไม่มี.

10 ความสัมพันธ์: ภาษาละตินภาษาศาสตร์วากยสัมพันธ์คำบุพบทคำกริยาคำกริยาวิเศษณ์คำสรรพนามคำสันธานคำนามไวยากรณ์

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: วจีวิภาคและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: วจีวิภาคและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วากยสัมพันธ์

ในทางภาษาศาสตร์ วากยสัมพันธ์ (อังกฤษ: syntax) หมายถึง การศึกษาว่าด้วยกฎของความสัมพันธ์ของแบบแผนองค์ประกอบของประโยคในภาษา อันเป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ของภาษา ในภาษาไทย "วากยสัมพันธ์" เป็นส่วนหนึ่งของหลักไวยกรณ์ไทยที่กำหนดขึ้นเป็นหนึ่งในแบบแผนหรือไวยกรณ์ของภาษาไทย ซึ่งประกอบด้วย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ อักขรวิธี ซึ่งศึกษาว่าด้วยอักษร, วจีวิภาค ศึกษาว่าด้วยคำ, วากยสัมพันธ์ ศึกษาว่าด้วยความสัมพันธ์ของคำในประโยค, และ ฉันทลักษณ์ คือ กฎเกณฑ์ของการเขียนภาษาในรูปแบบต่างๆ วากยสัมพันธ์ ยังเป็นชื่อตำราไวยากรณ์ไทยว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นปร.

ใหม่!!: วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำบุพบท

ำบุพบท บางตำราก็ว่า คำบุรพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ เพื่อบอกสถานภาพของคำเหล่านั้น หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือปร.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำบุพบท · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยาวิเศษณ์

ำกริยาวิเศษณ์ เป็นคำชนิดหนึ่งมีใช้ในหลายภาษา ตัวอย่างที่เห็นชัดคือภาษาอังกฤษ คำกริยาวิเศษณ์หมายถึงคำที่ทำหน้าที่ขยายความคำกริยาหรือคำอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากคำนาม เช่นคำคุณศัพท์ (รวมทั้งจำนวน) อนุประโยค ประโยค และคำกริยาวิเศษณ์อื่น คำกริยาวิเศษณ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำวิเศษณ์ในภาษาไท.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำกริยาวิเศษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

คำสรรพนาม

ในทางภาษาศาสตร์และไวยากรณ์ คำสรรพนามเป็นคำซึ่งใช้แทนคำนามหรือนามวลี คำนามถือว่าเป็นคำชนิดหนึ่ง แต่นักทฤษฎีสมัยใหม่บางส่วนจะไม่จำกัดอยู่ในชนิดเดียว เพราะคำสรรพนามมีหลายหน้าที่ เช่น บุรุษสรรพนาม (personal pronoun) ประพันธสรรพนาม (relative pronoun) ปฤจฉาสรรพนาม (interrogative pronoun) นิยมสรรพนาม (demonstrative pronoun) สามีสรรพนาม (possessive pronoun) และอนิยมสรรพนาม (indefinite pronoun) การใช้คำสรรพนามมักเกี่ยวข้องกับการเน้นซ้ำคำ ซึ่งความหมายของคำสรรพนามขึ้นอยู่กับส่วนอ้างอิงอื่น ซึ่งใช้โดยเฉพาะกับสรรพนาม (บุรุษที่ 3) หมวดหมู่:ไวยากรณ์ หมวดหมู่:วจีวิภาค.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำสรรพนาม · ดูเพิ่มเติม »

คำสันธาน

ในไวยากรณ์ คำสันธาน คือชนิดของคำที่เชื่อมคำ ประโยค วลี หรือประโยคย่อยเข้าด้วยกัน คำสันธานที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกันเรียกว่า คำเชื่อมสัมพันธสาร (discourse connective) บทนิยามนี้อาจทับซ้อนกับชนิดของคำชนิดอื่น ดังนั้น สิ่งที่ประกอบเป็น "คำสันธาน" จะต้องถูกนิยามขึ้นสำหรับแต่ละภาษา โดยทั่วไป คำสันธานเป็นคำอนุภาคที่ไม่ผันรูป และมันอาจจะวางอยู่ระหว่างประโยคสองประโยคที่เชื่อมกันหรือไม่ก็ได้ บทนิยามของคำสันธานอาจขยายรวมไปถึงวลีสำนวนที่มีลักษณะเป็นหน่วยหนึ่งหน่วยซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน เช่น "as well as" (เช่นเดียวกับ), "provided that" (ในเงื่อนไขที่ว่า, ต่อเมื่อ) หมวดหมู่:ไวยากรณ์ หมวดหมู่:วจีวิภาค.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำสันธาน · ดูเพิ่มเติม »

คำนาม

ำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ หรือแนวคิด ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในวจีวิภาคแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท หมวดหมู่คำศัพท์ (วจีวิภาค) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี.

ใหม่!!: วจีวิภาคและคำนาม · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: วจีวิภาคและไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ชนิดของคำ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »